ช่วยบอกที่ครับ หลง มากมายกับการเรียน

กระทู้คำถาม
ผมอยากทราบว่าตอนนี้
ผมอยากไปเรียนต่อคับ เทียบโอนน่ะคับ
ผมจบ ปวส.อิเล็กทรอนิกส์คับ

ถ้าผมอยากจะต่อ ป.ตรี สาขา วิศวกรรมเครื่องกล  วิศวกรรมอุตสาหการ อื่นๆ

ที่ไม่ใช่ อิเล็กทรอนิกส์ แต่เป็นเทียบโอน

มันจะมีผลอะไรไหมครับ หรือ หลักสูตรใหม่เหมือนกันหมดเลย ช่วยทีนะครับ  
Facepalm
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ไม่เลือกงาน   ไม่ตกงาน   ถ้า เก่ง จริง และ มี ความสามารถ จริง
มหาวิทยาลัย   ไม่ใช่   มหาลัย
ครับ   ไม่ใช่   คับ
มหาวิทยาลัย   มี ทั้ง มหาวิทยาลัย เอกชน และ มหาวิทยาลัย รัฐบาล
ทุก วิทยาลัย   มหาวิทยาลัย   ดีหมด   ขึ้นอยู่กับผู้เรียน   จะมีความขยัน เยอะ แค่ไหน จะเก็บเกี่ยวเอาความรู้มาได้ เยอะ แค่ไหน

จบ   สายอาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส สาขาอิเล็กทรอนิกส์ ต้องขยันเพิ่ม เพราะ พื้นฐาน สายสามัญ ไม่แน่น

จบ   สายอาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส สาขาอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยน สาขา ก็ อาจจะ เทียบโอน ได้ น้อย อาจจะจบ ช้า ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความขยันของแต่ละบุคคล ว่า จะมี ความขยัน เยอะ แค่ไหน จะเก็บเกี่ยวเอาความรู้มาได้ เยอะ แค่ไหน วิชา ที่ เทียบโอน ต้องได้ เกรด 2 หรือ ซี และ อาจจะเสีย เปรียบ คนที่ จบ สายอาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส สาขาเครื่องกล มาโดยตรง

แต่ละ   คณะ   สาขา   ภาควิชา   เน้นคนละด้าน

น้อง   ต้องหาตัวเองให้พบ   ถนัดอะไร   ไม่ถนัดอะไร   บุคลิกภาพ   เป็น   อย่างไร   เรียนจบแล้วอยากทำงานเกี่ยวกับอะไรแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่ใช่ทำในสิ่งที่ชอบแล้วจะมีความสุขในการเรียน

บางคนคิดว่า   ถนัด   พอมาเรียนจริง   ๆ   เรียน   ไม่ไหว   ไม่ได้   ทุก ปี   ทุก มหาวิทยาลัย   มี ย้าย คณะ   สาขา   ภาควิชา

ภาษา   ใช้ในการเรียน   ต่อ   และ   การทำงาน

อิเล็กทรอนิกส์   เป็นพื้นฐาน   ของ   ไฟฟ้า   ทุก สาขา   ภาควิชา

ถามวิศวะ: วิศวกรรมเครื่องกล จุฬาฯ http://www.youtube.com/watch?v=IJ2-zo0FsA4
ถามวิศวะ: วิศวกรรมอุตสาหการ จุฬาฯ https://www.youtube.com/watch?v=in_dOVTMffQ

กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 1 1/4 https://www.youtube.com/watch?v=YCpKnO1YeaQ
กบนอกกะลา : กว่าจะเป็นวิศวกร 1 2/4 https://www.youtube.com/watch?v=Maw_OlY0BBU
กบนอกกะลา : กว่าจะเป็นวิศวกร 1 3/4 https://www.youtube.com/watch?v=U5jkvRjI4lc
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 1 4/4 https://www.youtube.com/watch?v=n3yvtXVXaqQ
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 1/4 https://www.youtube.com/watch?v=TCVa8QVWvms
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 2/4 https://www.youtube.com/watch?v=1IrzM-rmbwk
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 3/4 https://www.youtube.com/watch?v=WgYmbifMW4o
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 4/4 https://www.youtube.com/watch?v=agomZpYzB0o

จบ   คณะวิศวกรรมศาสตร์   ต้องสอบ   ใบกว   ประกอบวิชาชีพ

คณะวิศวกรรมศาสตร์
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.ช่างคิด   ชอบประดิษฐ์   คิดค้นสิ่งต่าง   ๆ
.สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่   ๆ   โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม
.ชอบคำนวณ   การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์   และ   คณิตศาสตร์
.มีลักษณะความเป็นผู้นำ
.ความสามารถวางแผน   และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
.ยึดมั่นในหลักเหตุและผล

สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์


วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เน้นหนักไปที่การบูรณาการนำอุปกรณ์ทางไฟฟ้า มาออกแบบวงจรไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกทุกชนิดในโลก ให้มีการใช้งานได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยคณะวิศวกรรมสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำการสอนอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนมีความเชี่ยวชาญระดับสูง โดยมีการเรียงลำดับการสอนดังนี้

