IMDB: 8
Rotten Tomatoes: 92%
Director: Stanley Donen
Casts: Cary Grant, Audrey Hepburn& more
Theme: Comedy, Mystery, Romance
เนื้อเรื่องโดยสังเขป
Regina Lampert (Audrey Hepburn) หม้ายสาวผู้พึ่งหย่าขาดกับ Charles กำลังถูกไล่ล่าเอาชีวิตโดยเหล่าชายลักษณะน่ากลัว และแปลกๆ ถึงสามคน ซึ่งต่างอ้างตัวว่าเป็นเพื่อนกับสามีของเธอ พร้อมทวงสิ่งของปริศนาจากเธอ-อันซึ่งอดีตสามีของเธอขโมยมันไปจากพวกเขา แต่กระนั้นเธอไม่รู้เรื่องอะไรเลย Regina ได้รับการช่วยเหลือปกป้องโดยชายหนุ่มผู้สุภาพอ่อนโยนแต่เต็มไปด้วยปริศนา (Cary Grant)
เกร็ดเล็กๆ
1) ตอนแรกผู้เขียนบทภาพยนตร์ Peter Stone และ Marc Behm ขายบทหนังทั่ว Hollywood โดยใช้ชื่อเรื่องของหนังว่า
The Unsuspecting Wife แต่ไม่มีใครให้ความสนใจ Stone เลยเปลี่ยนจากบทหนังให้เป็นนิยายพร้อมทั้งชื่อเรื่องเป็น Charade แทนและถูกนำมาตีพิมพ์เป็นตอนๆในแม็กกาซีน Redbook ซึ่งภายหลังดันไปเตะตาของ Stanley Donen ผู้กำกับและโปรดิ๊วเซอร์เข้าเลยซื้อลิขสิทธิ์มาทำสร้างหนังซะเลย ซึ่ง Stone ก็กลับมารับทำบทหนังต่อ
2) ช่วงที่กำลังถ่ายทำใน Paris 1962 เป็นช่วงเดียวกับ Hepburn พึ่งถ่ายทำ Paris When It Sizzles 1964 พึ่งจบไปพอดี แต่ไม่ต้องสงสัยว่าทำไม Charade ได้ออกฉายก่อนนะคะ เพราะตัวหนัง Paris When It Sizzles มีปัญหาเรื่องการตัดต่อถ่ายทำ ซึ่งทำให้หนังออกฉายสี่เดือนล่าช้า
3) เมื่อหนังถูกฉายในช่วง Christmas, 1963, ฉากพูดของ Audrey Hepburn “at any moment we could be
assassinated,…” (พวกเราอาจจะถูกลอบฆ่าเมื่อไหร่ก็ได้) ถูกพากย์ทับเป็น “at any moment we could be
eliminated,…” (พวกเราอาจจะถูกกำจัดเมื่อไหร่ก็ได้) สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี John F. Kennedy ที่เกิดขึ้นไปไม่นานมานั้น แต่ปัจจุบันนี้หนังก็ยังมีอยู่สองแบบ แบบดั่งเดิมกับแบบพากย์ทับปะปนกันไป ขึ้นอยู่กับผู้จัดจำหน่าย
4) Grant ในวัยย่างเข้า 59 รู้สึกประหม่ากับการประกบคู่กับ Audrey เป็นอย่างมาก เพราะด้วยอายุที่ห่างกันถึง 25-26 ปี ทำให้เขารู้สึกอึดอัดในการเข้าฉากโรแมนซ์กับเธอ ซึ่งนั่นทางผู้สร้างเข้าใจดีเลยเพิ่มแต่งเติมบทให้ Grant มีฉากพูดเกริ่นๆ วิจารณ์เกี่ยวกับ ความต่างกันมากระหว่างอายุของเขาและ Regina (Audrey) หรือในบทนางเอกสาวที่เป็นฝ่ายเข้าจู่โจมพระเอกคราวพ่อ
5) ภาพรวมของหนังมันไม่ใช่แค่ รอม-คอม-ปริศนาลึกลับทีเดียว แต่เข้าข่ายหนังประเภท whodunit (ใครทำอ่ะ ?), screwball (หนังตลกที่เน้นการปะทะคารมระหว่างพระนาง), spy-thriller (สายลับ และระทึกขวัญ) และที่น่าขันไปกว่านั้น ภาพยนตร์ถูกยกย่องให้เป็น หนังสุดยอดเยี่ยมของ Hitchcock ที่ Hitchcock ไม่เคยสร้าง
รางวัล
1) Grant ได้เข้าชิงรางวัลของ Golden Globes Best Motion Picture Actor in a Musical/Comedy
2) Audrey เช่นกัน ได้เข้าชิงรางวัล Golden Globes Best Motion Picture Actress in Musical/Comedy.และเธอชนะรางวัล BAFTA Award สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม.
