คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
อันนี้จากที่ผมได้เรียบเรียงข้อมูลไว้นะครับ
“มิยาโมโตะ มูซาชิ” (Miyamoto Musashi)
เมื่อกล่าวขานถึงนามนี้ แทบไม่มีผู้ใดในญี่ปุ่นที่จะไม่รู้จัก เพราะนี่คือนามของยอดนักดาบผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดบุรุษผู้สร้างตำนานการประลองดาบทั้งชีวิตไม่เคยพ่ายแพ้ มีชื่อเสียงจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและของโลกมาจนถึงทุกวันนี้ กระทั่งในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเข้าสู่ยุคดิจิตอลและโลกาภิวัตน์อย่างเต็มตัวแล้ว แต่ชื่อของมูซาชิก็ยิ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้คนในแวดวงธุรกิจ บริหาร สาขาอาชีพต่างๆ
อาจมีข้อสงสัยว่า ทำไม? มิยาโมโตะ มูซาชิ ชายผู้ซึ่งแท้จริงแล้วในประวัติศาสตร์นั้น เป็นเพียงนักดาบคนหนึ่งที่ไม่เคยได้มีโอกาสรับราชการอย่างจริงจัง ไม่เคยสร้างชื่อหรือผลงานในด้านการทหาร การทำสงคราม หรือกระทั่งการบริหารปกครองอย่างเด่นชัดเท่าใดนัก เขาด้มีชาติกำเนิดเป็นเพียงสามัญชน แทบทั้งชีวิตมีแต่การเร่ร่อนพเนจรไปตามป่าเขาลำเนาไพร ใช้ชีวิตอยู่แต่กับวิชาดาบ อาวุธ การประลองเดิมพันชีวิต ถึงกระนั้น ชื่อเสียงของเขากลับยังคงเป็นที่รู้จักมาจนทุกวันนี้ในฐานะของยอดคนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
หลายสิบปีมานี้ บรรดานักคิดและนักวิชาการทั้งตะวันออกและตะวันตกต่างก็ศึกษาถึงแนวคิดวิถีทางสู่ความสำเร็จ ผลงานไร้พ่ายตามที่เขาอ้างถึง กระทั่งผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังของญี่ปุ่นยังนำเรื่องของเขามาสร้างจนประสบความสำเร็จถล่มทลาย นักเขียนการ์ตูนเอาเรื่องของเขามาวาดจนโด่งดัง นักธุรกิจและนักบริหารจำนวนมากต่างก็ยกย่องวิถีคิดและการปฏิบัติของเขาว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาแล้วเอาเยี่ยงอย่าง
ซึ่งประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมียอดนักดาบและนักบู๊เลื่องชื่อผู้เก่งกล้าปรากฏตัวสร้างผลงานไว้มากมาย แต่ทำไมจึงมีแต่เพียง มูซาชิ นักดาบพเนจร เพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่ชื่อของเขายังคงเป็นที่กล่าวขานได้หลากหลายแง่มุม เกินขอบเขตของคำว่านักดาบไปแล้ว
จุดเริ่มต้นคงต้องย้อนกลับไปถึงผู้ที่ทำให้ชื่อเสียงของมูซาชิเริ่มกลายเป็นที่รู้จักของคนญี่ปุ่นยุคสมัยใหม่ นั่นคือ “โยชิคาวะ เอญิ” นักเขียนนวนิยายชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่ได้สร้างชื่อเสียงขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เขาได้ศึกษาข้อมูลและชีวประวัติรวมถึงตำนานของมูซาชิอย่างละเอียด จากนั้นจึงได้นำเรื่องราวของมูซาชิมาเรียบเรียงแล้วเขียนเป็นนิยายขึ้นมา ผลงานของเขากลายเป็นที่โด่งดังมาก (สำหรับในประเทศไทยนั้น ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดย สุวินัย ภรณวลัย ใช้ชื่อว่า “มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์”)
