ไทยในช่วง ยุคอัลเทอร์เนทีฟ มันเป็นยังไงหรอครับ

ไม่ได้มีเจตนาดักแก่ใดๆทั้งสิ้นครับ ฮ่าๆ
ผมเเค่อยากรู้ว่าในช่วงที่ อัลเทอร์เติบโต มันเป็นยังไงหรอครับ
ความรู้สึกในยุคนั้น   ผมเเค่คิดว่ายุคนี้มันอะไรๆก็ง่ายไป
ทำไมใครๆก็ชอบยุคเก่า ผมก็เริ่มเข้าใจเเล้วครับ
เเต่อยากรู้ว่า สมัยก่อนๆ มันมีอะไรบ้างครับที่ทำให้ พี่ๆ อาๆ น้าๆ จดจำได้ดี เเละเก็บไว้เป็นช่วงความทรงจำที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ยุคนั้นมันมีความคลาสิค เช่น เพลงก็มีแผ่น มีเทปให้ซื้อเก็บไว้ มีหน้าปก มีเนื้อเพลง ชื่อคนแต่งคำร้อง ทำนอง ไปดูคอนเสิร์ตก็ฟรี เวลาจะนัดเจอกันต้องระบุเวลา สถานที่ให้แน่นอน อนากคุยกับใครก็ต้องไปหา  สรุปง่าย ๆ จะทำอะไรมันต้องรอ ใช้เวลา อดทน ของมีคุณค่า ไม่เหมือนสมัยนี้ ฉาบฉวย ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่มีความอดทนรอ สุขสันต์วันเกิดผ่านเฟส ขาดความจริงใจ อยากกลับไปยุคนั้นอีก
ความคิดเห็นที่ 4
ย้อนไปประมาณ 2538

ยุคนั้นเป็นยุค อาร์เอส ครองตลาด ซึ่งก็ครองมาก่อนหน้านั้นแล้ว ตั้งแต่จับจุดแนวเพลงวัยรุ่นได้ และเปิดตัวนักร้อง
เด็กของพจน์ อานนท์ อย่างเต๋าสมชาย ที่ตามมาก็ยอดขายสั่นสะเทือนทั้งสิ้น อนันต์ บุนนาค นุกสุทธิดา เสือธนพล
แร็พเตอร์ ลิฟท์ออย เจมส์ ปุ๊กกี้ หรือแม้แต่เพลงประกอบละคร หรือภาพยนต์ ก็ยังขายระเบิดระเบ้อ (นีคือสิ่งที่อาร์
เอสได้สร้างความมหัศจรรย์ให้วงการเพลงไทยมาโดยตลอด และหลายคนมักไม่คิดและพูดถึง) ตั้งแต่สมัยที่เอาเพลง
คู่เก่าๆมาให้นักร้องวัยรุ่นในสมัยนั้นร้อง และสามารถดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง (แน่นอน ว่า18กะรัต คือการเดินตามตูด
อาร์เอส)และชุดเฉพาะกิจอีกหลายชุด ที่สามารถสร้างยอดขายได้อย่างมากมาย ซึ่งถือว่าฝีมือของคนทำเพลงของ
อาร์เอส เป็นที่สุดของวงการแล้วในยุคนั้น

ยุคนี้ถือว่าแกรมมี่กระปลกกระเปลี้ย และอ่อนแรงลงอย่างมาก เพราะอยู่ในเทรนด์ที่เอานักแสดงมาปั้นเป็นนักร้อง
หลายเบอร์ แล้วก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ ขนาดพี่เบิร์ดก็ดาวน์ลงอย่างเห็นได้ชัดในยุคนี้ ยังดีที่มีสาวน้อยมหัศ
จรรย์ สองคนมาช่วยให้ไม่เสียหน้ามากกว่านี้ ทั้งทาทายังและโบสุณิตา และต่อด้วยการแจ้งเกิดของวงร็อคโลโซ ที่
กลายมาเป็นตำนานร็อคเมืองไทยในเวลาต่อมา