3) เพลงประกอบของ Henry Mancini ก็ได้เข้าชิงออสการ์ Best Original Song in 1964
4) ส่วน Peter Stone ได้รางวัล Edgar Award 1964 จาก นักเขียนผู้ลึกลับของอเมริกาในการเขียนบทหนังหนังยอดเยี่ยม
5) เข้าชิงการจัดอันดับภาพยนตร์ของ AFI (American Film Institute)
– 2000 AFI’s 100 Years…100 Laughs
– 2001 AFI’s 100 Years…100 Thrills
– 2002 AFI’s 100 Years…100 Passions
– 2005 AFI’s 100 Years of Film Scores
วิจารณ์
ตามที่เคยลงไปแล้วว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ Cary Grant แต่ฉันไม่ได้เลือกหนังตัวเอกของเขาเลย แต่กลับเป็นเรื่องนี้แทน ทำไมน่ะเหรอ? เรื่องนี้เป็นหนังเรื่องโปรดของฉันเรื่องนึงเลย Grant ในคราวเข้าวัย 60 ปีกลับทำให้สาวหลายๆคน รวมถึงฉันนั่งจิกหมอน ไม่ต่างจาก Regina ที่ตกหลุมสเน่ห์ผู้ชายคราวพ่อ
หนังเดินเรื่องกระชับ และไม่น่าเบื่อเลย แค่ฉากหนังเปิดตัวมาด้วยการที่มีผู้ชายปริศนา ซึ่งภายหลังเราจะทราบว่าเป็นใคร นั้นตกรถไฟลงมาตายคาที่เรียกความสนใจคนดูได้อย่างดี ต่อด้วยเพลงเปิดซึ่งสร้างสรรค์โดย Mancini นักแต่งเพลงมือทอง ผลงานเด่นของเขาคือ The Pink Panther นั่นเองบวกกับแอนนิเมชั่นของภาพที่เข้าจังหวะกลมกลืนกันกับเพลงซึ่งทำให้ฉันตั้งใจดูเลยทีเดียว
ฉากนี้มันโชว์ให้เห็นความสติแตกของนางเอกจริงๆ เพราะเธอกำลังหลังพิงฝาอยู่ อีกทั้งยังถ่ายจากมุมสูง มองลงมาและมีเงาดำกลืนเธออยู่แทบทั้งตัว ในขณะที่พระเอกถูกถ่ายจากต่ำขึ้นบน โชว์พลัง และมีหลอดไฟเพิ่มแสงสว่าง ขยายให้ห้องหรือฉากดูใหญ่ขึ้น เหมือนจะบอกว่า "นี่คือทางออกนะ"
จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือการสนทนาที่ดำเนินไปอย่างฉลาดหลักแหลมระหว่างพระ-นาง ที่โต้ตอบทันกัน ประโยคเด็ดนาถูกนำมาใช้ได้อย่างชาญฉลาดกึ่งคารมคมคาย นอกจากนี้เคมีของทั้งคู่ก็ยังเข้ากันสุดๆ ผสมกับบทหนังที่ถ่ายทอดความหวานนิด กุ๊กกิ๊กหน่อยๆ รวมถึงวิธีอ่อยชายหนุ่มของ Audrey นั้นน่ารักสุดๆ
อย่างที่สองหนังเป็นแนวรอม-คอม พ่อแง่
อนไปมาก็จริง แต่ที่พิเศษคือมีการนำปริศนา สายลับ จบด้วยการฆาตกรรมที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตลอดทั้งเรื่อง Reggie จะต้องวิ่งหนีและไล่ล่าเอาตัวรอด พร้อมสืบหาความจริง รวมไปถึงด้านฝั่งของความรัก เมื่อเธอดันคลั่งไคล้เขาสุดๆ โดยไม่สงสัยเลยว่าเขาเป็นใครกันแน่ แล้วนางเอกจะเชื่อใจพระเอกได้ตลอดลอดฝั่งไหม
