กรี๊ดดดดๆๆๆ ถึงคิวการ์ตูน อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา คืนจอช่อง3 แล้วคร่าดีใจสุดๆ
ยิงทีเซอร์แล้วค่ะ เลิศๆ เกร๋ๆ
ชื่อภาษา ญี่ปุ่น : Ikkyu-san (อิคคิว ซัง)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Mister Ikkyu (มีสเตอร์ อิคคิว)
ชื่อภาษาไทย : เณรน้อยเจ้าปัญญา
ฉายที่ญี่ปุ่น : 15 ตุลาคม 1975 (พศ.2518) - 28 มิถุนายน 1982 (พศ.2525)
ฉายในไทย : อังคาร-พุธ ช่อง 3 19.15-19.30
จำนวนตอน : 296 ตอน
บริษัทผู้สร้าง : บริษัท Toei Animation
ผู้แต่ง : Hisashi Sakaguchi
ออกแบบตัวละคร : Hiroshi Wagatsuma, Megumu Ishiguro
ประเภท : ละคร, ชีวิตประจำวัน, ศาสนา
เพลงประกอบการ์ตูน อิคคิวซัง :
เรื่องนี้น่าแปลกที่ตอนที่โตเอซื้อไปทำอนิเมนั้น ซื้อจากหนังสืออัตชีวประวัติอิคคิว ที่ อ.ซากางูจิเขียน
หลังจากที่การ์ตูนดังแล้ว อ.จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะให้คนได้อ่านเรื่องราวอัตชีวะประวัติจริงๆของ อิคคิว ในรูปแบบการ์ตูน อีกที และเขียนออกมาทั้งหมด 6 เล่มจบ
นอกเหนือจากปก และเกร็ดบางเรื่องที่ผมเจาะจงเพิ่มเติมแล้ว ข้อมูลที่เหลือหาตามเนตได้ครับ
เปรียบเทียบการ์ตูนกับเรื่องจริง
การ์ตูน
1. เซงิกุมารุ วัย 6 ปี เข้าพิธีบวชเป็นเณร กับ หลวงพ่อคะโซ จากนั้นจึงไปอยู่ วัดอังโคะคุจิ กับ หลวงพ่อไกคัง
2. เรื่องราวของการ์ตูน เกิดในช่วงโชกุน อะชิคางะ โยชิมิทสุเป็นผู้ปกครอง
3. โชกุนอะชิคะงะ ทะกะโมจิ ลูกชายโชกุนอาชิคางะ โยชิมิทสุ ยังเป็นทารกแบเบาะ
4. โชกุนโยชิมิทสุกำจัดจักรพรรดิโกะโกะมัทสุ (พระบิดาของ อิคคิวซัง) และกักบริเวณพระมารดาของอิคคิวซัง
5. อิคคิวซัง พบท่านโชกุนโยชิมิทสุ ที่ตำหนักคินคาคุจิ ได้บ่อยๆ บางครั้งท่านโชกุนก็ไปเที่ยวเล่ที่วัดอังโคะคุจิ
6. วัดอังโคะคุจิเป็นวัด เล็กๆ ที่ยากจนในแถบชนบทของเมืองเกียวโต
7. อิคคิวซัง มักถูกท่านโชกุน คิเคียวยะ และ ยาโยอิ แกล้งประลองปัญญาอยู่เป็นประจำ
8. ซาโยจัง เป็นเพื่อนหญิงที่สนิทที่สุด ของอิคคิวซังในวัดอังโคะคุจิ
9. อิกคิวซังมีความสามารถนการแต่งกลอนญี่ปุ่น เป็น อันมาก ตั้งแต่เล็กๆเคยถูกโจรเรียกค่าไถ่ลักพาตัวไปแต่สามารถเขียนจดหมายมาหาหลวงพ่อเป็นกลอนปริศนา โจรอ่านไม่เข้าใจ
10. ของโปรดของอิกคิว คือ โมจิ
11. ชินเอมอนซังคือ เพื่อนสนิทต่างวัยและตั้งตนเป็น ลูกศิษย์ เรียนความเจ้าปัญญาจากอิคคิวซัง
12. ชินเอมอนซังเป็นทหารรับใช้ของท่าน โชกุนอาชิคางะ โยชิมิทสุ(โชกุนลำดับที่ 3 ของรัฐบาลมุโรมาจิ) มีหน้าที่ดูแลวัดและ ศาลเจ้า
13. ความสามารถที่โดดเด่นของ ชินเอมอนซัง คือ ฝีดาบที่ไม่เป็นรองใคร
14. ชินเอมอนซังแอบชอบท่านหญิงสุเอะ แห่ง ตระกูล ทะกะอุจิ
15. หลวงพ่อไกคังแห่งวัดอังโคะคุจิเป็นพระผู้เคร่งครัด ที่อิคคิวซัง ให้ความเคารพยำเกรงมาก
