ภาค 3 มีหรือไม่? คลุกวงในเพชรพระอุมา เรื่องจริงอาถรรพณ์ป่า ปักหมุดรอลงจอแก้ว
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 9 มี.ค. 2559 05:30
เพชรพระอุมา...ตำนานนวนิยายผจญไพรที่สร้างความสำราญให้แก่ผู้อ่านมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ เพราะด้วยความสนุกสนานชวนติดตาม สาระความรู้น่าอ่าน สำนวนภาษาลื่นไหลไร้รอยต่อ จึงทำให้เพชรพระอุมาขึ้นแท่นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และมีผู้อ่านคลั่งไคล้จนวางไม่ลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
แม้เพชรพระอุมาจะถูกร้อยเรียงจนจบบริบูรณ์ไปแล้วก็ตาม แต่ความผูกพันระหว่างผู้อ่านและตัวละครในนวนิยาย ยังไม่เคยเหือดหายไปจากหัวใจเลยแม้แต่น้อย โอกาสนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงสนองความกระหายใคร่รู้ และช่วยคลายความคิดถึงของชาวหนองน้ำแห้งและชาวมรกตนคร ที่มีต่อรพินทร์-แงซาย เพราะเรื่องราวที่กำลังไล่เรียงนับจากนี้ คือ เบื้องลึก เบื้องหลังเพชรพระอุมาที่คุณยังไม่เคยรู้จากที่ไหนมาก่อน!
ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือที่แฟนนักอ่านรู้จักกันในนาม “พนมเทียน” เจ้าของนามปากกาชื่อก้องเปิดบ้านย่านพัฒนาการ ให้เราเข้าไปพูดคุยอย่างเป็นกันเอง พร้อมเล่าถึงเบื้องลึกเบื้องหลังภายใต้ปกนวนิยายชื่อดังอย่างเพชรพระอุมา ชนิดที่ฟังได้ทั้งวันอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย
ทว่า ก่อนการเดินทางจากบริษัทไปยังบ้านพักของนักเขียนชั้นครู ผู้สื่อข่าวแอบจินตนาการในห้วงความคิดของตัวเองไว้ว่า บ้านหลังนี้จะต้องหรูหรา พร้อมพรั่งไปด้วยเครื่องเรือนราคาแพงให้สมเกียรติกับยอดนักประพันธ์มือทองของเมืองไทย แต่เมื่อผู้สื่อข่าวย่างเท้าเข้าไปถึง ความรู้สึกประหลาดใจก็เข้ามาแทนที่ความคิดก่อนหน้า เพราะภาพที่ปรากฏอยู่ในสายตาของผู้สื่อข่าว ณ ขณะนี้คือ บ้านหลังน้อยที่ประดับประดาด้วยหนังสือหนังหาหลากหลายประเภท และไร้ซึ่งข้าวของเครื่องใช้หรูหราใดๆ
พนมเทียนแจงข้อข้องใจ! เพชรพระอุมา ภาค 3 มีหรือไม่?
แม้วันนี้ อายุอานามของพนมเทียนจะล่วงเลยมาจนถึงวัย 83 ปีแล้วก็ตาม แต่ความชราก็มิใช่อุปสรรคในการสัมภาษณ์ระหว่างบรมครูด้านวรรณกรรมกับผู้สื่อข่าวแต่อย่างใด โดยทีมข่าวยิงคำถามแรก ซึ่งเราเชื่ออย่างเต็มหัวใจ ว่าคำถามนี้ ชาวหนองน้ำแห้งทุกคนต้องอยากรู้คำตอบ “ในอนาคตข้างหน้า จะมีเพชรพระอุมา ภาค 3 หรือไม่?” ทีมข่าวถามตรงๆ กับเจ้าของบทประพันธ์ที่นั่งอยู่เบื้องหน้า ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า “ภาค 1 ของเพชรพระอุมา คือ การออกค้นหาพรานชดและหนานอิน แต่สุดท้ายพระนางก็ยังไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน ส่วนภาคที่ 2 ว่าด้วยการตามหาเครื่องบิน บี-52 จนในที่สุดรพินทร์กับดารินได้ครองรักกัน แม้ว่าพ่อจะเขียนเพชรพระอุมาจบไป 2 ภาคแล้วก็ตาม แต่ก็ได้รับคำวิจารณ์จากผู้อ่านว่า ภาค 2 ไม่สนุกเท่าใดนัก ฉะนั้น ภาคที่ 3 จึงไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะทุกอย่างได้จบสิ้นบริบูรณ์ไปแล้วตั้งแต่ภาคที่ 2”
เพชรพระอุมาถูกวิจารณ์ภาค 2 ไม่สนุก! แท้จริง คือ?