กฎ และ ทฤษฎีทางวงจรไฟฟ้า
อุปกรณ์พื้นฐานของวงจรไฟฟ้า R resistor (ตัวต้านทาน), L Inductor (ตัวเหนี่ยวนำ), C Capacitor (ตัวเก็บประจุ) ให้ทราบความสามารถของแต่ละอุปกรณ์ การทำงานของแต่ละอุปกรณ์ และการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาออกแบบเพื่อทำงานอย่างง่าย และ ทำงานเชิงประยุกต์
อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และวงจรรวม (Active Device and IC) จำพวก Diode, Transistor, FET, Integrated Circuit ให้ทราบความสามารถของแต่ละอุปกรณ์ การทำงานของแต่ละอุปกรณ์ และการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาออกแบบเพื่อทำงานอย่างง่ายและทำงานเชิงประยุกต์
ฝึกการออกแบบวงจรเพื่อทำงานตามโจทย์ที่กำหนด โดยประยุกต์ใช้อุปกรณ์พื้นฐาน อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และ วงจรรวม มาทำงานร่วมกัน
ฝึกการมองปัญหาโดยรวบยอด และวิเคราะห์ สามารถแก้ไขปัญหา นำมาพิจารณาสร้างอุปกรณ์ด้วยวงจรไฟฟ้าที่ได้เรียนมา
      จากที่กล่าวมาเมื่อทำการเรียนแล้วเสร็จนักศึกษาจะมีความสามารถในการออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลากหลายชนิดตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ ตู้เติมเงินมือถือ เครื่องขายสินค้าหยอดเหรียญ เป็นต้น

อาชีพที่รองรับ
วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำงานได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม ด้านการออกแบบและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้านควบคุมและซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำให้มีความสามารถในการเข้ารับตำแหน่งงานได้หลายตำแหน่งดังนี้

Quality Engineer (วิศวกรคุณภาพ)
Production /Production Supervisor (ผู้ควบคุมการผลิต)
Maintenance Engineer (วิศวกรบำรุงรักษา)
Customer Engineer (วิศวกรผู้ดูแลและสื่อสารกับลูกค้า)
R&D Circuit Engineer (Research and Develope) (วิศวกรผู้วิจัยและพัฒนา)
Sale Engineer (วิศวกรผู้ดูแลการข่าย)
วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำงานได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการออกแบบและผลิตแผ่นวงจรรวม อุตสาหกรรมอุปกรณ์หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ที่มีฐานการผลิต

ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริษัทด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมที่ต้องการวิศวกรติดตั้งและดูแล
ระบบการสื่อสารที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถทำงานเป็นวิศวกรการออกแบบและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า วิศวกรควบคุมและซ่อมบำรุงในอุตสาหกรรม ที่มีบริษัทต่างๆ ทั้งของต่างชาติ และคนไทย รวมทั้ง SME ที่มีอยู่อย่างมากมาย โดยเหตุนี้สาขาวิชานี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างกว้างขวาง ทั้งภาคเอกชน ราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ และยังสามารถประกอบอาชีพอิสระได้อีกด้วย   ฯลฯ

สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
เป็นสาขาวิชาชีพหลักสาขาหนึ่งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ   โดยศึกษาการออกแบบ
และการควบคุมใช้งานระบบทางกลของ   เครื่องจักรอุปกรณ์
ยานยนต์   และระบบทางพลังงาน   เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุดในการใช้งาน   โดยมุ่งเน้นสู่การเป็น   "Practical
Engineer"   ผู้เชี่ยวชาญและนักปฏิบัติ   ที่เป็นที่ต้องการของ
ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม   โดยมีแขนงความเชี่ยวชาญในด้าน
วิศวกรรมพลังงาน   วิศวกรรมยานยนต์   วิศวกรรมระบบ
ควบคุมอัตโนมัติ   วิศวกรรมออกแบบเครื่องจักรกล
และ   ระบบทางอาคาร   (เช่น   ระบบปรับอากาศ   ระบบท่อ
ระบบขนส่ง   ฯลฯ)

โอกาสทางวิชาชีพ
งานวิชาชีพหลักของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับ การคำนวณออกแบบควบคุมการผลิต การค้นคว้า วิเคราะห์ ทดสอบ วางโครงการ อำนวยการติดตั้ง และอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์ คือ เครื่องต้นกำลัง เครื่องใช้กำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน เครื่องกำเนิดไอน้ำ หรือไออย่างอื่นๆ เตาเผา ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น และระบบท่อส่งของไหลภายใต้ความดันและของไหลอันตราย

ตัวอย่างตำแหน่งงานของวิศวกรเครื่องกล

-         วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบท่อประปา/สุขาภิบาล/ดับเพลิง ในอาคาร

-         วิศวกรออกแบบ หรือ ติดตั้ง ระบบทางกล ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

