ข้อควรทราบ
[*] ควรซื้อประแจขันฝาของกระบอกเมมเบรนมาด้วย ราคา 20 บาท
[*] ควรซื้อ TDS Meter เพื่อใช้วัดคุณภาพของเครื่องกรองน้ำ R.O. โดยปกติจะมีค่าประมาณ 5 - 50 ppm เป็นการวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำแล้วแปลงกลับมาเป็นปริมาณสารละลาย ionized ที่มีอยู่ในน้ำ เช่น เกลือและแร่ธาตุต่างๆ (น้ำตาล อนุภาคคอลลอยด์ และเชื้อโรคต่างๆจะไม่นำไฟฟ้า)
[*] ข้อต่อของปั๊มน้ำ เป็นเกลียวขนาด 3 หุน (3/8")
[*] ข้อต่อของกระบอกเมมเบรน เป็นเกลียวขนาด 1 หุน (1/8")
[*] ข้อต่ออื่นๆที่เหลือ เป็นเกลียวขนาด 2 หุน (1/4")
[*] ข้อต่อ outlet ของปั๊มน้ำและ inlet ของกระบอกเมมเบรน ควรจะพันเทปกันน้ำรั่วเพราะมีแรงดันสูง
[*] ช่อง outlet ของกระบอกที่ 3 ควรอยู่ที่ด้านหน้า จะทำให้ถอดสายและต่อสายล้างไส้กรองได้สะดวก
[*] ช่องน้ำดีของกระบอกเมมเบรน จะต้องใช้ข้อต่อแบบเช็ควาล์ว เพื่อไม่ให้น้ำจากถังความดันไหลย้อนกลับมาเข้ากระบอกเมมเบรน
[*] ช่องน้ำทิ้งของกระบอกเมมเบรน ควรใช้ข้อต่อแบบตรง และต่อ FLOW ห้อยไว้ที่ด้านล่าง เวลาที่ต้องการล้างไส้กรองเมมเบรนก็แค่ถอด FLOW ออก
[*] ข้อต่อแบบหมุน (Jaco Fitting) จะต้องใช้ตัว insert พลาสติก เสียบที่ปลายท่อน้ำ PE เพื่อเสริมไม่ให้ท่อยุบตัว และจะทำให้น้ำไหลช้าลง
[*] ข้อต่อแบบคลิปล็อค (Quick Fitting) จะมี 2 แบบ คือ แบบมีบ่าโอริง และแบบไม่มีบ่าโอริง
[*] RO Flow Restrictor ต้องเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดของไส้กรองเมมเบรน (อ่านต่อด้านล่างเกี่ยวกับการคำนวน...)
[*] RO Flow Restrictor หลักการทำงานเหมือนกับวาล์วหรี่น้ำที่ตั้งค่ามาตายตัว และขึ้นอยู่กับแรงดันของปั๊มด้วย จะใช้วาล์วน้ำแทนก็ได้ เพราะสามารถปรับตั้งความแรงได้ตามสเปคของเมมเบรน และยังสามารถใช้ flush ล้างไส้กรองเมมเบรนได้ด้วย
[*] กระบอกเมมเบรนที่มาในชุด Colandas (สีออกครีมๆ) มักจะฉีดพลาสติกมาไม่ดี มีเศษพลาสติกข้างใน บางครั้งทำให้รั่วได้ จะวัดได้ประมาณ 25 - 40 ppm ควรซื้อแบบใต้หวันมาเปลี่ยนใหม่ (แบบมีถุงก๊อบแก๊บห่อ) ราคา 60 บาท
[*] ไส้กรองแบบ Granular Carbon จะมีผงหลุดออกมามากกว่าแบบ Block Carbon และจะไปทำให้ปั๊มน้ำเสื่อมเสียได้ รวมทั้งไส้กรองเมมเบรนด้วย ทางผู้ผลิตแนะนำให้ต่อปั๊มหลังจากไส้กรอง Ceramic หรือก่อนไส้กรอง Carbon แต่โดยปกติแล้วผงคาร์บอนจะตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกระบอก
[*] ในปัจจุบันไส้กรอง Block Carbon ประสิทธิภาพดีกว่าแบบ Granular Carbon มากๆอีกทั้งราคาก็ไม่สูงแล้ว
[*] ไส้กรอง Block Carbon ยี่ห้อ MATRIKX CTO ความละเอียด 85% ที่ 5 ไมครอน ความสามารถในการลดคลอรีน >95% ที่ 6,000 แกลลอน (22,000 ลิตร)
[*] ไส้กรอง Block Carbon ยี่ห้อ OMNIPURE OMB934-10M ความละเอียด >98% ที่ 10 ไมครอน ความสามารถในการลดคลอรีน >95% ที่ 10,000 แกลลอน (37,000 ลิตร)
[*] ไส้กรอง Granular Carbon ยี่ห้อ OMNIPURE CL10RO-T33 ความสามารถในการลดคลอรีน >95% ที่ 1,500 แกลลอน (5,600 ลิตร) หรือ 1 ปี