ในนิยายเรื่องมูซาชิของเอญินั้น เริ่มจับความหลักตั้งแต่เรื่องราวของมูซาชิในวัยหนุ่ม ซึ่งเขาได้กระโจนเข้าร่วมสงครามที่ทุ่งเซกิงาฮาระ ซึ่งเป็นยุทธการศึกระหว่างกองทัพบูรพาและกองทัพประจิม ศึกนี้ได้ชื่อว่าเป็นสงครามภายในประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เพราะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของยุคสมัย ที่ทำให้แผ่นดินซึ่งแตกแยกวุ่นวายมายาวนานนับร้อยปีสิ้นสุดลง
มูซาชิได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพประจิม ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ในศึกนี้ เขาจึงกลายเป็นทหารพ่ายศึกไปโดยปริยาย ต้องหนีตายกลับบ้านเกิด หลังจากนั้นเขาจึงหันเหเส้นทางที่คิดจะสร้างชื่อเสียงในสงคราม แล้วกลายเป็นมุ่งมั่นสู่เส้นทางของนักดาบแทน
แต่ในช่วงที่มูซาชิยังเป็นวัยรุ่นนั้น เขาเป็นคนหนุ่มที่มีบุคลิกนิสัยใจร้อนวู่วาม ห้าวหาญไม่เกรงกลัวอันตรายใดๆ เนื่องจากเขาถือว่าตนเคยฝึกฝนวิชาดาบจากบิดามาตั้งแต่เด็ก จึงมีความร้อนรนและเชื่อมั่นในวิชาดาบของตนเองอย่างมาก อยากจะแสดงฝีมือและประกาศศักดาด้วยการประลองดาบเพื่อเอาชนะคนอื่นๆ โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่ได้ประเมินความสามารถที่แท้จริงของตนเองในเวลานั้นเลย มูซาชิในวัยหนุ่มจึงโดนพระชื่อดังนามว่า “ทากุอัน” ซึ่งเป็นพระนักรบที่มีวิทยายุทธ์ชั้นเลิศได้เข้ามาสั่งสอนด้วยการกำราบมูซาชิให้หลาบจำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้มูซาชิเริ่มรู้สึกตัวว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้า เขาจึงเริ่มสำรวมจิตใจของตนเองมากขึ้น
หลังจากนั้นมา มูซาชิก็ได้ตัดสินใจสละชีวิตส่วนตัว ยอมทอดทิ้งหญิงคนรักของตนนามว่า “โอซึอุ” แล้วออกเดินทางเร่ร่อนพเนจรไปทั่วแผ่นดิน ได้พบเจอเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ได้ประลองดาบกับยอดฝีมือจำนวนมากในแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหอก เคียว โซ่ กระบอง หรือกระทั่งโดนกลุ้มรุมจากคู่ต่อสู้ที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่า แล้วยังได้มีโอกาสรับคำชี้แนะจากยอดฝีมืออันดับต้นๆในยุคนั้น ส่วนในช่วงที่พักจากประประลองฝีมือเดิมพันชีวิต เขาก็ได้หันเหตัวเองเข้าสู่โลกของศิลปะและพุทธศาสนา การปฏิบัติตนตามหลักเซน ไปจนถึงการบุกเบิกที่ดินทำนาร่วมกับชาวบ้าน ชีวิตของมูซาชิเดินทางเสาะแสวงหาการบรรลุสู่ความเป็นสุดยอดฝีมือตั้งแต่อายุ 15 ปี จนถึง อายุ 29 ปี ได้ท้าประลองกับยอดฝีมือไปทั่วโดยไม่เคยปราชัยแม้สักครั้ง
แล้วในที่สุด มูซาชิก็ได้สร้างชื่อเสียงโด่งดังถึงขีดสุดด้วยการประลองเอาชนะยอดนักดาบนามว่า ซาซากิ โคจิโร่ ที่เกาะฟุเนชิม่า
ในที่สุด มูซาชิก็ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในฐานะจอมดาบผู้เก่งกล้าที่สุดในแผ่นดิน ซึ่งนิยายของ โยชิคาวะ เอญิ ได้จบเรื่องราวลงที่ตรงนี้ ว่าหลังจากนั้นมูซาชิก็คิดจะเดินทางกลับไปอยู่ร่วมกับโอซึอุ หญิงคนรักอีกครั้ง
