สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 22
อ่านจากกระทู้นี้เพิ่ม ชัดเจนแล้ว น้องคนนี้มีบุคลิค อาชญากรแน่นอน
อยากให้มีการติดตาม เเละรับการบำบัดแก้ไขกับจิตเเพทย์ตลอดไปจนโต
เพราะขนาดเป็นเด็กยังทำได้แบบนี้ โตไปไม่อยากจะคิด
===
บุคลิกของอาชญากร
น.พ.ปริทัศน์ วาทิกทินกร
กลุ่มนิติจิตเวช สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
บุคคลทั่วไปจะมีทัศนคติต่อคนที่มีบุคลิกภาพเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน (Psychopathy) ว่าเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรงและบ่อนทำลายความสงบสุข เป็นบุคคลอันตราย เช่น เป็นฆาตกรหรือประกอบอาชาญกรรมทางเพศ บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะประกอบอาชญากรรมต่าง ๆ แต่ยังเป็นผู้ที่มีความโกหกหลอกลวง สร้างความปั่นป่วนและก่อความเสียหายแก่สังคมในวงกว้างและกระทบต่อศีลธรรมอันดีงาม พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการป้องกันและปราบปราม เพื่อไม่ให้สังคมเกิดปฏิกิริยาหรือความรู้สึกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน
ที่มีของคำว่า Psychopathy เริ่มใช้กันในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้มีการกล่าวถึงบุคลิกภาพที่มีความเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ตนเองและผู้อื่น คำว่า Psychopathy ถูกใช้บรรยายลักษณะบุคลิกภาพผิดปกติที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นอันตรายและมีความรุนแรง ดังนั้นคำว่า Psychopathy จึงมีความหมายแตกต่างจากคำว่าบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) ที่ใช้กันทั่วไป ธรรมชาติของลักษณะพฤติกรรมการประกอบอาชญากรรมของบุคคลประเภทนี้อาจไม่ได้เป็นโรคจิตและไม่จำเป็นจะต้องประกอบอาชญากรรมรุนแรง หรือต้องคดีความเสมอไป บุคคลเหล่านี้อาจแฝงกายอยู่ในแวดวงสังคมเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในวงการต่าง ๆ และอาจเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ถึงกระนั้นก็ตามในบางขณะเราก็อาจพบพฤติกรรมที่สร้างความเสียหายโดยไม่คาดคิด สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการมีพยาธิสภาพทางจิตใจซึ่งสมควรได้รับการขัดเกลา
บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีความเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน (Psychopathy) ตามคำจำกัดความของ ดร.โรเบิร์ต ดี.แฮร์ ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาของมหาวิทยา บริติช โคลัมเบีย ได้กล่าวไว้นั้น ได้แก่บุคคลซึ่งมีอาการแสดงเข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัยของ The Hare's Psychopathic checklist - Revised (PCL-R) , 1991 มาตรวัดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อหาแนวโน้มของอุปนิสัยบุคคลที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีความเป็นผู้ร้ายโดยสันดานในกลุ่มประชากรผู้ป่วยทางนิติจิตเวชหรือผู้ต้องคดี ซึ่งประกอบด้วย 20 หัวข้อหลัก แต่ละหัวข้อสะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของอาการที่มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้คือ
1. ความคล่องตัว / ความมีเสน่ห์ภายนอก (Glibness / Superficial)
2. ความหลงใหลในคุณค่าของตนเอง (Grandiose sense of worth)
3. ความต้องการการกระตุ้น เนื่องจากมีความโน้มเอียงไปในทางเบื่อหน่าย (Needs of stimulation / Proneness to boredom)
4. การโกหกในระดับที่ถือว่ามีพยาธิสภาพทางจิต (Pathological lying)
5. การหลอกใช้ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของตัวเอง (Conning / Manipulative)
6. การขาดความสำนึกผิดหรือรู้สึกผิด (Lack of remorse or guilty)
7. ความประทับใจอย่างผิวเผิน (Shallow affect)
8. ความเมินเฉย / การขาดความรู้สึกร่วม (Callous / lack of empathy)
9. วิถีชีวิตแบบพึ่งพาผู้อื่น (Parasitic lifestyle)
10. การควบคุมความประพฤติไม่ได้ (Poor behavior controls)
11. พฤติกรรมทางเพศ (Promiscuous sexaul behavior)
12. มีปัญหาพฤติกรรมเริ่มแรกตั้งแต่วัยเด็ก (Early behavior problem)
