เปิดถนนเลียบคลองบางเขน แก้รถติดบนถนนวิภาฯ-พหล
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 24 มี.ค. ที่ถนนเลียบคลองบางเขน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดการจราจรถนนเลียบคลองบางเขน ( ถนนชั่วคราว ) โดยมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักการโยธา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรหลายโครงการ ทั้งในพื้นที่ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ซึ่งหลายโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ และบางโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ดังเช่นเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.58 กรุงเทพมหานครได้เปิดถนนโครงการก่อสร้างถนนพหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช สำหรับการแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณพื้นที่นี้ มีโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่เชื่อมต่อ ถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน (บริเวณซอยพหลโยธิน 49/1) และในอนาคตอันใกล้นี้ มีโครงการก่อสร้างอีกหลายโครงการ เพื่อพัฒนาโครงข่ายถนนบริเวณนี้ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อทุกโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นการยกระดับการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับการดำเนินโครงการก่อสร้าง ถนนเลียบคลองบางเขน ซึ่งเป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาการจราจร ในพื้นที่เขตบางเขน เขตสายไหม เขตจตุจักร เป็นงานก่อสร้างถนนในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนงามวงศ์วาน วงเวียนบางเขน ถึงสี่แยกเกษตร และพื้นที่ปิดล้อมถนนงามวงศ์วาน ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน และถนนแจ้งวัฒนะ เพิ่มทางเลือกในการเดินทางระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน ช่วยกระจายปริมาณจราจรในถนนงามวงศ์วาน บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นถนนในแผนแม่บทผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 สาย ค 2 โครงการก่อสร้างถนนเลียบคลองบางเขนเชื่อมถนนวิภาวดีรังสิต (บริเวณสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) กับถนนพหลโยธิน (บริเวณซอยพหลโยธิน 49/1) มีลักษณะเป็นโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 ช่องจราจร 2 ทิศทาง เขตทาง 30 เมตร ระยะทางประมาณ 2,000 เมตร พร้อมทางเท้า ทางจักรยาน เกาะกลาง ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบจราจรสงเคราะห์ และเขื่อนกันตลิ่ง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 จากถนนวิภาวดีรังสิตเลียบคลองบางเขน ระยะทางประมาณ 200 เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จ (ประมาณปี พ.ศ. 2545) ระยะที่ 2 ก่อสร้างต่อจากช่วงที่ 1 เลียบคลองบางเขน ระยะทางประมาณ 800 เมตร และระยะที่ 3 ต่อจากระยะที่ 2 เลียบคลองบางเขน ออกสู่ถนนพหลโยธิน บริเวณซอยพหลโยธิน 49/1 ระยะทางประมาณ 1,000 เมตรสำหรับการก่อสร้างระยะที่ 2 และ ระยะที่ 3 ที่เกิดความล่าช้า เนื่องจากติดอุปสรรคชุมชนรุกล้ำที่สาธารณะในเขตทาง ทำให้ไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ ซึ่งสำนักการโยธา ได้เข้าดำเนินการเจรจาและจ่ายค่าทดแทน ทำให้ชุมชนยอมย้ายออกจากแนวเขตทางสามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างถนนได้ ปัจจุบันบริเวณถนนพหลโยธิน มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งจะต้องกั้นพื้นที่เพื่อใช้ก่อสร้าง ทำให้ช่องจราจรในถนนพหลโยธิน ลดลงจากเดิม 6 ช่องจราจร เหลือ 4 ช่องจราจร และมีการทุบรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร ทำให้การจราจรในถนนพหลโยธินติดขัดอย่างมาก กรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนเลียบคลองบางเขน (ถนนชั่วคราว) ไปก่อน ซึ่งเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร โดยก่อสร้างเป็นถนนแอสฟัลต์ ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ความยาวประมาณ 2,000 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร จัดการจราจร 2 ทิศทางๆละ 1 ช่องจราจร พร้อมงานจราจรสังเคราะห์และระบบไฟฟ้าแสงสว่างในเขตทางกว้างประมาณ 30 เมตร ซึ่งจะช่วยลดปัญหาจราจรในขณะก่อสร้างรถไฟฟ้าดังกล่าว และเป็นการเพิ่มโครงข่ายจราจรในพื้นที่ด้วย..
