“การลงโทษผู้กระทำผิด” โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าคือ การกระทำการใดใด(ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์) ต่อผู้ที่กระทำผิดใดใด ซึ่งนั่นไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งหมดของการลงโทษผู้กระทำผิด เพราะการลงโทษผู้กระทำผิดนั้นยังมีส่วนของรูปแบบ ผลกระทบ และรวมถึงหลักทางจริยธรรมต่างๆ เกี่ยวข้องด้วย
บทนิยาม
การลงโทษผู้กระทำความผิดนั้น เป็นการกระทำเพื่อเหตุผลทางจิตวิทยาเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นการขัดเกลาพฤติกรรม หรือส่งเสริมพฤติกรรมต่างๆ สุดแท้แต่กรณี โดยทั่วไปก็จะเป็นการนำกระบวนการหนึ่งๆ มาใช้กับบุคคลที่ได้รับการลงโทษเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และลดทอนพฤติกรรมที่ไม่ให้น้อยลงหรือหมดไป ตัวอย่างเช่น การที่พ่อแม่ใช้แต่การดุด่ากับลูกที่กระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม นั่นอาจทำให้เป็นการสร้างความเข้าใจผิดแก่ตัวของลูกทำให้ลูกขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิต ซึ่งในความเป็นจริงควรจะว่ากล่าวแต่พอเหมาะ แล้วจึงสอนให้เข้าใจว่าพฤติกรรมของตนไม่ถูกต้องอย่างไร เพื่อเป็นการปรับพฤตินิสัยของเด็กอย่างยั่งยืนกว่าการทำให้เขาเกรงกลัวชั่วขณะแล้วก็กลับไปทำพฤติกรรมนั้นๆ อีก ในอนาคต
นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างของกรณีครูในโรงเรียนกับนักเรียน เช่น หากครูตั้งคำถามในชั้นเรียนแล้วนักเรียนตอบได้ก็ควรชื่นชมนักเรียนในชั้นเรียน แต่หากนักเรียนตอบไม่ถูกก็ไม่ว่ากล่าวต่อหน้าชั้นเรียน แต่ควรเป็นการเสริมว่าคำตอบนั้นๆ ไม่ถูกตรงไหน เพราะอะไร แล้วส่งเสริมให้นักเรียนมีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ต่อไป อีกกรณีหนึ่งคือกรณีนักเรียนที่ไม่ชอบการได้รับคำชื่นชมต่อหน้าที่ประชุมชน ครูก็ควรชมเพียงเล็กน้อยหรือค่อยชื่นชมในโอกาสที่เป็นส่วนตัว เป็นต้น
สุดท้ายคือในบางกรณีการลงโทษนั้นทำเพื่อความหลาบจำของผู้ถูกกระทำ (หมายรวมทั้งการกระทำต่อร่างกาย และจิตใจ) เปรียบเทียบได้กับการนำมือจุ่มลงในน้ำร้อน ซึ่งน้ำร้อนหมายถึงการกระทำผิด ความเจ็บปวดเปรียบเหมือนการลงโทษ เพราะฉะนั้นหากเรียนรู้แล้วว่าการลงโทษนั้นก่อให้เกิดความเจ็บปวด ตัวผู้กระทำความผิดนั้นก็จะเกรงกลัวความเจ็บปวดจนไม่กระทำความผิดนั้นๆ อีก
รูปแบบของการลงโทษผู้กระทำผิด
ลงโทษเชิงบวก
การลงโทษเชิงบวกนั้นคือ การลงโทษที่เน้นการปรับพฤตินิสัยให้ดีขึ้นโดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อร่างกาย และจิตใจ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดทัณฑวิทยาสมัยใหม่ ที่เล็งเห็นว่าการกระทำลงโทษทางลบที่รุนแรงนั้นมิได้แก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำผิดได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันเราอาจพบเห็นการลงโทษในเชิงบวกได้หลายรูปแบบในหลากหลายประเทศ โดยรูปแบบที่น่าสนใจและได้รับความนิยม อาทิ การตักเตือนแล้วแนะนำแนวทางแก้ไขกับผู้กระทำผิด การให้คำปรึกษา และการให้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย (เช่น การออกกำลังกาย) ทั้งนี้เราเรียกโดยรวมว่าเป็นการเสริมแรงทางบวกเพื่อไม่ให้เขากระทำผิดซ้ำอีกนั่นเอง