16. อิกคิวซังเป็นโรคแพ้เจ้าหญิงจอมแก่นกับเจ้าหนูจำไม
17. อิคคิวซังได้แอบดู ท่านแม่อยู่ห่างๆ หลายครั้ง และท่านแม่ก้คอยเฝ้าดูอยู่ในบางครั้ง
18. อิคคิวซังไม่เคยพบ พระบิดาเลย
19. สัตว์ เลี้ยงในวัดอังโคะคุจิ คือ "ทามะจัง" แมวของซาโยจัง
20. การ์ตูนจบตอนที่ อิคคิวซัง ออกจากวัด อังโคะคุจิ
เรื่องจริง
1. ชื่อในวัยเด็กคือ "เซนงิกามารุ" เกิดในปี1394 บริเวณเมืองซากะโนะใกล้ๆ กับ เมืองเกียวโต เป็นพระโอรสใน พระจักรพรรดิ โกะโกะมัทสุ จักรพรรดิราชวงค์เหนือ กับ พระนางอิโยะ โนะ ทสุโบเนะ เชื้อสายราชวงค์ใต้ พระนางอิโยะ โนะ ทสุโบะเนะ ถูกขับออกจากพระราชวังเนื่องจากถูกใส่ร้ายจากฝ่ายตรงข้าม เมื่อทรงให้กำเนิดเซงิกุมารุ พระนางดำริถึงความปลอดภัยของพระโอรส จึงทรงตัดสินพระทัยให้เซงิกุมารุเข้าบวชที่วัดอังโคะคุจิ ขณะที่เซงิกุมารุอายุได้ 6 ขวบ หลวงพ่อไกคัง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสนขณะนั้นได้ตั้งฉายาใหม่ว่า "ชูเคน"
2. เรื่องราวของ พระอิคคิวซัง เริ่มขึ้นในสมัยโชกุน อะชิคางะ โยชิมิทสุ ออกบวชเป็นพระแล้วกุมอำนาจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง โดยมี โชกุนอะชิ คะงะ ทะกะโมจิเป็นผู้ปกครอง รัฐบาลมุโรมะจิ
3. พระนางอิโยะ โนะ ทสุโบเนะ (เป็นชื่อตำแหน่ง เจ้าจอมอิโยะ แห่ง ทสึโบโนะ) เชื้อสายราชวงค์ใต้ ที่จริงชื่อ เจ้าหญิง เทรุโกะ ที่เอามาเล่นคำในการ์ตูนกับตุ๊กตาไล่ฝนที่มีชื่อว่า เทรุโบซึ มาจากคำว่า เทรุเทรุ แปลว่า แสงสว่าง / หรือมีนัยยะถึงฟ้าหลังฝน
4. ที่จริงแล้วพระจักรพรรดิโกะโกะมัทสุ แห่งราชวงค์เหนือได้รับสถาปนาเป็นพระจักรพรรดิ ตามนโยบายรวมราชวงค์เหนือใต้ของโชกุน โยชิมิทสุ
5. อิกคิวซังเคยพบท่าน โชกุนโยชิมิทสุ ครั้งเดียว ในสมัยที่เป็นเณรอยู่วัดอังโคะคุจิ
6. วัดอังโคะคุจิโหญ่โตและ มั่งคั่ง มีฐานะเป็น 1 ใน 10 วัดหลวงที่สำคัญในโตเกียว อยู่ใกล้ๆวัดน้ำใส ไม่ห่างกันมากนัก
7. อิกคิวสมัยเป็นเณร มักถูกรุ่นพี่ในวัดรังแก ด่าว่าถากถางตั้งแต่สมัยอยุ่วัดอังโคะคุจิ เพราะความฉลาดเกินหน้าเกินตา
8. ซาโยจังไม่มีตัวตนอยู่จริง และ ในวัดอังโคะคุจิไม่ปรากฎว่า มีผู้หญิงอาศัยอยู่
9. อิกคิวเริ่มการศึกษาแต่งกลอนเมื่อ อายุ 13 ปี ถนัดการแต่งกลอนแบบจีน(คัมบุง)เป็นพิเศษเคยแต่งกลอนคัมบุง วิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนาสมัยนั้นอย่างรุนแรง
10. ตอนที่พระอิกคิวซังรับภรรยานั้น ที่จริงตอนนั้นท่านอายุ 75 ปีแล้ว และขณะนั้นอยู่ในช่วงสงคราม การวางตัวท่านเหมือนพระจี้กง ที่ประชดประชันสังคม
11. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ รู้จักกับอิกคิวตอนอายุ 30 ปีจากการถามตอบ ปุจฉา-วิสัจฉนา และ ออกติดตามเป็นลูกศิษย์อิกคิวในช่วงบั้นปลายชีวิตเพื่อศึกษาพระธรรม