แต่ในประวัติศาสตร์นั้น มูซาชิเป็นมากกว่าแค่ยอดนักดาบ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่บรรลุมรรคาบู๊ สามารถเข้าถึงแก่นแห่งวิชาดาบและหลักกลยุทธ์ แนวคิดเพื่อการพิชิตชัย ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้มูซาชิไร้พ่าย ไม่เพียงเท่านั้น ต่อมาเขายังได้ถ่ายทอดแนวคิดของตน ด้วยการใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิต เดินทางไปเก็บตัวที่ถ้ำเรงันโด เพื่อขัดเกลาเอาประสบการณ์ในการสู้รบทั้งชีวิต กลยุทธ์ แนวคิดทั้งหลาย เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นสุดยอดคัมภีร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในคัมภีร์กลยุทธ์เพื่อการพิชิตเป้าหมายที่ได้ชื่อว่ายอดเยี่ยมที่สุดของญี่ปุ่นและของโลกถึงสองชุดสำคัญด้วยกัน
คัมภีร์ทั้งสองชุดนี้ มีชื่อว่า คัมภีร์ “โกะริงโนะโชะ” หรือแปลไทยได้ว่า “คัมภีร์ห้าห่วง” (The Book of Five Rings) และคัมภีร์อีกชุดหนึ่งก็คือ “คัมภีร์ 35 กลยุทธ์” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรากฐานของคัมภีร์ห้าห่วงที่ได้เขียนขึ้นในภายหลัง
ในบทนำของคัมภีร์ห้าห่วง มูซาชิได้เขียนถึงตนเองไว้ว่า
“ตัวของข้าพเจ้านับตั้งแต่อายุ 13 จนถึง 29 ปี ได้ประลองฝีมือกับยอดฝีมือไม่ต่ำกว่า 60 ครั้ง ข้าพเจ้าไม่เคยสูญเสียความได้เปรียบในการประลองเลยแม้แต่ครั้งเดียว ครั้นเมื่ออายุเข้าสู่วัย 30 ปีแล้ว จึงได้ยอนกลับมาวิเคราะห์วิธีการต่อสู้ทั้งหมดที่ผ่านมา ก็ได้ข้อสรุปว่า สาเหตุที่ได้รับชัยชนะและได้เปรียบการในสู้ศึกเรื่อยมานั้น อาจไม่ใช่เพราะตนมีฝีมือเหนือกว่าเสมอไป แต่อาจเพราะตนมีสติปัญญาไหวพริบในการช่วงชิงโอกาสที่ดีกว่า จึงทำให้ได้ชัยชนะเสมอมา เมื่อคิดได้เช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงหันมามุ่งศึกษากลยุทธ์และฝึกฝนขัดเกลาตนเองในด้านนี้ จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 50 ปี จึงได้บรรลุถึงแก่นแท้แห่งวิชาดาบได้ในที่สุด”
จากที่กล่าวมา คัมภีร์ห้าห่วงของมูซาชิได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดผลงานการประพันธ์ ที่ได้นำเสนอเคล็ดวิชาและแก่นแท้ของสำนักดาบที่มูซาชิเป็นผู้สร้างขึ้นเอง มีชื่อว่า “นิเท็น อิจิริว” หรือ “สำนักดาบฟ้าคู่” เป็นสำนักและเคล็ดวิชาดาบที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้
ในคัมภีร์นั้น ได้นำเสนอหลักวิถีด้านกลยุทธ์ เคล็ดวิชาดาบ และแนวคิดเพื่อพิชิตชัย แล้วเปรียบเทียบวิชาดาบกับแนวกลยุทธ์ในการเอาชนะร่วมกับธาตุธรรมชาติทั้ง 5 ซึ่งคัมภีร์ชุดนี้ได้รับการยกย่องอย่างสูงสุด ในฐานะเป็นสุดยอดผลงานที่อุดมไปด้วยหลักกลยุทธ์ที่มีความสัมพันธ์กับศาสตร์หลายแขนง ไม่เพียงแต่เป็นแนวคิดสำหรับเคล็ดวิชาดาบเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วย การใช้กลยุทธ์เพื่อการพิชิตศึก ไปจนถึงกลวิธีในการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ทั้งหลาย แล้วสามารถแตกแขนงต่อไปได้ไพศาล
มีคำวิจารณ์ว่า โยชิคาวะ เอญิ ผู้เขียนนิยายเรื่องมูซาชินั้น ได้พยายามแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของมูซาชิในฐานะยอดนักดาบผู้ไร้พ่าย เพราะในคัมภีร์ห้าห่วงนั้น มูซาชิได้เขียนบอกเล่าไว้อย่างองอาจและทระนงตนอย่างยิ่งว่า ตัวเขานั้นได้ประลองฝีมือและทำศึกมาทั้งชีวิตโดยไม่เคยพ่ายแพ้เลย นี่เป็นคำประกาศที่ออกจะอหังการและโอ้อวดอยู่ไม่น้อยทีเดียวบ้าง
