วันนี้ผมได้ไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาที่เรียกได้ว่าเร็วที่สุดในโลก!!! มาให้ฟังกันคร่าวๆ นั่นคือการแข่งขัน F1 หรือ Formula One ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ชื่นชอบความเร็วคงรู้จัก และติดตามกันอยู่แล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักมาลองอ่านกันสักหน่อยเผื่อจะติดใจกีฬาประเภทนี้กันมากขึ้น
การแข่งขันฟอร์มูล่าวันชิงแชมป์โลกเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1950 โดยเกิดจากการรวบรวมการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตรายการใหญ่ (Grand Prix) เข้าไว้ด้วยกัน การแข่งขันฟอร์มูล่าวันกรังด์ปรีซ์เกิดขึ้นครั้งแรกที่สนามซิลเวอร์สโตน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม1950ซึ่งจวบจนวันนี้ฟอร์มูล่าวันแข่งขันกันมาแล้วมากกว่า900ครั้ง แชมป์โลกคนแรกของฟอร์มูล่าวันคือ จูเซปเป้ ฟาริน่า ส่วนทีมแชมป์โลกทีมแรกได้แก่ทีมแวนวอลล์ ตำแหน่งแชมป์โลกประเภททีมมอบให้ในปี 1958 เป็นปีแรก สำหรับนักขับที่ครองแชมป์โลกจำนวนมากที่สุดคือ มิชาเอล ชูมัคเกอร์ ซึ่งคว้าแชมป์โลกทั้งสิ้น 7 สมัย ในปี 1994-1995 และ 2000-2004 เขายังถือสถิติเป็นผู้ชนะการแข่งขันมากที่สุดจำนวน 91 สนาม โดยเฟอร์รารี่เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดด้วยจำนวนแชมป์โลก 16สมัยจากชัยชนะทั้งสิ้น221ครั้ง
เริ่มต้นในยุคหลังสงครามโลก เครื่องยนต์เป็นแบบ 4.5 ลิตร และเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ต่อมาในปี 1954-1960 ความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์ได้ถูกลดลงราวๆ ครึ่งหนึ่ง ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย โดยเครื่องยนต์ 4.5 ลิตร ถูกลดลงเหลือ 2.5 ลิตร และปี 1961 เครื่องยนต์ถูกลดขนาดลงเหลือ1.5ลิตรนอกจากนั้นยังเป็นครั้งแรกที่ทุกทีมย้ายเครื่องยนต์จากหน้ารถมาอยู่ที่ส่วนกลางตัวรถ อย่างไรก็ตาม 5 ปีหลังจากนั้นกำลังเครื่องยนต์ได้ถูกเพิ่มขึ้น 1966-1968 เป็นเวลากว่า 20 ปีที่ เป็นยุครุ่งเรืองของเครื่องยนต์ซึ่งแรง เครื่องยนต์ 3.0 ลิตร และเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร นอกจากนั้นยังมีเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร จากค่าย BRM และเครื่องยนต์ V8 จากค่าย Coventry-Climax มาร่วมแจม ในภายหลังในปี 1977 Renault ได้ริเริ่มนำเครื่องยนต์ V6 เทอร์โบเข้ามาใช้ ด้วยแรงม้าที่ถูกผลิตออกมา 500 - 900 แรงม้าในระหว่างการแข่งขัน และสามารถรีดแรงม้าได้ถึง 1,500 แรงม้าในระหว่างการควอลิฟายเลยทีเดียว 1987-1988 ยุคนี้เป็นยุคที่ Honda เริ่มมีบทบาทสำคัญในวงการเมื่อเครื่องยนต์นี้สามารถส่งให้ Nelson Piquet จากทีม Williams คว้าแชมป์สมัยที่ 3 ของตัวเองในปี 1987 และฉลองความยิ่งใหญ่ร่วมกับ McLaren ในปีถัดมา เมื่อพวกเขาร่วมกันโกยแชมป์สนามไปถึง 15 จากทั้งหมด 16 สนาม และยังคงเป็นสถิติเปอร์เซ็นต์การเก็บชัยชนะที่ดีที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน และต่อมาทอร์โบได้ถูกแบนตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมา เหลือเพียงแต่เครื่องยนต์ 3.5 ลิตรและก็ยังคงเป็นยุคที่ Honda ครองความยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่อง 1995-2005 เป็นยุคที่ใช้เครื่องยนต์ 3.0 ลิตร V10 Renaultได้กลับมายึดครองความยิ่งใหญ่คืนจาก Honda จนกระทั่งถึงปี 1998 เมื่อ McLaren ผนึกกำลังกับเครื่องยนต์ Mercedes และช่วยให้ Mika Hakkinen คว้าแชมป์ 2 สมัยในปี 1998 และ 1999 ทางด้าน Ferrari เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ V10 พวกเขายอมแลกความเสถียรของตัวเครื่องกับพละกำลังที่หายไป ซึ่งช่วงแรกพวกเขาไม่สามารถสู้กับ Mercedes ได้แต่หลังจากปี 2000 พวกเขาพัฒนาเครื่องยนต์ขึ้นมามากและขจัดปัญหาทั้งพละกำลังและความเสถียรไปได้ ทางด้าน BMW ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงนี้ โดยพวกเขาสนับสนุนเครื่องยนต์ให้กับทีม Williams ในช่วงแรกนั้นเครื่องยนต์ของพวกเขาเสถียรมาก แต่ก็ด้อยกว่าทั้ง Ferrari และ Mercedes ในด้านพละกำลัง ในปี 2001 พวกเขาพัฒนาเครื่องยนต์ขึ้นใหม่ และสามารถรันรอบเครื่องได้สูงถึง 17,810 rpm น่าเสียดายที่เครื่องตัวนี้กลับมีจุดอ่อนในเรื่องของความเสถียรดังจะเห็นได้จากการระเบิดในหลายๆสนาม ในปี 2002 BMW เป็นเครื่องยนต์แรกที่สามารถก้าวข้ามผ่านกำแพง 19,000 rpm ขึ้นไปได้ และยิ่งน่าประทับใจเมื่อพวกเขาไต่ระดับได้ถึง 19,200 rpm ในปี 2003 พร้อมกันนั้นเครื่องยนต์พวกเขายังสามารถรีดแรงม้าได้เกิน 900 แรงม้า รวมทั้งน้ำหนักเครื่องก็ลดลงเหลือเพียง 91 กิโลกรัม 2006-2013 เครื่องยนต์ได้ถูกลดขนาดความจุลงอีกครั้ง เป็นเครื่องยนต์ 2.4 ลิตร V8 จุดประสงค์เพื่อต้องการลดกำลังเครื่องยนต์จากเครื่อง V10 ลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2007 FIA ได้เริ่มการจำกัดการพัฒนาเครื่องยนต์ เพื่อลดงบประมาณในการทำทีมแต่ละทีมลง เครื่องยนต์ได้ถูกจำกัดรอบเครื่องเหลือ 19,000 rpm และเหลือ 18,000 rpm ในปี 2009 นอกจากนั้นแต่ละทีมจะสามารถใช้เครื่องยนต์ได้ไม่เกิน 8 เครื่องต่อ 1 ฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Honda ได้ประกาศออกจากวงการหลังสิ้นสุดปี 2008 และ BMW ได้ตามรอย Honda ไปหลังสิ้นสุดปี 2009 ในปี 2014 เป็นต้นมา เครื่องยนต์ฟอร์มูล่าวันใช้ขนาด 1.6 ลิตร V6 เทอร์โบ ซึ่งให้กำลังประมาณ 600 แรงม้า และจะได้แรงเพิ่มอีก160แรงม้า รถแต่ละคันถูกกำหนดให้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 100 กก หรือประมาณ130 ลิตรในการแข่งขันแต่ละสนาม
Credit :
http://www.motortrivia.com/2013/motorsport-001/274/formula-1-engines-history.html
Top แชมป์ Formula 1 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
By constructor
By driver
ปฏิทินการแข่งขันฟอร์มูล่าวันในแต่ละปีหรือแต่ละฤดูกาลประกอบด้วยสนามแข่งขันราว 18-20 สนาม ขึ้นอยู่กับการลงนามร่วมกันในสัญญาการจัดการแข่งขันระหว่างสนามนั้นๆ กับผู้ถือลิขสิทธิ์ทางการค้าของการแข่งขัน