12.. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ เป็นทหารรับใช้ท่านโชกุน เป็นทหารรับใช้ท่านโชกุนอาชิคางะ โยชิโนริ (โชกุนลำดับที่ 6 ในรัฐบาลมุโรมะจิ) ทำหน้าที่ดูแลการเงินของรัฐบาล
13.. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ มีพรสวรรค์ในการแต่งโคลงกลอนเป็นเลิศ
14.. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ มีภรรยาชื่อทัสสุ เป็นหญิงสามัญชน
15. สำหรับพระอิกคิวซัง หลวงพ่อเคนโอ และหลวงพ่อคะโซ คืออาจารย์ที่เขาให้ความเคารพนับถือมากที่สุด
16. เจ้าหญิงจอมแก่น ซาโยจัง กับเจ้าหนูจำไม ไม่มีตัวตนอยู่จริง
17. ตั้งแต่ออกบวชพระอิกคิวได้พบพระมารดา 2 ครั้ง คือก่อนจะไปหาหลวงพ่อคะโซ และก่อนพระมารดาสิ้นพระชนม์
18. อิกคิวพบพระบิดาครั้งแรกและครั้งเดียวตอนอายุ 36 ปี
19. อิกคิวเคยเลี้ยงนกกระจอกไว้ตัวหนึ่ง เขาตั้งชื่อให้มันว่า "ซอนริน"
20. อิกคิวมรณภาพด้วยโรคไข้มาลาเรีย ตอน อายุ 88 ปี
10 เรื่องของพระอิกคิวที่คุณอาจไม่เคยรู้
1. พระอิกคิวซังเคยหาเลียงชีพโดยการรับจ้างเย็บเสื้อผ้า และตุ๊กตาเด็กผู้หญิง และเย็บรองเท้าฟาง
2. "ฮารุยะซะ" เด็กสาวในคณะละคร คือ รักแรกที่ไม่สมหวังของพระอิกคิวนวัยแตกเนื้อหนุ่ม ทั้งสองเจอกันครั้งแรกตอนที่อิกคิวซังเจอซ้อม และ ฮารุยะซะ เข้าไปช่วย
3. สมัย เป็นเณรเคยได้ รางวัล ความฉลาด เป็นดาบจากโชกุน โยชิมิทสุ
4. พระอิกคิว เป็นเจ้าของสูตรการทำนัตโตะ หรือ ถั่วหมักอิกคิวที่มีชื่อเสียง ของขึ้นชื่อของเมืองเกียวโต
5. พระอิกคิวสวมจีวรดำที่พระมารดาเย็บถวายอยุ่ชุดเดียวตั้งแต่อายุ 33 ปี จนกระทั่งมรณภาพ
6. คน ปะรุ เซ็งระกุ ผู้ปฏิวัติละคร โนห์ / มุระตะ ชูโค ผู้ให้กำเหนิดพิธีการชงชา ล้วนเป็นลูกศิษย์ของพระอิกคิว
7. พระอิกคิวปลูกหนวดตัวเองไว้ที่รูปปั้นไม้จำลองที่ให้ลูกศิษย์แกะสลักขึ้น
8. ครั้งหนึ่งพระอิกคิวเคยอาพาธเป็นท้องร่วงอย่างรุนแรง จนเกือบมรณภาพ
9. ในปีหนึ่งอากาศหนาวมาก พระอิกคิวเอาพระพุทธรูปไม้องค์เล็กๆ มาจุดไฟเผาไล่ความอบอุ่น
10.พระอิกคิวเคยถูกชาวบ้านไล่ตี เพราะไปยืนปัสสวะรดพระพุทธรูป (จิโซ) ริมทาง
เล่าขานความเจ้าปัญญาของเณรชูเคนตามตำนาน
1. " เรื่องหันหลัง " ตอนสมัยเณรชูเคนเข้ามาอยู่ที่วัดอังโคะคุจิใหม่ๆ ชูเคนถูกหลวงพ่อดุที่ใช้วิธีเป่าเทียนให้ดับ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระโพธิสัตว์จะแปดเปื้อนด้วยลมหายใจที่สกปรกของมนุษย์ วันรุ่งขึ้น ขณะพระเณรทุกรูปกำลังสวดมนต์ต่อหน้าพระพุทธรูป มีแต่เพียงเณรชูเคนเท่านั้นที่สวดมนต์หันหลังให้พระพุทธรูป หลวงพ่อสงสัยมากจึงถามว่าทำไมเจ้าจึงหันหลังให้พระโพธิสัตว์เล่า เณรน้อยจึงตอบว่าลมหายใจของมนุษย์เป็นสิ่งสกปรก ถ้าเขาหันหน้าเข้าหาพระพุทธรูป ก็เกรงว่าลมหายใจของตนจะแปดเปื้อนพระโพธิสัตว์
