ศาลสั่งยึด 2 พันล. 'เจ๊ติ๋ม' เบี้ยวสัมปทานทีวีดิจิตอล
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
ผู้จัดการรายวัน360 - ศาลปกครองไฟเขียว กสทช. ยึดเงินค้ำประกันเกือบ 2 พันล้าน ของ 'เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล' หลังเบี้ยวชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ด้าน กสทช.เดินหน้าแจ้งธนาคารกรุงเทพเพื่อขอยึดหลักประกัน ส่วนด้านโทรคมนาคม กลุ่มทรูฯ ยื่นหนังสือกดดัน กสทช.หากประมูล 900 MHzใหม่ ต่ำกว่า 75,654 ล้านบาทที่แจสเบี้ยว ก็ควรปรับลดราคาค่าคลื่นของทรูให้เท่ากับราคาของผู้ชนะครั้งใหม่ด้วย
เมื่อวันที่ 28 มี.ค.59 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของบริษัทไทย ทีวี จำกัด ซึ่งมีนางพันธุทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลช่องไทยทีวีและเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ (ชื่อเดิม โลก้า) เป็นผู้บริหาร ที่ขอให้ศาลสั่ง กสทช. ระงับการดำเนินการเรียกเก็บชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน หรือแบงค์ การันตีของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รวม 16 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีที่บริษัทไทยทีวีฟ้อง กสทช.
โดยเหตุที่ศาลยกคำขอดังกล่าว ระบุว่า ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัท ไทยทีวี นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบ ดิจิตอลรายปีรวม 3 ครั้ง ระยะเวลารวม 90 วัน แต่เมื่อครบกำหนดบริษัทไทยทีวีไม่ได้นำเงินมาชำระ กสทช. จึงมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้ง 2 ช่องรายการนับแต่วันที่ 4 ก.พ. 59 พร้อมแจ้งไปยังบริษัทไทยทีวีว่า ให้นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของงวดที่ 2 ถึงงวดที่ 6 และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ รายปีประจำปี 2557-2559 มาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ หากไม่ชำระจะใช้สิทธิเรียกให้ธนาคารกรุงเทพชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน
ซึ่งศาลเห็นว่า การที่บริษัทไทยทีวีมีหนังสือแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำ ประกันก็เนื่องจากเหตุที่ว่ายังมีข้อต่อสู้ที่บริษัทไทยทีวีอาจไม่ต้องรับ ผิด เพราะมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพื่อขอให้ธนาคารปฏิเสธการชำระเงิน และข้อต่อสู้นี้ธนาคารย่อมยกขึ้นเป็นเหตุปฏิเสธการชำระเงินให้แก่ กสทช.ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 294 ที่บัญญัติว่า 'นอก จากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้น ต่อสู้ได้ด้วย กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอที่ศาลจะพิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของบริษัทไทยทีวีมาใช้ได้'
กสทช.เดินหน้ายึดแบงก์การันตี
หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) รับทราบคำสั่งศาล ได้มีมติ สั่งการให้สำนักงาน กสทช. ทำหนังสือแจ้งไปยังธนาคารกรุงเทพเพื่อขอยึดหลักประกัน รวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ค้างชำระของช่องไทยทีวี และ เอ็มวีทีวี แฟมิลี่ รวมเงินค้าง 5 งวด และค่าปรับเงินที่ค้างชำระ7.5 % ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค 2558
ทั้งนี้ บริษัท ไทยทีวี จำกัด เป็นของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋ม ทีวีพูล โดยเป็นผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลจำนวน 2 ช่อง รวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท แบ่งเป็นช่องไทยทีวีเป็นประเภทหมวดข่าวสาร และสาระ ชนะการประมูลมาในราคา1,328 ล้านบาทค้างชำระ 1,107 ล้านบาท ส่วนช่องโลก้า ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นช่องเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ เป็นประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ชนะการประมูลในราคา 648 ล้านบาท ค้างชำระ 527.2 ล้านบาท ทั้งนี้ รวมเงินค้าง 5 งวด รวมเป็นเงินจำนวน 1,634.4 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทยัง ผิดนัดชำระค่าประมูลงวดที่ 2 ตั้งแต่ วันที่ 26 พ.ค 2558 สำหรับค่าปรับ 7.5% ต่อปี ณ วันที่ 3 ก.พ.คิดเป็นเงินประมาณ 14 ล้านบาท ซึ่งค่าปรับยังคงเดินหน้าคิดอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนค่าธรรมเนียมรายปี 2% ยังไม่สามารถคำนวณออกมาได้ต้องรอให้ไทยทีวีส่งรายได้มาก่อน
กลุ่มทรูฯ ยื่นหนังสือกดดัน กสทช.