เปิด ถนนเลียบคลองบางเขน ( ถนนชั่วคราว ) แก้รถติด บน ถนนวิภาวดีรังสิต-ถนนพหลโยธิน
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 24 มี.ค. ที่ถนนเลียบคลองบางเขน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดการจราจรถนนเลียบคลองบางเขน ( ถนนชั่วคราว ) โดยมีคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร สำนักการโยธา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการจราจรหลายโครงการ ทั้งในพื้นที่ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ซึ่งหลายโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ และบางโครงการได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ดังเช่นเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.58 กรุงเทพมหานครได้เปิดถนนโครงการก่อสร้างถนนพหลโยธิน-รัตนโกสินทร์สมโภช สำหรับการแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณพื้นที่นี้ มีโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่เชื่อมต่อ ถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน (บริเวณซอยพหลโยธิน 49/1) และในอนาคตอันใกล้นี้ มีโครงการก่อสร้างอีกหลายโครงการ เพื่อพัฒนาโครงข่ายถนนบริเวณนี้ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อทุกโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นการยกระดับการเดินทางของประชาชนให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับการดำเนินโครงการก่อสร้าง ถนนเลียบคลองบางเขน ซึ่งเป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาการจราจร ในพื้นที่เขตบางเขน เขตสายไหม เขตจตุจักร เป็นงานก่อสร้างถนนในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนงามวงศ์วาน วงเวียนบางเขน ถึงสี่แยกเกษตร และพื้นที่ปิดล้อมถนนงามวงศ์วาน ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน และถนนแจ้งวัฒนะ เพิ่มทางเลือกในการเดินทางระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน ช่วยกระจายปริมาณจราจรในถนนงามวงศ์วาน บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นถนนในแผนแม่บทผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 สาย ค 2 โครงการก่อสร้างถนนเลียบคลองบางเขนเชื่อมถนนวิภาวดีรังสิต (บริเวณสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) กับถนนพหลโยธิน (บริเวณซอยพหลโยธิน 49/1) มีลักษณะเป็นโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 ช่องจราจร 2 ทิศทาง เขตทาง 30 เมตร ระยะทางประมาณ 2,000 เมตร พร้อมทางเท้า ทางจักรยาน เกาะกลาง ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบจราจรสงเคราะห์ และเขื่อนกันตลิ่ง ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 จากถนนวิภาวดีรังสิตเลียบคลองบางเขน ระยะทางประมาณ 200 เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จ (ประมาณปี พ.ศ. 2545) ระยะที่ 2 ก่อสร้างต่อจากช่วงที่ 1 เลียบคลองบางเขน ระยะทางประมาณ 800 เมตร และระยะที่ 3 ต่อจากระยะที่ 2 เลียบคลองบางเขน ออกสู่ถนนพหลโยธิน บริเวณซอยพหลโยธิน 49/1 ระยะทางประมาณ 1,000 เมตรสำหรับการก่อสร้างระยะที่ 2 และ ระยะที่ 3 ที่เกิดความล่าช้า เนื่องจากติดอุปสรรคชุมชนรุกล้ำที่สาธารณะในเขตทาง ทำให้ไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ ซึ่งสำนักการโยธา ได้เข้าดำเนินการเจรจาและจ่ายค่าทดแทน ทำให้ชุมชนยอมย้ายออกจากแนวเขตทางสามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างถนนได้ ปัจจุบันบริเวณถนนพหลโยธิน มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งจะต้องกั้นพื้นที่เพื่อใช้ก่อสร้าง ทำให้ช่องจราจรในถนนพหลโยธิน ลดลงจากเดิม 6 ช่องจราจร เหลือ 4 ช่องจราจร และมีการทุบรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร ทำให้การจราจรในถนนพหลโยธินติดขัดอย่างมาก กรุงเทพมหานครจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างถนนเลียบคลองบางเขน (ถนนชั่วคราว) ไปก่อน ซึ่งเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนพหลโยธิน เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร โดยก่อสร้างเป็นถนนแอสฟัลต์ ผิวจราจรกว้าง 8 เมตร ความยาวประมาณ 2,000 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร จัดการจราจร 2 ทิศทางๆละ 1 ช่องจราจร พร้อมงานจราจรสังเคราะห์และระบบไฟฟ้าแสงสว่างในเขตทางกว้างประมาณ 30 เมตร ซึ่งจะช่วยลดปัญหาจราจรในขณะก่อสร้างรถไฟฟ้าดังกล่าว และเป็นการเพิ่มโครงข่ายจราจรในพื้นที่ด้วย..