2."เรื่องป้ายประกาศที่ หน้าประตู" เณรชูเคนคิดแผนการอันแยบยลเพื่อไล่นิเฮซังที่ชอบมาเล่นหมากล้อมกับหลวงพ่อจน ดึกๆ ดื่นๆ ชูเคนเขียนป้ายประกาศไว้ที่หน้าประตูวัดว่า "ห้ามผู้ที่สวมเสื้อที่ทำจากหนังสัตว์เข้ามาในบริเวณวัดเด็ดขาด" เพราะรู้ดีว่านิเฮซังมักจะใส่เสื้อขนกระต่ายมา ชูเฮอ้างกับนิเฮซังว่า เสื้อที่ทำจากหนังสัตว์จะทำให้วัดและพระโพธิสัตว์แปดเปื้อน แต่นิเฮซังก็ย้อนกลับไปว่าแล้วกลองที่ขึงจากหนังสัตว์เล่า ทำไมจึงอยู่ในโบสถ์ได้ เณรน้อยจึงตอบกลับไปว่ากลองทำขึ้นจากหนังสัตว์ก็จริงอยู่ แต่มันก็ถูกลงโทษโดยการตีทุกเช้าเย็น ดังนั้นถ้านิเฮซังอยากเข้าไปในวัดจริงๆ ก็ต้องถูกตีเหมือนกลองในโบสถ์เช่นกัน
3."เรื่องน้ำตาลกวนปริศนากับถ้วยชา หลวงพ่อ" วันหนึ่งเพื่อนของเณรชูเคนทำถ้วยชาสุดหวงของหลวงพ่อแตก ชูเคนคิดแผนเพื่อไม่ให้เพื่อนๆ โดนดุโดยให้เพื่อนๆ เข้าไปกินน้ำตาลกวนที่อยู่ในใหซึ่งหลวงพ่อเคยบอกว่า "ถ้าเด็กกินเข้าไปเป็นยาพิษเป็นอันตรายถึงชีวิต" จนหมด จากนั้นชูเคนสารภาพกับหลวงพ่อด้วยน้ำเสียงอันเศร้าสร้อยว่า เขาทำถ้วยชาที่มีค่ายิ่งของหลวงพ่อแตก จึงคิดจะตายเพื่อชดใช้โทษโดยกิน "ยาพิษ" ในใหเสียจนเกลี้ยง แต่ก็ไม่ตายสมใจหลวงพ่อจึงต้องยกโทษให้อย่างไม่มีทางเลือก
4."เรื่องห้าม ข้ามสะพาน" วันหนึ่งหลวงพ่อกับชูเคนไปฉันกระยาหารที่บ้านของ นิเฮซัง ตามคำเชิญ ระหว่างทางไปบ้านนิเฮซัง ต้องเดินข้ามสะพานๆ หนึ่งไป แตนิเฮซังคิดจะแก้เผ็ดเณรน้อยชูเคนโดยตั้งป้ายประกาศไว้เชิงสะพานว่า "ห้ามข้ามสะพานนี้"
kono hashi wo wataru bekarazu) แต่ชูเคนกลับพาหลวงพ่อข้ามตรงกลางสะพาน และ บอกนิเฮซัง ที่ยังสงสัยอยู่ว่า เขากับหลวงพ่อเดิน " ตรงกลาง " ไม่ได้เดินที่ " ขอบสะพาน " หมายความว่า ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า Hashi เป็นคำพ้องเสียงมีความหมายหลายอย่างคือ แปลว่าสะพานก็ได้ แปลว่า ขอบ ริมก็ได้ เป็นการเล่นคำทางภาษา เณรน้อยชูเคนจึงเอาชนะ นิเฮซังได้อีกครั้ง
5."เรื่องจับเสือในภาพ" ครั้งหนึ่งท่านโชกุอาชิคางะ โยชิมิทสุ มีประสงค์ที่จะพบเณรน้อยเจ้าปัญญาแห่งวัดอังโคะคุจิอีกสักครั้ง จึงนิมนต์หลวงพ่อและชูเคนมาฉันกระยาหารที่ตำหนักคินคาคูจิ ครั้งนั้นท่านโชกุนสั่งให้ชูเคนจับเสือในภาพวาดมัดเสียให้อยู่หมัด เณรน้อยหาได้ตระหนกต่อคำท้าของท่านโชกุน ทำท่าควงเชือกราวจะเข้าไปจับเสือในภาพวาด แต่ทันใดนั้น ชูเคนหันมาบอกกับทุกคนว่า ก่อนที่จะมัดเสือ ขอให้ท่านโชกุนหรือผู้กล้าท่านใดก็ได้ช่วยไล่เสือออกมาจากภาพเสียก่อนแล้ว เขาจะจับมัดให้ ท่านโชกุนจึงจนปัญญาต่อคำร้องของชูเคน
เครดิต
https://www.facebook.com/notes/manga-classic/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%87/138515706162521/
