หลักการของอิสลาม แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ได้ 2 ส่วน คือ
1.หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับบุคคล (ฟัรดูอัยนีย์) ได้แก่ หลักการพื้นฐานอันจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องรู้ ต้องประพฤติ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1.หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา เรียกว่า อีมาน
2.หลักปฏิบัติ หรือ หน้าที่ในศาสนา เรียกว่า อิบาดะห์
3.หลักคุณธรรม หรือ หลักความดี เรียกว่า อิห์ซาน
หลักการทั้ง 3 ส่วนนี้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งที่สืบทอดจากบิดามารดามาแต่เดิม หรือเพิ่งเข้ารับใหม่ก็ตาม จะต้องศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้และสามารถประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
2 หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับสังคม(ฟัรดูกิฟายะฮ์) ได้แก่ หน้าที่ต่างๆ ทางสังคม ซึ่งนับตั้งแต่สังคมหน่วยเล็กสุด คือ ครอบครัวจนถึงสังคมที่ใหญที่สุดคือประเทศชาติ
บุคคลจะต้องรับผิดชอบสังคมด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งอิสลามได้มีบัญญัติให้ทุกคนได้แสดงความรับผิดชอบนั้นอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ด้าน ทุกคนต้องเสียสละเพื่อครอบครัว เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ และเพื่อศาสนา สำหรับมุสลิมแห่งสยามก็คือ ต้องเสียสละเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติไทยเรา
โดยหลักการนี้ ศาสนาอิสลามจึงมิได้วางบทบัญญัติแต่เฉพาะในด้านการปฏิบัติศาสนาอย่างเดียว แต่ได้วางบทบัญญัติและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเทศชาติเอาไว้ด้วย ในอิสลามจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บภาษี การจัดกองทัพ การบริหารประเทศ การทูต เป็นอาทิ เป็นอีกส่วนหนึ่งแห่งคำสอน
(1) หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา (อีมาน)
คือหลักคำสอนที่มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่าเป็นความจริงแท้และต้องยึดถืออย่างมั่นคง แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5 ก็ตาม ซึ่งหลักศรัทธามี 6 ประการ คือ
1)
ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง ต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเจ้า ซึ่งเรียกว่า "อัลลอฮ์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าและมีอยู่จริง มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในอัลลอฮ์ ว่าเป็นพระเจ้าองค์เดียว" และเป็นผู้ทรงคุณลักษณะดังนี้ คือ ทรงมีอย่างแน่นอน ไม่มีข้อสงสัย ทรงมีมาก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภพ ทรงดำรงอยู่ได้โดยพระองค์เอง ไม่มีใครสร้างพระองค์ ทรงเป็นผู้มีอยู่ตลอดกาล ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบทรงเอกานุภาพ ไม่มีสิ่งใดเป็นภาคี ทรงสรรพเดช ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงความยุติธรรม ทรงพระเมตตา ทรงเป็นผู้พิพากษาในการตัดสินชีวิตมนุษย์ในวันสุดท้ายที่เรียกว่า วันพิพากษา
