ที่มา
http://www.dailynews.co.th/education/384851
ศธ.เปิดทางวิศวะ-วิทย์-เทคโนฯสอบครู | เดลินิวส์
„กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทางให้ผู้เรียนจบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สอบบรรจุครูได้
หวังรองรับการเรียนสะเต็มศึกษา เตรียมปรับเกณฑ์ให้ใช้ได้ทันสอบบรรจุครูผู้ช่วยเดือนตุลาคมนี้
วันพฤหัสที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น. วันนี้ (10 มี.ค.)
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะโฆษก ศธ. เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศธ.
ได้หารือร่วมกับ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ถึงนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ด้านคณิตศาสตร์รวมเข้าด้วยกัน ให้แก่นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ
แต่ขณะนี้พบว่า ศธ.ยังขาดแคลนครูที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาสอนในวิชาที่รองรับแนวคิดสะเต็มศึกษา
ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
สามารถเข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยได้เช่นเดียวกับผู้ที่จบทางด้านศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ "
ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการ ก.ค.ศ.ไปปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกครู ส่วนคุรุสภาก็ปรับปรุงการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปสำรวจความต้องการครูในแต่ละสถานศึกษา ทั้งนี้จะเร่งให้การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ให้ทันการสอบครูผู้ช่วยในเดือนตุลาคมนี้ เมื่อสอบบรรจุได้ระหว่างที่กำลังสอนอยู่จะมีการฝึกทักษะจิตวิทยาของความเป็นครู
รวมทั้งกระบวนการจัดการเรียนการสอน และมีการทดสอบจากการปฏิบัติงานจริง
หากภายใน 2 ปี ครูสามารถผ่าน 9 มาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด คุรุสภาก็จะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้
แต่หากไม่ผ่านก็สามารถต่อใบอนุญาตปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้ง ขณะเดียวกันจะให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สำรวจว่ามีการจัดการเรียนการสอนใน 3 สาขาวิชาดังกล่าวจำนวนเท่าใด รวมถึงผู้ที่กำลังจะจบภายในปีนี้ด้วย เพื่อนำมาเป็นข้อมูล
ในการวางแผนการรับสมัครครูผู้ช่วยต่อไป"
โฆษก ศธ.กล่าวและว่า ที่ประชุมยังพูดถึงการปรับค่าตอบแทนของครูให้สูงขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งได้มาเป็นครูมากขึ้น
แต่ก็มีผู้มองว่าปัจจุบันเงินเดือนครูบรรจุใหม่ ก็อยู่ในระดับที่สูงอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา
ต่อข้อถามว่า การคัดเลือกผู้เข้ามาเป็นครูผู้ช่วยจะเกิดช่องว่างหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่จบทั้ง 3สาขานี้หรือไม่
ดร.ชัยยศ กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการออกข้อสอบ ซึ่งจะต้องทำให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายไม่ให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน
ไม่ใช่เปิดช่องให้ใครคนใดคนหนึ่งเข้ามา เพราะผู้ที่เรียนสายครูต่างก็ใช้ระยะเวลาเรียนมาหลายปี
ดังนั้นจะต้องไม่ปิดโอกาสของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง.“
......................................................................................................................................................................................
เนื้อหาข่าวมีเท่านี้ ซึ่งในเวบเดลินิวส์เขาก็ถกกันอยู่ แต่ผมไม่ขอถกอะไร เพราะผมเองก็จบคณะวิทยาศาสตร์
และปัจจุบันก็บรรจุเป็นข้าราชการครูผู้ช่วยอยู่ ใครจะได้จะเสียอะไร ผมไม่พูดนะ
ผมขอพูดในเรื่องที่ว่าข่าวนี้มันจะเป็นจริงหรือเปล่า เพราะข่าวด้านการสอบบรรจุครูผู้ช่วย หรือข่าวเกี่ยวกับวงการครู
มักต้องเอาร้อยเอาพันหารเสมอ
อย่างครั้งหนึ่งที่คุณจาตุรนต์ อดีต รมต.กระทรวงศึกษาธิการบอกว่าจะยกเลิกใบประกอบวิชาชีพครู
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/30961779
ปัจจุบันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อย่างครั้งหนึ่งก็บอกว่าสาขาขาดแคลนไม่มีใบประกอบวิชาชีพก็สามารถสมัครสอบบรรจุได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32734848
แต่ปัจจุบันการสอบที่ว่าก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว
ดังนั้นเราๆท่านๆอย่าไปจริงจังกับข่าวนี้มากนัก เอาร้อยเอาพันมาหารสักนิด ถ้ายังไม่พอเอาหมื่นมาหารก็ได้
ก่อนที่จะด่า ก่อนที่โวย ก่อนที่จะมโน เรามาวิเคราะห์เนื้อหาข่าวกันก่อนดีกว่าไหม
๑ ข่าวนี้พูดถึง 3 คณะ คือ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จะสามารถสอบบรรจุใน สพฐ ได้
ซึ่งจะเตรียมปรับเกณฑ์ให้สอบบรรจุให้ได้ใน ตค.
