สวัสดีครับ มาแนะนำรีวิวทริปญี่ปุ่นในฤดูหนาวให้ทุกคนที่สนใจครับ มีโอกาสได้เที่ยวหลายพื้นที่ที่แตกต่างกัน หลายกิจกรรม หวังว่าบางส่วนอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่เตรียมจะเดินทางไปเที่ยวนะครับ
เส้นทางคร่าวๆ ตามนี้ครับ ใครที่จะอ่านเฉพาะพื้นที่ก็กดลิ้ง ข้ามไปอ่านได้เลยครับ
20 มกราคม: กรุงเทพ – สนามบินนาริตะ – โตเกียว
21 มกราคม: โตเกียว – เกียวโต
http://ppantip.com/topic/34933155/comment1
22 มกราคม: เกียวโต – โอซาก้า – เกียวโต
http://ppantip.com/topic/34933155/comment2
23 มกราคม: เกียวโต – นาโกย่า – ทากายาม่า
http://ppantip.com/topic/34933155/comment5
24 มกราคม: ทากายาม่า – ชิราคาว่าโกะ – ทากายาม่า
http://ppantip.com/topic/34933155/comment6
25 มกราคม: ทากายาม่า – โทยาม่า – อิโตอิกาว่า – ฮาคุบะ
http://ppantip.com/topic/34933155/comment7
26 มกราคม: ฮาคุบะ – สกีรีสอร์ท
http://ppantip.com/topic/34933155/comment8
27 มกราคม: ฮาคุบะ – มัตสึโมโตะ – นากาโน่ – โตเกียว
http://ppantip.com/topic/34933155/comment9
28 มกราคม: มหานครโตเกียว
http://ppantip.com/topic/34933155/comment10
29 มกราคม: โตเกียว – สนามบินนาริตะ – กรุงเทพ
http://ppantip.com/topic/34933155/comment11
Happo One Ski resort
ไปกัน 2 คน เดินทางโดยรถไฟเป็นหลัก ใช้เจอาร์พาสครับ ใช้รถทัวร์แค่ไปชิราคาว่าโกะเท่านั้น
เดินทางค่อนข้างเยอะ เปลี่ยนที่นอนบ่อย แต่ไม่แน่นและสบายมาก เนื่องจากรถไฟตรงเวลา ควบคุมเวลาและตารางได้ และส่วนใหญ่ใช้ชินคันเซ็น ทำเวลาได้ดีมาก
สำหรับคนที่ไม่เน้นสถานที่เที่ยว ไม่เก็บ เน้นชมเมือง ดูวิถีชีวิตทั่วๆ ไปครับน่าจะชอบครับ
ภาพถ่าย :
Gopro Hero 4 / iPhone 6s / Samsung Galaxy อย่าคาดหวังกับภาพถ่ายนะครับ ถ่ายไม่เป็น แค่ snap ไปเรื่อยครับ
ก่อนเดินทาง
1.
เจอาร์พาส และจัดตารางรถไฟ
วิธีการง่ายๆ ครับ คือใช้ Hyperdia.com เหมือนเช่นทุกๆ ท่าน เจอาร์พาสจะคุ้มหรือไม่คุ้ม แล้วแต่การเดินทางของแต่ละคนนะครับ อาจไม่จำเป็นต้องซื้อเสมอไป ของพวกเราใช้ เจอาร์พาส 7 วัน สำหรับการเดินทาง 10 วัน วันที่เกินมาจ่ายเพิ่มเอง
2.
จองโรงแรมล่วงหน้า 9 คืน
เพื่อลดการพกเงินสดจำนวนมากๆ ในการเดินทาง และไม่เสียเวลาไล่หาที่พักว่างด้วยครับ ฤดูหนาวที่ญี่ปุ่นไม่ใช่ฤดูยอดนิยมสำหรับการท่องเที่ยว แต่สำหรับเขตสกีรีสอร์ท ทากายาม่า ชิราคาว่าที่ตรงกับวัน Light up นี่แล้ว เกือบหาที่พักไม่ทันเลยครับ สรุปก็จองโรงแรมไว้ในช่วงราคา 3500-4500 บาทไทย
3.