ศรัทธาที่แท้จริงของมุสลิมต่ออัลลอฮ์นั้นหมายถึงการถวายทั้งกายและใจให้แก่พระองค์ การปฏิบัติผิดไปจากนี้ เช่น การยอมรับนับถือพระเจ้าองค์อื่นด้วย หรือการนับถือสิ่งอื่นใดเทียบเท่าพระองค์ถือว่าเป็นบาปมหันต์ที่มิอาจยกโทษให้ได้ มุสลิมที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์อย่างแท้จริงจะทำให้เขาละเว้นจากการทำชั่ว ทำแต่ความดี มีพลังใจที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย การศรัทธาต่ออัลลอฮ์จึงเป็นหัวใจของการเป็นมุสลิม
2)
ศรัทธาในมลาอิกะฮ์ มลาอิกะห์นั้นเป็นเทพบริวารหรือเทวทูตของพระเจ้ามีจำนวนมากมายสุดจะประมาณได้ ทำหน้าที่สนองพระบัญชาอัลลอฮ์แตกต่างกัน คุณลักษณะของมลาอิกะห์มีดังนี้
- เป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ตามที่พระองค์กำหนด
- ไม่ต้องการหลับนอน
- จำแลงเป็นรูปร่างต่างๆ ได้
- ไม่มีบิดา มารดา บุตร ภรรยา
- ปฏิบัติคุณธรรมล้วน
- ไม่ละเมิดฝ่าฝืนบัญชาของอัลลอฮฺเลย
- ไม่กิน ดื่ม ขับถ่าย ไม่มีกิเลสตัณหา
มลาอิกะห์ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของพระเจ้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล เท่าที่มีระบุชื่อและหน้าที่เฉพาะก็มีอยู่ 10 มลาอิกะห์ คือ
1. ยิบรออีล ทำหน้าที่สื่อโองการพระเจ้ากับศาสดา
2. มีกาฮีล ทำหน้าที่นำโชคลาภจากพระเจ้าสู่โลก
3. อิมรอพีล ทำหน้าที่เป่าสังข์ในวันสิ้นโลก
4. อิสรออีล ทำหน้าที่ถอดวิญญาณของมนุษย์และสัตว์
5. รอกีบ ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
6. อะติด ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
7. มุงกัร ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
8. นะกีร ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
9. ริดวาน ทำหน้าที่ดูแลกิจการของสวรรค์
10.มาลิก ทำหน้าที่ดูแลกิจการของขุมนรก
ผู้ที่จะเป็นมุสลิมอย่างสมบูรณ์ได้ต้องศรัทธาว่าเทวทูตเหล่านี้มีจริงอันจะเป็นผลดีแก่ผู้ศรัทธาเอง คือจะทำให้เขาทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว เพราะแต่ละคนมีเทวทูตคอยบันทึกผลความดีและความชั่วอยู่ตลอดเวลา
3)
ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต มุสลิมเชื่อว่าศรัทธา โลกมนุษย์ในแต่ละยุคที่ผ่านมานับจากยุคแรก คือ อาดัมนั้นต้องมีศาสดาหรือ ศาสนทูต เป็นผู้รับบทบัญญัติของพระเจ้ามาประกาศเพื่อเผยแผ่โองการของพระเจ้า ซึ่งศาสนทูตนั้นมีจำนวนมากมาย ลักษณะคำประกาศของแต่ละศาสดาย่อมผิดแปลกไปตามยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกศาสดาประกาศออกมาเหมือนกัน คือ ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกันและห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุโดยสิ้นเชิง บรรดาศาสดาที่รับโองการพระเจ้ามาเผยแผ่เท่าที่มีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานมีทั้งสิ้น 25 ท่าน คือ
1. นบีอาดัม (อ.ล.) 14. นบีอีซา (อ.ล.)
2. นบีอิบรอฮีม (อ.ล.) 15. นบีอินยาส (อ.ล.)
3. นบีอิสฮากร (อ.ล.) 16. นบีอิสมาอีล (อ.ล.)
4. นบียากูฟ (อ.ล.) 17. นบีอัลย่าซะอ์ (อ.ล.)
5. นบีนัวฮ์ (อ.ล.) 18. นบียูนุส (อ.ล.)
6. นบีดาลูด (อ.ล.) 19. นบีลูด (อ.ล.)
7. นบีสุไลมาน (อ.ล.) 20. นบีอิดรีส (อ.ล.)
8. นบีไอยูบ (อ.ล.) 21. นบีฮูด (อ.ล.)
9. นบียูซูบ (อ.ล.) 22. นบีซู่ไอบ (อ.ล.)
10. นบีมูซา (อ.ล.) 23. นบีซอและซ์ (อ.ล.)
11. นบีฮารูน (อ.ล.) 24. นบีซุลกิฟลี่ (อ.ล.)
12. นบีซาการีบา (อ.ล.) 25. นบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (อ.ล.)
13. นบียาหย่า (อ.ล.)