กรี๊ดดดดๆๆๆ ถึงคิวการ์ตูน อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา คืนจอช่อง3 แล้วคร่าดีใจสุดๆ
ยิงทีเซอร์แล้วค่ะ เลิศๆ เกร๋ๆ
ชื่อภาษา ญี่ปุ่น : Ikkyu-san (อิคคิว ซัง)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Mister Ikkyu (มีสเตอร์ อิคคิว)
ชื่อภาษาไทย : เณรน้อยเจ้าปัญญา
ฉายที่ญี่ปุ่น : 15 ตุลาคม 1975 (พศ.2518) - 28 มิถุนายน 1982 (พศ.2525)
ฉายในไทย : อังคาร-พุธ ช่อง 3 19.15-19.30
จำนวนตอน : 296 ตอน
บริษัทผู้สร้าง : บริษัท Toei Animation
ผู้แต่ง : Hisashi Sakaguchi
ออกแบบตัวละคร : Hiroshi Wagatsuma, Megumu Ishiguro
ประเภท : ละคร, ชีวิตประจำวัน, ศาสนา
เพลงประกอบการ์ตูน อิคคิวซัง :
เรื่องนี้น่าแปลกที่ตอนที่โตเอซื้อไปทำอนิเมนั้น ซื้อจากหนังสืออัตชีวประวัติอิคคิว ที่ อ.ซากางูจิเขียน
หลังจากที่การ์ตูนดังแล้ว อ.จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะให้คนได้อ่านเรื่องราวอัตชีวะประวัติจริงๆของ อิคคิว ในรูปแบบการ์ตูน อีกที และเขียนออกมาทั้งหมด 6 เล่มจบ
นอกเหนือจากปก และเกร็ดบางเรื่องที่ผมเจาะจงเพิ่มเติมแล้ว ข้อมูลที่เหลือหาตามเนตได้ครับ
เปรียบเทียบการ์ตูนกับเรื่องจริง
การ์ตูน
1. เซงิกุมารุ วัย 6 ปี เข้าพิธีบวชเป็นเณร กับ หลวงพ่อคะโซ จากนั้นจึงไปอยู่ วัดอังโคะคุจิ กับ หลวงพ่อไกคัง
2. เรื่องราวของการ์ตูน เกิดในช่วงโชกุน อะชิคางะ โยชิมิทสุเป็นผู้ปกครอง
3. โชกุนอะชิคะงะ ทะกะโมจิ ลูกชายโชกุนอาชิคางะ โยชิมิทสุ ยังเป็นทารกแบเบาะ
4. โชกุนโยชิมิทสุกำจัดจักรพรรดิโกะโกะมัทสุ (พระบิดาของ อิคคิวซัง) และกักบริเวณพระมารดาของอิคคิวซัง
5. อิคคิวซัง พบท่านโชกุนโยชิมิทสุ ที่ตำหนักคินคาคุจิ ได้บ่อยๆ บางครั้งท่านโชกุนก็ไปเที่ยวเล่ที่วัดอังโคะคุจิ
6. วัดอังโคะคุจิเป็นวัด เล็กๆ ที่ยากจนในแถบชนบทของเมืองเกียวโต
7. อิคคิวซัง มักถูกท่านโชกุน คิเคียวยะ และ ยาโยอิ แกล้งประลองปัญญาอยู่เป็นประจำ
8. ซาโยจัง เป็นเพื่อนหญิงที่สนิทที่สุด ของอิคคิวซังในวัดอังโคะคุจิ
9. อิกคิวซังมีความสามารถนการแต่งกลอนญี่ปุ่น เป็น อันมาก ตั้งแต่เล็กๆเคยถูกโจรเรียกค่าไถ่ลักพาตัวไปแต่สามารถเขียนจดหมายมาหาหลวงพ่อเป็นกลอนปริศนา โจรอ่านไม่เข้าใจ
10. ของโปรดของอิกคิว คือ โมจิ
11. ชินเอมอนซังคือ เพื่อนสนิทต่างวัยและตั้งตนเป็น ลูกศิษย์ เรียนความเจ้าปัญญาจากอิคคิวซัง
12. ชินเอมอนซังเป็นทหารรับใช้ของท่าน โชกุนอาชิคางะ โยชิมิทสุ(โชกุนลำดับที่ 3 ของรัฐบาลมุโรมาจิ) มีหน้าที่ดูแลวัดและ ศาลเจ้า
13. ความสามารถที่โดดเด่นของ ชินเอมอนซัง คือ ฝีดาบที่ไม่เป็นรองใคร
14. ชินเอมอนซังแอบชอบท่านหญิงสุเอะ แห่ง ตระกูล ทะกะอุจิ