พ็อคเกตไวไฟ
หิ้วงานไปทำด้วยครับ ต้องการใช้อินเตอร์เนตตลอดเวลา และพบว่ามันสะดวกมากๆ ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างทางและดูแผนที่ครับ เช่ามา วันละ 250 บาท เนตแรงทุกพื้นที่ที่ไป
4.
เงินสด
ญี่ปุ่นเป็นประเทศทันสมัย แต่ใช้บัตรเครดิตกันน้อยครับ นิยมการใช้เงินสดเป็นหลัก แต่ก็พกไปทั้งเยนที่แลกจากไทย ดอลล่าห์สหรัฐเผื่อแลกเยนเพิ่ม และบัตรเครดิตครับ
5.
เสื้อผ้าฤดูหนาวและกระเป๋าเดินทาง
เรื่องสำคัญสำหรับการเที่ยวฤดูหนาว คืออุปกรณ์กันหนาวครับ โดยเฉพาะการเที่ยวด้วยตัวเองที่อยู่กลางแจ้งแทบทั้งวัน ไม่มีฮีตเตอร์ตลอดวัน อุปกรณ์เหมาะสมก็จะทำให้อบอุ่นและเที่ยวได้อย่างปกติสุข
ที่ชิราคาว่าโกะ
ส่วนกระเป๋าเดินทาง พวกเราใช้ กระเป๋าลากเคบินไซส์คนละใบ กระเป๋าถือหรือเป้เล็ก อีกคนละ 1 ใบ สำหรับเดย์ทริปและใส่ของต้องหยิบบ่อยๆ
การลากกระเป๋าในญี่ปุ่นนี่ง่าย ทางเดิน ฟุตบาทเรียบดีตลอด คิดว่ากระเป๋าลากสะดวกกว่าใช้ backpack แต่ไม่ว่าจะใช้อะไร กระเป๋าเดินทางยิ่งน้อยและเบายิ่งดีครับ ยังมีความลำบากอยู่บ้างตามสถานีรถไฟ เพราะสถานีรถไฟต่างๆ ในญี่ปุ่นไม่ได้เอื้ออำนวยกับกระเป๋าเดินทางมากนัก ทั้งที่เก็บสัมภาระในรถไฟข้ามเมืองที่แสนน้อยนิด ส่วนรถไฟใต้ดินในเขตเมืองนี่ยิ่งแย่ หลายๆ สถานีไม่มีกระทั่งบันไดเลื่อนเลยเชียว และรถไฟคือการเดินทางหลักของญี่ปุ่นเสียด้วย
บนเมโทร หรือรถไฟในตัวเมือง ขนาดรถไฟค่อนข้างเล็ก แม้สัมภาระไม่เยอะก็ยังรู้สึกเกะกะอยู่ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้รถไฟสะดวกแทบทุกอย่าง ขาดแค่บันไดเลื่อน 55
กระเป๋าเดินทางเคบินไซส์สามารถวางบนชั้นสัมภาระเหนือที่นั่งรถไฟข้ามเมืองต่างๆ ได้ เหมือนเครื่องบิน แต่ถ้าใหญ่กว่านั้น ต้องวางที่หน้าขาตัวเอง หรือท้ายตู้รถไฟของเรา จะมีที่วางกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ แต่วางได้ไม่กี่ใบครับ ถ้าคนอื่นที่มีกระเป๋าขึ้นมาก่อนเยอะๆ ก็อาจจะอดวางได้
อุณหภูมิ
ในภูมิภาคที่ไป อุณหภูมิที่ตรวจสอบไว้ก่อน คือ -8 ถึง 5 องศา แต่ไปจริงๆ แล้ว เป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยหนาวจัดนี่ล่ะครับ ที่นั่นก็หนาวขึ้นไปอีกมาก หนาวที่สุดในช่วงที่ไปจริงคือ -15 โดยที่หลายๆ วัน ก็ติดลบทั้งวัน ไม่มีช่วงอุ่นเลยแม้กระทั่งตอนกลางวันแดดจ้าก็ยังติดลบ
ชุดกันหนาวก็ใส่เป็นเลเยอร์ 2-3 ชั้น ใส่โค้ทก็อยู่ได้สบายๆ ครับ อีกทั้งรถไฟ รถแท็กซี่ รถเมและตัวอาคารมีฮีตเตอร์เสมอครับ ใครใส่ลองจอนหรือหลายเลเยอร์เกินเหตุ จะร้อนจนสลบเอาได้ครับ 55
ไม่ต้องกลัวหนาวแล้วเอาเสื้อผ้าไปเยอะนะครับ มันใส่ซ้ำได้ อีกทั้งหาซื้อเสื้อผ้าฤดูหนาวเพิ่มเติมที่ญี่ปุ่นง่ายมากๆ และถูกกว่าไทยแบบที่จะเห็นราคาแล้วจะเสียใจที่ซื้อชุดกันหนาวจากไทยเลยครับ
20 มกราคม: กรุงเทพ – สนามบินนาริตะ – โตเกียว
ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น อยากรู้อะไรบ้าง??