/// ในส่วนนี้ ผมคาดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ คือไม่ได้ว่าคุรุสภาช้านะ แต่ปัจจุบันแค่เรื่องต่ออายุใบประกอบวิชาชีพช้า
เขายังหาข้อสรุปไม่ได้เลยว่าจะเอายังไง การสอบบรรจุปี 58 ครั้งที่ 1 ที่อนุญาตให้ใช้หนังสืออนุญาตฯสอบบรรจุได้
จนตอนนี้คุรุสภายังโดนฟ้องอยู่เลย คงไม่หาเหาใส่หัวอีกหรอกเพราะเหาตัวแรกยังหยิบออกไม่หมด
๒ ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการ ก.ค.ศ.ไปปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกครู
ส่วนคุรุสภาก็ปรับปรุงการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
/// ข้อนี้เป็นไปได้ แต่คงไม่สามารถทำเสร็จทันใน ต.ค. นี้แน่ๆ แต่ความจริง ก.ค.ศ. กับคุรุสภาก็พึ่ง
จะปรับปรุงเรื่องพวกนี้ไปเมื่อปี 58 นี้เองนะ
๓ หากภายใน 2 ปี ครูสามารถผ่าน 9 มาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด คุรุสภาก็จะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้
แต่หากไม่ผ่านก็สามารถต่อใบอนุญาตปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้ง
/// อันนี้ปัญหาใหญ่เลย เพราะ 9 มาตรฐานถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อปี 56(แต่ผู้บริหารไม่รู้ซะงั้น งี่เง่าชะมัด) ปัจจุบันคือ 11 มาตรฐาน
ซึ่งไม่มีการสอบ เทียบโอน หรืออบรม ตรงนี้คุรุสภาคงไม่กลืนน้ำลายตัวเองหรอก คงแก้เกี้ยวเปิด ป.บัณฑิตให้มากกว่า
ทำตรงๆไม่ได้ แต่ทำอ้อมๆได้
ตรงที่บอกว่าสามารถต่อใบอนุญาตปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้ง อันนี้ก็งี่เง่าเกินบรรยาย ไม่น่าเชื่อว่าจะออกจากปากผู้บริหาร
ของกระทรวงศึกษา เพราะครูผู้ช่วยต้องประเมินทุก 3 เดือนใน 2 ปีจะประเมิน 8 ครั้ง พอครบ 2 ปีปุ๊บก็ต้องประเมินครูผู้ช่วย
ถ้าประเมินไม่ผ่านก็ต้องออกอยู่ต่อไม่ได้ แต่ถ้าผ่านก็ต้องหาใบประกอบวิชาชีพมาแสดง ถ้าหามาไม่ได้ก็ต้องออกเช่นกัน
หรือไม่ก็ต้องไปหาตำแหน่งที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพเช่นใน สพม. สพป. หรือธุรการแทน และต้องหาตำแหน่งให้ได้
ในสามเดือน ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องออก ยื้อไม่ได้ ก็ไม่เข้าใจว่าจะไปต่อปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้งเพื่ออะไร ในเมื่อคุณต้องออก
ก่อนการต่อครั้งแรกอยู่แล้วถ้าหาใบประกอบวิชาชีพไม่ได้
หากวิเคราะห์ตัวเนื้อข่าวแล้วจะพบว่า เนื้อหาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
มันยากมากๆที่จะทำได้ เพราะมันต้องไล่แก้ พรบ. หลาย พรบ. ไม่ใช่แค่ประชุมๆแล้วลงมติก็จะทำได้
โอกาสจะเป็นจริงมันก็มีล่ะนะ เพราะตอนนี้มันยุคตะหาน เขาสามารถทำได้ถ้าจะทำ
แต่โอกาศมันน้อยมากๆ
เป็นไปได้สูงที่จะเหมือนกับสาขาขาดแคลน คือ มีอยู่จริง แต่ไม่เคยปฏิบัติได้จริง
วิเคราะห์ข่าว "ศธ.เปิดทางวิศวะ-วิทย์-เทคโนฯสอบครู" จากเดลินิวส์
ศธ.เปิดทางวิศวะ-วิทย์-เทคโนฯสอบครู | เดลินิวส์
„กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทางให้ผู้เรียนจบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สอบบรรจุครูได้
หวังรองรับการเรียนสะเต็มศึกษา เตรียมปรับเกณฑ์ให้ใช้ได้ทันสอบบรรจุครูผู้ช่วยเดือนตุลาคมนี้
วันพฤหัสที่ 10 มีนาคม 2559 เวลา 13:00 น. วันนี้ (10 มี.ค.)
ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะโฆษก ศธ. เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศธ.
ได้หารือร่วมกับ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ถึงนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ด้านคณิตศาสตร์รวมเข้าด้วยกัน ให้แก่นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ
แต่ขณะนี้พบว่า ศธ.ยังขาดแคลนครูที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาสอนในวิชาที่รองรับแนวคิดสะเต็มศึกษา
ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
สามารถเข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วยได้เช่นเดียวกับผู้ที่จบทางด้านศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ "
ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการ ก.ค.ศ.ไปปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกครู ส่วนคุรุสภาก็ปรับปรุงการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปสำรวจความต้องการครูในแต่ละสถานศึกษา ทั้งนี้จะเร่งให้การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว
ให้ทันการสอบครูผู้ช่วยในเดือนตุลาคมนี้ เมื่อสอบบรรจุได้ระหว่างที่กำลังสอนอยู่จะมีการฝึกทักษะจิตวิทยาของความเป็นครู
รวมทั้งกระบวนการจัดการเรียนการสอน และมีการทดสอบจากการปฏิบัติงานจริง
หากภายใน 2 ปี ครูสามารถผ่าน 9 มาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด คุรุสภาก็จะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้
แต่หากไม่ผ่านก็สามารถต่อใบอนุญาตปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้ง ขณะเดียวกันจะให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
สำรวจว่ามีการจัดการเรียนการสอนใน 3 สาขาวิชาดังกล่าวจำนวนเท่าใด รวมถึงผู้ที่กำลังจะจบภายในปีนี้ด้วย เพื่อนำมาเป็นข้อมูล
ในการวางแผนการรับสมัครครูผู้ช่วยต่อไป"
โฆษก ศธ.กล่าวและว่า ที่ประชุมยังพูดถึงการปรับค่าตอบแทนของครูให้สูงขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนเก่งได้มาเป็นครูมากขึ้น
แต่ก็มีผู้มองว่าปัจจุบันเงินเดือนครูบรรจุใหม่ ก็อยู่ในระดับที่สูงอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา
ต่อข้อถามว่า การคัดเลือกผู้เข้ามาเป็นครูผู้ช่วยจะเกิดช่องว่างหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่จบทั้ง 3สาขานี้หรือไม่
ดร.ชัยยศ กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการออกข้อสอบ ซึ่งจะต้องทำให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายไม่ให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน
ไม่ใช่เปิดช่องให้ใครคนใดคนหนึ่งเข้ามา เพราะผู้ที่เรียนสายครูต่างก็ใช้ระยะเวลาเรียนมาหลายปี
ดังนั้นจะต้องไม่ปิดโอกาสของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง.“
......................................................................................................................................................................................
เนื้อหาข่าวมีเท่านี้ ซึ่งในเวบเดลินิวส์เขาก็ถกกันอยู่ แต่ผมไม่ขอถกอะไร เพราะผมเองก็จบคณะวิทยาศาสตร์
และปัจจุบันก็บรรจุเป็นข้าราชการครูผู้ช่วยอยู่ ใครจะได้จะเสียอะไร ผมไม่พูดนะ
ผมขอพูดในเรื่องที่ว่าข่าวนี้มันจะเป็นจริงหรือเปล่า เพราะข่าวด้านการสอบบรรจุครูผู้ช่วย หรือข่าวเกี่ยวกับวงการครู
มักต้องเอาร้อยเอาพันหารเสมอ
อย่างครั้งหนึ่งที่คุณจาตุรนต์ อดีต รมต.กระทรวงศึกษาธิการบอกว่าจะยกเลิกใบประกอบวิชาชีพครู[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปัจจุบันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อย่างครั้งหนึ่งก็บอกว่าสาขาขาดแคลนไม่มีใบประกอบวิชาชีพก็สามารถสมัครสอบบรรจุได้[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ปัจจุบันการสอบที่ว่าก็ยังไม่เคยเกิดขึ้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว
ดังนั้นเราๆท่านๆอย่าไปจริงจังกับข่าวนี้มากนัก เอาร้อยเอาพันมาหารสักนิด ถ้ายังไม่พอเอาหมื่นมาหารก็ได้
ก่อนที่จะด่า ก่อนที่โวย ก่อนที่จะมโน เรามาวิเคราะห์เนื้อหาข่าวกันก่อนดีกว่าไหม
๑ ข่าวนี้พูดถึง 3 คณะ คือ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จะสามารถสอบบรรจุใน สพฐ ได้
ซึ่งจะเตรียมปรับเกณฑ์ให้สอบบรรจุให้ได้ใน ตค.