การลงโทษเชิงลบ
การลงโทษเชิงลบนั้นคือ การลงโทษที่เน้นความรุนแรงต่อร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเป็นแนวคิด ทางทัณฑวิทยาแบบเก่า ที่มีแนวคิดว่าการลงโทษที่รุนแรงจะทำให้ผู้กระทำผิดหวาดกลัว และหลาบจำจนไม่กล้าทำผิดอีก เช่น การโบยตี การคุมขังโดยลดทอนความเป็นมนุษย์ (เช่น ขังเดียว คุกมืด) และการประหารชีวิต ซึ่งเหล่านี้เป็นการทั้งข่มขู่ยับยั้งให้ผู้กระทำความผิดหวาดกลัว และตัดเขาออกจากสังคมเพื่อลดโอกาสการกระทำผิดของไปในตัวนั่นเอง
ปัจจัยจูงใจ และประสิทธิผลของการลงโทษ
ความเร่งด่วน
การลงโทษทั้งเชิงบวก และเชิงลบนั้นต้องกระทำอย่างรวดเร็วฉับไว เพื่อลดพฤตินิสัยที่ไม่ดีนั้นหากทำได้อย่างรวดเร็วฉับไว จะเป็นการแก้ไขพฤตินิสัยนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้มข้น และความหนักเบาของการลงโทษ
การลงโทษนั้นต้องมีความเข้มข้น และขนาดที่เหมาะสมกับความผิด ไม่สามารถนำการลงโทษแบบหนึ่งใช้กับความผิดทุกรูปแบบได้ เนื่องจากความคิดพื้นฐานของการกระทำผิดของแต่ละกรณีนั้นต่างกัน จึงต้องใช้วิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
แผนงานการลงโทษ
การลงโทษทั้งในเชิงบวก และเชิงลบจำเป็นต้องมีการวางแผนงานที่ชัดเจน มิใช่ลงไปเรื่อยๆ ตามแต่ผู้ลงโทษจะพอใจ เช่นนั้นจะไม่ใช่การลงโทษ หากแต่จะเป็นการทรมานผู้กระทำผิดเสียมากกว่า ซึ่งนั่นไม่สามารถแก้ไขผู้กระทำผิดให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
การเสริมแรง
การเสริมแรงมีอยู่ 2 ลักษณะ คือการเสริมแรงทางบวก อาจเป็นการชมเชย ให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ และการเสริมแรงทางลบ อาจเป็นการตำหนิ การงดให้สวัสดิการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้มีวิธีใช้ที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม ในกรณีของการลงโทษนั้นสามารถนำเอาแนวคิดการเสริมแรงนั้นมาปรับใช้โดยการเสริมแรงทางบวกหากผู้กระทำความผิดประพฤติตนดีขึ้น หรือนำการเสริมแรงทางลบมาปรับใช้หากผู้กระทำความผิดประพฤติตนไม่ถูกนั่นเอง
ผลกระทบของการลงโทษ
ผลกระทบในที่นี้มิได้หมายถึงผละกรทบที่ไม่ดีอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงผลกระทบในทางดีด้วย ซึ่งอาจเป็นการที่บุคคลอาจมีพฤติกรรมแย่ลงหากลงโทษไม่เหมาะสมกับความผิด หรือการมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นหากได้รับการลงโทษที่เหมาะสมนั่นเอง
การฟื้นฟูหลังการลงโทษ
การฟื้นฟูนับเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดของการลงโทษ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เขากลับตัวเป็นคนดีของสังคม อาจเป็นในรูปแบบของการให้ทำกิจกรรมกับครอบครัว การฝึกอาชีพ การผ่อนคลาย เช่น ฟังธรรมะ เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยเป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์เป็นหลักนั่นเอง
อ้างอิง
จากบทความของ Jolenea B. Ferro and John Umbreit
เผยแพร่โดย
จากหนังสือชื่อ : The SAGE Encyclopedia of Classroom Management
หัวข้อ : "Punishment"
เว็บไซต์ :
http://sk.sagepub.com/