แต่แม้ว่าจะสร้างวีกรรมและผลงานสะท้านแผ่นดินในยุคนั้นถึงขนาดนี้แล้ว เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าไม่ปรากฏว่าจะมีเหล่าไดเมียวหรือเจ้าครองแคว้นผู้มีอำนาจคนใดที่พยายามจะดึงตัวมูซาชิให้มารับราชการหรือมอบตำแหน่งทางทหารที่สำคัญให้เขาเลย ทั้งที่ตัวมูซาชิเองก็มีความปรารถนาในเรื่องการรับราชการ หรือมีตำแหน่งเป็นครูสอนดาบให้ผู้มีอำนาจ จากชีวประวัติจะพบว่าเขาได้พยายามเสาะแสวงหานายดีมาตลอดชีวิต ซึ่งกว่าจะค้นพบเจ้าครองแคว้นสักคนที่ได้เชิญตัวมูซาชิมารับราชการอย่างจริงจัง แล้วแต่งตั้งให้เขาได้เป็นครูฝึกสอนดาบได้สมใจ ก็เป็นช่วงเวลาที่มูซาชิอายุล่วงเข้า 50 กว่าปีไปแล้ว
หากมองในแง่นี้แล้ว ตัวตนของมูซาชิจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อหน้าประวัติศาสตร์ทั้งด้านการเมืองและการทหารของญี่ปุ่นเท่าใดนัก ข้อกังขาในจุดนี้เอง จึงทำให้นักเขียนอย่าง โยชิคาวะ เอญิ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมูซาชิอย่างละเอียดทั้งจากประวัติศาสตร์และตำนานทั้งหลาย แล้วจึงได้เขียนเรื่องราวของมูซาชิออกมาเผยแพร่สู่โลก ซึ่งก็ส่งผลให้ชื่อเสียงของมูซาชิกลายเป็นที่โด่งดัง ได้รับการยอมรับไปทั่ว
ขณะเดียวกัน สองคัมภีร์สำคัญของมูซาชิคือ คัมภีร์ห้าห่วง และ 35 กลยุทธ์ ก็ได้รับการศึกษาในวงกว้างแทบทุกสาขาอาชีพในสังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวงการบริหารธุรกิจนั้น ให้ความสำคัญต่อคัมภีร์ห้าห่วงเทียบเท่ากับตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ และให้ความสำคัญเหนือกว่าตำราการบริหารจากโลกตะวันตกเป็นจำนวนมากทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ประเทศญี่ปุ่นได้ตกอยู่ในสภาพพังพินาศจากฐานผู้แพ้สงคราม คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ในยุคนั้นมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูและพัฒนาบ้านเมืองให้กลับคืนมาใหม่ และหมายจะสร้างญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีทัดเทียมกับชาติมหาอำนาจตะวันตกให้ได้ ส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการมุ่งศึกษาวิทยาการของมหาอำนาจตะวันตก เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดให้ชาติตนเองแล้ว ก็ยังหวนกลับไปมุ่งศึกษาภูมิปัญญาดั้งเดิมของตนอีกครั้ง ซึ่งคัมภีร์ห้าห่วงของมูซาชิ คือหนึ่งในตำราชุดที่ได้รับการศึกษาค้นคว้า แล้วนำมาประยุกต์ใช้งานจริงจนประสบความสำเร็จ กระทั่งได้รับการยกย่องอย่างสูงสุดจากบรรดานักธุรกิจ ผู้บริหาร และผู้ประกอบอาชีพในแทบทุกสาขาต่างๆของญี่ปุ่น
ดังนั้นในสายตาของคนญี่ปุ่นแล้ว คัมภีร์ของมูซาชิจึงมีความยิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อวิถีแห่งความสำเร็จในชีวิตเทียบเท่ากับสุดยอดคัมภีร์ของโลกอย่างตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ (Art of War) และ พงศาวดารสามก๊ก (The Romance of Three Kingdoms) เลยทีเดียว
“มิยาโมโตะ มูซาชิ” (Miyamoto Musashi)