กรณีการกระทำผิดเงื่อนไขการชำระเงินค่าประมูลไม่ใช่เกิดขึ้นด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กับทีวีดิจิตอลเท่านั้น ด้านกิจการโทรคมนาคมก็เกิดเหตุการณ์ทิ้งใบอนุญาต เบี้ยวเงินค่าประมูลความถี่ 900 Mhz ของแจส จนทำให้ผู้ชนะประมูลอีก 1รายอย่างกลุ่มทรูกลัวตัวเองเสียค่าโง่ประมูลได้ความถี่ในราคาแพง จนต้องทำหนังสือกดดันไปยัง กสทช.
โดยเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 59 กลุ่มทรูได้ส่งหนังสือถึงกสทช.สรุปใจความว่า กลุ่มทรูในฐานะที่เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ได้ดำเนินการตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด สนับ สนุน กสทช. เร่งประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ใหม่โดยเร็ว ย้ำต้องโปร่งใสโดยยึดหลักความเป็นธรรม เป็นต้นว่า จัดประมูลใหม่เพื่อให้ผู้ที่ชนะการประมูลรายใหม่มีราคาต้นทุนไม่น้อยกว่าต้นทุน ที่บริษัทฯต้องรับภาระอยู่เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขันทางการค้า และราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่นย่าน 900 MHz ควรเป็นราคาเดียวกันกับที่ แจส ประมูลชนะคือ 75,654 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน หรือหากครั้งใหม่ประมูลชนะในราคาต่ำกว่า 75,654 ล้านบาท ก็ควรปรับลดราคาค่าคลื่นของทรูที่ต้องชำระให้แก่ กสทช. ลงมาเท่ากับราคาที่ผู้ชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ครั้งใหม่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อไม่เสียเปรียบแก่กันในการแข่งขันทางการค้า.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 11)
ศาลสั่งยึด 2 พันล. 'เจ๊ติ๋ม' เบี้ยวสัมปทานทีวีดิจิตอล
ศาลสั่งยึด 2 พันล. 'เจ๊ติ๋ม' เบี้ยวสัมปทานทีวีดิจิตอล
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
ผู้จัดการรายวัน360 - ศาลปกครองไฟเขียว กสทช. ยึดเงินค้ำประกันเกือบ 2 พันล้าน ของ 'เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล' หลังเบี้ยวชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ด้าน กสทช.เดินหน้าแจ้งธนาคารกรุงเทพเพื่อขอยึดหลักประกัน ส่วนด้านโทรคมนาคม กลุ่มทรูฯ ยื่นหนังสือกดดัน กสทช.หากประมูล 900 MHzใหม่ ต่ำกว่า 75,654 ล้านบาทที่แจสเบี้ยว ก็ควรปรับลดราคาค่าคลื่นของทรูให้เท่ากับราคาของผู้ชนะครั้งใหม่ด้วย
เมื่อวันที่ 28 มี.ค.59 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาของบริษัทไทย ทีวี จำกัด ซึ่งมีนางพันธุทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋ม ทีวีพูล ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลช่องไทยทีวีและเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ (ชื่อเดิม โลก้า) เป็นผู้บริหาร ที่ขอให้ศาลสั่ง กสทช. ระงับการดำเนินการเรียกเก็บชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน หรือแบงค์ การันตีของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รวม 16 ฉบับ รวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีที่บริษัทไทยทีวีฟ้อง กสทช.
