เบื้องลึกเบื้องหลัง... บทสัมภาษณ์คุณครูผู้สอนรำในละครเรื่อง #โนห์รา
ครูพัฒน์ (สุพัฒน์ นาคเสน) เคยสอน “นุ่น” วรนุช มาก่อนนุ่นเรียนนาฏศิลป์มา จะคุ้นกับวงของละคร ซึ่งระดับจะต่างจากโนราห์ มีบ้างที่เขาเผลอไปรำนาฏศิลป์เราต้องบอก
เวอร์ชั่นนี้เป็นน้องโบว์ (เมลดา สุศรี) คุณลอร์ด (สยม สังวริบุตร) บอกสัดส่วนโบว์มาแค่นั้นแหละ โอ๊ยตายแล้ว!!! เครียดเลย...
พอมาเจอโบว์ก็จับดัดตัวและก็ไม่มีอะไรหนักใจ ฝึกง่าย สอนง่าย
"พอมาเจอโบว์ก็จับดัดตัวและก็ไม่มีอะไรหนักใจ ฝึกง่าย สอนง่าย ถ้าคนมีพื้นฐานจะต่อต้านเราในเรื่องขบวนรำ คนที่รำนาฏศิลป์แล้วมารำโนรากระบวนท่าจะต่างกัน การตั้งวงก็ต่างกัน ถ้าได้คนที่ไม่เป็นเลยมาฝึกจะสะดวกกว่า โบว์ตัวสูงการจัดระบบร่างกายยากกว่าคนตัวเล็ก ครูจึงหาท่าที่สอดคล้องกับตัวเขา ชุดของโบว์เราทำใหม่ให้เลย ร้อยลูกปัดให้หวาน โบว์อาจจะเสียน้ำตาบ้างเพราะความเครียด กดดันตัวเองแต่ก็ผ่านไปได้ เคยให้โบว์ไปรำโนราเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯที่ใต้เขาก็ได้รับคำชม
คนที่ต้องรำโนราอีกคนคือเอก รังสิโรจน์ ผมถามคุณลอร์ดว่าใครรับบทเป็นทิว พอรู้ว่า เอก ผมก็อู้!!! นั่นพระเอกนักบู๊ของอาหลอง (ฉลอง ภักดีวิจิตร) นิ แล้วผมจะสอนยังไง? ผมมาเจอเอกก็หาท่าที่แข็งแรงให้ เอกเครียดมาก แต่เขาพยายามมาก เอกต้องร้องกลอนเองด้วย ตอนรำที่นครศรีธรรมราชคนชอบกันเยอะ ที่น่าประทับใจคือเทริดโนรา ครูเคยให้อาจารย์ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ สวมเมื่อเวอร์ชั่นที่แล้ว เอามาจากนครให้เอกพอสวมลงหัวพอดีเลยเป๊ะเลย
กระแสเรื่องโนห์รามีมากมาย ครูจะต้องลบกระแสนั้นด้วยความสามารถของศิลปินทั้ง 2 ทำอย่างไรให้เขายอมรับ โนราในเวอร์ชั่นนี้มีเวลาทำงานมากกว่าเวอร์ชั่นที่ผ่านมา เรามีเวลาทำให้งานเนี๊ยบและละเอียดกว่า
จะฝากคุณผู้ชมให้ติดตามเรื่องนี้วัฒนธรรมของภาคใต้เรา ถ้าเราไม่รักษาแล้วใครจะรักษา"
ขอบคุณ นิตยสารภาพยนต์บันเทิง IG @ppbt_magazine
เบื้องลึกเบื้องหลัง... บทสัมภาษณ์คุณครูผู้สอนรำในละครเรื่อง #โนห์รา
ครูพัฒน์ (สุพัฒน์ นาคเสน) เคยสอน “นุ่น” วรนุช มาก่อนนุ่นเรียนนาฏศิลป์มา จะคุ้นกับวงของละคร ซึ่งระดับจะต่างจากโนราห์ มีบ้างที่เขาเผลอไปรำนาฏศิลป์เราต้องบอก
เวอร์ชั่นนี้เป็นน้องโบว์ (เมลดา สุศรี) คุณลอร์ด (สยม สังวริบุตร) บอกสัดส่วนโบว์มาแค่นั้นแหละ โอ๊ยตายแล้ว!!! เครียดเลย...
พอมาเจอโบว์ก็จับดัดตัวและก็ไม่มีอะไรหนักใจ ฝึกง่าย สอนง่าย
"พอมาเจอโบว์ก็จับดัดตัวและก็ไม่มีอะไรหนักใจ ฝึกง่าย สอนง่าย ถ้าคนมีพื้นฐานจะต่อต้านเราในเรื่องขบวนรำ คนที่รำนาฏศิลป์แล้วมารำโนรากระบวนท่าจะต่างกัน การตั้งวงก็ต่างกัน ถ้าได้คนที่ไม่เป็นเลยมาฝึกจะสะดวกกว่า โบว์ตัวสูงการจัดระบบร่างกายยากกว่าคนตัวเล็ก ครูจึงหาท่าที่สอดคล้องกับตัวเขา ชุดของโบว์เราทำใหม่ให้เลย ร้อยลูกปัดให้หวาน โบว์อาจจะเสียน้ำตาบ้างเพราะความเครียด กดดันตัวเองแต่ก็ผ่านไปได้ เคยให้โบว์ไปรำโนราเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯที่ใต้เขาก็ได้รับคำชม
คนที่ต้องรำโนราอีกคนคือเอก รังสิโรจน์ ผมถามคุณลอร์ดว่าใครรับบทเป็นทิว พอรู้ว่า เอก ผมก็อู้!!! นั่นพระเอกนักบู๊ของอาหลอง (ฉลอง ภักดีวิจิตร) นิ แล้วผมจะสอนยังไง? ผมมาเจอเอกก็หาท่าที่แข็งแรงให้ เอกเครียดมาก แต่เขาพยายามมาก เอกต้องร้องกลอนเองด้วย ตอนรำที่นครศรีธรรมราชคนชอบกันเยอะ ที่น่าประทับใจคือเทริดโนรา ครูเคยให้อาจารย์ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ สวมเมื่อเวอร์ชั่นที่แล้ว เอามาจากนครให้เอกพอสวมลงหัวพอดีเลยเป๊ะเลย
กระแสเรื่องโนห์รามีมากมาย ครูจะต้องลบกระแสนั้นด้วยความสามารถของศิลปินทั้ง 2 ทำอย่างไรให้เขายอมรับ โนราในเวอร์ชั่นนี้มีเวลาทำงานมากกว่าเวอร์ชั่นที่ผ่านมา เรามีเวลาทำให้งานเนี๊ยบและละเอียดกว่า
จะฝากคุณผู้ชมให้ติดตามเรื่องนี้วัฒนธรรมของภาคใต้เรา ถ้าเราไม่รักษาแล้วใครจะรักษา"
ขอบคุณ นิตยสารภาพยนต์บันเทิง IG @ppbt_magazine