เมื่อกล่าวขานถึงนามนี้ แทบไม่มีผู้ใดในญี่ปุ่นที่จะไม่รู้จัก เพราะนี่คือนามของยอดนักดาบผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดบุรุษผู้สร้างตำนานการประลองดาบทั้งชีวิตไม่เคยพ่ายแพ้ มีชื่อเสียงจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและของโลกมาจนถึงทุกวันนี้ กระทั่งในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเข้าสู่ยุคดิจิตอลและโลกาภิวัตน์อย่างเต็มตัวแล้ว แต่ชื่อของมูซาชิก็ยิ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้คนในแวดวงธุรกิจ บริหาร สาขาอาชีพต่างๆ
อาจมีข้อสงสัยว่า ทำไม? มิยาโมโตะ มูซาชิ ชายผู้ซึ่งแท้จริงแล้วในประวัติศาสตร์นั้น เป็นเพียงนักดาบคนหนึ่งที่ไม่เคยได้มีโอกาสรับราชการอย่างจริงจัง ไม่เคยสร้างชื่อหรือผลงานในด้านการทหาร การทำสงคราม หรือกระทั่งการบริหารปกครองอย่างเด่นชัดเท่าใดนัก เขาด้มีชาติกำเนิดเป็นเพียงสามัญชน แทบทั้งชีวิตมีแต่การเร่ร่อนพเนจรไปตามป่าเขาลำเนาไพร ใช้ชีวิตอยู่แต่กับวิชาดาบ อาวุธ การประลองเดิมพันชีวิต ถึงกระนั้น ชื่อเสียงของเขากลับยังคงเป็นที่รู้จักมาจนทุกวันนี้ในฐานะของยอดคนผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
หลายสิบปีมานี้ บรรดานักคิดและนักวิชาการทั้งตะวันออกและตะวันตกต่างก็ศึกษาถึงแนวคิดวิถีทางสู่ความสำเร็จ ผลงานไร้พ่ายตามที่เขาอ้างถึง กระทั่งผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังของญี่ปุ่นยังนำเรื่องของเขามาสร้างจนประสบความสำเร็จถล่มทลาย นักเขียนการ์ตูนเอาเรื่องของเขามาวาดจนโด่งดัง นักธุรกิจและนักบริหารจำนวนมากต่างก็ยกย่องวิถีคิดและการปฏิบัติของเขาว่าเป็นสิ่งที่ควรศึกษาแล้วเอาเยี่ยงอย่าง
ซึ่งประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมียอดนักดาบและนักบู๊เลื่องชื่อผู้เก่งกล้าปรากฏตัวสร้างผลงานไว้มากมาย แต่ทำไมจึงมีแต่เพียง มูซาชิ นักดาบพเนจร เพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่ชื่อของเขายังคงเป็นที่กล่าวขานได้หลากหลายแง่มุม เกินขอบเขตของคำว่านักดาบไปแล้ว
จุดเริ่มต้นคงต้องย้อนกลับไปถึงผู้ที่ทำให้ชื่อเสียงของมูซาชิเริ่มกลายเป็นที่รู้จักของคนญี่ปุ่นยุคสมัยใหม่ นั่นคือ “โยชิคาวะ เอญิ” นักเขียนนวนิยายชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่ได้สร้างชื่อเสียงขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เขาได้ศึกษาข้อมูลและชีวประวัติรวมถึงตำนานของมูซาชิอย่างละเอียด จากนั้นจึงได้นำเรื่องราวของมูซาชิมาเรียบเรียงแล้วเขียนเป็นนิยายขึ้นมา ผลงานของเขากลายเป็นที่โด่งดังมาก (สำหรับในประเทศไทยนั้น ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดย สุวินัย ภรณวลัย ใช้ชื่อว่า “มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์”)
ในนิยายเรื่องมูซาชิของเอญินั้น เริ่มจับความหลักตั้งแต่เรื่องราวของมูซาชิในวัยหนุ่ม ซึ่งเขาได้กระโจนเข้าร่วมสงครามที่ทุ่งเซกิงาฮาระ ซึ่งเป็นยุทธการศึกระหว่างกองทัพบูรพาและกองทัพประจิม ศึกนี้ได้ชื่อว่าเป็นสงครามภายในประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น เพราะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของยุคสมัย ที่ทำให้แผ่นดินซึ่งแตกแยกวุ่นวายมายาวนานนับร้อยปีสิ้นสุดลง