เราถามต่อถึงประเด็นที่ พนมเทียน ทิ้งไว้จากคำตอบข้างต้น “ผู้อ่านหลายท่านวิพากษ์วิจารณ์ว่า เรื่องราวในเพชรพระอุมาภาค 2 สนุกไม่เท่าภาค 1 ส่วนรพินทร์ก็อวดอภินิหารมากจนเกินไป คุณพ่อมองเรื่องนี้อย่างไร?” นักเขียนรุ่นใหญ่ หยุดคิดเล็กน้อย ก่อนจะตอบกับผู้สื่อข่าวว่า แม้ตัวละครเอกอย่างรพินทร์จะใช้ชีวิตอยู่ในกลางป่าลึก แต่ประวัติการศึกษาของเขาก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนเมืองกรุง ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานความเชื่อความศรัทธาตามหลักวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น การเดินทางกับคณะเจ้านายในภาค 1 รพินทร์จึงปกปิดความสามารถในทางไสยศาสตร์ของตัวเอง แต่จะไปโดดเด่นมากในเรื่องของการยิงปืน ซึ่งรพินทร์สามารถแก้ปัญหาได้ทุกโจทย์ที่ต้องเผชิญ โดยอ้างกับคณะเจ้านายว่า ปัญหาทุกอย่างผ่านพ้นไปได้เพราะใช้หลักวิทยาศาสตร์
เจ้าของบทประพันธ์ อธิบายต่อว่า ถัดมาในภาคที่ 2 ของเพชรพระอุมา จึงเป็นการอธิบายถึงความสามารถในแง่วิชาอาคมของรพินทร์ที่ยังค้างคาอยู่ในภาคที่ 1 และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ทุกปัญหาที่สามารถผ่านพ้นไปได้ในภาคแรกนั้น มิใช่ผ่านพ้นไปได้เพราะความฟลุก แต่มาจากมันสมองและคาถาอาคมของพรานใหญ่รพินทร์
“แต่พ่อก็ยังภูมิใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ถึงแม้ผู้อ่านจะตำหนิติติงอย่างไร พ่อก็ไม่เห็นมีใครซื้อเฉพาะภาคแรก หากได้มีโอกาสหยิบขึ้นมาอ่านแล้ว ส่วนใหญ่จะซื้อและหาอ่านกันต่อทั้งสองภาค เพราะตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมา ยอดขายนวนิยายเรื่องนี้ไม่เคยตก มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน” เจ้าของนวนิยายอันเลื่องชื่อกล่าวด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ
อาถรรพณ์ของป่าดงพงไพร เรื่องจริงที่ถูกนำมาเขียนในเพชรพระอุมา
คนส่วนใหญ่มักรู้จัก “พนมเทียน” ในนามนักเขียนมือทองของเมืองไทย แต่น้อยคนนักที่จะล่วงรู้ว่า ชายผู้นี้ยังมีความสามารถอีกด้านหนึ่ง ซึ่งใครต่อใครพากันยกย่องว่าเก่งกาจชนิดหาตัวจับยาก และนั่นก็คือ การเป็นนักเดินป่าที่มีประสบการณ์ในการใช้อาวุธปืน และช่ำชองเรื่องเครื่องกระสุนเป็นอย่างดี
ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ แต่เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธปืน ถ่ายทอดเรื่องเล่าลี้ลับในป่าใหญ่ที่เจอมากับตัวให้ทีมข่าวได้ฟังว่า ในกลางดึกคืนหนึ่ง ซึ่งแสงจันทร์สุกสว่างราวกับจุดตะเกียง ตนกับพรานป่าได้นัดแนะกันไปดักยิงหมูป่าที่มักจะมาแอบกินดินโป่งใกล้ๆ กับหมู่บ้าน ซึ่งค่ำคืนนั้น ทั้งคู่ต่างพกพาอุปกรณ์ล่าสัตว์ไปพร้อมสรรพ หวังจัดการหมู่ป่าโชคร้าย เพื่อนำมาแปรรูปเป็นอาหารชั้นยอด