15. หลวงพ่อไกคังแห่งวัดอังโคะคุจิเป็นพระผู้เคร่งครัด ที่อิคคิวซัง ให้ความเคารพยำเกรงมาก
16. อิกคิวซังเป็นโรคแพ้เจ้าหญิงจอมแก่นกับเจ้าหนูจำไม
17. อิคคิวซังได้แอบดู ท่านแม่อยู่ห่างๆ หลายครั้ง และท่านแม่ก้คอยเฝ้าดูอยู่ในบางครั้ง
18. อิคคิวซังไม่เคยพบ พระบิดาเลย
19. สัตว์ เลี้ยงในวัดอังโคะคุจิ คือ "ทามะจัง" แมวของซาโยจัง
20. การ์ตูนจบตอนที่ อิคคิวซัง ออกจากวัด อังโคะคุจิ
เรื่องจริง
1. ชื่อในวัยเด็กคือ "เซนงิกามารุ" เกิดในปี1394 บริเวณเมืองซากะโนะใกล้ๆ กับ เมืองเกียวโต เป็นพระโอรสใน พระจักรพรรดิ โกะโกะมัทสุ จักรพรรดิราชวงค์เหนือ กับ พระนางอิโยะ โนะ ทสุโบเนะ เชื้อสายราชวงค์ใต้ พระนางอิโยะ โนะ ทสุโบะเนะ ถูกขับออกจากพระราชวังเนื่องจากถูกใส่ร้ายจากฝ่ายตรงข้าม เมื่อทรงให้กำเนิดเซงิกุมารุ พระนางดำริถึงความปลอดภัยของพระโอรส จึงทรงตัดสินพระทัยให้เซงิกุมารุเข้าบวชที่วัดอังโคะคุจิ ขณะที่เซงิกุมารุอายุได้ 6 ขวบ หลวงพ่อไกคัง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสนขณะนั้นได้ตั้งฉายาใหม่ว่า "ชูเคน"
2. เรื่องราวของ พระอิคคิวซัง เริ่มขึ้นในสมัยโชกุน อะชิคางะ โยชิมิทสุ ออกบวชเป็นพระแล้วกุมอำนาจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง โดยมี โชกุนอะชิ คะงะ ทะกะโมจิเป็นผู้ปกครอง รัฐบาลมุโรมะจิ
3. พระนางอิโยะ โนะ ทสุโบเนะ (เป็นชื่อตำแหน่ง เจ้าจอมอิโยะ แห่ง ทสึโบโนะ) เชื้อสายราชวงค์ใต้ ที่จริงชื่อ เจ้าหญิง เทรุโกะ ที่เอามาเล่นคำในการ์ตูนกับตุ๊กตาไล่ฝนที่มีชื่อว่า เทรุโบซึ มาจากคำว่า เทรุเทรุ แปลว่า แสงสว่าง / หรือมีนัยยะถึงฟ้าหลังฝน
4. ที่จริงแล้วพระจักรพรรดิโกะโกะมัทสุ แห่งราชวงค์เหนือได้รับสถาปนาเป็นพระจักรพรรดิ ตามนโยบายรวมราชวงค์เหนือใต้ของโชกุน โยชิมิทสุ
5. อิกคิวซังเคยพบท่าน โชกุนโยชิมิทสุ ครั้งเดียว ในสมัยที่เป็นเณรอยู่วัดอังโคะคุจิ
6. วัดอังโคะคุจิโหญ่โตและ มั่งคั่ง มีฐานะเป็น 1 ใน 10 วัดหลวงที่สำคัญในโตเกียว อยู่ใกล้ๆวัดน้ำใส ไม่ห่างกันมากนัก
7. อิกคิวสมัยเป็นเณร มักถูกรุ่นพี่ในวัดรังแก ด่าว่าถากถางตั้งแต่สมัยอยุ่วัดอังโคะคุจิ เพราะความฉลาดเกินหน้าเกินตา
8. ซาโยจังไม่มีตัวตนอยู่จริง และ ในวัดอังโคะคุจิไม่ปรากฎว่า มีผู้หญิงอาศัยอยู่
9. อิกคิวเริ่มการศึกษาแต่งกลอนเมื่อ อายุ 13 ปี ถนัดการแต่งกลอนแบบจีน(คัมบุง)เป็นพิเศษเคยแต่งกลอนคัมบุง วิพากษ์วิจารณ์พุทธศาสนาสมัยนั้นอย่างรุนแรง
10. ตอนที่พระอิกคิวซังรับภรรยานั้น ที่จริงตอนนั้นท่านอายุ 75 ปีแล้ว และขณะนั้นอยู่ในช่วงสงคราม การวางตัวท่านเหมือนพระจี้กง ที่ประชดประชันสังคม
11. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ รู้จักกับอิกคิวตอนอายุ 30 ปีจากการถามตอบ ปุจฉา-วิสัจฉนา และ ออกติดตามเป็นลูกศิษย์อิกคิวในช่วงบั้นปลายชีวิตเพื่อศึกษาพระธรรม