คุณสมบัติของศาสนทูต1มี 4 ประการคือ
1.ศิดกุน คือ วาจาสัตย์ ไม่พูดเท็จ
2.อะมานะฮ์ คือ ไว้วางใจได้ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำความชั่วฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮ์
3.ตับลิค คือ นำศาสนามาเผยแผ่แก่มนุษย์โดยทั่วถึงไม่ปิดบังแม้แต่น้อย
4.ฟะตอนะฮ์ คือ เฉลียวฉลาด
บรรดาศาสดาทุกท่าน เป็นมนุษย์ธรรมดานี่เอง จึงดำรงชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป มีการกินอยู่หลับนอน แต่งงานและประกอบอาชีพ
สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นศาสดา ก็เพราะความเป็นศาสดา หมายถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตัวเองที่ได้รับมาจากพระเจ้า
หากศาสดาไม่ใช่คนสามัญชนธรรมดาแบบเดียวกับประชาชนทั่วไป คำสอนก็จะขาดการนำไปปฏิบัติ ซึ่งในที่สุดคำสอนก็จะหมดความหมาย และแน่นอนก็จะไม่มีใครพร้อมที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสดาสอนผู้อื่น ท่านก็ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย คำสอนที่ท่านสอนออกไปจึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือ บทบัญญัติที่พระเจ้าทรงดำรัสผ่านมาทางท่านนั่นเอง
ศาสนาอิสลามจำแนกพระศาสนทูตหรือผู้แทนของพระอัลเลาะห์หรือผู้รับโองการจากพระเจ้าให้นำบัญญัติของพระองค์มาสั่งสอน ชี้แนะแก่มวลมนุษย์ด้วยกัน ในแต่ละยุคแต่ละสมัยออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "นบี"
2. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าทำการเผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษย์ชาติทั่วไปด้วย ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "ซูล" หรือ "เราะซูล"
ส่วนองค์พระมุฮัมมัด ชาวมุสลิมเชื่อกันว่า พระองค์เป็นทั้งนบีและเราะซูล เพราะพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระอัลเลาะห์และทรงเป็นผู้เผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษยชาติอีกด้วย
4)
ศรัทธาในพระคัมภีร์ คัมภีร์ที่ว่านี้หมายถึงคัมภีร์จำนวน 104 เล่มที่อัลเลาะฮ์ได้ประทานแก่เหล่าศาสนทูต ของพระองค์ เพื่อนำมาประกาศเผยแผ่แก่ปวงประชาชาติให้เหินห่างจากความมืดมนไปสู่ทางอันสว่างไสวและเที่ยงตรง ซึ่งคัมภีร์ที่สำคัญมีอยู่ 4 คัมภีร์ คือ
คัมภีร์โตราห์ หรือเตารอต (Torah) ประทานแก่นบีมูซาหรือโมเสส (Moses) เป็นภาษาฮีบรู
คัมภีร์ซะบูร์ (Zaboor) ประทานแก่นบีดาวูดหรือดาวิด (David) เป็นภาษาอียิปต์โบราณ
คัมภีร์อินญีล (Injeel or Gospel) ประทานแก่นบีอีซาหรือเยซู (Jesus) เป็นภาษาซีเรียโบราณ
คัมภีร์อัล-กุรอาน (Al-Quran) ประทานแก่นบีมุฮัมมัด (Muhammad) เป็นภาษาอาหรับ อัลกุรอาน เป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุดและมุสลิมเชื่อว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็นนบีคนสุดท้าย
คัมภีร์ต่างๆ ทั้งหมดนี้สรุปคำสอนได้เป็น 2 ประการ คือ
1. สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
2. สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน
5)
ศรัทธาในวันพิพากษา ศาสนาอิสลามเรียกโลกในปัจจุบันว่า "โลกดุนยา" และอธิบายว่า ดุนยาเป็นโลกแห่งการทดลอง ไม่จีรังยั่งยืน รอวันแห่งความพินาศแตกสลายเรียกว่า "วันกียามะฮฺ" ซึ่งเป็นวันพิพากษาหรือวันกำเนิดปรโลก โลกใหม่ที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวเป็นโลกอมตะ เรียกว่า "โลกอาคีรัต" มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกนี้จะมีชีวิตเป็นนิรันดรในวันกียามะฮ์ นี้ ทุกชีวิตที่ตายไปแล้วจะกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง เพื่อชำระผลกรรมที่ทำไว้สมัยที่มีชีวิตอยู่ มุสลิมผู้ศรัทธาในวันพิพากษาและสร้างสมความดีไว้มากจะได้ไปสู่ปรโลกพบกับชีวิตนิรันดร