มูซาชิได้เข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพประจิม ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้ในศึกนี้ เขาจึงกลายเป็นทหารพ่ายศึกไปโดยปริยาย ต้องหนีตายกลับบ้านเกิด หลังจากนั้นเขาจึงหันเหเส้นทางที่คิดจะสร้างชื่อเสียงในสงคราม แล้วกลายเป็นมุ่งมั่นสู่เส้นทางของนักดาบแทน
แต่ในช่วงที่มูซาชิยังเป็นวัยรุ่นนั้น เขาเป็นคนหนุ่มที่มีบุคลิกนิสัยใจร้อนวู่วาม ห้าวหาญไม่เกรงกลัวอันตรายใดๆ เนื่องจากเขาถือว่าตนเคยฝึกฝนวิชาดาบจากบิดามาตั้งแต่เด็ก จึงมีความร้อนรนและเชื่อมั่นในวิชาดาบของตนเองอย่างมาก อยากจะแสดงฝีมือและประกาศศักดาด้วยการประลองดาบเพื่อเอาชนะคนอื่นๆ โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่ได้ประเมินความสามารถที่แท้จริงของตนเองในเวลานั้นเลย มูซาชิในวัยหนุ่มจึงโดนพระชื่อดังนามว่า “ทากุอัน” ซึ่งเป็นพระนักรบที่มีวิทยายุทธ์ชั้นเลิศได้เข้ามาสั่งสอนด้วยการกำราบมูซาชิให้หลาบจำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงทำให้มูซาชิเริ่มรู้สึกตัวว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้า เขาจึงเริ่มสำรวมจิตใจของตนเองมากขึ้น
หลังจากนั้นมา มูซาชิก็ได้ตัดสินใจสละชีวิตส่วนตัว ยอมทอดทิ้งหญิงคนรักของตนนามว่า “โอซึอุ” แล้วออกเดินทางเร่ร่อนพเนจรไปทั่วแผ่นดิน ได้พบเจอเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ได้ประลองดาบกับยอดฝีมือจำนวนมากในแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหอก เคียว โซ่ กระบอง หรือกระทั่งโดนกลุ้มรุมจากคู่ต่อสู้ที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่า แล้วยังได้มีโอกาสรับคำชี้แนะจากยอดฝีมืออันดับต้นๆในยุคนั้น ส่วนในช่วงที่พักจากประประลองฝีมือเดิมพันชีวิต เขาก็ได้หันเหตัวเองเข้าสู่โลกของศิลปะและพุทธศาสนา การปฏิบัติตนตามหลักเซน ไปจนถึงการบุกเบิกที่ดินทำนาร่วมกับชาวบ้าน ชีวิตของมูซาชิเดินทางเสาะแสวงหาการบรรลุสู่ความเป็นสุดยอดฝีมือตั้งแต่อายุ 15 ปี จนถึง อายุ 29 ปี ได้ท้าประลองกับยอดฝีมือไปทั่วโดยไม่เคยปราชัยแม้สักครั้ง
แล้วในที่สุด มูซาชิก็ได้สร้างชื่อเสียงโด่งดังถึงขีดสุดด้วยการประลองเอาชนะยอดนักดาบนามว่า ซาซากิ โคจิโร่ ที่เกาะฟุเนชิม่า
ในที่สุด มูซาชิก็ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในฐานะจอมดาบผู้เก่งกล้าที่สุดในแผ่นดิน ซึ่งนิยายของ โยชิคาวะ เอญิ ได้จบเรื่องราวลงที่ตรงนี้ ว่าหลังจากนั้นมูซาชิก็คิดจะเดินทางกลับไปอยู่ร่วมกับโอซึอุ หญิงคนรักอีกครั้ง
แต่ในประวัติศาสตร์นั้น มูซาชิเป็นมากกว่าแค่ยอดนักดาบ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่บรรลุมรรคาบู๊ สามารถเข้าถึงแก่นแห่งวิชาดาบและหลักกลยุทธ์ แนวคิดเพื่อการพิชิตชัย ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ทำให้มูซาชิไร้พ่าย ไม่เพียงเท่านั้น ต่อมาเขายังได้ถ่ายทอดแนวคิดของตน ด้วยการใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิต เดินทางไปเก็บตัวที่ถ้ำเรงันโด เพื่อขัดเกลาเอาประสบการณ์ในการสู้รบทั้งชีวิต กลยุทธ์ แนวคิดทั้งหลาย เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นสุดยอดคัมภีร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในคัมภีร์กลยุทธ์เพื่อการพิชิตเป้าหมายที่ได้ชื่อว่ายอดเยี่ยมที่สุดของญี่ปุ่นและของโลกถึงสองชุดสำคัญด้วยกัน