“เราซุ่มรอกันอยู่พักหนึ่ง หมูป่าเจ้ากรรมก็เดินมายังจุดที่เราต้องการ พ่อไม่รีรอลั่นไกไปที่สัตว์สี่ขาที่อยู่ลิบๆ ด้านหน้าทันที ปัง! โอ๊ย!! พ่อและพรานป่าตกใจสุดขีด หลังได้ยินเสียงผู้ชายร้องดังลั่น เราสองคนรีบวิ่งไปดูบริเวณที่หมูป่าโดนยิง พร้อมส่องไฟฉายไปทั่วบริเวณเพื่อค้นหาว่า หมูป่าที่เรายิงเข้าจังๆ เมื่อไม่กี่อึดใจที่ผ่านมา ทำไมถึงร้องออกมาเป็นเสียงมนุษย์เช่นนี้ และสิ่งที่ปรากฏตรงหน้าของเราทั้งคู่ ก็คือ ร่องรอยของกระสุนปืน แต่ไม่มีหมูป่า หรือมนุษย์ผู้ใดทั้งสิ้น” อดีตนักเดินป่าตัวยงเล่าถึงนาทีระทึกที่ตนเองยังจดจำได้ดี
อาถรรพณ์ของป่าดงพงไพรที่พนมเทียนมีความเชื่อมั่นว่าเป็นเรื่องจริง ยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ ศิลปินแห่งชาติด้านงานเขียน แต่จัดเจนด้านลั่นไก บอกเล่าอีกว่า ตนได้นำเหตุการณ์อาถรรพณ์ในป่าที่เกิดขึ้นจริง มาปรับประยุกต์ให้เข้ากับเนื้อเรื่องของเพชรพระอุมา โดยประพันธ์ไว้ตอนไพรมหากาฬ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ดารินเข้าไปลูบคลำลูกเสือตัวน้อยด้วยความเอ็นดู แต่รพินทร์กลับเกรงว่าจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา ดังนั้น รพินทร์จึงตัดไฟตั้งแต่ต้นลม โดยการฆ่าลูกเสือทิ้งทั้ง 3 ตัว เพราะถ้าเสือแม่ลูกอ่อนกลับมา และได้กลิ่นแปลกปลอมจากตัวลูก แม่เสือจะออกตามไล่ล่าผู้ที่มีกลิ่นเดียวกับลูกของมัน
“คุณทวดได้เล่าว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวคุณทวดเอง ภายหลังจากที่คุณทวดได้ฆ่าลูกเสือไปแล้ว คุณทวดจึงหนีขึ้นไปหลบแม่เสือบนต้นตะเคียน เพราะเชื่อว่าแม่เสือต้องกลับไปเจอลูกตัวเองเป็นศพ และต้องตามไล่ล่าผู้ที่ฆ่าลูกเสือแน่นอน แล้วก็จริงอย่างที่ว่า แม่เสือตามล่าด้วยความอาฆาต แต่หาคุณทวดไม่เจอ ด้วยความโกรธแม่เสือจึงไปฆ่ากะเหรี่ยงที่ตัดไม้ริมชายป่าเสียชีวิต 3 คน แต่ศพที่ 3 ประหลาดมาก กะเหรี่ยงคนนี้ขี่หลังเสือมาที่ใต้ต้นตะเคียน พร้อมชี้นิ้วบอกตำแหน่งของคุณทวด จากนั้นเสือแม่ลูกอ่อนก็กระโจนเข้าใส่คุณทวด วินาทีนั้น คุณทวดตัดสินใจใช้ปืนยิงแสกหน้าแม่เสือจนตายคาที่ จากนั้นร่างของกะเหรี่ยงผู้นี้ก็ล้มลง โดยคุณทวดเชื่อว่า กะเหรี่ยงที่ขี่หลังเสือมานั้น คือ ผีที่มาบอกว่าใครเป็นคนฆ่าลูกเสือ” พนมเทียน ถ่ายทอดเรื่องราวอันเหลือเชื่อด้วยน้ำเสียงหนักเบาชวนขนลุก
นักเขียนเดินดง วัย 83 ปี บอกเล่าอีกว่า ตำนานอาถรรพณ์พงไพรที่เล่ามาข้างต้นนั้น คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับตัวของคุณทวดในยุครัชกาลที่ 5 ตอนต้น และสถานที่เกิดเหตุก็คือ ดงพญาไฟในสมัยก่อน หรือถนนมิตรภาพในทุกวันนี้
ผู้สื่อข่าวฟังเรื่องราวลี้ลับในพงไพรจากนักเขียนรุ่นใหญ่อีกมากมายหลากหลายเรื่อง โดยแต่ละเรื่องล้วนน่าฟัง และมีที่มาที่ไปชวนขนลุกขนพองทั้งสิ้น แต่หากจะหยิบมาเขียนจนครบทุกเรื่อง คงกินความยาวอีกหลายหน้ากระดาษเป็นแน่..
จับนิยายดังสู่ละครจอแก้ว!