6)
ศรัทธาในการลิขิตของพระผู้เป็นเจ้า มุสลิมทุกคนจะต้องศรัทธาว่ากำหนดการต่างๆ ในโลก และชีวิตของบุคคลแต่ละคนเป็นไปโดยอำนาจของพระเจ้าทั้งสิ้น มนุษย์ต้องปฏิบัติตามครรลองที่ถูกกำหนดไว้แล้ว การดิ้นรนขวนขวายและวิริยภาพของมนุษย์ดำเนินไปจะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น
ความเชื่อในอำนาจการลิขิตของพระเจ้านี้ มิได้หมายถึงการตัดทอนในด้านสร้างสรรค์ของมนุษย์แต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้มนุษย์เกียจคร้านและไม่คิดจะทำหน้าที่อะไรโดยทุกสิ่งเป็นกำหนดของพระเจ้า
ความเชื่อข้อนี้นำมาประกอบในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีและสุขุม มีสติและไม่ประมาท ให้มีสติ ตั้งมั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปโดยการลิขิตของพระเจ้า ซึ่งมนุษย์เองก็ดิ้นรนพยายามและมุ่งมั่นอยู่เสมอ มีความขยันขันแข็ง และเริ่มบุกเบิกการงานความคิดทุกประการ ด้วยจิตใจที่สำนึกอยู่เสมอว่า อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของพระเจ้าอยู่เป็นนิตย์ ดังนั้นผลขอ
หลักศรัทธาและหลักปฎิบัติสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามต้องมี
1.หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับบุคคล (ฟัรดูอัยนีย์) ได้แก่ หลักการพื้นฐานอันจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องรู้ ต้องประพฤติ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1.หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา เรียกว่า อีมาน
2.หลักปฏิบัติ หรือ หน้าที่ในศาสนา เรียกว่า อิบาดะห์
3.หลักคุณธรรม หรือ หลักความดี เรียกว่า อิห์ซาน
หลักการทั้ง 3 ส่วนนี้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งที่สืบทอดจากบิดามารดามาแต่เดิม หรือเพิ่งเข้ารับใหม่ก็ตาม จะต้องศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้และสามารถประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
2 หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับสังคม(ฟัรดูกิฟายะฮ์) ได้แก่ หน้าที่ต่างๆ ทางสังคม ซึ่งนับตั้งแต่สังคมหน่วยเล็กสุด คือ ครอบครัวจนถึงสังคมที่ใหญที่สุดคือประเทศชาติ
บุคคลจะต้องรับผิดชอบสังคมด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งอิสลามได้มีบัญญัติให้ทุกคนได้แสดงความรับผิดชอบนั้นอย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ด้าน ทุกคนต้องเสียสละเพื่อครอบครัว เพื่อสังคม เพื่อประเทศชาติ และเพื่อศาสนา สำหรับมุสลิมแห่งสยามก็คือ ต้องเสียสละเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของชาติไทยเรา
โดยหลักการนี้ ศาสนาอิสลามจึงมิได้วางบทบัญญัติแต่เฉพาะในด้านการปฏิบัติศาสนาอย่างเดียว แต่ได้วางบทบัญญัติและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเทศชาติเอาไว้ด้วย ในอิสลามจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บภาษี การจัดกองทัพ การบริหารประเทศ การทูต เป็นอาทิ เป็นอีกส่วนหนึ่งแห่งคำสอน
(1) หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา (อีมาน)
คือหลักคำสอนที่มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่าเป็นความจริงแท้และต้องยึดถืออย่างมั่นคง แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5 ก็ตาม ซึ่งหลักศรัทธามี 6 ประการ คือ
1) ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง ต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเจ้า ซึ่งเรียกว่า "อัลลอฮ์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าและมีอยู่จริง มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาในอัลลอฮ์ ว่าเป็นพระเจ้าองค์เดียว" และเป็นผู้ทรงคุณลักษณะดังนี้ คือ ทรงมีอย่างแน่นอน ไม่มีข้อสงสัย ทรงมีมาก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภพ ทรงดำรงอยู่ได้โดยพระองค์เอง ไม่มีใครสร้างพระองค์ ทรงเป็นผู้มีอยู่ตลอดกาล ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดจบทรงเอกานุภาพ ไม่มีสิ่งใดเป็นภาคี ทรงสรรพเดช ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงความยุติธรรม ทรงพระเมตตา ทรงเป็นผู้พิพากษาในการตัดสินชีวิตมนุษย์ในวันสุดท้ายที่เรียกว่า วันพิพากษา
ศรัทธาที่แท้จริงของมุสลิมต่ออัลลอฮ์นั้นหมายถึงการถวายทั้งกายและใจให้แก่พระองค์ การปฏิบัติผิดไปจากนี้ เช่น การยอมรับนับถือพระเจ้าองค์อื่นด้วย หรือการนับถือสิ่งอื่นใดเทียบเท่าพระองค์ถือว่าเป็นบาปมหันต์ที่มิอาจยกโทษให้ได้ มุสลิมที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์อย่างแท้จริงจะทำให้เขาละเว้นจากการทำชั่ว ทำแต่ความดี มีพลังใจที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย การศรัทธาต่ออัลลอฮ์จึงเป็นหัวใจของการเป็นมุสลิม
2) ศรัทธาในมลาอิกะฮ์ มลาอิกะห์นั้นเป็นเทพบริวารหรือเทวทูตของพระเจ้ามีจำนวนมากมายสุดจะประมาณได้ ทำหน้าที่สนองพระบัญชาอัลลอฮ์แตกต่างกัน คุณลักษณะของมลาอิกะห์มีดังนี้
- เป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ตามที่พระองค์กำหนด
- ไม่ต้องการหลับนอน
- จำแลงเป็นรูปร่างต่างๆ ได้
- ไม่มีบิดา มารดา บุตร ภรรยา
- ปฏิบัติคุณธรรมล้วน
- ไม่ละเมิดฝ่าฝืนบัญชาของอัลลอฮฺเลย
- ไม่กิน ดื่ม ขับถ่าย ไม่มีกิเลสตัณหา
มลาอิกะห์ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของพระเจ้าอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีจำนวนมากมายมหาศาล เท่าที่มีระบุชื่อและหน้าที่เฉพาะก็มีอยู่ 10 มลาอิกะห์ คือ
1. ยิบรออีล ทำหน้าที่สื่อโองการพระเจ้ากับศาสดา
2. มีกาฮีล ทำหน้าที่นำโชคลาภจากพระเจ้าสู่โลก
3. อิมรอพีล ทำหน้าที่เป่าสังข์ในวันสิ้นโลก
4. อิสรออีล ทำหน้าที่ถอดวิญญาณของมนุษย์และสัตว์
5. รอกีบ ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
6. อะติด ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
7. มุงกัร ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
8. นะกีร ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
9. ริดวาน ทำหน้าที่ดูแลกิจการของสวรรค์
10.มาลิก ทำหน้าที่ดูแลกิจการของขุมนรก
ผู้ที่จะเป็นมุสลิมอย่างสมบูรณ์ได้ต้องศรัทธาว่าเทวทูตเหล่านี้มีจริงอันจะเป็นผลดีแก่ผู้ศรัทธาเอง คือจะทำให้เขาทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว เพราะแต่ละคนมีเทวทูตคอยบันทึกผลความดีและความชั่วอยู่ตลอดเวลา
3) ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต มุสลิมเชื่อว่าศรัทธา โลกมนุษย์ในแต่ละยุคที่ผ่านมานับจากยุคแรก คือ อาดัมนั้นต้องมีศาสดาหรือ ศาสนทูต เป็นผู้รับบทบัญญัติของพระเจ้ามาประกาศเพื่อเผยแผ่โองการของพระเจ้า ซึ่งศาสนทูตนั้นมีจำนวนมากมาย ลักษณะคำประกาศของแต่ละศาสดาย่อมผิดแปลกไปตามยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกศาสดาประกาศออกมาเหมือนกัน คือ ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกันและห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุโดยสิ้นเชิง บรรดาศาสดาที่รับโองการพระเจ้ามาเผยแผ่เท่าที่มีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานมีทั้งสิ้น 25 ท่าน คือ
1. นบีอาดัม (อ.ล.) 14. นบีอีซา (อ.ล.)