12.. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ เป็นทหารรับใช้ท่านโชกุน เป็นทหารรับใช้ท่านโชกุนอาชิคางะ โยชิโนริ (โชกุนลำดับที่ 6 ในรัฐบาลมุโรมะจิ) ทำหน้าที่ดูแลการเงินของรัฐบาล
13.. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ มีพรสวรรค์ในการแต่งโคลงกลอนเป็นเลิศ
14.. นินางาวะ ชินเอมอนจิกะมะสะ มีภรรยาชื่อทัสสุ เป็นหญิงสามัญชน
15. สำหรับพระอิกคิวซัง หลวงพ่อเคนโอ และหลวงพ่อคะโซ คืออาจารย์ที่เขาให้ความเคารพนับถือมากที่สุด
16. เจ้าหญิงจอมแก่น ซาโยจัง กับเจ้าหนูจำไม ไม่มีตัวตนอยู่จริง
17. ตั้งแต่ออกบวชพระอิกคิวได้พบพระมารดา 2 ครั้ง คือก่อนจะไปหาหลวงพ่อคะโซ และก่อนพระมารดาสิ้นพระชนม์
18. อิกคิวพบพระบิดาครั้งแรกและครั้งเดียวตอนอายุ 36 ปี
19. อิกคิวเคยเลี้ยงนกกระจอกไว้ตัวหนึ่ง เขาตั้งชื่อให้มันว่า "ซอนริน"
20. อิกคิวมรณภาพด้วยโรคไข้มาลาเรีย ตอน อายุ 88 ปี
10 เรื่องของพระอิกคิวที่คุณอาจไม่เคยรู้
1. พระอิกคิวซังเคยหาเลียงชีพโดยการรับจ้างเย็บเสื้อผ้า และตุ๊กตาเด็กผู้หญิง และเย็บรองเท้าฟาง
2. "ฮารุยะซะ" เด็กสาวในคณะละคร คือ รักแรกที่ไม่สมหวังของพระอิกคิวนวัยแตกเนื้อหนุ่ม ทั้งสองเจอกันครั้งแรกตอนที่อิกคิวซังเจอซ้อม และ ฮารุยะซะ เข้าไปช่วย
3. สมัย เป็นเณรเคยได้ รางวัล ความฉลาด เป็นดาบจากโชกุน โยชิมิทสุ
4. พระอิกคิว เป็นเจ้าของสูตรการทำนัตโตะ หรือ ถั่วหมักอิกคิวที่มีชื่อเสียง ของขึ้นชื่อของเมืองเกียวโต
5. พระอิกคิวสวมจีวรดำที่พระมารดาเย็บถวายอยุ่ชุดเดียวตั้งแต่อายุ 33 ปี จนกระทั่งมรณภาพ
6. คน ปะรุ เซ็งระกุ ผู้ปฏิวัติละคร โนห์ / มุระตะ ชูโค ผู้ให้กำเหนิดพิธีการชงชา ล้วนเป็นลูกศิษย์ของพระอิกคิว
7. พระอิกคิวปลูกหนวดตัวเองไว้ที่รูปปั้นไม้จำลองที่ให้ลูกศิษย์แกะสลักขึ้น
8. ครั้งหนึ่งพระอิกคิวเคยอาพาธเป็นท้องร่วงอย่างรุนแรง จนเกือบมรณภาพ
9. ในปีหนึ่งอากาศหนาวมาก พระอิกคิวเอาพระพุทธรูปไม้องค์เล็กๆ มาจุดไฟเผาไล่ความอบอุ่น
10.พระอิกคิวเคยถูกชาวบ้านไล่ตี เพราะไปยืนปัสสวะรดพระพุทธรูป (จิโซ) ริมทาง
เล่าขานความเจ้าปัญญาของเณรชูเคนตามตำนาน
1. " เรื่องหันหลัง " ตอนสมัยเณรชูเคนเข้ามาอยู่ที่วัดอังโคะคุจิใหม่ๆ ชูเคนถูกหลวงพ่อดุที่ใช้วิธีเป่าเทียนให้ดับ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระโพธิสัตว์จะแปดเปื้อนด้วยลมหายใจที่สกปรกของมนุษย์ วันรุ่งขึ้น ขณะพระเณรทุกรูปกำลังสวดมนต์ต่อหน้าพระพุทธรูป มีแต่เพียงเณรชูเคนเท่านั้นที่สวดมนต์หันหลังให้พระพุทธรูป หลวงพ่อสงสัยมากจึงถามว่าทำไมเจ้าจึงหันหลังให้พระโพธิสัตว์เล่า เณรน้อยจึงตอบว่าลมหายใจของมนุษย์เป็นสิ่งสกปรก ถ้าเขาหันหน้าเข้าหาพระพุทธรูป ก็เกรงว่าลมหายใจของตนจะแปดเปื้อนพระโพธิสัตว์