วันศุกร์ - เป็นรอบฝึกซ้อม (Free Practice) แบ่งเป็น 2 รอบ เช้าและบ่าย หรือบ่ายและค่ำสำหรับกรณีไนท์เรซ รอบละ 90 นาที (สำหรับรายการโมนาโก กรังด์ปรีซ์ รอบฝึกซ้อมจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของเมือง)
วันเสาร์ - เป็นรอบฝึกซ้อมครั้งสุดท้าย ใช้เวลา 60 นาที และถัดมาจะเป็นรอบควอลิฟาย (Qualifying) หรือรอบแข่งขันจับเวลาเพื่อจัดอันดับสตาร์ทในวันแข่งขันจริงคือในวันอาทิตย์ ใช้เวลา 60 นาที ซึ่งปัจจุบันรอบควอลิฟายจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงย่อย ได้แก่
Q1 ใช้เวลา 18 นาที ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุด 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น
Q2 ใช้เวลา 15 นาที สำหรับรถ 15 คัน เวลาจาก Q1 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่ ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุดอีก 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น
Q3 ใช้เวลา 12 นาที สำหรับรถ 10 คันสุดท้าย เวลาจาก Q2 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่และจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น ผู้ที่ทำเวลาเร็วที่สุดจะได้ออกตัวจากกริดสตาร์ทอันดับที่ 1 หรือที่เรียกว่าตำแหน่งโพล (Pole Position) ซึ่งเป็นตำแหน่งสตาร์ทที่ดีที่สุด
ทั้งนี้ จำนวนการคัดรถออกจาก Q1 และ Q2 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจำนวนรถที่เข้าแข่งขันในแต่ละฤดูกาล สำหรับปีนี้มีทีมเข้าแข่งขัน 10 ทีม รวมจำนวนรถ 20 คัน และทุกคันจะต้องทำเวลาให้อยู่ในเวลา 107% ของเวลาที่เร็วที่สุดใน Q1 เพื่อผ่านการควอลิฟาย
วันอาทิตย์ - เป็นวันแข่งขันหรือ Race Day โดยกำหนดให้ระยะทางรวมในการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 300 กม. (สนามโมนาโกถือเป็นข้อยกเว้น) หรือใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง เว้นแต่การแข่งขันจะถูกคั่นด้วยธงแดงเพื่อหยุดการแข่งขันชั่วคราวอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
สำหรับการแข่งขันฟอร์มูล่าวันใช้ระบบสะสมคะแนนตลอดทั้งฤดูกาลผู้ที่ได้คะแนนสะสมมากที่สุดทั้งประเภทนักขับและประเภททีมผู้สร้างจะได้แชมป์โลกประจำฤดูกาลไปครองโดยการให้คะแนนนักขับจะจัดสรรให้กับผู้ที่เข้าเส้นชัย 10 อันดับแรกดังนี้
อันดับที่ 1 - 25 คะแนน
อันดับที่ 2 - 18 คะแนน
อันดับที่ 3 - 15 คะแนน
อันดับที่ 4 - 12 คะแนน
อันดับที่ 5 - 10 คะแนน
อันดับที่ 6 - 8 คะแนน
อันดับที่ 7 - 6 คะแนน
อันดับที่ 8 - 4 คะแนน
อันดับที่ 9 - 2 คะแนน
อันดับที่ 10 - 1 คะแนน
โดยคะแนนทีมผู้สร้างจะเป็นการนำคะแนนของนักขับในทีมทั้ง 2 คนที่ได้รับจากแต่ละสนามมารวมกัน
Credit :
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=f1star&month=13-04-2015&group=4&gblog=41
คู่มือสำหรับมือใหม่ที่พึ่งเริ่มดู Formula 1 มาคุยกัน!!!