เพื่อนผู้หญิงเข้าก่อน เจ้าหน้าที่ถามว่ามากี่คน ตอบไปว่า 2 คน แค่นี้จบ แสตมป์ ปึง! ส่วนผมโดนถามเยอะกว่าหน่อย และขอดูใบจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบินขากลับ นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร
ส่วนหนังสือเดินทางที่มีแสตมป์เยอะๆ มีวีซ่าประเทศอื่นมา นี่เค้านั่งเปิดดูทุกหน้าเลยครับ แต่ก็ไม่มีอะไร นับเป็นประเทศที่ ตม. ง่ายๆ สำหรับคนไทยครับ
เราไม่มีสัมภาระต้องโหลด ออกจาก ตม. มาก็ออกมาได้เลย แปปนึงก็เจอป้ายทางไปสถานีของ Narita Express และเค้าท์เตอร์ของ JR ก็เอาตั๋วเจอาร์พาสไปแลกเป็นตั๋วจริง ต้องต่อคิวนะ คนลงเครื่องมาแลกกันเยอะ
การเดินทางจากสนามบินนาริตะ เข้าโตเกียว
พวกเราใช้ Narita Express แล้วค่อนข้างพอใจครับ ที่นั่งกว้าง สบาย ที่วางกระเป๋าดี ความเร็วพอใช้ได้ครับ แม้ราคาแพงกว่าการเข้าเมืองวิธีอื่น
แม้คนมีเจอาร์พาสจะโดยสาร Narita Express ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่เรายังไม่ใช้ เจอาร์พาสวันนี้ ก็ไปกดตั๋วเอาที่เครื่องอัตโนมัติ ราคา 2,990 เยน
มาลงที่สถานี Shinjuku และต่อรถ Tokyo Metro ไปอีก 2 สถานี ลงที่สถานี Shinjuku Gyoen ก็ถึงที่พัก
ใช้ตู้ตั๋วอัตโนมัติรถไฟครั้งแรกก็งงนิดๆ นะครับ แต่หลังจากนั้นก็สบาย ใช้งานง่ายมากๆ
มาถึงที่พักเอา 5 ทุ่มได้ เก็บของแล้วหาร้านอาหารแถวๆ นั้น เงียบกริบเลย.... อา.... มีแต่คนออฟฟิสใส่สูทเมาเดินแอ๋ไปทั่ว แต่ร้านอาหารไม่มีเปิดแล้ว
เข้ามินิมาร์ทสิครับ ของกินเพียบเลย ซื้อกลับมานั่งกินที่ห้อง สบายๆ ครับ ดึกแล้วก็ไม่ง่วง เพราะเวลาเร็วขึ้น 2 ชั่วโมง ก็กินกาแฟไปเพลินที่ระเบียง แล้วก็นอน คร่อก
[CR] เที่ยวญี่ปุ่นฤดูหนาว 10 วัน : ย้อนยุค ล้ำสมัย ชนบท และสกีรีสอร์ท
สวัสดีครับ มาแนะนำรีวิวทริปญี่ปุ่นในฤดูหนาวให้ทุกคนที่สนใจครับ มีโอกาสได้เที่ยวหลายพื้นที่ที่แตกต่างกัน หลายกิจกรรม หวังว่าบางส่วนอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่เตรียมจะเดินทางไปเที่ยวนะครับ
เส้นทางคร่าวๆ ตามนี้ครับ ใครที่จะอ่านเฉพาะพื้นที่ก็กดลิ้ง ข้ามไปอ่านได้เลยครับ
20 มกราคม: กรุงเทพ – สนามบินนาริตะ – โตเกียว
21 มกราคม: โตเกียว – เกียวโต http://ppantip.com/topic/34933155/comment1
22 มกราคม: เกียวโต – โอซาก้า – เกียวโต http://ppantip.com/topic/34933155/comment2