/// ในส่วนนี้ ผมคาดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ คือไม่ได้ว่าคุรุสภาช้านะ แต่ปัจจุบันแค่เรื่องต่ออายุใบประกอบวิชาชีพช้า
เขายังหาข้อสรุปไม่ได้เลยว่าจะเอายังไง การสอบบรรจุปี 58 ครั้งที่ 1 ที่อนุญาตให้ใช้หนังสืออนุญาตฯสอบบรรจุได้
จนตอนนี้คุรุสภายังโดนฟ้องอยู่เลย คงไม่หาเหาใส่หัวอีกหรอกเพราะเหาตัวแรกยังหยิบออกไม่หมด
๒ ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการ ก.ค.ศ.ไปปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกครู
ส่วนคุรุสภาก็ปรับปรุงการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
/// ข้อนี้เป็นไปได้ แต่คงไม่สามารถทำเสร็จทันใน ต.ค. นี้แน่ๆ แต่ความจริง ก.ค.ศ. กับคุรุสภาก็พึ่ง
จะปรับปรุงเรื่องพวกนี้ไปเมื่อปี 58 นี้เองนะ
๓ หากภายใน 2 ปี ครูสามารถผ่าน 9 มาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด คุรุสภาก็จะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้
แต่หากไม่ผ่านก็สามารถต่อใบอนุญาตปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้ง
/// อันนี้ปัญหาใหญ่เลย เพราะ 9 มาตรฐานถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อปี 56(แต่ผู้บริหารไม่รู้ซะงั้น งี่เง่าชะมัด) ปัจจุบันคือ 11 มาตรฐาน
ซึ่งไม่มีการสอบ เทียบโอน หรืออบรม ตรงนี้คุรุสภาคงไม่กลืนน้ำลายตัวเองหรอก คงแก้เกี้ยวเปิด ป.บัณฑิตให้มากกว่า
ทำตรงๆไม่ได้ แต่ทำอ้อมๆได้
ตรงที่บอกว่าสามารถต่อใบอนุญาตปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้ง อันนี้ก็งี่เง่าเกินบรรยาย ไม่น่าเชื่อว่าจะออกจากปากผู้บริหาร
ของกระทรวงศึกษา เพราะครูผู้ช่วยต้องประเมินทุก 3 เดือนใน 2 ปีจะประเมิน 8 ครั้ง พอครบ 2 ปีปุ๊บก็ต้องประเมินครูผู้ช่วย
ถ้าประเมินไม่ผ่านก็ต้องออกอยู่ต่อไม่ได้ แต่ถ้าผ่านก็ต้องหาใบประกอบวิชาชีพมาแสดง ถ้าหามาไม่ได้ก็ต้องออกเช่นกัน
หรือไม่ก็ต้องไปหาตำแหน่งที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบวิชาชีพเช่นใน สพม. สพป. หรือธุรการแทน และต้องหาตำแหน่งให้ได้
ในสามเดือน ถ้าหาไม่ได้ก็ต้องออก ยื้อไม่ได้ ก็ไม่เข้าใจว่าจะไปต่อปฎิบัติการสอนชั่วคราวได้ 3 ครั้งเพื่ออะไร ในเมื่อคุณต้องออก
ก่อนการต่อครั้งแรกอยู่แล้วถ้าหาใบประกอบวิชาชีพไม่ได้
หากวิเคราะห์ตัวเนื้อข่าวแล้วจะพบว่า เนื้อหาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
มันยากมากๆที่จะทำได้ เพราะมันต้องไล่แก้ พรบ. หลาย พรบ. ไม่ใช่แค่ประชุมๆแล้วลงมติก็จะทำได้
โอกาสจะเป็นจริงมันก็มีล่ะนะ เพราะตอนนี้มันยุคตะหาน เขาสามารถทำได้ถ้าจะทำ
แต่โอกาศมันน้อยมากๆ
เป็นไปได้สูงที่จะเหมือนกับสาขาขาดแคลน คือ มีอยู่จริง แต่ไม่เคยปฏิบัติได้จริง