วันนี้ผมได้ไปรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาที่เรียกได้ว่าเร็วที่สุดในโลก!!! มาให้ฟังกันคร่าวๆ นั่นคือการแข่งขัน F1 หรือ Formula One ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่ชื่นชอบความเร็วคงรู้จัก และติดตามกันอยู่แล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักมาลองอ่านกันสักหน่อยเผื่อจะติดใจกีฬาประเภทนี้กันมากขึ้น
การแข่งขันฟอร์มูล่าวันชิงแชมป์โลกเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1950 โดยเกิดจากการรวบรวมการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตรายการใหญ่ (Grand Prix) เข้าไว้ด้วยกัน การแข่งขันฟอร์มูล่าวันกรังด์ปรีซ์เกิดขึ้นครั้งแรกที่สนามซิลเวอร์สโตน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม1950ซึ่งจวบจนวันนี้ฟอร์มูล่าวันแข่งขันกันมาแล้วมากกว่า900ครั้ง แชมป์โลกคนแรกของฟอร์มูล่าวันคือ จูเซปเป้ ฟาริน่า ส่วนทีมแชมป์โลกทีมแรกได้แก่ทีมแวนวอลล์ ตำแหน่งแชมป์โลกประเภททีมมอบให้ในปี 1958 เป็นปีแรก สำหรับนักขับที่ครองแชมป์โลกจำนวนมากที่สุดคือ มิชาเอล ชูมัคเกอร์ ซึ่งคว้าแชมป์โลกทั้งสิ้น 7 สมัย ในปี 1994-1995 และ 2000-2004 เขายังถือสถิติเป็นผู้ชนะการแข่งขันมากที่สุดจำนวน 91 สนาม โดยเฟอร์รารี่เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดด้วยจำนวนแชมป์โลก 16สมัยจากชัยชนะทั้งสิ้น221ครั้ง
เริ่มต้นในยุคหลังสงครามโลก เครื่องยนต์เป็นแบบ 4.5 ลิตร และเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ต่อมาในปี 1954-1960 ความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์ได้ถูกลดลงราวๆ ครึ่งหนึ่ง ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย โดยเครื่องยนต์ 4.5 ลิตร ถูกลดลงเหลือ 2.5 ลิตร และปี 1961 เครื่องยนต์ถูกลดขนาดลงเหลือ1.5ลิตรนอกจากนั้นยังเป็นครั้งแรกที่ทุกทีมย้ายเครื่องยนต์จากหน้ารถมาอยู่ที่ส่วนกลางตัวรถ อย่างไรก็ตาม 5 ปีหลังจากนั้นกำลังเครื่องยนต์ได้ถูกเพิ่มขึ้น 1966-1968 เป็นเวลากว่า 20 ปีที่ เป็นยุครุ่งเรืองของเครื่องยนต์ซึ่งแรง เครื่องยนต์ 3.0 ลิตร และเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร นอกจากนั้นยังมีเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร จากค่าย BRM และเครื่องยนต์ V8 จากค่าย Coventry-Climax มาร่วมแจม ในภายหลังในปี 1977 Renault ได้ริเริ่มนำเครื่องยนต์ V6 เทอร์โบเข้ามาใช้ ด้วยแรงม้าที่ถูกผลิตออกมา 500 - 900 แรงม้าในระหว่างการแข่งขัน และสามารถรีดแรงม้าได้ถึง 1,500 แรงม้าในระหว่างการควอลิฟายเลยทีเดียว 1987-1988 ยุคนี้เป็นยุคที่ Honda เริ่มมีบทบาทสำคัญในวงการเมื่อเครื่องยนต์นี้สามารถส่งให้ Nelson Piquet จากทีม Williams คว้าแชมป์สมัยที่ 3 ของตัวเองในปี 1987 และฉลองความยิ่งใหญ่ร่วมกับ McLaren ในปีถัดมา เมื่อพวกเขาร่วมกันโกยแชมป์สนามไปถึง 15 จากทั้งหมด 16 สนาม