[*] ไส้กรอง Membrane มีอายุใช้งานประมาณ 1 - 3 ปี เมื่อเปลี่ยนใหม่ควรปล่อยน้ำทิ้งประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อล้างสารเคลือบออกให้หมด หรือจนกว่าจะวัดได้ <10 ppm
[*] ไส้กรอง Ceramic ยี่ห้อ AQUATEK รุ่น 2.5" น้ำจะไหลผ่านได้มากกว่ารุ่น 2.0"
[*] เมื่อเปลี่ยนไส้กรองใหม่ จะยังไม่ชุ่มน้ำเต็มที่ ต้องทิ้งไว้ 1 คืน จึงจะได้ความดันตามปกติ
[*] โครงเหล็กเครื่องกรองน้ำออกแบบมาได้อ้อนแอ้นมาก เวลาแขวนผนังจะไหวสั่นง่าย น่าหวาดเสียว ผิดหลักการออกแบบ และทำให้อุปกรณ์เสื่อมเร็วขึ้น แนะนำให้เสริมโครงเหล็กเพิ่ม หรือทำขาตั้งจะดีกว่า (ล่าสุดมีแบบตั้งโต๊ะขายแล้ว พร้อมเกจวัดความดัน)
[*] โอริงทั้งหลาย อย่าไปล้างกลีเซอรีนออก มิฉะนั้นจะขาดง่าย และจะทำให้ขันไม่แน่นไม่สุด น้ำรั่ว ให้ทาน้ำมันพืช
[*] เมื่อระบบเครื่องกรองหยุดทำงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วเวลาเปิดทำงานใหม่ หัวน้ำจะมีค่าประมาณ 40 - 80 ppm อันเนื่องมาจากการแพร่ของเกลือแร่ ดังนั้นการใช้ถังความดันจะทำให้ค่า TDS สูงขึ้นเล็กน้อย
[*] น๊อตปั๊มน้ำให้ใช้ยาว 20 mm เพราะจะไปติดฝา housing และควรใช้แหวนจักรรองหัวน๊อต เนื่องจากปั๊มน้ำจะสั่นมาก
[*] พลาสติกต่างๆทุกชิ้นส่วน ควรเลือกแบบด้านๆไม่เงา เพราะเหนียวและไม่แตกง่าย จะดีกว่าพลาสติกแบบเงาๆซึ่งแข็งเปราะแตกง่าย
คัมภีร์เทวดา เครื่องกรองน้ำ R.O. ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้น
[*] ควรซื้อประแจขันฝาของกระบอกเมมเบรนมาด้วย ราคา 20 บาท
[*] ควรซื้อ TDS Meter เพื่อใช้วัดคุณภาพของเครื่องกรองน้ำ R.O. โดยปกติจะมีค่าประมาณ 5 - 50 ppm เป็นการวัดค่าความนำไฟฟ้าของน้ำแล้วแปลงกลับมาเป็นปริมาณสารละลาย ionized ที่มีอยู่ในน้ำ เช่น เกลือและแร่ธาตุต่างๆ (น้ำตาล อนุภาคคอลลอยด์ และเชื้อโรคต่างๆจะไม่นำไฟฟ้า)
[*] ข้อต่อของปั๊มน้ำ เป็นเกลียวขนาด 3 หุน (3/8")
[*] ข้อต่อของกระบอกเมมเบรน เป็นเกลียวขนาด 1 หุน (1/8")
[*] ข้อต่ออื่นๆที่เหลือ เป็นเกลียวขนาด 2 หุน (1/4")
[*] ข้อต่อ outlet ของปั๊มน้ำและ inlet ของกระบอกเมมเบรน ควรจะพันเทปกันน้ำรั่วเพราะมีแรงดันสูง
[*] ช่อง outlet ของกระบอกที่ 3 ควรอยู่ที่ด้านหน้า จะทำให้ถอดสายและต่อสายล้างไส้กรองได้สะดวก
[*] ช่องน้ำดีของกระบอกเมมเบรน จะต้องใช้ข้อต่อแบบเช็ควาล์ว เพื่อไม่ให้น้ำจากถังความดันไหลย้อนกลับมาเข้ากระบอกเมมเบรน
[*] ช่องน้ำทิ้งของกระบอกเมมเบรน ควรใช้ข้อต่อแบบตรง และต่อ FLOW ห้อยไว้ที่ด้านล่าง เวลาที่ต้องการล้างไส้กรองเมมเบรนก็แค่ถอด FLOW ออก
[*] ข้อต่อแบบหมุน (Jaco Fitting) จะต้องใช้ตัว insert พลาสติก เสียบที่ปลายท่อน้ำ PE เพื่อเสริมไม่ให้ท่อยุบตัว และจะทำให้น้ำไหลช้าลง
[*] ข้อต่อแบบคลิปล็อค (Quick Fitting) จะมี 2 แบบ คือ แบบมีบ่าโอริง และแบบไม่มีบ่าโอริง
[*] RO Flow Restrictor ต้องเลือกให้สัมพันธ์กับขนาดของไส้กรองเมมเบรน (อ่านต่อด้านล่างเกี่ยวกับการคำนวน...)