อย่างที่สาม เนื้อเรื่องที่พีคขึ้นลง แบบว่าสนุกสุดๆ เพราะดูคนเขียนจะหลอกให้คนดูปั่นป่วนไปหมด จนท้ายเรื่อง ทำให้เราทั้งลุ้น ทั้งเอาใจช่วยนางเอก จากฆาตกรเงา พระเอกที่หนังเปิดให้เรารู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเขาไม่ใช่ชายแก่ธรรมดาๆ เขาต้มนางเอกเอาซะเปื่อยไม่รู้กี่รอบๆ บางทีทำให้นึกถึง Suspicion 1941 ของ Hitchcock ที่ Grant เคยรับบทพระเอกผู้อาจจะเป็นฆาตกรฆ่าเพื่อนและกำลังวางแผนฆ่าภรรยาตัวเองอยู่ ซึ่งคือนางเอกที่ทำได้แค่หวาดระแวง ซึ่งนั่นผิดกับ Reggie เลย เพราะเธอดูค่อนข้างปล่อยเนื้อปล่อยตัวกับหนุ่มใหญ่ทั้งๆที่พึ่งผ่านเหตุการณ์น่ากลัวสุดๆมาก็เถอะ หรือนั่นอาจจะเป็นสเน่ห์ที่พุ่งพ่านของชายหนุ่มคราวพ่อที่ทำให้อารมณ์สาวเจ้าดูจะไม่คงที่เอาซะเลย
หนังที่ได้รับแรงบันดาลใจ /ดัดแปลง
1) Kokhono Megh (1968) หนังภาษาเบกาลี (หรือ มาจากบังกลาเทศ ไม่จำสับสนกับ Bollywood นะคะ)
2) Somebody Killed Her Husband (1978) นำแสดงโดย Farrah Fawcett และ Jeff Bridges หยิบเอาเวอร์ชั่นเดิมมาทำแบบคร่าวๆ และเข้าฉายที่ญี่ปุ่นในชื่อว่า Charade ’79.
4) The Truth About Charlie (2002) โดย Mark Wahlberg และ Thandie Newton. แต่กระนั้นไม่ชื่อของ Peter Stone ในท้ายเครดิตเพราะแต่เขาไม่ชอบหนังเรื่องนี้เอาซะเลย และที่น่าขันคือ หนังเปลี่ยนชื่อของ Stone เป็น Peter Joshua แทน (นามแฝงของตัวละครของ Grant)
5) Chura Liyaa Hai Tumne (2003) หนังดัดแปลงเวอร์ชั่น Bollywood นำแสดงโดย Esha Deol (ลูกสาวสุดสวยของยอดดารามหาชนอย่างทราแมนเดอร์และเฮมม่า มาลินี) ร่วมกับ Zayed Khan
สรุปและหาซื้อ
ภาพรวมหนังพูดถึงการเชื่อใจของกันและนั่นหมายถึงพื้นฐานของความรัก ซึ่งทั้งสองดูจะต้องวนเวียนอยู่อีหรอบนี้ เป็นหนังที่บีบหัวใจคนดูอย่างฉันมาก และเสียดายที่ปู่ Hitchcock ไม่ได้หยิบเอามาทำ เพราะมันคือใช่หนังแนวของเขาเลย ส่วนหนึ่งจากบทความวิจารณ์ของ Chris Cabin จากแม็กกาซีน Slant ได้เยิ้มๆเอาไว้ว่า หนังได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Agatha Christie ในหนังสือ And Then There Were None แหม่ อันนี้ฉันอ่านปุ๊บก็แอบขำเลย (อ่านวิจารณ์
https://classicreviewer.wordpress.com/2016/01/11/and-then-there-were-none-1945/ ) อาจจะเป็นจริงตามที่ Cabin บอกล่ะมั้ง หนังเรื่องนี้หาซื้อได้ตามเน็ตเช่นเคย มีบรรยายไทยด้วยค่ะ