และยังคงเป็นสถิติเปอร์เซ็นต์การเก็บชัยชนะที่ดีที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน และต่อมาทอร์โบได้ถูกแบนตั้งแต่ปี 1989 เป็นต้นมา เหลือเพียงแต่เครื่องยนต์ 3.5 ลิตรและก็ยังคงเป็นยุคที่ Honda ครองความยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่อง 1995-2005 เป็นยุคที่ใช้เครื่องยนต์ 3.0 ลิตร V10 Renaultได้กลับมายึดครองความยิ่งใหญ่คืนจาก Honda จนกระทั่งถึงปี 1998 เมื่อ McLaren ผนึกกำลังกับเครื่องยนต์ Mercedes และช่วยให้ Mika Hakkinen คว้าแชมป์ 2 สมัยในปี 1998 และ 1999 ทางด้าน Ferrari เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ V10 พวกเขายอมแลกความเสถียรของตัวเครื่องกับพละกำลังที่หายไป ซึ่งช่วงแรกพวกเขาไม่สามารถสู้กับ Mercedes ได้แต่หลังจากปี 2000 พวกเขาพัฒนาเครื่องยนต์ขึ้นมามากและขจัดปัญหาทั้งพละกำลังและความเสถียรไปได้ ทางด้าน BMW ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงนี้ โดยพวกเขาสนับสนุนเครื่องยนต์ให้กับทีม Williams ในช่วงแรกนั้นเครื่องยนต์ของพวกเขาเสถียรมาก แต่ก็ด้อยกว่าทั้ง Ferrari และ Mercedes ในด้านพละกำลัง ในปี 2001 พวกเขาพัฒนาเครื่องยนต์ขึ้นใหม่ และสามารถรันรอบเครื่องได้สูงถึง 17,810 rpm น่าเสียดายที่เครื่องตัวนี้กลับมีจุดอ่อนในเรื่องของความเสถียรดังจะเห็นได้จากการระเบิดในหลายๆสนาม ในปี 2002 BMW เป็นเครื่องยนต์แรกที่สามารถก้าวข้ามผ่านกำแพง 19,000 rpm ขึ้นไปได้ และยิ่งน่าประทับใจเมื่อพวกเขาไต่ระดับได้ถึง 19,200 rpm ในปี 2003 พร้อมกันนั้นเครื่องยนต์พวกเขายังสามารถรีดแรงม้าได้เกิน 900 แรงม้า รวมทั้งน้ำหนักเครื่องก็ลดลงเหลือเพียง 91 กิโลกรัม 2006-2013 เครื่องยนต์ได้ถูกลดขนาดความจุลงอีกครั้ง เป็นเครื่องยนต์ 2.4 ลิตร V8 จุดประสงค์เพื่อต้องการลดกำลังเครื่องยนต์จากเครื่อง V10 ลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2007 FIA ได้เริ่มการจำกัดการพัฒนาเครื่องยนต์ เพื่อลดงบประมาณในการทำทีมแต่ละทีมลง เครื่องยนต์ได้ถูกจำกัดรอบเครื่องเหลือ 19,000 rpm และเหลือ 18,000 rpm ในปี 2009 นอกจากนั้นแต่ละทีมจะสามารถใช้เครื่องยนต์ได้ไม่เกิน 8 เครื่องต่อ 1 ฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Honda ได้ประกาศออกจากวงการหลังสิ้นสุดปี 2008 และ BMW ได้ตามรอย Honda ไปหลังสิ้นสุดปี 2009 ในปี 2014 เป็นต้นมา เครื่องยนต์ฟอร์มูล่าวันใช้ขนาด 1.6 ลิตร V6 เทอร์โบ ซึ่งให้กำลังประมาณ 600 แรงม้า และจะได้แรงเพิ่มอีก160แรงม้า รถแต่ละคันถูกกำหนดให้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 100 กก หรือประมาณ130 ลิตรในการแข่งขันแต่ละสนาม
Credit : http://www.motortrivia.com/2013/motorsport-001/274/formula-1-engines-history.html
Top แชมป์ Formula 1 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
By constructor
By driver
