สำนักงานประกันสังคม ฟังทางนี้!!!
สิทธิประโยชน์ทันตกรรมต้องเท่าเทียม
อุด ขูด ถอน ผ่าตัดฟันคุด และฟันเทียมต้องใช้ได้ตามความจำเป็น ไม่ต้องสำรองจ่าย ไม่ต้องจ่ายเพิ่มส่วนเกินเอง ต้องเข้ารับบริการได้ทั้งคลินิกรัฐและเอกชน
ที่ผ่านมา มีความเดือดร้อนของผู้ประกันตน และได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการรับบริการทันตกรรมของสิทธิประกันสังคม (สปส.) โดยเฉพาะการบริการพื้นฐาน อย่างอุดฟัน ถอนฟัน และขูดหินปูน เพราะแม้จะเหมือนกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) แต่กลับพบว่าผู้ประกันตนมีปัญหาเรื่องนี้มาก เนื่องจากประกันสังคมจะจำกัดวงเงินในการเข้ารับบริการพื้นฐานไม่เกินวงเงิน 600 บาทต่อปี โดยผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน และหากผู้ประกันตนมีปัญหาช่องปากในราคาที่เกินวงเงินกำหนด ก็ต้องจ่ายเอง ซึ่งแตกต่างจากสิทธิบัตรทองที่เมื่อไปอุดฟัน แต่กลับพบปัญหาโรคทางช่องปากอื่นๆ เพิ่ม เช่น โรคเหงือก ก็จะครอบคลุมรักษาให้ทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงิน หรือจ่ายเพิ่มเหมือนผู้ประกันตน
เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมกันชัดๆ ของทั้ง 3 สิทธิ ได้แก่ บัตรทอง ข้าราชการ และประกันสังคม แล้วจะรู้ว่า 'ความเหลื่อมล้ำ' ทางการทำฟัน นั้นมีอยู่จริง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้จากคลิป 'ปวดฟัน ประกันสังคม: ผุวันนี้ อุดปีหน้า' ได้ที่นี่
https://www.facebook.com/waymagazine/?ref=hl
ล่าสุด มีกรณีผู้ประกันตนท่านหนึ่งอายุประมาณ 50 ปี มีปัญหาปวดฟันมาก แต่ไม่กล้าไปรับบริการ เพราะกลัวต้องจ่ายเพิ่ม ขณะเดียวกัน ไม่มีเงินสำรองจ่าย เพราะเป็นลูกจ้างมีรายได้วันละ 300 บาท หากสำรองจ่ายไปก่อนจะไม่มีเงินใช้จ่ายรายวันทำให้ต้องทนปวดฟันมาเป็นเวลา 4-5 ปี สุดท้ายป่วยด้วยโรคมะเร็งช่องปากและเสียชีวิตแล้ว
ไม่อุดวันนี้ แถมฟรีอีกหลายโรค ... เรื่องไม่เล็กอย่างสุขภาพช่องปากถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที โรคเบาหวานและโรคหัวใจอาจถามหา พร้อมคำถามต่างๆ ที่มาจาก 'ความเหลื่อมล้ำ' ทางการทำฟัน เช่น - ถ้าต้องรักษาต่อจริงๆ แต่ไม่มีเงินจะทำอย่างไร - สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมที่ระบบประกันสังคมควรจะมี มีอะไรบ้าง หาคำตอบทั้งหมดได้จากคลิป 'ปวดฟัน ประกันสังคม (ตอน 2) : ไม่อุดวันนี้ แถมฟรีอีกหลายโรค'
เราพบว่าผู้ประกันตนที่เข้าถึงบริการทันตกรรมน้อยมาก โดยข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมพบว่า ปี 2557 มีผู้ประกันตนเข้ารับบริการอุดฟันจำนวน 668,335 คน ถอนฟันจำนวน 473,719 คน และขูดหินปูนจำนวน 586,984 คน ขณะที่ผู้ประกันตนต้องใส่ฟันปลอมมีจำนวน 40,502 คน คิดอัตราเฉลี่ยผู้ประกันตนที่เข้าถึงบริการทันตกรรมอยู่ที่ร้อยละ 6 ของผู้ประกันตนทั้งหมด 11 ล้านคน
สรุปคือ มีผู้ประกันตนประมาณ 1.7 ล้านคนที่เข้าถึงบริการ ขณะที่สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ หรือ IHPP เคยสำรวจการเข้าถึงบริการทันตกรรม และส่วนหนึ่งเคยสอบถามผู้ประกันตนว่า เคยไปรับบริการทันตกรรมและได้เบิกเงินกับทางประกันสังคมหรือไม่ กลับพบว่าร้อยละ 37 ของผู้ประกันตนที่ไปใช้บริการ กลับไม่เคยเบิกเงินที่สำรองจ่ายไปเลย เพราะใช้ประกันสุขภาพจากเอกชน และยอมจ่ายเงินเอง เพราะรู้สึกเสียเวลาต้องไปเบิกเงินเพียง 300-600 บาท ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างแรงงานหากต้องไปเบิกเงินจะทำให้เสียโอกาสการทำงาน และรับค่าจ้างรายวัน
ร่วมลงชื่อสนับสนุนได้ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ
.
.
.
.