– ขอบคุณที่อ่านและติดตามค่ะ –
Classic Reviewer
[CR] Classic Reviewer ::: Charade 1963, หนังสุดยอดเยี่ยมของ Hitchcock ที่เขาไม่เคยสร้าง
เนื้อเรื่องโดยสังเขป
Regina Lampert (Audrey Hepburn) หม้ายสาวผู้พึ่งหย่าขาดกับ Charles กำลังถูกไล่ล่าเอาชีวิตโดยเหล่าชายลักษณะน่ากลัว และแปลกๆ ถึงสามคน ซึ่งต่างอ้างตัวว่าเป็นเพื่อนกับสามีของเธอ พร้อมทวงสิ่งของปริศนาจากเธอ-อันซึ่งอดีตสามีของเธอขโมยมันไปจากพวกเขา แต่กระนั้นเธอไม่รู้เรื่องอะไรเลย Regina ได้รับการช่วยเหลือปกป้องโดยชายหนุ่มผู้สุภาพอ่อนโยนแต่เต็มไปด้วยปริศนา (Cary Grant)
เกร็ดเล็กๆ
1) ตอนแรกผู้เขียนบทภาพยนตร์ Peter Stone และ Marc Behm ขายบทหนังทั่ว Hollywood โดยใช้ชื่อเรื่องของหนังว่า The Unsuspecting Wife แต่ไม่มีใครให้ความสนใจ Stone เลยเปลี่ยนจากบทหนังให้เป็นนิยายพร้อมทั้งชื่อเรื่องเป็น Charade แทนและถูกนำมาตีพิมพ์เป็นตอนๆในแม็กกาซีน Redbook ซึ่งภายหลังดันไปเตะตาของ Stanley Donen ผู้กำกับและโปรดิ๊วเซอร์เข้าเลยซื้อลิขสิทธิ์มาทำสร้างหนังซะเลย ซึ่ง Stone ก็กลับมารับทำบทหนังต่อ
2) ช่วงที่กำลังถ่ายทำใน Paris 1962 เป็นช่วงเดียวกับ Hepburn พึ่งถ่ายทำ Paris When It Sizzles 1964 พึ่งจบไปพอดี แต่ไม่ต้องสงสัยว่าทำไม Charade ได้ออกฉายก่อนนะคะ เพราะตัวหนัง Paris When It Sizzles มีปัญหาเรื่องการตัดต่อถ่ายทำ ซึ่งทำให้หนังออกฉายสี่เดือนล่าช้า
3) เมื่อหนังถูกฉายในช่วง Christmas, 1963, ฉากพูดของ Audrey Hepburn “at any moment we could be assassinated,…” (พวกเราอาจจะถูกลอบฆ่าเมื่อไหร่ก็ได้) ถูกพากย์ทับเป็น “at any moment we could be eliminated,…” (พวกเราอาจจะถูกกำจัดเมื่อไหร่ก็ได้) สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี John F. Kennedy ที่เกิดขึ้นไปไม่นานมานั้น แต่ปัจจุบันนี้หนังก็ยังมีอยู่สองแบบ แบบดั่งเดิมกับแบบพากย์ทับปะปนกันไป ขึ้นอยู่กับผู้จัดจำหน่าย
4) Grant ในวัยย่างเข้า 59 รู้สึกประหม่ากับการประกบคู่กับ Audrey เป็นอย่างมาก เพราะด้วยอายุที่ห่างกันถึง 25-26 ปี ทำให้เขารู้สึกอึดอัดในการเข้าฉากโรแมนซ์กับเธอ ซึ่งนั่นทางผู้สร้างเข้าใจดีเลยเพิ่มแต่งเติมบทให้ Grant มีฉากพูดเกริ่นๆ วิจารณ์เกี่ยวกับ ความต่างกันมากระหว่างอายุของเขาและ Regina (Audrey) หรือในบทนางเอกสาวที่เป็นฝ่ายเข้าจู่โจมพระเอกคราวพ่อ