ปฏิทินการแข่งขันฟอร์มูล่าวันในแต่ละปีหรือแต่ละฤดูกาลประกอบด้วยสนามแข่งขันราว 18-20 สนาม ขึ้นอยู่กับการลงนามร่วมกันในสัญญาการจัดการแข่งขันระหว่างสนามนั้นๆ กับผู้ถือลิขสิทธิ์ทางการค้าของการแข่งขัน
วันศุกร์ - เป็นรอบฝึกซ้อม (Free Practice) แบ่งเป็น 2 รอบ เช้าและบ่าย หรือบ่ายและค่ำสำหรับกรณีไนท์เรซ รอบละ 90 นาที (สำหรับรายการโมนาโก กรังด์ปรีซ์ รอบฝึกซ้อมจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรของเมือง)
วันเสาร์ - เป็นรอบฝึกซ้อมครั้งสุดท้าย ใช้เวลา 60 นาที และถัดมาจะเป็นรอบควอลิฟาย (Qualifying) หรือรอบแข่งขันจับเวลาเพื่อจัดอันดับสตาร์ทในวันแข่งขันจริงคือในวันอาทิตย์ ใช้เวลา 60 นาที ซึ่งปัจจุบันรอบควอลิฟายจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงย่อย ได้แก่
Q1 ใช้เวลา 18 นาที ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุด 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น
Q2 ใช้เวลา 15 นาที สำหรับรถ 15 คัน เวลาจาก Q1 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่ ผู้ที่ทำเวลาช้าที่สุดอีก 5 คันจะถูกคัดออกและจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น
Q3 ใช้เวลา 12 นาที สำหรับรถ 10 คันสุดท้าย เวลาจาก Q2 จะถูกล้างและแข่งขันจับเวลากันใหม่และจัดอันดับสตาร์ทตามนั้น ผู้ที่ทำเวลาเร็วที่สุดจะได้ออกตัวจากกริดสตาร์ทอันดับที่ 1 หรือที่เรียกว่าตำแหน่งโพล (Pole Position) ซึ่งเป็นตำแหน่งสตาร์ทที่ดีที่สุด
ทั้งนี้ จำนวนการคัดรถออกจาก Q1 และ Q2 สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจำนวนรถที่เข้าแข่งขันในแต่ละฤดูกาล สำหรับปีนี้มีทีมเข้าแข่งขัน 10 ทีม รวมจำนวนรถ 20 คัน และทุกคันจะต้องทำเวลาให้อยู่ในเวลา 107% ของเวลาที่เร็วที่สุดใน Q1 เพื่อผ่านการควอลิฟาย
วันอาทิตย์ - เป็นวันแข่งขันหรือ Race Day โดยกำหนดให้ระยะทางรวมในการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 300 กม. (สนามโมนาโกถือเป็นข้อยกเว้น) หรือใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง เว้นแต่การแข่งขันจะถูกคั่นด้วยธงแดงเพื่อหยุดการแข่งขันชั่วคราวอันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
สำหรับการแข่งขันฟอร์มูล่าวันใช้ระบบสะสมคะแนนตลอดทั้งฤดูกาลผู้ที่ได้คะแนนสะสมมากที่สุดทั้งประเภทนักขับและประเภททีมผู้สร้างจะได้แชมป์โลกประจำฤดูกาลไปครองโดยการให้คะแนนนักขับจะจัดสรรให้กับผู้ที่เข้าเส้นชัย 10 อันดับแรกดังนี้
อันดับที่ 1 - 25 คะแนน
อันดับที่ 2 - 18 คะแนน
อันดับที่ 3 - 15 คะแนน
อันดับที่ 4 - 12 คะแนน
อันดับที่ 5 - 10 คะแนน
อันดับที่ 6 - 8 คะแนน
อันดับที่ 7 - 6 คะแนน
อันดับที่ 8 - 4 คะแนน
อันดับที่ 9 - 2 คะแนน
อันดับที่ 10 - 1 คะแนน
โดยคะแนนทีมผู้สร้างจะเป็นการนำคะแนนของนักขับในทีมทั้ง 2 คนที่ได้รับจากแต่ละสนามมารวมกัน
Credit :http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=f1star&month=13-04-2015&group=4&gblog=41