13. ไม่มีเป้าหมายที่เป็นไปได้หรือเป้าหมายระยะยาว (Lack of realistic / Long - teem goals)
14. ความหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
15. การขาดความรับผิดชอบ (Irresponsibility)
16. ความไม่สามารถยอมรับหรือแสดงความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง (Failure to accept responsibility for own actions)
17. ความสัมพันธ์หลากหลาย (Many shot-term marital relationship)
18. มีประวัติการกระทำความผิดในขณะที่เป็นเด็กและเยาวชน (Juvenile selinquency)
19. ประวัติการถูกเพิกถอนการปล่อยตัวอย่างมีเงื่อนไข (Revocation of conditional release)
20. มีความพลิกแพลงในการก่ออาชญากรรม (Criminal versatility)
มาตรวัดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพยาธิสภาพทางจิตโดยมีรากฐานมาจากการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องจึงได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากนักวิจัยทางด้านนิติจิตเวช เนื่องจากความแม่นยำในการทำนายพฤติกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม รวมถึงพฤติกรรมที่รุนแรงอื่น ๆ
การใช้ PCL-R ประกอบด้วยขั้นตอนการสัมภาษณ์อย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงประวัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชญากรรม จึงต้องใช้ระยะเวลา และความชำนาญในระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับบุคลากรที่ไม่มีความชำนาญทางด้านนิติจิตเวช หรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงประวัติอาชญากรรมหรือกลุ่มเป้าหมาย คืออาชญากร ซึ่งมีความแตกต่างจากผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป
วารสารยุติธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2548
อยากให้มีการติดตาม เเละรับการบำบัดแก้ไขกับจิตเเพทย์ตลอดไปจนโต
เพราะขนาดเป็นเด็กยังทำได้แบบนี้ โตไปไม่อยากจะคิด
===
บุคลิกของอาชญากร
น.พ.ปริทัศน์ วาทิกทินกร
กลุ่มนิติจิตเวช สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
บุคคลทั่วไปจะมีทัศนคติต่อคนที่มีบุคลิกภาพเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน (Psychopathy) ว่าเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรงและบ่อนทำลายความสงบสุข เป็นบุคคลอันตราย เช่น เป็นฆาตกรหรือประกอบอาชาญกรรมทางเพศ บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะประกอบอาชญากรรมต่าง ๆ แต่ยังเป็นผู้ที่มีความโกหกหลอกลวง สร้างความปั่นป่วนและก่อความเสียหายแก่สังคมในวงกว้างและกระทบต่อศีลธรรมอันดีงาม พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการป้องกันและปราบปราม เพื่อไม่ให้สังคมเกิดปฏิกิริยาหรือความรู้สึกต่อสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน
ที่มีของคำว่า Psychopathy เริ่มใช้กันในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้มีการกล่าวถึงบุคลิกภาพที่มีความเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ตนเองและผู้อื่น คำว่า Psychopathy ถูกใช้บรรยายลักษณะบุคลิกภาพผิดปกติที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นอันตรายและมีความรุนแรง ดังนั้นคำว่า Psychopathy จึงมีความหมายแตกต่างจากคำว่าบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) ที่ใช้กันทั่วไป ธรรมชาติของลักษณะพฤติกรรมการประกอบอาชญากรรมของบุคคลประเภทนี้อาจไม่ได้เป็นโรคจิตและไม่จำเป็นจะต้องประกอบอาชญากรรมรุนแรง หรือต้องคดีความเสมอไป บุคคลเหล่านี้อาจแฝงกายอยู่ในแวดวงสังคมเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จในวงการต่าง ๆ และอาจเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ถึงกระนั้นก็ตามในบางขณะเราก็อาจพบพฤติกรรมที่สร้างความเสียหายโดยไม่คาดคิด สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการมีพยาธิสภาพทางจิตใจซึ่งสมควรได้รับการขัดเกลา
บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีความเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน (Psychopathy) ตามคำจำกัดความของ ดร.โรเบิร์ต ดี.แฮร์ ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาของมหาวิทยา บริติช โคลัมเบีย ได้กล่าวไว้นั้น ได้แก่บุคคลซึ่งมีอาการแสดงเข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัยของ The Hare's Psychopathic checklist - Revised (PCL-R) , 1991 มาตรวัดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อหาแนวโน้มของอุปนิสัยบุคคลที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีความเป็นผู้ร้ายโดยสันดานในกลุ่มประชากรผู้ป่วยทางนิติจิตเวชหรือผู้ต้องคดี ซึ่งประกอบด้วย 20 หัวข้อหลัก แต่ละหัวข้อสะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของอาการที่มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้คือ
1. ความคล่องตัว / ความมีเสน่ห์ภายนอก (Glibness / Superficial)
2. ความหลงใหลในคุณค่าของตนเอง (Grandiose sense of worth)
3. ความต้องการการกระตุ้น เนื่องจากมีความโน้มเอียงไปในทางเบื่อหน่าย (Needs of stimulation / Proneness to boredom)
4. การโกหกในระดับที่ถือว่ามีพยาธิสภาพทางจิต (Pathological lying)
5. การหลอกใช้ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ของตัวเอง (Conning / Manipulative)
6. การขาดความสำนึกผิดหรือรู้สึกผิด (Lack of remorse or guilty)
7. ความประทับใจอย่างผิวเผิน (Shallow affect)
8. ความเมินเฉย / การขาดความรู้สึกร่วม (Callous / lack of empathy)
9. วิถีชีวิตแบบพึ่งพาผู้อื่น (Parasitic lifestyle)
10. การควบคุมความประพฤติไม่ได้ (Poor behavior controls)
11. พฤติกรรมทางเพศ (Promiscuous sexaul behavior)
12. มีปัญหาพฤติกรรมเริ่มแรกตั้งแต่วัยเด็ก (Early behavior problem)
13. ไม่มีเป้าหมายที่เป็นไปได้หรือเป้าหมายระยะยาว (Lack of realistic / Long - teem goals)
14. ความหุนหันพลันแล่น (Impulsivity)
15. การขาดความรับผิดชอบ (Irresponsibility)
16. ความไม่สามารถยอมรับหรือแสดงความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง (Failure to accept responsibility for own actions)
17. ความสัมพันธ์หลากหลาย (Many shot-term marital relationship)
18. มีประวัติการกระทำความผิดในขณะที่เป็นเด็กและเยาวชน (Juvenile selinquency)
19. ประวัติการถูกเพิกถอนการปล่อยตัวอย่างมีเงื่อนไข (Revocation of conditional release)
20. มีความพลิกแพลงในการก่ออาชญากรรม (Criminal versatility)
มาตรวัดนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพยาธิสภาพทางจิตโดยมีรากฐานมาจากการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องจึงได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากนักวิจัยทางด้านนิติจิตเวช เนื่องจากความแม่นยำในการทำนายพฤติกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม รวมถึงพฤติกรรมที่รุนแรงอื่น ๆ
การใช้ PCL-R ประกอบด้วยขั้นตอนการสัมภาษณ์อย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงประวัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชญากรรม จึงต้องใช้ระยะเวลา และความชำนาญในระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับบุคลากรที่ไม่มีความชำนาญทางด้านนิติจิตเวช หรือผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงประวัติอาชญากรรมหรือกลุ่มเป้าหมาย คืออาชญากร ซึ่งมีความแตกต่างจากผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป
วารสารยุติธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2548
แสดงความคิดเห็น
จากข่าวดช.ถีบสองดญ.จมน้ำดับสองศพ
ดูเป็นเจตนาฆ่าซะมากกว่าจากพฤติกรรม
เริ่มจากกลั่นเเกล้งดญ.จนต้องบอกผู้ปกครอง
อันนี้คุณพ่อเล่า เเละ ไม่ใช่เพื่อนสนิทกันด้วย จนมาถีบลงน้ำ ดญ.พยายามเกาะขอบปูน
ก็ถีบมือให้ปล่อยจนดญ.ทนไม่ไหว จมน้ำตายทั้งสองคน
เเละจุดสำคัญคือ ไปเอามือปิดปากน้องชายดญ.ที่จมน้ำ
ไม่ให้ขอความช่วยเหลือจากใคร เหมือนเจตนาฆ่าชัดเจน
จนดญ.จมน้ำหายไป น่ากลัวจัง
ผมว่าดช.คนนี้พฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคมอย่างมาก
คือเราจะปกป้องลูกหลานจากดช.คนนี้ได้ยังไง
โตขึ้นเค้าจะมีพฤติกรรมเเบบเดิมรึเปล่า
สังคมสมัยนี้อันตรายขึ้นทุกวันจริงๆ
ไว้อาลัยให้น้องทั้งสองด้วย
เเสดงความเสียใจคุณพ่อน้องนะครับ
ผู้ปกครองดช.คุณจะเเสดงความรับผิดชอบยังไง
คำถามสำคัญเค้าเลี้ยงลูกแบบไหนกันบ้านนี้