แต่พร้อมกับการแจ้งเกิดอย่างเอิกเกริก จากนักร้องของค่ายอิสระ ทั้ง โมเดิร์นด็อก มอร์กระจาย สไมล์บัฟฟาโล่ โจอี้
บอย ออดี้ และอีกมากมายหลายเบอร์ ที่ถือว่าประสบความสำเร็จเกินตัว ซึ่งคนฟังเพลงในบ้านเราก็เกิดการแบ่งแยก
ชนชั้นกันขึ้นมาก็ในยุคนี้ ยุคก่อกำเนิดของนักฟังหูทองทั้งหลาย ใครฟังค่ายใหญ่เหมือนไม่แนว ไม่มีคลาส
ความคิดเห็นที่ 22
ยังไงๆ ก็อย่าลืมสัญลักษณ์นี้
สัญลักษณ์แห่งคุณภาพ...
ความคิดเห็นที่ 38
ตอนั้นอยู่ ม.3 ขึ้น ม.4 สมัยนั้นดนตรีก็เฟื่องฟูดีนะ

เท่าที่จำได้ สมัยนั้น หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการเต้น nocoke, vinilla ice ตอนม. 1-2แล้ว
เมนสตรีมต่อมา มันจะเป็นพวกเพลงแร็ป เพลงเต้นอีเลคทรอนิคสักหน่อย พวก z-mix, dr. kids สายแกรมมี่ rs ต่างๆ
รวมถึงเป้นยุคเกือบปลายๆ ของพวกร็อคเฮฟวี่สายค่าย rs. แล้ว เช่น เป้, พิสุทธิ์ เป็นต้น
คราวนี้มาถึงยุคที่มีวงโดดเด่นขึ้นมา 2 วง นั่นคือ "crub" กับ "Modern dog"

วง "ครับ" จะเป็นวงที่เล่นดนตรีสายอังกฤษ บริทป็อบ ซึ่งในสมัยนั้น พวก The manics, The Smith, Suede, blur, oasis, supergrass บลาๆๆ
ซึ่งก็เป็นที่รู้จักจาก "ป้าวาด" แกแนะนำมาให้ฟัง
วง "ครับ" ตอนแรกไม่ค่อยดัง (ตอนหลังก็ไม่ดัง ฮา) แต่เพลงเจ๋ง ลองไปฟัง น้าว่าเพลงยังล้ำอยู่เลย สมาชิกในวงก็ยังอยู่ในวงการเพลง
นั่นคือเจ้าของค่าย สมอลรูม กับวง day tripper เป็นต้น

วง "Modern Dog" modern rock สายเมกัน กรั๊นจ์ๆ หน่อย หลังจากปล่อยซิงเกิ้ล "ก่อน" 5 เวอร์ชั่น แล้วก็ปล่อยอัลบั้ม "เสริมสุขภาพ" มา
ตอนแรกก็ไม่ค่อยดัง (กระแสเมนสตรีมที่กล่าวมาข้างต้นยังแรงอยู่) แต่ยอมรับว่าเพลง ก่อน มันเรือธงจริงๆ เรื่อยมาจน บุษบา สุดท้ายดังจนฉุดไม่อยู่ เด็กมัธยมถึงกับต้องเล่นกีตาร์ 2 เพลงนี้ให้ได้เลยทีเดียว ฟังกันจนเทปยืดทุกคนต้องมีเทปมัวนนี้ครับ และมันเลยกลายมาเป็นจุดเริ่มต้น
ของค่าย เบเกอรี่ มิวสิค ศิลปินในค่ายที่ตามมาก็ อร อรีย์, sepia อัลบั้ม two eggs, Silly fools, Stone soul, วิเศษนิยม ฯลฯ
หลังจากสองวงนี้ก็ตามต่อกันมาอีกพรึ่บ จากหลายๆค่าย มีทั้งดี,ไม่ดี, มีคุณภาพ, หรือสักแต่ว่าขาย, ก็อปเมืองนอก ,ดังเพลงเดียว
ยกตัวอย่างวงจากสมัยนั้นที่ตามกันมา ป้าง  , สไมล์ บัฟ ดังสองเพลงในอัลบั้มแรก, พราว (เจ๋ง), สี่เต่าเธอ (วงนี้น้าชอบส่วนตัว) The must วงไทยสไตล์ nirvana แต่ท่าร้อง oasis , Sick child วงไทยสไตล์ Green day, ,Big ass, wizard, เก่งไปโรงเรียน, อัยย์ (cranberries) วง เออ (ตอนนี้คือวง Ganesha ที่ได้รางวัลสีสันอวอร์ด), black Head, blue sky, barbies, lolli pop, jinx, Sherry Duck,ไทร็อค, 11rd ฯลฯ
วงแกรมมี่ อาร์เอสยังทำตามกระแสที่แรงจัดเช่น พี่หนุ่ย อำพลเมืองดี,Y not 7, fly, ต่อ ต๋องยังอุตส่าห์ฝืนสังขารมาอัลเทอร์เลย 555
พอเยอะจัดจนเริ่มเกร่อ ก็ซาๆกันไป