โดยเหตุที่ศาลยกคำขอดังกล่าว ระบุว่า ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัท ไทยทีวี นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบ ดิจิตอลรายปีรวม 3 ครั้ง ระยะเวลารวม 90 วัน แต่เมื่อครบกำหนดบริษัทไทยทีวีไม่ได้นำเงินมาชำระ กสทช. จึงมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ และประกอบกิจการโทรทัศน์ทั้ง 2 ช่องรายการนับแต่วันที่ 4 ก.พ. 59 พร้อมแจ้งไปยังบริษัทไทยทีวีว่า ให้นำเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตของงวดที่ 2 ถึงงวดที่ 6 และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ รายปีประจำปี 2557-2559 มาชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ หากไม่ชำระจะใช้สิทธิเรียกให้ธนาคารกรุงเทพชำระเงินตามหนังสือค้ำประกัน
ซึ่งศาลเห็นว่า การที่บริษัทไทยทีวีมีหนังสือแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามหนังสือค้ำ ประกันก็เนื่องจากเหตุที่ว่ายังมีข้อต่อสู้ที่บริษัทไทยทีวีอาจไม่ต้องรับ ผิด เพราะมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพื่อขอให้ธนาคารปฏิเสธการชำระเงิน และข้อต่อสู้นี้ธนาคารย่อมยกขึ้นเป็นเหตุปฏิเสธการชำระเงินให้แก่ กสทช.ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 294 ที่บัญญัติว่า 'นอก จากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้น ต่อสู้ได้ด้วย กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอที่ศาลจะพิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามคำขอของบริษัทไทยทีวีมาใช้ได้'
กสทช.เดินหน้ายึดแบงก์การันตี
หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) รับทราบคำสั่งศาล ได้มีมติ สั่งการให้สำนักงาน กสทช. ทำหนังสือแจ้งไปยังธนาคารกรุงเทพเพื่อขอยึดหลักประกัน รวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ค้างชำระของช่องไทยทีวี และ เอ็มวีทีวี แฟมิลี่ รวมเงินค้าง 5 งวด และค่าปรับเงินที่ค้างชำระ7.5 % ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ค 2558
ทั้งนี้ บริษัท ไทยทีวี จำกัด เป็นของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋ม ทีวีพูล โดยเป็นผู้ชนะการประมูลทีวีดิจิตอลจำนวน 2 ช่อง รวมเป็นเงิน 1,976 ล้านบาท แบ่งเป็นช่องไทยทีวีเป็นประเภทหมวดข่าวสาร และสาระ ชนะการประมูลมาในราคา1,328 ล้านบาทค้างชำระ 1,107 ล้านบาท ส่วนช่องโลก้า ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นช่องเอ็มวีทีวี แฟมิลี่ เป็นประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว ชนะการประมูลในราคา 648 ล้านบาท ค้างชำระ 527.2 ล้านบาท ทั้งนี้ รวมเงินค้าง 5 งวด รวมเป็นเงินจำนวน 1,634.4 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทยัง ผิดนัดชำระค่าประมูลงวดที่ 2 ตั้งแต่ วันที่ 26 พ.ค 2558 สำหรับค่าปรับ 7.5% ต่อปี ณ วันที่ 3 ก.พ.คิดเป็นเงินประมาณ 14 ล้านบาท ซึ่งค่าปรับยังคงเดินหน้าคิดอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนค่าธรรมเนียมรายปี 2% ยังไม่สามารถคำนวณออกมาได้ต้องรอให้ไทยทีวีส่งรายได้มาก่อน
กลุ่มทรูฯ ยื่นหนังสือกดดัน กสทช.
กรณีการกระทำผิดเงื่อนไขการชำระเงินค่าประมูลไม่ใช่เกิดขึ้นด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กับทีวีดิจิตอลเท่านั้น ด้านกิจการโทรคมนาคมก็เกิดเหตุการณ์ทิ้งใบอนุญาต เบี้ยวเงินค่าประมูลความถี่ 900 Mhz ของแจส จนทำให้ผู้ชนะประมูลอีก 1รายอย่างกลุ่มทรูกลัวตัวเองเสียค่าโง่ประมูลได้ความถี่ในราคาแพง จนต้องทำหนังสือกดดันไปยัง กสทช.
โดยเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 59 กลุ่มทรูได้ส่งหนังสือถึงกสทช.สรุปใจความว่า กลุ่มทรูในฐานะที่เป็นผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz ที่ได้ดำเนินการตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด สนับ สนุน กสทช. เร่งประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ใหม่โดยเร็ว ย้ำต้องโปร่งใสโดยยึดหลักความเป็นธรรม เป็นต้นว่า จัดประมูลใหม่เพื่อให้ผู้ที่ชนะการประมูลรายใหม่มีราคาต้นทุนไม่น้อยกว่าต้นทุน ที่บริษัทฯต้องรับภาระอยู่เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการแข่งขันทางการค้า และราคาประมูลเริ่มต้นของคลื่นย่าน 900 MHz ควรเป็นราคาเดียวกันกับที่ แจส ประมูลชนะคือ 75,654 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน หรือหากครั้งใหม่ประมูลชนะในราคาต่ำกว่า 75,654 ล้านบาท ก็ควรปรับลดราคาค่าคลื่นของทรูที่ต้องชำระให้แก่ กสทช. ลงมาเท่ากับราคาที่ผู้ชนะการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz ครั้งใหม่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อไม่เสียเปรียบแก่กันในการแข่งขันทางการค้า.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 11)