คัมภีร์ทั้งสองชุดนี้ มีชื่อว่า คัมภีร์ “โกะริงโนะโชะ” หรือแปลไทยได้ว่า “คัมภีร์ห้าห่วง” (The Book of Five Rings) และคัมภีร์อีกชุดหนึ่งก็คือ “คัมภีร์ 35 กลยุทธ์” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรากฐานของคัมภีร์ห้าห่วงที่ได้เขียนขึ้นในภายหลัง
จากภาพ คัมภีร์ห้าห่วง ประพันธ์โดย มูซาชิ
จากภาพนี้เป็นฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย โทมัส เคลียรี่
จากภาพนี้เป็นฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย โทมัส เคลียรี่
ในบทนำของคัมภีร์ห้าห่วง มูซาชิได้เขียนถึงตนเองไว้ว่า
“ตัวของข้าพเจ้านับตั้งแต่อายุ 13 จนถึง 29 ปี ได้ประลองฝีมือกับยอดฝีมือไม่ต่ำกว่า 60 ครั้ง ข้าพเจ้าไม่เคยสูญเสียความได้เปรียบในการประลองเลยแม้แต่ครั้งเดียว ครั้นเมื่ออายุเข้าสู่วัย 30 ปีแล้ว จึงได้ยอนกลับมาวิเคราะห์วิธีการต่อสู้ทั้งหมดที่ผ่านมา ก็ได้ข้อสรุปว่า สาเหตุที่ได้รับชัยชนะและได้เปรียบการในสู้ศึกเรื่อยมานั้น อาจไม่ใช่เพราะตนมีฝีมือเหนือกว่าเสมอไป แต่อาจเพราะตนมีสติปัญญาไหวพริบในการช่วงชิงโอกาสที่ดีกว่า จึงทำให้ได้ชัยชนะเสมอมา เมื่อคิดได้เช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงหันมามุ่งศึกษากลยุทธ์และฝึกฝนขัดเกลาตนเองในด้านนี้ จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 50 ปี จึงได้บรรลุถึงแก่นแท้แห่งวิชาดาบได้ในที่สุด”
จากที่กล่าวมา คัมภีร์ห้าห่วงของมูซาชิได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดผลงานการประพันธ์ ที่ได้นำเสนอเคล็ดวิชาและแก่นแท้ของสำนักดาบที่มูซาชิเป็นผู้สร้างขึ้นเอง มีชื่อว่า “นิเท็น อิจิริว” หรือ “สำนักดาบฟ้าคู่” เป็นสำนักและเคล็ดวิชาดาบที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจนถึงทุกวันนี้
ในคัมภีร์นั้น ได้นำเสนอหลักวิถีด้านกลยุทธ์ เคล็ดวิชาดาบ และแนวคิดเพื่อพิชิตชัย แล้วเปรียบเทียบวิชาดาบกับแนวกลยุทธ์ในการเอาชนะร่วมกับธาตุธรรมชาติทั้ง 5 ซึ่งคัมภีร์ชุดนี้ได้รับการยกย่องอย่างสูงสุด ในฐานะเป็นสุดยอดผลงานที่อุดมไปด้วยหลักกลยุทธ์ที่มีความสัมพันธ์กับศาสตร์หลายแขนง ไม่เพียงแต่เป็นแนวคิดสำหรับเคล็ดวิชาดาบเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วย การใช้กลยุทธ์เพื่อการพิชิตศึก ไปจนถึงกลวิธีในการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ทั้งหลาย แล้วสามารถแตกแขนงต่อไปได้ไพศาล
มีคำวิจารณ์ว่า โยชิคาวะ เอญิ ผู้เขียนนิยายเรื่องมูซาชินั้น ได้พยายามแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของมูซาชิในฐานะยอดนักดาบผู้ไร้พ่าย เพราะในคัมภีร์ห้าห่วงนั้น มูซาชิได้เขียนบอกเล่าไว้อย่างองอาจและทระนงตนอย่างยิ่งว่า ตัวเขานั้นได้ประลองฝีมือและทำศึกมาทั้งชีวิตโดยไม่เคยพ่ายแพ้เลย นี่เป็นคำประกาศที่ออกจะอหังการและโอ้อวดอยู่ไม่น้อยทีเดียวบ้าง