มีอีกสายของยุคนั้นคือพวกใต้ดิน ดนตรีหนักๆ น้ารู้สึกดีมากๆกับช่วงนั้น ดอนผีบิน, Growing pain, ซีเปีย เกลียดตุ๊ด, Heavy mod,
,Dezember อะไรอีกเยอะเลยทีเดียว ช่องทางการเสพเพลงยุคนั้นมีแค่คลื่นวิทยุ ไพเรท ร็อค คลื่นเดียวครับ ถ้าสายนอกก็ ป้าวาด ถ้ารายการทีวี ก็บันเทิงคดี เป็นต้น
ต้องขอบคุณยุคนั้นเหมือนกัน ถูกยุคถูกเวลาพอดี อาจจะยาวเวิ่นเว้อ ถือว่าคนแก่มาคุยให้ฟังแล้วกันครับ 555
ความคิดเห็นที่ 63
มันมีองค์ประกอบหลายๆอย่างครับ ก่อนหน้านั้นมีเพลง 2 แนวคือแนว RS กับ แกรมมี่ และคีตา คนยังซื้อเทปของแท้กันส่วนใหญ่ เหมือนเป็นของสะสม เช่น ทาทา ยัง ออกชุดใหม่ วันแรกที่วางขายร้านเทปจะแน่นไปด้วยวัยรุ่นที่รอซื้อเลย แถมยังแต่งตัวตามนักร้องกันด้วย

ทีนี้ก็มาถึงแนวอัลเตอร์ เด็กอัลเตอร์ก็เหมือนเด็กแนวยุค 2000 หรือฮิปเสตอร์สมัยนี้ คือไม่ชอบอะไรที่เป็นกระแสหลัก พอดีกับยุคนั้นมีเคเบิ้ลทีวีเข้ามาไทย ทำให้เกิดกระแสจากช่อง MTV และ Chanel V (มีดาราหลายๆคนเกิดจากการเป็น VJ ช่องนี้ เช่น นาเดีย จ๋า) ทำให้เด็กไทยได้รับกระแสอัลเตอร์จากเมืองนอก ทั้งจากฝั่งอังกฤษอย่าง Oasis, Radio head, Suede หรือฝั่งอเมริกาอย่าง Nirvana แต่วงในไทยมันไม่มีแนวนี้ มีแต่ pop อย่างเดียว จนกระทั่งการเกิดขึ้นของวง Modern Dog หลังแสดงบนเวที 7 สีคอนเสริท คนได้เห็นความแปลกใหม่ของการแสดง แนวดนตรี เลยเกิดกระแสดขึ้นในไทยจนเกิดวงแนวนี้ขึ้นมาเต็มไปหมด

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่