ติดตามเรื่องน่ารู้ทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้ทุกวัน ด้วยรูปแบบ Info graphic ทันสมัยเข้าใจง่าย ได้ที่
สำนักงานกิจการยุติธรรม
www.facebook.com/สำนักงานกิจการยุติธรรม
www.oja.go.th
ทฤษฎีการลงโทษผู้กระทำผิด
บทนิยาม
การลงโทษผู้กระทำความผิดนั้น เป็นการกระทำเพื่อเหตุผลทางจิตวิทยาเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นการขัดเกลาพฤติกรรม หรือส่งเสริมพฤติกรรมต่างๆ สุดแท้แต่กรณี โดยทั่วไปก็จะเป็นการนำกระบวนการหนึ่งๆ มาใช้กับบุคคลที่ได้รับการลงโทษเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และลดทอนพฤติกรรมที่ไม่ให้น้อยลงหรือหมดไป ตัวอย่างเช่น การที่พ่อแม่ใช้แต่การดุด่ากับลูกที่กระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม นั่นอาจทำให้เป็นการสร้างความเข้าใจผิดแก่ตัวของลูกทำให้ลูกขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิต ซึ่งในความเป็นจริงควรจะว่ากล่าวแต่พอเหมาะ แล้วจึงสอนให้เข้าใจว่าพฤติกรรมของตนไม่ถูกต้องอย่างไร เพื่อเป็นการปรับพฤตินิสัยของเด็กอย่างยั่งยืนกว่าการทำให้เขาเกรงกลัวชั่วขณะแล้วก็กลับไปทำพฤติกรรมนั้นๆ อีก ในอนาคต
นอกจากนั้นยังมีตัวอย่างของกรณีครูในโรงเรียนกับนักเรียน เช่น หากครูตั้งคำถามในชั้นเรียนแล้วนักเรียนตอบได้ก็ควรชื่นชมนักเรียนในชั้นเรียน แต่หากนักเรียนตอบไม่ถูกก็ไม่ว่ากล่าวต่อหน้าชั้นเรียน แต่ควรเป็นการเสริมว่าคำตอบนั้นๆ ไม่ถูกตรงไหน เพราะอะไร แล้วส่งเสริมให้นักเรียนมีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ต่อไป อีกกรณีหนึ่งคือกรณีนักเรียนที่ไม่ชอบการได้รับคำชื่นชมต่อหน้าที่ประชุมชน ครูก็ควรชมเพียงเล็กน้อยหรือค่อยชื่นชมในโอกาสที่เป็นส่วนตัว เป็นต้น
สุดท้ายคือในบางกรณีการลงโทษนั้นทำเพื่อความหลาบจำของผู้ถูกกระทำ (หมายรวมทั้งการกระทำต่อร่างกาย และจิตใจ) เปรียบเทียบได้กับการนำมือจุ่มลงในน้ำร้อน ซึ่งน้ำร้อนหมายถึงการกระทำผิด ความเจ็บปวดเปรียบเหมือนการลงโทษ เพราะฉะนั้นหากเรียนรู้แล้วว่าการลงโทษนั้นก่อให้เกิดความเจ็บปวด ตัวผู้กระทำความผิดนั้นก็จะเกรงกลัวความเจ็บปวดจนไม่กระทำความผิดนั้นๆ อีก
รูปแบบของการลงโทษผู้กระทำผิด
ลงโทษเชิงบวก
การลงโทษเชิงบวกนั้นคือ การลงโทษที่เน้นการปรับพฤตินิสัยให้ดีขึ้นโดยไม่ใช้ความรุนแรงต่อร่างกาย และจิตใจ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดทัณฑวิทยาสมัยใหม่ ที่เล็งเห็นว่าการกระทำลงโทษทางลบที่รุนแรงนั้นมิได้แก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำผิดได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบันเราอาจพบเห็นการลงโทษในเชิงบวกได้หลายรูปแบบในหลากหลายประเทศ โดยรูปแบบที่น่าสนใจและได้รับความนิยม อาทิ การตักเตือนแล้วแนะนำแนวทางแก้ไขกับผู้กระทำผิด การให้คำปรึกษา และการให้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย (เช่น การออกกำลังกาย) ทั้งนี้เราเรียกโดยรวมว่าเป็นการเสริมแรงทางบวกเพื่อไม่ให้เขากระทำผิดซ้ำอีกนั่นเอง
การลงโทษเชิงลบ