2. นบีอิบรอฮีม (อ.ล.) 15. นบีอินยาส (อ.ล.)
3. นบีอิสฮากร (อ.ล.) 16. นบีอิสมาอีล (อ.ล.)
4. นบียากูฟ (อ.ล.) 17. นบีอัลย่าซะอ์ (อ.ล.)
5. นบีนัวฮ์ (อ.ล.) 18. นบียูนุส (อ.ล.)
6. นบีดาลูด (อ.ล.) 19. นบีลูด (อ.ล.)
7. นบีสุไลมาน (อ.ล.) 20. นบีอิดรีส (อ.ล.)
8. นบีไอยูบ (อ.ล.) 21. นบีฮูด (อ.ล.)
9. นบียูซูบ (อ.ล.) 22. นบีซู่ไอบ (อ.ล.)
10. นบีมูซา (อ.ล.) 23. นบีซอและซ์ (อ.ล.)
11. นบีฮารูน (อ.ล.) 24. นบีซุลกิฟลี่ (อ.ล.)
12. นบีซาการีบา (อ.ล.) 25. นบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (อ.ล.)
13. นบียาหย่า (อ.ล.)
คุณสมบัติของศาสนทูต1มี 4 ประการคือ
1.ศิดกุน คือ วาจาสัตย์ ไม่พูดเท็จ
2.อะมานะฮ์ คือ ไว้วางใจได้ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำความชั่วฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮ์
3.ตับลิค คือ นำศาสนามาเผยแผ่แก่มนุษย์โดยทั่วถึงไม่ปิดบังแม้แต่น้อย
4.ฟะตอนะฮ์ คือ เฉลียวฉลาด
บรรดาศาสดาทุกท่าน เป็นมนุษย์ธรรมดานี่เอง จึงดำรงชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป มีการกินอยู่หลับนอน แต่งงานและประกอบอาชีพ
สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นศาสดา ก็เพราะความเป็นศาสดา หมายถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตัวเองที่ได้รับมาจากพระเจ้า
หากศาสดาไม่ใช่คนสามัญชนธรรมดาแบบเดียวกับประชาชนทั่วไป คำสอนก็จะขาดการนำไปปฏิบัติ ซึ่งในที่สุดคำสอนก็จะหมดความหมาย และแน่นอนก็จะไม่มีใครพร้อมที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสดาสอนผู้อื่น ท่านก็ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย คำสอนที่ท่านสอนออกไปจึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือ บทบัญญัติที่พระเจ้าทรงดำรัสผ่านมาทางท่านนั่นเอง
ศาสนาอิสลามจำแนกพระศาสนทูตหรือผู้แทนของพระอัลเลาะห์หรือผู้รับโองการจากพระเจ้าให้นำบัญญัติของพระองค์มาสั่งสอน ชี้แนะแก่มวลมนุษย์ด้วยกัน ในแต่ละยุคแต่ละสมัยออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "นบี"
2. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าทำการเผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษย์ชาติทั่วไปด้วย ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "ซูล" หรือ "เราะซูล"
ส่วนองค์พระมุฮัมมัด ชาวมุสลิมเชื่อกันว่า พระองค์เป็นทั้งนบีและเราะซูล เพราะพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระอัลเลาะห์และทรงเป็นผู้เผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษยชาติอีกด้วย