5) ภาพรวมของหนังมันไม่ใช่แค่ รอม-คอม-ปริศนาลึกลับทีเดียว แต่เข้าข่ายหนังประเภท whodunit (ใครทำอ่ะ ?), screwball (หนังตลกที่เน้นการปะทะคารมระหว่างพระนาง), spy-thriller (สายลับ และระทึกขวัญ) และที่น่าขันไปกว่านั้น ภาพยนตร์ถูกยกย่องให้เป็น หนังสุดยอดเยี่ยมของ Hitchcock ที่ Hitchcock ไม่เคยสร้าง
รางวัล
1) Grant ได้เข้าชิงรางวัลของ Golden Globes Best Motion Picture Actor in a Musical/Comedy
2) Audrey เช่นกัน ได้เข้าชิงรางวัล Golden Globes Best Motion Picture Actress in Musical/Comedy.และเธอชนะรางวัล BAFTA Award สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม.
3) เพลงประกอบของ Henry Mancini ก็ได้เข้าชิงออสการ์ Best Original Song in 1964
4) ส่วน Peter Stone ได้รางวัล Edgar Award 1964 จาก นักเขียนผู้ลึกลับของอเมริกาในการเขียนบทหนังหนังยอดเยี่ยม
5) เข้าชิงการจัดอันดับภาพยนตร์ของ AFI (American Film Institute)
– 2000 AFI’s 100 Years…100 Laughs
– 2001 AFI’s 100 Years…100 Thrills
– 2002 AFI’s 100 Years…100 Passions
– 2005 AFI’s 100 Years of Film Scores
วิจารณ์
ตามที่เคยลงไปแล้วว่าวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ Cary Grant แต่ฉันไม่ได้เลือกหนังตัวเอกของเขาเลย แต่กลับเป็นเรื่องนี้แทน ทำไมน่ะเหรอ? เรื่องนี้เป็นหนังเรื่องโปรดของฉันเรื่องนึงเลย Grant ในคราวเข้าวัย 60 ปีกลับทำให้สาวหลายๆคน รวมถึงฉันนั่งจิกหมอน ไม่ต่างจาก Regina ที่ตกหลุมสเน่ห์ผู้ชายคราวพ่อ
หนังเดินเรื่องกระชับ และไม่น่าเบื่อเลย แค่ฉากหนังเปิดตัวมาด้วยการที่มีผู้ชายปริศนา ซึ่งภายหลังเราจะทราบว่าเป็นใคร นั้นตกรถไฟลงมาตายคาที่เรียกความสนใจคนดูได้อย่างดี ต่อด้วยเพลงเปิดซึ่งสร้างสรรค์โดย Mancini นักแต่งเพลงมือทอง ผลงานเด่นของเขาคือ The Pink Panther นั่นเองบวกกับแอนนิเมชั่นของภาพที่เข้าจังหวะกลมกลืนกันกับเพลงซึ่งทำให้ฉันตั้งใจดูเลยทีเดียว
จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือการสนทนาที่ดำเนินไปอย่างฉลาดหลักแหลมระหว่างพระ-นาง ที่โต้ตอบทันกัน ประโยคเด็ดนาถูกนำมาใช้ได้อย่างชาญฉลาดกึ่งคารมคมคาย นอกจากนี้เคมีของทั้งคู่ก็ยังเข้ากันสุดๆ ผสมกับบทหนังที่ถ่ายทอดความหวานนิด กุ๊กกิ๊กหน่อยๆ รวมถึงวิธีอ่อยชายหนุ่มของ Audrey นั้นน่ารักสุดๆ