23 มกราคม: เกียวโต – นาโกย่า – ทากายาม่า http://ppantip.com/topic/34933155/comment5
24 มกราคม: ทากายาม่า – ชิราคาว่าโกะ – ทากายาม่า http://ppantip.com/topic/34933155/comment6
25 มกราคม: ทากายาม่า – โทยาม่า – อิโตอิกาว่า – ฮาคุบะ http://ppantip.com/topic/34933155/comment7
26 มกราคม: ฮาคุบะ – สกีรีสอร์ท http://ppantip.com/topic/34933155/comment8
27 มกราคม: ฮาคุบะ – มัตสึโมโตะ – นากาโน่ – โตเกียว http://ppantip.com/topic/34933155/comment9
28 มกราคม: มหานครโตเกียว http://ppantip.com/topic/34933155/comment10
29 มกราคม: โตเกียว – สนามบินนาริตะ – กรุงเทพ http://ppantip.com/topic/34933155/comment11
Happo One Ski resort
ไปกัน 2 คน เดินทางโดยรถไฟเป็นหลัก ใช้เจอาร์พาสครับ ใช้รถทัวร์แค่ไปชิราคาว่าโกะเท่านั้น
เดินทางค่อนข้างเยอะ เปลี่ยนที่นอนบ่อย แต่ไม่แน่นและสบายมาก เนื่องจากรถไฟตรงเวลา ควบคุมเวลาและตารางได้ และส่วนใหญ่ใช้ชินคันเซ็น ทำเวลาได้ดีมาก
สำหรับคนที่ไม่เน้นสถานที่เที่ยว ไม่เก็บ เน้นชมเมือง ดูวิถีชีวิตทั่วๆ ไปครับน่าจะชอบครับ
ภาพถ่าย :
Gopro Hero 4 / iPhone 6s / Samsung Galaxy อย่าคาดหวังกับภาพถ่ายนะครับ ถ่ายไม่เป็น แค่ snap ไปเรื่อยครับ
ก่อนเดินทาง
1. เจอาร์พาส และจัดตารางรถไฟ
วิธีการง่ายๆ ครับ คือใช้ Hyperdia.com เหมือนเช่นทุกๆ ท่าน เจอาร์พาสจะคุ้มหรือไม่คุ้ม แล้วแต่การเดินทางของแต่ละคนนะครับ อาจไม่จำเป็นต้องซื้อเสมอไป ของพวกเราใช้ เจอาร์พาส 7 วัน สำหรับการเดินทาง 10 วัน วันที่เกินมาจ่ายเพิ่มเอง
2. จองโรงแรมล่วงหน้า 9 คืน
เพื่อลดการพกเงินสดจำนวนมากๆ ในการเดินทาง และไม่เสียเวลาไล่หาที่พักว่างด้วยครับ ฤดูหนาวที่ญี่ปุ่นไม่ใช่ฤดูยอดนิยมสำหรับการท่องเที่ยว แต่สำหรับเขตสกีรีสอร์ท ทากายาม่า ชิราคาว่าที่ตรงกับวัน Light up นี่แล้ว เกือบหาที่พักไม่ทันเลยครับ สรุปก็จองโรงแรมไว้ในช่วงราคา 3500-4500 บาทไทย
3. พ็อคเกตไวไฟ
หิ้วงานไปทำด้วยครับ ต้องการใช้อินเตอร์เนตตลอดเวลา และพบว่ามันสะดวกมากๆ ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างทางและดูแผนที่ครับ เช่ามา วันละ 250 บาท เนตแรงทุกพื้นที่ที่ไป
4. เงินสด
ญี่ปุ่นเป็นประเทศทันสมัย แต่ใช้บัตรเครดิตกันน้อยครับ นิยมการใช้เงินสดเป็นหลัก แต่ก็พกไปทั้งเยนที่แลกจากไทย ดอลล่าห์สหรัฐเผื่อแลกเยนเพิ่ม และบัตรเครดิตครับ
5. เสื้อผ้าฤดูหนาวและกระเป๋าเดินทาง