4) ศรัทธาในพระคัมภีร์ คัมภีร์ที่ว่านี้หมายถึงคัมภีร์จำนวน 104 เล่มที่อัลเลาะฮ์ได้ประทานแก่เหล่าศาสนทูต ของพระองค์ เพื่อนำมาประกาศเผยแผ่แก่ปวงประชาชาติให้เหินห่างจากความมืดมนไปสู่ทางอันสว่างไสวและเที่ยงตรง ซึ่งคัมภีร์ที่สำคัญมีอยู่ 4 คัมภีร์ คือ
คัมภีร์โตราห์ หรือเตารอต (Torah) ประทานแก่นบีมูซาหรือโมเสส (Moses) เป็นภาษาฮีบรู
คัมภีร์ซะบูร์ (Zaboor) ประทานแก่นบีดาวูดหรือดาวิด (David) เป็นภาษาอียิปต์โบราณ
คัมภีร์อินญีล (Injeel or Gospel) ประทานแก่นบีอีซาหรือเยซู (Jesus) เป็นภาษาซีเรียโบราณ
คัมภีร์อัล-กุรอาน (Al-Quran) ประทานแก่นบีมุฮัมมัด (Muhammad) เป็นภาษาอาหรับ อัลกุรอาน เป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุดและมุสลิมเชื่อว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็นนบีคนสุดท้าย
คัมภีร์ต่างๆ ทั้งหมดนี้สรุปคำสอนได้เป็น 2 ประการ คือ
1. สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
2. สอนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน
5) ศรัทธาในวันพิพากษา ศาสนาอิสลามเรียกโลกในปัจจุบันว่า "โลกดุนยา" และอธิบายว่า ดุนยาเป็นโลกแห่งการทดลอง ไม่จีรังยั่งยืน รอวันแห่งความพินาศแตกสลายเรียกว่า "วันกียามะฮฺ" ซึ่งเป็นวันพิพากษาหรือวันกำเนิดปรโลก โลกใหม่ที่เกิดขึ้นในวันดังกล่าวเป็นโลกอมตะ เรียกว่า "โลกอาคีรัต" มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกนี้จะมีชีวิตเป็นนิรันดรในวันกียามะฮ์ นี้ ทุกชีวิตที่ตายไปแล้วจะกลับฟื้นคืนชีพอีกครั้งหนึ่ง เพื่อชำระผลกรรมที่ทำไว้สมัยที่มีชีวิตอยู่ มุสลิมผู้ศรัทธาในวันพิพากษาและสร้างสมความดีไว้มากจะได้ไปสู่ปรโลกพบกับชีวิตนิรันดร
6)ศรัทธาในการลิขิตของพระผู้เป็นเจ้า มุสลิมทุกคนจะต้องศรัทธาว่ากำหนดการต่างๆ ในโลก และชีวิตของบุคคลแต่ละคนเป็นไปโดยอำนาจของพระเจ้าทั้งสิ้น มนุษย์ต้องปฏิบัติตามครรลองที่ถูกกำหนดไว้แล้ว การดิ้นรนขวนขวายและวิริยภาพของมนุษย์ดำเนินไปจะอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น
ความเชื่อในอำนาจการลิขิตของพระเจ้านี้ มิได้หมายถึงการตัดทอนในด้านสร้างสรรค์ของมนุษย์แต่อย่างใด ซึ่งจะทำให้มนุษย์เกียจคร้านและไม่คิดจะทำหน้าที่อะไรโดยทุกสิ่งเป็นกำหนดของพระเจ้า
ความเชื่อข้อนี้นำมาประกอบในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีและสุขุม มีสติและไม่ประมาท ให้มีสติ ตั้งมั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปโดยการลิขิตของพระเจ้า ซึ่งมนุษย์เองก็ดิ้นรนพยายามและมุ่งมั่นอยู่เสมอ มีความขยันขันแข็ง และเริ่มบุกเบิกการงานความคิดทุกประการ ด้วยจิตใจที่สำนึกอยู่เสมอว่า อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของพระเจ้าอยู่เป็นนิตย์ ดังนั้นผลขอ