อย่างที่สาม เนื้อเรื่องที่พีคขึ้นลง แบบว่าสนุกสุดๆ เพราะดูคนเขียนจะหลอกให้คนดูปั่นป่วนไปหมด จนท้ายเรื่อง ทำให้เราทั้งลุ้น ทั้งเอาใจช่วยนางเอก จากฆาตกรเงา พระเอกที่หนังเปิดให้เรารู้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเขาไม่ใช่ชายแก่ธรรมดาๆ เขาต้มนางเอกเอาซะเปื่อยไม่รู้กี่รอบๆ บางทีทำให้นึกถึง Suspicion 1941 ของ Hitchcock ที่ Grant เคยรับบทพระเอกผู้อาจจะเป็นฆาตกรฆ่าเพื่อนและกำลังวางแผนฆ่าภรรยาตัวเองอยู่ ซึ่งคือนางเอกที่ทำได้แค่หวาดระแวง ซึ่งนั่นผิดกับ Reggie เลย เพราะเธอดูค่อนข้างปล่อยเนื้อปล่อยตัวกับหนุ่มใหญ่ทั้งๆที่พึ่งผ่านเหตุการณ์น่ากลัวสุดๆมาก็เถอะ หรือนั่นอาจจะเป็นสเน่ห์ที่พุ่งพ่านของชายหนุ่มคราวพ่อที่ทำให้อารมณ์สาวเจ้าดูจะไม่คงที่เอาซะเลย
หนังที่ได้รับแรงบันดาลใจ /ดัดแปลง
1) Kokhono Megh (1968) หนังภาษาเบกาลี (หรือ มาจากบังกลาเทศ ไม่จำสับสนกับ Bollywood นะคะ)
2) Somebody Killed Her Husband (1978) นำแสดงโดย Farrah Fawcett และ Jeff Bridges หยิบเอาเวอร์ชั่นเดิมมาทำแบบคร่าวๆ และเข้าฉายที่ญี่ปุ่นในชื่อว่า Charade ’79.
4) The Truth About Charlie (2002) โดย Mark Wahlberg และ Thandie Newton. แต่กระนั้นไม่ชื่อของ Peter Stone ในท้ายเครดิตเพราะแต่เขาไม่ชอบหนังเรื่องนี้เอาซะเลย และที่น่าขันคือ หนังเปลี่ยนชื่อของ Stone เป็น Peter Joshua แทน (นามแฝงของตัวละครของ Grant)
5) Chura Liyaa Hai Tumne (2003) หนังดัดแปลงเวอร์ชั่น Bollywood นำแสดงโดย Esha Deol (ลูกสาวสุดสวยของยอดดารามหาชนอย่างทราแมนเดอร์และเฮมม่า มาลินี) ร่วมกับ Zayed Khan
สรุปและหาซื้อ
ภาพรวมหนังพูดถึงการเชื่อใจของกันและนั่นหมายถึงพื้นฐานของความรัก ซึ่งทั้งสองดูจะต้องวนเวียนอยู่อีหรอบนี้ เป็นหนังที่บีบหัวใจคนดูอย่างฉันมาก และเสียดายที่ปู่ Hitchcock ไม่ได้หยิบเอามาทำ เพราะมันคือใช่หนังแนวของเขาเลย ส่วนหนึ่งจากบทความวิจารณ์ของ Chris Cabin จากแม็กกาซีน Slant ได้เยิ้มๆเอาไว้ว่า หนังได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Agatha Christie ในหนังสือ And Then There Were None แหม่ อันนี้ฉันอ่านปุ๊บก็แอบขำเลย (อ่านวิจารณ์ https://classicreviewer.wordpress.com/2016/01/11/and-then-there-were-none-1945/ ) อาจจะเป็นจริงตามที่ Cabin บอกล่ะมั้ง หนังเรื่องนี้หาซื้อได้ตามเน็ตเช่นเคย มีบรรยายไทยด้วยค่ะ
– ขอบคุณที่อ่านและติดตามค่ะ –
Classic Reviewer