ป้ายบอกทางในระบบรถไฟฟ้าสำคัญไฉน?

ทำไมป้ายบอกทางในระบบรถไฟฟ้าถึงไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน? ทำไมป้ายบอกทางถึงสมควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน?

ป้ายบอกทางที่ไม่เป็นมาตรฐานเกิดจากการมีหลายหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนจัดการระบบรถไฟฟ้า เช่น กทม. รฟม. รฟท. BTSC และ BEM

BTSC ผู้ได้รับสัมปทานบริหารจัดการระบบรถไฟฟ้า BTS ก็ออกแบบป้ายเพื่อใช้เอง ซึ่ง กทม. ก็นำไปใช้ต่อในส่วนต่อขยาย BTS ด้วย (อย่างน้อยก็มาตรฐานเดียวกันใน BTS)

สำหรับระบบรถไฟฟ้า MRT นั้นพิลึกกว่าคือ สายสีน้ำเงิน ส่วนเปิดให้บริการปัจจุบัน ออกแบบโดย BEM (BMCL เก่า) ผู้ได้รับสัมปทาน แต่งานป้ายบอกทางของสายสีม่วง และสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (นับเป็นอีก 2 แบบ) อยู่ภายใต้สัญญาก่อสร้าง โดยรฟม. เป็นผู้กำหนดแบบ ฉะนั้น MRT จะมีป้ายบอกทาง 3 แบบส่วน ARL ก็ออกแบบป้ายบอกทางมาอีกแบบ

สรุปว่าระบบรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกำลังจะมี ป้ายบอกทางทั้งหมด 5 แบบ ผมคงไม่ต้องพูดถึงสายสีส้ม เหลือง ชมพู ฯลฯ เพราะอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าอาจจะได้เห็นป้ายบอกทางอย่างน้อยสัก 10 กว่าแบบ ในความคิดของผม การมีป้ายบอกทาง 10 กว่าแบบถือว่าเป็นเรื่องบ้าไปแล้ว

ปัญหาหลักคือ การไม่ให้ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานรัฐเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนด้วยรวม

ป้ายบอกทางเป็นสิ่งที่หน่วยงานต่างๆควรให้ความสำคัญ เพราะป้ายบอกทางเป็นป้ายที่ผู้โดยสารจำเป็นต้องพึ่งพาในการใช้บริการรถไฟฟ้าสายต่างๆ การออกแบบและตำแหน่งป้ายบอกทางที่ดีต้องสามารถให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสารอย่างถูกต้องและรวดเร็วถึงแม้จะไม่หยุดอ่าน ปัญหานี้อาจจะยังไม่เด่นชัดนักเนื่องจากกรุงเทพยังไม่มีระบบรถไฟฟ้าหลายสาย แต่ความไร้มาตรฐานของป้ายบอกทางจะสร้างความสับสนเพิ่มขึ้นเมื่อกรุงเทพจะมีสายรถไฟฟ้าเพิ่มในอนาคต

ผมขอแสดงความไม่เป็นมาตรฐานของป้ายบอกทางในระบบรถไฟฟ้าของชาวกรุงเทพ
แม้ทั้ง 2 ป้ายอยู่ข้างกันแท้ยังไม่สามารถเป็นมาตรฐานเดียวกัน

MRT สายสีน้ำเงิน

MRT สายสีม่วง

ทีนี้ เรามาดูป้ายบอกทางในระบบรถไฟฟ้าของประเทศสิงคโปร์กันบ้าง

เครดิต:
http://forums.sgtrains.com/showthread.php?tid=1996&pid=256207#pid256207
https://www.flickr.com/photos/93956959@N04/sets/72157661565724690

ข้อสังเกตสำหรับป้ายบอกทางในระบบรถไฟฟ้าของประเทศสิงคโปร์
1. รถไฟฟ้าสายต่างๆ ใช้ป้ายบอกทางมาตรฐานเดียวกัน
2. ในสถานีเชื่อมต่อ ป้ายบอกทางใช้สีประจำสายอย่างชัดเจน

ข้อดีในการมีป้ายบอกทางที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
1. ช่วยลดความสับสนในการใช้บริการ เช่นการขึ้นผิดชานชลา
2. ช่วยลดการเสียเวลา เช่นเพราะการขึ้นผิดชานชลา
3. เพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้ระบบรถไฟฟ้า (User Experience: UX)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่