การลงโทษเชิงลบนั้นคือ การลงโทษที่เน้นความรุนแรงต่อร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเป็นแนวคิด ทางทัณฑวิทยาแบบเก่า ที่มีแนวคิดว่าการลงโทษที่รุนแรงจะทำให้ผู้กระทำผิดหวาดกลัว และหลาบจำจนไม่กล้าทำผิดอีก เช่น การโบยตี การคุมขังโดยลดทอนความเป็นมนุษย์ (เช่น ขังเดียว คุกมืด) และการประหารชีวิต ซึ่งเหล่านี้เป็นการทั้งข่มขู่ยับยั้งให้ผู้กระทำความผิดหวาดกลัว และตัดเขาออกจากสังคมเพื่อลดโอกาสการกระทำผิดของไปในตัวนั่นเอง
ปัจจัยจูงใจ และประสิทธิผลของการลงโทษ
ความเร่งด่วน
การลงโทษทั้งเชิงบวก และเชิงลบนั้นต้องกระทำอย่างรวดเร็วฉับไว เพื่อลดพฤตินิสัยที่ไม่ดีนั้นหากทำได้อย่างรวดเร็วฉับไว จะเป็นการแก้ไขพฤตินิสัยนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้มข้น และความหนักเบาของการลงโทษ
การลงโทษนั้นต้องมีความเข้มข้น และขนาดที่เหมาะสมกับความผิด ไม่สามารถนำการลงโทษแบบหนึ่งใช้กับความผิดทุกรูปแบบได้ เนื่องจากความคิดพื้นฐานของการกระทำผิดของแต่ละกรณีนั้นต่างกัน จึงต้องใช้วิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
แผนงานการลงโทษ
การลงโทษทั้งในเชิงบวก และเชิงลบจำเป็นต้องมีการวางแผนงานที่ชัดเจน มิใช่ลงไปเรื่อยๆ ตามแต่ผู้ลงโทษจะพอใจ เช่นนั้นจะไม่ใช่การลงโทษ หากแต่จะเป็นการทรมานผู้กระทำผิดเสียมากกว่า ซึ่งนั่นไม่สามารถแก้ไขผู้กระทำผิดให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
การเสริมแรง
การเสริมแรงมีอยู่ 2 ลักษณะ คือการเสริมแรงทางบวก อาจเป็นการชมเชย ให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ และการเสริมแรงทางลบ อาจเป็นการตำหนิ การงดให้สวัสดิการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้มีวิธีใช้ที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม ในกรณีของการลงโทษนั้นสามารถนำเอาแนวคิดการเสริมแรงนั้นมาปรับใช้โดยการเสริมแรงทางบวกหากผู้กระทำความผิดประพฤติตนดีขึ้น หรือนำการเสริมแรงทางลบมาปรับใช้หากผู้กระทำความผิดประพฤติตนไม่ถูกนั่นเอง
ผลกระทบของการลงโทษ
ผลกระทบในที่นี้มิได้หมายถึงผละกรทบที่ไม่ดีอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงผลกระทบในทางดีด้วย ซึ่งอาจเป็นการที่บุคคลอาจมีพฤติกรรมแย่ลงหากลงโทษไม่เหมาะสมกับความผิด หรือการมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นหากได้รับการลงโทษที่เหมาะสมนั่นเอง
การฟื้นฟูหลังการลงโทษ
การฟื้นฟูนับเป็นกระบวนการสำคัญที่สุดของการลงโทษ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เขากลับตัวเป็นคนดีของสังคม อาจเป็นในรูปแบบของการให้ทำกิจกรรมกับครอบครัว การฝึกอาชีพ การผ่อนคลาย เช่น ฟังธรรมะ เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยเป็นหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์เป็นหลักนั่นเอง
อ้างอิง
จากบทความของ Jolenea B. Ferro and John Umbreit
เผยแพร่โดย
จากหนังสือชื่อ : The SAGE Encyclopedia of Classroom Management
หัวข้อ : "Punishment"
เว็บไซต์ : http://sk.sagepub.com/
ติดตามเรื่องน่ารู้ทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมได้ทุกวัน ด้วยรูปแบบ Info graphic ทันสมัยเข้าใจง่าย ได้ที่
สำนักงานกิจการยุติธรรม
www.facebook.com/สำนักงานกิจการยุติธรรม
www.oja.go.th