เรื่องสำคัญสำหรับการเที่ยวฤดูหนาว คืออุปกรณ์กันหนาวครับ โดยเฉพาะการเที่ยวด้วยตัวเองที่อยู่กลางแจ้งแทบทั้งวัน ไม่มีฮีตเตอร์ตลอดวัน อุปกรณ์เหมาะสมก็จะทำให้อบอุ่นและเที่ยวได้อย่างปกติสุข
ที่ชิราคาว่าโกะ
ส่วนกระเป๋าเดินทาง พวกเราใช้ กระเป๋าลากเคบินไซส์คนละใบ กระเป๋าถือหรือเป้เล็ก อีกคนละ 1 ใบ สำหรับเดย์ทริปและใส่ของต้องหยิบบ่อยๆ
การลากกระเป๋าในญี่ปุ่นนี่ง่าย ทางเดิน ฟุตบาทเรียบดีตลอด คิดว่ากระเป๋าลากสะดวกกว่าใช้ backpack แต่ไม่ว่าจะใช้อะไร กระเป๋าเดินทางยิ่งน้อยและเบายิ่งดีครับ ยังมีความลำบากอยู่บ้างตามสถานีรถไฟ เพราะสถานีรถไฟต่างๆ ในญี่ปุ่นไม่ได้เอื้ออำนวยกับกระเป๋าเดินทางมากนัก ทั้งที่เก็บสัมภาระในรถไฟข้ามเมืองที่แสนน้อยนิด ส่วนรถไฟใต้ดินในเขตเมืองนี่ยิ่งแย่ หลายๆ สถานีไม่มีกระทั่งบันไดเลื่อนเลยเชียว และรถไฟคือการเดินทางหลักของญี่ปุ่นเสียด้วย
บนเมโทร หรือรถไฟในตัวเมือง ขนาดรถไฟค่อนข้างเล็ก แม้สัมภาระไม่เยอะก็ยังรู้สึกเกะกะอยู่ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กระเป๋าเดินทางเคบินไซส์สามารถวางบนชั้นสัมภาระเหนือที่นั่งรถไฟข้ามเมืองต่างๆ ได้ เหมือนเครื่องบิน แต่ถ้าใหญ่กว่านั้น ต้องวางที่หน้าขาตัวเอง หรือท้ายตู้รถไฟของเรา จะมีที่วางกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ แต่วางได้ไม่กี่ใบครับ ถ้าคนอื่นที่มีกระเป๋าขึ้นมาก่อนเยอะๆ ก็อาจจะอดวางได้
อุณหภูมิ
ในภูมิภาคที่ไป อุณหภูมิที่ตรวจสอบไว้ก่อน คือ -8 ถึง 5 องศา แต่ไปจริงๆ แล้ว เป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยหนาวจัดนี่ล่ะครับ ที่นั่นก็หนาวขึ้นไปอีกมาก หนาวที่สุดในช่วงที่ไปจริงคือ -15 โดยที่หลายๆ วัน ก็ติดลบทั้งวัน ไม่มีช่วงอุ่นเลยแม้กระทั่งตอนกลางวันแดดจ้าก็ยังติดลบ
ชุดกันหนาวก็ใส่เป็นเลเยอร์ 2-3 ชั้น ใส่โค้ทก็อยู่ได้สบายๆ ครับ อีกทั้งรถไฟ รถแท็กซี่ รถเมและตัวอาคารมีฮีตเตอร์เสมอครับ ใครใส่ลองจอนหรือหลายเลเยอร์เกินเหตุ จะร้อนจนสลบเอาได้ครับ 55
ไม่ต้องกลัวหนาวแล้วเอาเสื้อผ้าไปเยอะนะครับ มันใส่ซ้ำได้ อีกทั้งหาซื้อเสื้อผ้าฤดูหนาวเพิ่มเติมที่ญี่ปุ่นง่ายมากๆ และถูกกว่าไทยแบบที่จะเห็นราคาแล้วจะเสียใจที่ซื้อชุดกันหนาวจากไทยเลยครับ
20 มกราคม: กรุงเทพ – สนามบินนาริตะ – โตเกียว
ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น อยากรู้อะไรบ้าง??
