เปิดยิ่งใหญ่ เซต้า 2016
ประกาศความพร้อมไทย สู่ศูนย์กลางพลังงานยั่งยืนในเอเชีย
เริ่มแล้ว เซต้า 2016 ครั้งแรกในไทย งานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด กระทรวงพลังงานหนุนเต็มที่ ชี้สอดคล้องแผนบูรณาการพลังงาน เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด
“การประชุมและนิทรรศการนานาชาติพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2559 หรือ เซต้า 2016 Sustainable Energy & Technology Asia 2016 (SETA 2016)” วันพุธที่ 23 มีนาคม 2559 ณ ห้องเเกรนด์ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับ
พลอากาศเอก ประจิน กล่าวว่า รัฐบาลมีการดำเนินการเพื่อให้พลังงานมีเสถียรภาพที่เหมาะสม โดยการสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ ที่ครอบคลุมทั้งระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า ระบบจำหน่าย และมีการกระจายเชื้อเพลิงที่หลากหลาย ให้ต้นทุนราคาพลังงานอยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ประชาชนไม่แบกรับภาระมากเกินไป ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว รวมถึงการผลิตไฟฟ้าที่ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และการประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
งานเซต้า 2016 นับเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้แสดงถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาภาคพลังงานของประเทศ และศักยภาพในการพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังถือเป็นโอกาสที่สำคัญที่จะเป็นเวทีเชื่อมความร่วมมือของประเทศในเอเชีย โดยมีผู้นำประเทศ และผู้นำทางความคิดจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม เพื่อหาทางออกในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้แก่กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย และยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ได้เรียนรู้แนวความคิด การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานในประเทศไทย ซึ่งยังมีศักยภาพอยู่มาก รวมถึง
การประชุม อภิปราย และการจับคู่เพื่อเจรจาทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในงานนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทย ได้มองเห็นโอกาสในการขยายการลงทุนด้านพลังงานในต่างประเทศอีกด้วย
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานจะได้ชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้อง องค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รับทราบถึงแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศ (Thailand Integrated Energy Blueprint - TIEB) ซึ่งมีทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานด้านพลังงานของโลก ที่มีเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน
ในขณะที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ
ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้จัดงานเซต้าซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการด้านพลังงานในระดับนานาชาติขึ้นในประเทศ โดยกระทรวงพลังงานและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้การสนับสนุนผลักดันอย่างเต็มที่ให้งานนี้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเวทีแสดงศักยภาพของไทยในการเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาค และยืนยันความพร้อมของไทย ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพลังงานและการพัฒนาสู่พลังงานที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย ภายในงานแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก เป็นส่วนวิชาการ ที่เป็นการประชุมนานาชาติ ครอบคลุมกว่า 100 หัวข้อ ทั้งเรื่องการกำหนดนโยบายและวางแผนด้านพลังงาน เทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้า เทคโนโลยีปัจจุบันและแนวโน้มพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีด้านคมนาคมขนส่ง
ส่วนที่สอง เป็นนิทรรศการ ทั้งจากหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชนผู้ผลิตเทคโนโลยีหลายรายเข้าร่วมแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่ทันสมัย ทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง และเชื้อเพลิงทางเลือก เทคโนโลยีพลังงานสีเขียวที่สามารถนำมาทดแทนพลังงานเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ภายในงานจะมีไฮไลต์เด่น อาทิ รถยนต์ของค่ายโตโยต้า ‘MIRAI’ ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle) มาแสดงในงาน ซึ่งคุณสมบัติสอดคล้องกับเป้าหมายของการมุ่งสู่เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เพราะไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เหมือนเครื่องยนต์ระบบเผาไหม้ และความหนาแน่นของพลังงานไฮโดรเจนจะสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า และมีความความสะดวกในการเก็บรักษาและการขนส่ง นอกจากนี้ ยังมีการประชุมคู่ขนานที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศอีกหลายการประชุม อาทิ การประชุมเชิงปฏิบัติการของกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) เกี่ยวกับทิศทางการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต, การสัมมนาวิชาการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ จัดโดย สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย, การสัมมนาวิชาการด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นต้น
เซต้า 2016 ที่จัดขึ้นในครั้งแรกนี้นับว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีผู้แสดงความจำนงเข้าร่วมการสัมมนาและเข้าชมงานกว่า 1,000 คน จาก 35 ประเทศจากทั่วโลก ทั้งในทวีเอเชีย ยุโรปและอเมริกา นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจจากประเทศต่างๆ แสดงความจำนงจับคู่เจรจาธุรกิจด้านพลังงานในงานมากกว่า 250 คู่อีกด้วย
เปิดยิ่งใหญ่ เซต้า 2016 ประกาศความพร้อมไทย สู่ศูนย์กลางพลังงานยั่งยืนในเอเชีย