แต่แม้ว่าจะสร้างวีกรรมและผลงานสะท้านแผ่นดินในยุคนั้นถึงขนาดนี้แล้ว เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าไม่ปรากฏว่าจะมีเหล่าไดเมียวหรือเจ้าครองแคว้นผู้มีอำนาจคนใดที่พยายามจะดึงตัวมูซาชิให้มารับราชการหรือมอบตำแหน่งทางทหารที่สำคัญให้เขาเลย ทั้งที่ตัวมูซาชิเองก็มีความปรารถนาในเรื่องการรับราชการ หรือมีตำแหน่งเป็นครูสอนดาบให้ผู้มีอำนาจ จากชีวประวัติจะพบว่าเขาได้พยายามเสาะแสวงหานายดีมาตลอดชีวิต ซึ่งกว่าจะค้นพบเจ้าครองแคว้นสักคนที่ได้เชิญตัวมูซาชิมารับราชการอย่างจริงจัง แล้วแต่งตั้งให้เขาได้เป็นครูฝึกสอนดาบได้สมใจ ก็เป็นช่วงเวลาที่มูซาชิอายุล่วงเข้า 50 กว่าปีไปแล้ว
หากมองในแง่นี้แล้ว ตัวตนของมูซาชิจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อหน้าประวัติศาสตร์ทั้งด้านการเมืองและการทหารของญี่ปุ่นเท่าใดนัก ข้อกังขาในจุดนี้เอง จึงทำให้นักเขียนอย่าง โยชิคาวะ เอญิ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมูซาชิอย่างละเอียดทั้งจากประวัติศาสตร์และตำนานทั้งหลาย แล้วจึงได้เขียนเรื่องราวของมูซาชิออกมาเผยแพร่สู่โลก ซึ่งก็ส่งผลให้ชื่อเสียงของมูซาชิกลายเป็นที่โด่งดัง ได้รับการยอมรับไปทั่ว
ขณะเดียวกัน สองคัมภีร์สำคัญของมูซาชิคือ คัมภีร์ห้าห่วง และ 35 กลยุทธ์ ก็ได้รับการศึกษาในวงกว้างแทบทุกสาขาอาชีพในสังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวงการบริหารธุรกิจนั้น ให้ความสำคัญต่อคัมภีร์ห้าห่วงเทียบเท่ากับตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ และให้ความสำคัญเหนือกว่าตำราการบริหารจากโลกตะวันตกเป็นจำนวนมากทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ประเทศญี่ปุ่นได้ตกอยู่ในสภาพพังพินาศจากฐานผู้แพ้สงคราม คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ในยุคนั้นมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะฟื้นฟูและพัฒนาบ้านเมืองให้กลับคืนมาใหม่ และหมายจะสร้างญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีทัดเทียมกับชาติมหาอำนาจตะวันตกให้ได้ ส่วนหนึ่งนอกเหนือจากการมุ่งศึกษาวิทยาการของมหาอำนาจตะวันตก เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดให้ชาติตนเองแล้ว ก็ยังหวนกลับไปมุ่งศึกษาภูมิปัญญาดั้งเดิมของตนอีกครั้ง ซึ่งคัมภีร์ห้าห่วงของมูซาชิ คือหนึ่งในตำราชุดที่ได้รับการศึกษาค้นคว้า แล้วนำมาประยุกต์ใช้งานจริงจนประสบความสำเร็จ กระทั่งได้รับการยกย่องอย่างสูงสุดจากบรรดานักธุรกิจ ผู้บริหาร และผู้ประกอบอาชีพในแทบทุกสาขาต่างๆของญี่ปุ่น
ดังนั้นในสายตาของคนญี่ปุ่นแล้ว คัมภีร์ของมูซาชิจึงมีความยิ่งใหญ่และมีความสำคัญต่อวิถีแห่งความสำเร็จในชีวิตเทียบเท่ากับสุดยอดคัมภีร์ของโลกอย่างตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ (Art of War) และ พงศาวดารสามก๊ก (The Romance of Three Kingdoms) เลยทีเดียว
แสดงความคิดเห็น
ทำไมมิยาโมโตะ มุซาชิถึงเป็นซามูไรที่น่ายกย่องครับ?