สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 29
เอาแบบจริงจังคือ การแบ่งการปกครองเป็นจังหวัดหรือเมืองคงไม่ได้มีจังหวัดที่เกิดขึ้นแห่งแรกเป็นที่เดียว แต่ก็ต้องแบ่งพร้อมๆกันหลายจังหวัด ซึ่งการแบ่งการปกครองเป็น 'จังหวัด' ในปัจจุบันเกิดใน พ.ศ.๒๔๕๙ สมัยรัชกาลที่ ๖ ครับ ในอดีตจะแย่งการปกครองเป็น 'เมือง' แต่ไม่ได้แปลว่าคำว่า 'จังหวัด' เพิ่งมีในสมัยนั้นครับ
'จังหวัดกรุงศรีอ่ยุทธยา' ในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ.๒๒๓๐
ตั้งแต่โบราณอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอยุทธยา คำว่า 'จังหวัด' ก็ปรากฏใช้กันควบคู่ไปกับ 'เมือง' ซึ่งสันนิษฐานตามเอกสารโบราณอย่างพระราชพงศาวดารหรือหลักฐานสมัยอยุทธยาอย่างสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ.๒๒๓๐ คำว่า 'เมือง' กับ 'จังหวัด' ใช้ในความหมายที่ต่างกันครับ
เมือง หมายถึงบริเวณที่เป็นศูนย์กลาง อย่างในสมัยโบราณก็คือบริเวณที่มีกำแพงเมืองล้อมรอบ ถ้าเทียบในปัจจุบันก็คืออำเภอเมือง
จังหวัด มีความหมายถึงบริเวณที่กว้างกว่า ในความหมายนี้หมายถึงพื้นที่ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ขึ้นกับเมืองนั้น ไม่ใช่เฉพาะตัวเมือง
'จังวัดเมืองพระพิศนุโลก' มีการต่อท้ายว่าทุกตำบล หมายถึงบริเวณที่ขึ้นต่อพิษณุโลก ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเมืองพิษณุโลก
พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม สมัยรัชกาลที่ ๑
นี่จึงเป็นเหตุผลที่เมื่อปฏิรูปการปกครองหัวเมืองให้เปลี่ยนจากคำว่า 'เมือง' มาเรียกว่า 'จังหวัด' ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด และเพราะการเรียกว่าเมืองอาจจะทำให้สับสนกับเมืองที่เป็นศูนย์กลางปกครองหรืออำเภอเมืองได้ครับ
'จังหวัด' ในความหมายดั้งเดิมจึงเป็นสิ่งที่เกิดมาเพราะมี 'เมือง' ดังนั้นถ้าจะถามว่าจังหวัดไหนเกิดขึ้นเป็นเมืองแรก ก็คงต้องไปดูว่าเมืองไหนเกิดขึ้นเป็นเมืองแรกในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งจริงๆก็คงไม่มีใครตอบได้
ถ้าจะเอาความหมาย 'จังหวัด' แบบที่ใช้ในปัจจุบันก็ตอบไม่ได้ครับ เพราะเกิดขึ้นมาพร้อมกันหลายจังหวัด ตามความเห็นบนๆได้กล่าวไปแล้ว
ทั้งนี้ก็ต้องให้นิยามให้ชัดเจนด้วยว่า ต้องการจังหวัดแรกที่เกิดใน 'บริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน' หรือจังหวัดแรกที่เกิดใน 'ประเทศไทย' ซึ่งคำว่า ประเทศไทยนั้นก็เพิ่งใช้อย่างเป็นทางการในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งสมัยนั้นก็มีจังหวัดอยู่ก่อนแล้ว
'จังหวัดกรุงศรีอ่ยุทธยา' ในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ.๒๒๓๐
ตั้งแต่โบราณอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอยุทธยา คำว่า 'จังหวัด' ก็ปรากฏใช้กันควบคู่ไปกับ 'เมือง' ซึ่งสันนิษฐานตามเอกสารโบราณอย่างพระราชพงศาวดารหรือหลักฐานสมัยอยุทธยาอย่างสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ.๒๒๓๐ คำว่า 'เมือง' กับ 'จังหวัด' ใช้ในความหมายที่ต่างกันครับ
เมือง หมายถึงบริเวณที่เป็นศูนย์กลาง อย่างในสมัยโบราณก็คือบริเวณที่มีกำแพงเมืองล้อมรอบ ถ้าเทียบในปัจจุบันก็คืออำเภอเมือง
จังหวัด มีความหมายถึงบริเวณที่กว้างกว่า ในความหมายนี้หมายถึงพื้นที่ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ขึ้นกับเมืองนั้น ไม่ใช่เฉพาะตัวเมือง
'จังวัดเมืองพระพิศนุโลก' มีการต่อท้ายว่าทุกตำบล หมายถึงบริเวณที่ขึ้นต่อพิษณุโลก ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเมืองพิษณุโลก
พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม สมัยรัชกาลที่ ๑
นี่จึงเป็นเหตุผลที่เมื่อปฏิรูปการปกครองหัวเมืองให้เปลี่ยนจากคำว่า 'เมือง' มาเรียกว่า 'จังหวัด' ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด และเพราะการเรียกว่าเมืองอาจจะทำให้สับสนกับเมืองที่เป็นศูนย์กลางปกครองหรืออำเภอเมืองได้ครับ
'จังหวัด' ในความหมายดั้งเดิมจึงเป็นสิ่งที่เกิดมาเพราะมี 'เมือง' ดังนั้นถ้าจะถามว่าจังหวัดไหนเกิดขึ้นเป็นเมืองแรก ก็คงต้องไปดูว่าเมืองไหนเกิดขึ้นเป็นเมืองแรกในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งจริงๆก็คงไม่มีใครตอบได้
ถ้าจะเอาความหมาย 'จังหวัด' แบบที่ใช้ในปัจจุบันก็ตอบไม่ได้ครับ เพราะเกิดขึ้นมาพร้อมกันหลายจังหวัด ตามความเห็นบนๆได้กล่าวไปแล้ว
ทั้งนี้ก็ต้องให้นิยามให้ชัดเจนด้วยว่า ต้องการจังหวัดแรกที่เกิดใน 'บริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน' หรือจังหวัดแรกที่เกิดใน 'ประเทศไทย' ซึ่งคำว่า ประเทศไทยนั้นก็เพิ่งใช้อย่างเป็นทางการในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งสมัยนั้นก็มีจังหวัดอยู่ก่อนแล้ว
แสดงความคิดเห็น
จังหวัดแรกของประเทศไทยคือจังหวัดอะไร