.
https://www.change.org/p/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AA-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2?source_location=discover_feed
ขอแรงสนับสนุน เพิ่มสิทธิประโยชน์ทันตกรรม ของผู้ประกันตนค่ะ
สิทธิประโยชน์ทันตกรรมต้องเท่าเทียม
อุด ขูด ถอน ผ่าตัดฟันคุด และฟันเทียมต้องใช้ได้ตามความจำเป็น ไม่ต้องสำรองจ่าย ไม่ต้องจ่ายเพิ่มส่วนเกินเอง ต้องเข้ารับบริการได้ทั้งคลินิกรัฐและเอกชน
ที่ผ่านมา มีความเดือดร้อนของผู้ประกันตน และได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการรับบริการทันตกรรมของสิทธิประกันสังคม (สปส.) โดยเฉพาะการบริการพื้นฐาน อย่างอุดฟัน ถอนฟัน และขูดหินปูน เพราะแม้จะเหมือนกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) แต่กลับพบว่าผู้ประกันตนมีปัญหาเรื่องนี้มาก เนื่องจากประกันสังคมจะจำกัดวงเงินในการเข้ารับบริการพื้นฐานไม่เกินวงเงิน 600 บาทต่อปี โดยผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน และหากผู้ประกันตนมีปัญหาช่องปากในราคาที่เกินวงเงินกำหนด ก็ต้องจ่ายเอง ซึ่งแตกต่างจากสิทธิบัตรทองที่เมื่อไปอุดฟัน แต่กลับพบปัญหาโรคทางช่องปากอื่นๆ เพิ่ม เช่น โรคเหงือก ก็จะครอบคลุมรักษาให้ทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงิน หรือจ่ายเพิ่มเหมือนผู้ประกันตน
เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมกันชัดๆ ของทั้ง 3 สิทธิ ได้แก่ บัตรทอง ข้าราชการ และประกันสังคม แล้วจะรู้ว่า 'ความเหลื่อมล้ำ' ทางการทำฟัน นั้นมีอยู่จริง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามได้จากคลิป 'ปวดฟัน ประกันสังคม: ผุวันนี้ อุดปีหน้า' ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/waymagazine/?ref=hl
ล่าสุด มีกรณีผู้ประกันตนท่านหนึ่งอายุประมาณ 50 ปี มีปัญหาปวดฟันมาก แต่ไม่กล้าไปรับบริการ เพราะกลัวต้องจ่ายเพิ่ม ขณะเดียวกัน ไม่มีเงินสำรองจ่าย เพราะเป็นลูกจ้างมีรายได้วันละ 300 บาท หากสำรองจ่ายไปก่อนจะไม่มีเงินใช้จ่ายรายวันทำให้ต้องทนปวดฟันมาเป็นเวลา 4-5 ปี สุดท้ายป่วยด้วยโรคมะเร็งช่องปากและเสียชีวิตแล้ว
ไม่อุดวันนี้ แถมฟรีอีกหลายโรค ... เรื่องไม่เล็กอย่างสุขภาพช่องปากถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที โรคเบาหวานและโรคหัวใจอาจถามหา พร้อมคำถามต่างๆ ที่มาจาก 'ความเหลื่อมล้ำ' ทางการทำฟัน เช่น - ถ้าต้องรักษาต่อจริงๆ แต่ไม่มีเงินจะทำอย่างไร - สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมที่ระบบประกันสังคมควรจะมี มีอะไรบ้าง หาคำตอบทั้งหมดได้จากคลิป 'ปวดฟัน ประกันสังคม (ตอน 2) : ไม่อุดวันนี้ แถมฟรีอีกหลายโรค'
เราพบว่าผู้ประกันตนที่เข้าถึงบริการทันตกรรมน้อยมาก โดยข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคมพบว่า ปี 2557 มีผู้ประกันตนเข้ารับบริการอุดฟันจำนวน 668,335 คน ถอนฟันจำนวน 473,719 คน และขูดหินปูนจำนวน 586,984 คน ขณะที่ผู้ประกันตนต้องใส่ฟันปลอมมีจำนวน 40,502 คน คิดอัตราเฉลี่ยผู้ประกันตนที่เข้าถึงบริการทันตกรรมอยู่ที่ร้อยละ 6 ของผู้ประกันตนทั้งหมด 11 ล้านคน
สรุปคือ มีผู้ประกันตนประมาณ 1.7 ล้านคนที่เข้าถึงบริการ ขณะที่สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ หรือ IHPP เคยสำรวจการเข้าถึงบริการทันตกรรม และส่วนหนึ่งเคยสอบถามผู้ประกันตนว่า เคยไปรับบริการทันตกรรมและได้เบิกเงินกับทางประกันสังคมหรือไม่ กลับพบว่าร้อยละ 37 ของผู้ประกันตนที่ไปใช้บริการ กลับไม่เคยเบิกเงินที่สำรองจ่ายไปเลย เพราะใช้ประกันสุขภาพจากเอกชน และยอมจ่ายเงินเอง เพราะรู้สึกเสียเวลาต้องไปเบิกเงินเพียง 300-600 บาท ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างแรงงานหากต้องไปเบิกเงินจะทำให้เสียโอกาสการทำงาน และรับค่าจ้างรายวัน
ร่วมลงชื่อสนับสนุนได้ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ
.
.
.
.
.
https://www.change.org/p/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AA-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2?source_location=discover_feed