(ถามแฟนๆ กันดั้ม) ทำไมซีรี่ย์กันดั้มส่วนใหญ่เน้นหนักไปที่ฝ่าย Zeon มากกว่าฝ่ายพันธมิตร

เคยสังเกตุไหมว่าเวลาดูกันดั้ม (เน้นยุค U.C. ต้นๆ) ว่าเนื้อหานั้นจะเน้นไปที่ฝ่ายซีอ้อนมากกว่าฝ่ายสหพันธ์โลก ราวกับมองว่ากันดั้มที่แท้จริงซีอ้อนเป็นฝ่ายหลักส่วนสหพันธ์เป็นฝ่ายรอง (ถ้าไม่นับเรื่องหุ่น) ไม่ว่าจะเป็นภาค 0080 อันนี้เน้นเรื่องราวของตัวเอก, 0083 ซีอ้อนแก้แค้น แถมสถานการณ์ยังเอื้ออำนวยอีก ไปจนถึง igloo ที่ฝ่ายซีอ้อนเหมือนจะตายดี แต่ฝ่ายพันธมิตรโดนผีหลอกและดูสิ้นหวังหนักกว่า เผลอๆ Thunderbolt อาจเน้นดำเนินเรื่องฝ่ายซีอ้อนมากกว่า

แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือแฟนๆ ส่วนใหญ่น้ำหนักการเลือกข้างจะเทไปที่ซ๊อ้อนมากกว่าเพราะผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะเน้นฝ่ายซีอ้อนซะเยอะ ทั้งของกิน ของใช้ ไปจนถึงรถยนต์

แสดงว่า ซีอ้อนมีอะไรบางอย่าง มันมีพลังอะไรบางอย่างที่ทำให้คนมองว่าฝ่ายซีอ้อนมีความศัทามากกว่าฝ่ายพันธมิตร เพียงแต่เรายังไม่รู้ ก็เลยอยากสอบถามแฟนๆ กันดั้มในจุดนี้ครับ

ป.ล. 0079, 08 MSteam, ZZ Gundam นี้จะเน้นฝ่ายพันธมิตรเป็นหลัก ซึ่งเข้าใจตรงนี้ดีครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เพราะมุมมองของซีออนทำให้เนื้อหาของกันดั้ม มีมิติมากกว่าการ์ตูนหุ่นยนต์เรื่องอื่นๆในสมัยนั้นครับ

คือในยุคนั้น การ์ตูนหุ่นยนต์มักจะออกแนวหุ่นกายสิทธิ์ พระเอกขับหุ่นเด่นคนเดียว ฝั่งพระเอกเป็นฝ่ายถูกต้อง ปกป้องโลกอยู่ฝ่ายเดียว โดยฝ่ายศัตรูมักเป็นพวกต่างดาวไม่ก็นักวิทยาศาสตร์วายร้ายที่คิดจะครองโลกแบบสูตรสำเร็จ
(จนกระทั่งโทมิโน่แอบลองของกับตอนท้ายของซัมบอท3)

แต่สำหรับกันดั้มนั้น ความถูกผิดของสองฝ่ายเป็นสีเทา แม้ศูนย์กลางของเรื่องจะอยู่ที่อามุโร่ซึ่งอยู่ฝ่ายสหพันธ์ แต่อามุโร่ก็ได้พบกับคนของซีออนหลายครั้ง และได้เรียนรู้มุมมองที่ต่างออกไปว่า แม้แต่ซีออนเอง ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนที่ชั่วร้าย พวกเขาแค่ต่อสู้ด้วยวิธีของตัวเองเพื่อเป้าหมายของตนเอง ซึ่งในบางมุมมองอาจดูชั่วร้าย แต่ในอีกมุมมองนึง ก็มีส่วนที่น่าเห็นใจเช่นกัน

เช่นตอนที่อามุโร่ไปติดเกาะกับทหารหนีทัพซีออน เขาได้รู้จักกับทหารซีออนที่ทนหันปืนใส่เด็กๆกับผู้บริสุทธิ์ต่อไปไม่ได้ จึงหนีออกมาพร้อมกับเลี้ยงดูเด็กๆที่เขาพรากชีวิตพ่อแม่ไปเพื่อชดใช้ความผิด

อีกประเด็นคือ การมีบทบาทของชาร์ ซึ่งหลายครั้งเลยที่ขโมยซีนจนแทบจะกลายเป็นตัวเอกอีกคนของเรื่อง ทำให้เราได้เห็นมุมมองของสงครามจากฝั่งของซีออนที่มีทั้งอุดมการณ์(แม้จะถูกหลอกใช้)และการฉ้อฉลแย่งชิงอำนาจหักหลังกันภายในของผู้มีอำนาจด้วยกันเอง

ความแปลกใหม่ตรงส่วนนี้แหละที่ทำให้การแต่งเรื่องเสริม สามารถนำเสนอในมุมมองจากทั้งฝั่งสหพันธ์ก็ได้ ฝั่งซีออนก็ได้เช่นกัน

จนมาถึงยุคที่การแต่งเรื่องแบบไซด์สตอรี่ของกันดั้มเริ่มแพร่หลาย(ส่วนหนึ่งจากการวางขายกันพลาในซีรีย์โมบิลซุท แวริเอชั่น) ที่ดังๆก็มักจะมีการแต่งเรื่องโดยใช้มุมมองหรือเรื่องราวของตัวละครฝั่งซีออนค่อนข้างมาก เช่น เฟรเดริค บราวน์, จอห์นนี่ ไรเด็น , ชิน มัทสึนางะ เป็นต้น

พอมาถึงช่วงZeta การแบ่งฝั่งของเรื่องก็พลิกไปโดยตัวเอกเป็นคนที่ไม่เห็นด้วยกับการปกครองของสหพันธ์และหันไปเข้ากับกองกำลังเอวโก้(ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอดีตซีออนเก่า) และในช่วงท้ายก็ต้องรับมือกับอีกขั้วอำนาจของซีออนกันเองอย่างฮามาน
เรียกว่าเป็นการตอกย้ำคอนเซปท์ของกันดั้มที่ว่า ไม่มีฝั่งไหนที่ดีหรือถูกต้องโดยสมบูรณ์กันเลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่