2."เรื่องป้ายประกาศที่ หน้าประตู" เณรชูเคนคิดแผนการอันแยบยลเพื่อไล่นิเฮซังที่ชอบมาเล่นหมากล้อมกับหลวงพ่อจน ดึกๆ ดื่นๆ ชูเคนเขียนป้ายประกาศไว้ที่หน้าประตูวัดว่า "ห้ามผู้ที่สวมเสื้อที่ทำจากหนังสัตว์เข้ามาในบริเวณวัดเด็ดขาด" เพราะรู้ดีว่านิเฮซังมักจะใส่เสื้อขนกระต่ายมา ชูเฮอ้างกับนิเฮซังว่า เสื้อที่ทำจากหนังสัตว์จะทำให้วัดและพระโพธิสัตว์แปดเปื้อน แต่นิเฮซังก็ย้อนกลับไปว่าแล้วกลองที่ขึงจากหนังสัตว์เล่า ทำไมจึงอยู่ในโบสถ์ได้ เณรน้อยจึงตอบกลับไปว่ากลองทำขึ้นจากหนังสัตว์ก็จริงอยู่ แต่มันก็ถูกลงโทษโดยการตีทุกเช้าเย็น ดังนั้นถ้านิเฮซังอยากเข้าไปในวัดจริงๆ ก็ต้องถูกตีเหมือนกลองในโบสถ์เช่นกัน
3."เรื่องน้ำตาลกวนปริศนากับถ้วยชา หลวงพ่อ" วันหนึ่งเพื่อนของเณรชูเคนทำถ้วยชาสุดหวงของหลวงพ่อแตก ชูเคนคิดแผนเพื่อไม่ให้เพื่อนๆ โดนดุโดยให้เพื่อนๆ เข้าไปกินน้ำตาลกวนที่อยู่ในใหซึ่งหลวงพ่อเคยบอกว่า "ถ้าเด็กกินเข้าไปเป็นยาพิษเป็นอันตรายถึงชีวิต" จนหมด จากนั้นชูเคนสารภาพกับหลวงพ่อด้วยน้ำเสียงอันเศร้าสร้อยว่า เขาทำถ้วยชาที่มีค่ายิ่งของหลวงพ่อแตก จึงคิดจะตายเพื่อชดใช้โทษโดยกิน "ยาพิษ" ในใหเสียจนเกลี้ยง แต่ก็ไม่ตายสมใจหลวงพ่อจึงต้องยกโทษให้อย่างไม่มีทางเลือก
4."เรื่องห้าม ข้ามสะพาน" วันหนึ่งหลวงพ่อกับชูเคนไปฉันกระยาหารที่บ้านของ นิเฮซัง ตามคำเชิญ ระหว่างทางไปบ้านนิเฮซัง ต้องเดินข้ามสะพานๆ หนึ่งไป แตนิเฮซังคิดจะแก้เผ็ดเณรน้อยชูเคนโดยตั้งป้ายประกาศไว้เชิงสะพานว่า "ห้ามข้ามสะพานนี้"kono hashi wo wataru bekarazu) แต่ชูเคนกลับพาหลวงพ่อข้ามตรงกลางสะพาน และ บอกนิเฮซัง ที่ยังสงสัยอยู่ว่า เขากับหลวงพ่อเดิน " ตรงกลาง " ไม่ได้เดินที่ " ขอบสะพาน " หมายความว่า ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า Hashi เป็นคำพ้องเสียงมีความหมายหลายอย่างคือ แปลว่าสะพานก็ได้ แปลว่า ขอบ ริมก็ได้ เป็นการเล่นคำทางภาษา เณรน้อยชูเคนจึงเอาชนะ นิเฮซังได้อีกครั้ง
5."เรื่องจับเสือในภาพ" ครั้งหนึ่งท่านโชกุอาชิคางะ โยชิมิทสุ มีประสงค์ที่จะพบเณรน้อยเจ้าปัญญาแห่งวัดอังโคะคุจิอีกสักครั้ง จึงนิมนต์หลวงพ่อและชูเคนมาฉันกระยาหารที่ตำหนักคินคาคูจิ ครั้งนั้นท่านโชกุนสั่งให้ชูเคนจับเสือในภาพวาดมัดเสียให้อยู่หมัด เณรน้อยหาได้ตระหนกต่อคำท้าของท่านโชกุน ทำท่าควงเชือกราวจะเข้าไปจับเสือในภาพวาด แต่ทันใดนั้น ชูเคนหันมาบอกกับทุกคนว่า ก่อนที่จะมัดเสือ ขอให้ท่านโชกุนหรือผู้กล้าท่านใดก็ได้ช่วยไล่เสือออกมาจากภาพเสียก่อนแล้ว เขาจะจับมัดให้ ท่านโชกุนจึงจนปัญญาต่อคำร้องของชูเคน
เครดิต
https://www.facebook.com/notes/manga-classic/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%87/138515706162521/