เพื่อนผู้หญิงเข้าก่อน เจ้าหน้าที่ถามว่ามากี่คน ตอบไปว่า 2 คน แค่นี้จบ แสตมป์ ปึง! ส่วนผมโดนถามเยอะกว่าหน่อย และขอดูใบจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบินขากลับ นอกจากนั้นก็ไม่มีอะไร
ส่วนหนังสือเดินทางที่มีแสตมป์เยอะๆ มีวีซ่าประเทศอื่นมา นี่เค้านั่งเปิดดูทุกหน้าเลยครับ แต่ก็ไม่มีอะไร นับเป็นประเทศที่ ตม. ง่ายๆ สำหรับคนไทยครับ
เราไม่มีสัมภาระต้องโหลด ออกจาก ตม. มาก็ออกมาได้เลย แปปนึงก็เจอป้ายทางไปสถานีของ Narita Express และเค้าท์เตอร์ของ JR ก็เอาตั๋วเจอาร์พาสไปแลกเป็นตั๋วจริง ต้องต่อคิวนะ คนลงเครื่องมาแลกกันเยอะ
การเดินทางจากสนามบินนาริตะ เข้าโตเกียว
พวกเราใช้ Narita Express แล้วค่อนข้างพอใจครับ ที่นั่งกว้าง สบาย ที่วางกระเป๋าดี ความเร็วพอใช้ได้ครับ แม้ราคาแพงกว่าการเข้าเมืองวิธีอื่น
แม้คนมีเจอาร์พาสจะโดยสาร Narita Express ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่เรายังไม่ใช้ เจอาร์พาสวันนี้ ก็ไปกดตั๋วเอาที่เครื่องอัตโนมัติ ราคา 2,990 เยน
มาลงที่สถานี Shinjuku และต่อรถ Tokyo Metro ไปอีก 2 สถานี ลงที่สถานี Shinjuku Gyoen ก็ถึงที่พัก
ใช้ตู้ตั๋วอัตโนมัติรถไฟครั้งแรกก็งงนิดๆ นะครับ แต่หลังจากนั้นก็สบาย ใช้งานง่ายมากๆ
มาถึงที่พักเอา 5 ทุ่มได้ เก็บของแล้วหาร้านอาหารแถวๆ นั้น เงียบกริบเลย.... อา.... มีแต่คนออฟฟิสใส่สูทเมาเดินแอ๋ไปทั่ว แต่ร้านอาหารไม่มีเปิดแล้ว
เข้ามินิมาร์ทสิครับ ของกินเพียบเลย ซื้อกลับมานั่งกินที่ห้อง สบายๆ ครับ ดึกแล้วก็ไม่ง่วง เพราะเวลาเร็วขึ้น 2 ชั่วโมง ก็กินกาแฟไปเพลินที่ระเบียง แล้วก็นอน คร่อก