ประกาศความพร้อมไทย สู่ศูนย์กลางพลังงานยั่งยืนในเอเชีย
เริ่มแล้ว เซต้า 2016 ครั้งแรกในไทย งานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด กระทรวงพลังงานหนุนเต็มที่ ชี้สอดคล้องแผนบูรณาการพลังงาน เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมและนิทรรศการนานาชาติพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย 2559 หรือ เซต้า 2016 Sustainable Energy & Technology Asia 2016 (SETA 2016)” วันพุธที่ 23 มีนาคม 2559 ณ ห้องเเกรนด์ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ให้การต้อนรับ
พลอากาศเอก ประจิน กล่าวว่า รัฐบาลมีการดำเนินการเพื่อให้พลังงานมีเสถียรภาพที่เหมาะสม โดยการสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ ที่ครอบคลุมทั้งระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า ระบบจำหน่าย และมีการกระจายเชื้อเพลิงที่หลากหลาย ให้ต้นทุนราคาพลังงานอยู่ในระดับที่เหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ประชาชนไม่แบกรับภาระมากเกินไป ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว รวมถึงการผลิตไฟฟ้าที่ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และการประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
งานเซต้า 2016 นับเป็นเวทีที่ประเทศไทยจะได้แสดงถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาภาคพลังงานของประเทศ และศักยภาพในการพัฒนาสู่ความเป็นศูนย์กลางพลังงานในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังถือเป็นโอกาสที่สำคัญที่จะเป็นเวทีเชื่อมความร่วมมือของประเทศในเอเชีย โดยมีผู้นำประเทศ และผู้นำทางความคิดจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม เพื่อหาทางออกในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รวมถึงสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้แก่กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย และยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ได้เรียนรู้แนวความคิด การพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานในประเทศไทย ซึ่งยังมีศักยภาพอยู่มาก รวมถึง
การประชุม อภิปราย และการจับคู่เพื่อเจรจาทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในงานนี้ ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทย ได้มองเห็นโอกาสในการขยายการลงทุนด้านพลังงานในต่างประเทศอีกด้วย
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานจะได้ชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้อง องค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รับทราบถึงแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศ (Thailand Integrated Energy Blueprint - TIEB) ซึ่งมีทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานด้านพลังงานของโลก ที่มีเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน
ในขณะที่มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศ
ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้จัดงานเซต้าซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการด้านพลังงานในระดับนานาชาติขึ้นในประเทศ โดยกระทรวงพลังงานและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้การสนับสนุนผลักดันอย่างเต็มที่ให้งานนี้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเวทีแสดงศักยภาพของไทยในการเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาค และยืนยันความพร้อมของไทย ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านพลังงานและการพัฒนาสู่พลังงานที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย ภายในงานแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก เป็นส่วนวิชาการ ที่เป็นการประชุมนานาชาติ ครอบคลุมกว่า 100 หัวข้อ ทั้งเรื่องการกำหนดนโยบายและวางแผนด้านพลังงาน เทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้า เทคโนโลยีปัจจุบันและแนวโน้มพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีด้านคมนาคมขนส่ง
ส่วนที่สอง เป็นนิทรรศการ ทั้งจากหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชนผู้ผลิตเทคโนโลยีหลายรายเข้าร่วมแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานที่ทันสมัย ทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง และเชื้อเพลิงทางเลือก เทคโนโลยีพลังงานสีเขียวที่สามารถนำมาทดแทนพลังงานเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ภายในงานจะมีไฮไลต์เด่น อาทิ รถยนต์ของค่ายโตโยต้า ‘MIRAI’ ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Cell Vehicle) มาแสดงในงาน ซึ่งคุณสมบัติสอดคล้องกับเป้าหมายของการมุ่งสู่เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เพราะไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เหมือนเครื่องยนต์ระบบเผาไหม้ และความหนาแน่นของพลังงานไฮโดรเจนจะสูงกว่าแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า และมีความความสะดวกในการเก็บรักษาและการขนส่ง นอกจากนี้ ยังมีการประชุมคู่ขนานที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศอีกหลายการประชุม อาทิ การประชุมเชิงปฏิบัติการของกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) เกี่ยวกับทิศทางการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต, การสัมมนาวิชาการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ จัดโดย สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย, การสัมมนาวิชาการด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เป็นต้น
เซต้า 2016 ที่จัดขึ้นในครั้งแรกนี้นับว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีผู้แสดงความจำนงเข้าร่วมการสัมมนาและเข้าชมงานกว่า 1,000 คน จาก 35 ประเทศจากทั่วโลก ทั้งในทวีเอเชีย ยุโรปและอเมริกา นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจจากประเทศต่างๆ แสดงความจำนงจับคู่เจรจาธุรกิจด้านพลังงานในงานมากกว่า 250 คู่อีกด้วย