[*] RO Flow Restrictor หลักการทำงานเหมือนกับวาล์วหรี่น้ำที่ตั้งค่ามาตายตัว และขึ้นอยู่กับแรงดันของปั๊มด้วย จะใช้วาล์วน้ำแทนก็ได้ เพราะสามารถปรับตั้งความแรงได้ตามสเปคของเมมเบรน และยังสามารถใช้ flush ล้างไส้กรองเมมเบรนได้ด้วย
[*] กระบอกเมมเบรนที่มาในชุด Colandas (สีออกครีมๆ) มักจะฉีดพลาสติกมาไม่ดี มีเศษพลาสติกข้างใน บางครั้งทำให้รั่วได้ จะวัดได้ประมาณ 25 - 40 ppm ควรซื้อแบบใต้หวันมาเปลี่ยนใหม่ (แบบมีถุงก๊อบแก๊บห่อ) ราคา 60 บาท
[*] ไส้กรองแบบ Granular Carbon จะมีผงหลุดออกมามากกว่าแบบ Block Carbon และจะไปทำให้ปั๊มน้ำเสื่อมเสียได้ รวมทั้งไส้กรองเมมเบรนด้วย ทางผู้ผลิตแนะนำให้ต่อปั๊มหลังจากไส้กรอง Ceramic หรือก่อนไส้กรอง Carbon แต่โดยปกติแล้วผงคาร์บอนจะตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกระบอก
[*] ในปัจจุบันไส้กรอง Block Carbon ประสิทธิภาพดีกว่าแบบ Granular Carbon มากๆอีกทั้งราคาก็ไม่สูงแล้ว
[*] ไส้กรอง Block Carbon ยี่ห้อ MATRIKX CTO ความละเอียด 85% ที่ 5 ไมครอน ความสามารถในการลดคลอรีน >95% ที่ 6,000 แกลลอน (22,000 ลิตร)
[*] ไส้กรอง Block Carbon ยี่ห้อ OMNIPURE OMB934-10M ความละเอียด >98% ที่ 10 ไมครอน ความสามารถในการลดคลอรีน >95% ที่ 10,000 แกลลอน (37,000 ลิตร)
[*] ไส้กรอง Granular Carbon ยี่ห้อ OMNIPURE CL10RO-T33 ความสามารถในการลดคลอรีน >95% ที่ 1,500 แกลลอน (5,600 ลิตร) หรือ 1 ปี
[*] ไส้กรอง Membrane มีอายุใช้งานประมาณ 1 - 3 ปี เมื่อเปลี่ยนใหม่ควรปล่อยน้ำทิ้งประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง เพื่อล้างสารเคลือบออกให้หมด หรือจนกว่าจะวัดได้ <10 ppm
[*] ไส้กรอง Ceramic ยี่ห้อ AQUATEK รุ่น 2.5" น้ำจะไหลผ่านได้มากกว่ารุ่น 2.0"
[*] เมื่อเปลี่ยนไส้กรองใหม่ จะยังไม่ชุ่มน้ำเต็มที่ ต้องทิ้งไว้ 1 คืน จึงจะได้ความดันตามปกติ
[*] โครงเหล็กเครื่องกรองน้ำออกแบบมาได้อ้อนแอ้นมาก เวลาแขวนผนังจะไหวสั่นง่าย น่าหวาดเสียว ผิดหลักการออกแบบ และทำให้อุปกรณ์เสื่อมเร็วขึ้น แนะนำให้เสริมโครงเหล็กเพิ่ม หรือทำขาตั้งจะดีกว่า (ล่าสุดมีแบบตั้งโต๊ะขายแล้ว พร้อมเกจวัดความดัน)
[*] โอริงทั้งหลาย อย่าไปล้างกลีเซอรีนออก มิฉะนั้นจะขาดง่าย และจะทำให้ขันไม่แน่นไม่สุด น้ำรั่ว ให้ทาน้ำมันพืช
[*] เมื่อระบบเครื่องกรองหยุดทำงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วเวลาเปิดทำงานใหม่ หัวน้ำจะมีค่าประมาณ 40 - 80 ppm อันเนื่องมาจากการแพร่ของเกลือแร่ ดังนั้นการใช้ถังความดันจะทำให้ค่า TDS สูงขึ้นเล็กน้อย
[*] น๊อตปั๊มน้ำให้ใช้ยาว 20 mm เพราะจะไปติดฝา housing และควรใช้แหวนจักรรองหัวน๊อต เนื่องจากปั๊มน้ำจะสั่นมาก
[*] พลาสติกต่างๆทุกชิ้นส่วน ควรเลือกแบบด้านๆไม่เงา เพราะเหนียวและไม่แตกง่าย จะดีกว่าพลาสติกแบบเงาๆซึ่งแข็งเปราะแตกง่าย