-         วิศวกร ออกแบบชิ้นส่วนทางกล ออกแบบผลิตภัณฑ์

-         วิศวกรวางโครงการ บริหารโครงการ

-         วิศวกรกระบวนการผลิต ในโรงงานอตสาหกรรม

-         วิศวกร ซ่อมบำรุง รักษาเครื่องจักร ในโรงงาน

-         วิศวกรควบคุมคุณภาพการผลิต

-         วิศวกร บริหารจัดการอาคาร

-         วิศวกรด้านวิเคราะห์ทุนในสถาบันทางการเงิน

-         วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม

-         วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน หรือ พลังงานทางเลือก

-         วิศวกรด้านการขายผลิตภัณฑ์ ระบบทางวิศวกรรม

-         นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา ระบบทางกล เครื่องยนต์ ระบบพลังงาน

-         เป็นผู้ประกอบการ

-         ฯลฯ

ตัวอย่างสถานที่ทำงาน

-         โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น Toyota, TATA, CP, ปตท., ปูนซีเมนต์ไทย ฯลฯ

-         บริษัทออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ระบบทางกลในอาคาร (ระบบปรับอากาศ ลิฟท์ ประปา) เช่น Jardines Engineering, Italian Thai, พฤษา ฯลฯ

-         บริษัทที่ปรึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และ วิศวกรรมอื่นๆ

-         สถาบันทางการเงิน ที่ต้องการการวิเคราะห์ทางด้านทุน ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม

-         บริษัท จำหน่ายอุปกรณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล

-         หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรม

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมอุตสาหการ คือสาขาหนึ่งซึ่งได้เจริญเติบโตขึ้นมาและแยกตัวออกมาจากวิศวกรรมเครื่องกล คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความไว้ดังต่อไปนี้ Encyclopaedia Americana คำว่า “วิศวกรรมอุตสาหการ คือ การวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงการใช้งานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับคน วัตถุดิบเครื่องจักรและอุปกรณ์ในองค์การวิศวกรรมอุตสาหการจะต้องทำการวิเคราะห์เพื่อให้องค์การสามารถเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไรและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน” หนังสือ Encyclopaedia Britannica กล่าวว่า “งานของวิศวกรรมอุตสาหการปกติจะรู้จักภายใต้ชื่อของการศึกษาการเคลื่อนไหว การศึกษาเวลาในการทำงาน การวางแผนและควบคุมการผลิต การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน การออกแบบระบบงาน การควบคุมคุณภาพ การประเมินคุณค่าของตำแหน่งการวิเคราะห์องค์การ การศึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน”

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคำกล่าวและความเข้าใจของบุคคลทั่วๆ ไปเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการ ส่วนวิศวกรรมอุตสาหการมองตนเองอย่างไรนั้นอาจทราบได้จากคำจำกัดความในหนังสือ Industrial Engineering Handbook ดังนี้

“วิศวกรรมอุตสาหการเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การปรับปรุง และการจัดตั้งระบบผสมผสานระหว่างคน วัสดุ และเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งในการนี้จะต้องใช้ความชำนาญในด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และสังคมศาสตร์ร่วมกันไป โดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีวิเคราะห์ทางวิศวกรรมศาสตร์มาใช้ออกแบบ ระบุ ทำนาย และประเมินผลการทำงานของระบบ

โอกาสทางวิชาชีพ
โอกาสการมีงานทำสูง

       อุตสาหกรรมภายในประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการจึงเป็นสาขาที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเล็งเห็นความสำคัญฉะนั้นงานสำหรับวิศวกรสาขานี้จึงยังมีอยู่อย่างกว้างขวาง แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของโรงงานต่างๆ และการพัฒนากระบวนการผลิตสำหรับหน่วยงานราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจก็ยังต้องการวิศวกรอุตสาหการ เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิต และการวิจัยและวางแผนพัฒนา เพื่อลดเวลา และต้นทุน


ความก้าวหน้าทางอาชีพสูง

       ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรอุตสาหการ เมื่อทำงานเพิ่มประสบการณ์และได้รับการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีความสามารถในการบริหารก็สามารถที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารในสถานประกอบการอุตสาหกรรมได้ หรือสามารถทำธุรกิจส่วนตัวโดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนงานการผลิต แก้ไขปรับปรุง กระบวนการผลิต และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สำหรับผู้ที่ศึกษาเพิ่มเติมถึงขั้นปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก สามารถที่จะเป็นอาจารย์ใน มหาวิทยาลัยทั่วไปได้

1.วิศวกรอุตสาหการ

ลักษณะงาน  การควบคุมกระบวนการผลิต  ระบบจัดการและการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การวางผังโรงงาน  การออกแบบกระบวนการผลิต  การวางแผนและควบคุมการผลิต ระบบควบคุมและปรับปรุงคุณภาพและผลิตผลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ  การแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรม  ความปลอดภัย ในโรงงานอุตสาหกรรม   การประเมินผลของการดำเนินการเชิงเศรษฐศาสตร์    การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมและพัฒนาระบบงานด้านต่างๆ   สอดคล้องกับเ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่