นอกเสียจากเรื่องราวลี้ลับในพงไพรที่หลายคนให้ความสนใจ ตำนานอมตะนวนิยายเพชรพระอุมายังมีอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่แฟนพนมเทียนทุกคนเฝ้าติดตามกันอยู่ทุกยุคทุกสมัย “ปัจจุบัน มีเอกชนขอซื้อลิขสิทธิ์เพชรพระอุมาไปทำละคร หรือภาพยนตร์บ้างหรือไม่? ประเด็นสำคัญที่เราไม่ลืมถามไถ่ให้ชาวหนองน้ำแห้ง ซึ่งได้รับคำตอบว่า “เพชรพระอุมาเคยถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์เมื่อปี พ.ศ.2514 โดยมีนักแสดงนำ คือ วิทยา เวสสวัฒน์ รับบท รพินทร์ ไพรวัลย์ และสุทิศา พัฒนุช รับบท ดาริน วราฤทธิ์ แต่ภาพยนตร์ระบบ 35 มม.ในครั้งนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ” เจ้าของบทประพันธ์อมตะนิรันดร์กาล เกริ่นก่อนเข้าเรื่อง
“40 ปีให้หลัง ท่านมุ้ย (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล) ได้ติดต่อขอนำนวนิยายเพชรพระอุมาไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งทางพ่อก็ตอบตกลงมอบลิขสิทธิ์ให้ พร้อมทำสัญญาร่วมกัน โดยกำหนดอายุสัญญาไว้ทั้งสิ้น 6 ปี แต่เวลาล่วงเลยมานานหลายปีจนสัญญาขาด ท่านมุ้ยก็ยังไม่ได้ทำภาพยนตร์เพชรพระอุมาเสียที เมื่อไม่นานมานี้ ท่านมุ้ยได้เข้ามาพูดคุยอีกครั้ง เพื่อขอทำสัญญาฉบับใหม่ แต่บังเอิญว่าอะไรต่ออะไรคงไม่พร้อม ก็เลยเงียบหายไป” ฉัตรชัย ผู้ครอบครองบทประพันธ์อันเลื่องชื่อบอกเล่าอย่างไม่ปกปิด
“ล่าสุด ทางบริษัท ดาราวิดีโอ ได้เข้ามาพูดคุย เพื่อขอทำละครยาวออกอากาศทางช่อง 7 โดยเหตุที่ต้องทำเป็นละครยาวนั้นก็เพราะนวนิยายเรื่องนี้ต้องนำไปสร้างมากถึงร้อยตอนถึงจะจบบริบูรณ์ โดยตอนนี้สัญญาผ่านไปแล้วปีครึ่ง ก็คิดว่าตอนนี้เขาคงจะกำลังเตรียมการกันอยู่” พนมเทียน บอกเล่าถึงอนาคตบทประพันธ์ด้วยแววตาฉายแววแห่งความคาดหวัง
แม้เพชรพระอุมา จะเป็นนวนิยายที่ถูกประพันธ์ขึ้นจากจินตนาการของผู้เขียน
แต่คุณค่าที่ซ่อนเร้นในวรรณกรรมชิ้นนี้ ในแง่ของความรู้ ความซื่อสัตย์ มนุษยธรรม หรือจริยธรรม
ยากที่จะหาบทประพันธ์ใดเสมอเหมือน...
พนมเทียนเผย "ดาราวิดีโอ" ซื้อ "เพชรพระอุมา" สร้างละครลงจอแก้ว
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 9 มี.ค. 2559 05:30
เพชรพระอุมา...ตำนานนวนิยายผจญไพรที่สร้างความสำราญให้แก่ผู้อ่านมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ เพราะด้วยความสนุกสนานชวนติดตาม สาระความรู้น่าอ่าน สำนวนภาษาลื่นไหลไร้รอยต่อ จึงทำให้เพชรพระอุมาขึ้นแท่นนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และมีผู้อ่านคลั่งไคล้จนวางไม่ลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์
แม้เพชรพระอุมาจะถูกร้อยเรียงจนจบบริบูรณ์ไปแล้วก็ตาม แต่ความผูกพันระหว่างผู้อ่านและตัวละครในนวนิยาย ยังไม่เคยเหือดหายไปจากหัวใจเลยแม้แต่น้อย โอกาสนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงสนองความกระหายใคร่รู้ และช่วยคลายความคิดถึงของชาวหนองน้ำแห้งและชาวมรกตนคร ที่มีต่อรพินทร์-แงซาย เพราะเรื่องราวที่กำลังไล่เรียงนับจากนี้ คือ เบื้องลึก เบื้องหลังเพชรพระอุมาที่คุณยังไม่เคยรู้จากที่ไหนมาก่อน!
ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือที่แฟนนักอ่านรู้จักกันในนาม “พนมเทียน” เจ้าของนามปากกาชื่อก้องเปิดบ้านย่านพัฒนาการ ให้เราเข้าไปพูดคุยอย่างเป็นกันเอง พร้อมเล่าถึงเบื้องลึกเบื้องหลังภายใต้ปกนวนิยายชื่อดังอย่างเพชรพระอุมา ชนิดที่ฟังได้ทั้งวันอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย
ทว่า ก่อนการเดินทางจากบริษัทไปยังบ้านพักของนักเขียนชั้นครู ผู้สื่อข่าวแอบจินตนาการในห้วงความคิดของตัวเองไว้ว่า บ้านหลังนี้จะต้องหรูหรา พร้อมพรั่งไปด้วยเครื่องเรือนราคาแพงให้สมเกียรติกับยอดนักประพันธ์มือทองของเมืองไทย แต่เมื่อผู้สื่อข่าวย่างเท้าเข้าไปถึง ความรู้สึกประหลาดใจก็เข้ามาแทนที่ความคิดก่อนหน้า เพราะภาพที่ปรากฏอยู่ในสายตาของผู้สื่อข่าว ณ ขณะนี้คือ บ้านหลังน้อยที่ประดับประดาด้วยหนังสือหนังหาหลากหลายประเภท และไร้ซึ่งข้าวของเครื่องใช้หรูหราใดๆ
พนมเทียนแจงข้อข้องใจ! เพชรพระอุมา ภาค 3 มีหรือไม่?
แม้วันนี้ อายุอานามของพนมเทียนจะล่วงเลยมาจนถึงวัย 83 ปีแล้วก็ตาม แต่ความชราก็มิใช่อุปสรรคในการสัมภาษณ์ระหว่างบรมครูด้านวรรณกรรมกับผู้สื่อข่าวแต่อย่างใด โดยทีมข่าวยิงคำถามแรก ซึ่งเราเชื่ออย่างเต็มหัวใจ ว่าคำถามนี้ ชาวหนองน้ำแห้งทุกคนต้องอยากรู้คำตอบ “ในอนาคตข้างหน้า จะมีเพชรพระอุมา ภาค 3 หรือไม่?” ทีมข่าวถามตรงๆ กับเจ้าของบทประพันธ์ที่นั่งอยู่เบื้องหน้า ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า “ภาค 1 ของเพชรพระอุมา คือ การออกค้นหาพรานชดและหนานอิน แต่สุดท้ายพระนางก็ยังไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน ส่วนภาคที่ 2 ว่าด้วยการตามหาเครื่องบิน บี-52 จนในที่สุดรพินทร์กับดารินได้ครองรักกัน แม้ว่าพ่อจะเขียนเพชรพระอุมาจบไป 2 ภาคแล้วก็ตาม แต่ก็ได้รับคำวิจารณ์จากผู้อ่านว่า ภาค 2 ไม่สนุกเท่าใดนัก ฉะนั้น ภาคที่ 3 จึงไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะทุกอย่างได้จบสิ้นบริบูรณ์ไปแล้วตั้งแต่ภาคที่ 2”
เพชรพระอุมาถูกวิจารณ์ภาค 2 ไม่สนุก! แท้จริง คือ?
เราถามต่อถึงประเด็นที่ พนมเทียน ทิ้งไว้จากคำตอบข้างต้น “ผู้อ่านหลายท่านวิพากษ์วิจารณ์ว่า เรื่องราวในเพชรพระอุมาภาค 2 สนุกไม่เท่าภาค 1 ส่วนรพินทร์ก็อวดอภินิหารมากจนเกินไป คุณพ่อมองเรื่องนี้อย่างไร?” นักเขียนรุ่นใหญ่ หยุดคิดเล็กน้อย ก่อนจะตอบกับผู้สื่อข่าวว่า แม้ตัวละครเอกอย่างรพินทร์จะใช้ชีวิตอยู่ในกลางป่าลึก แต่ประวัติการศึกษาของเขาก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าคนเมืองกรุง ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานความเชื่อความศรัทธาตามหลักวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้น การเดินทางกับคณะเจ้านายในภาค 1 รพินทร์จึงปกปิดความสามารถในทางไสยศาสตร์ของตัวเอง แต่จะไปโดดเด่นมากในเรื่องของการยิงปืน ซึ่งรพินทร์สามารถแก้ปัญหาได้ทุกโจทย์ที่ต้องเผชิญ โดยอ้างกับคณะเจ้านายว่า ปัญหาทุกอย่างผ่านพ้นไปได้เพราะใช้หลักวิทยาศาสตร์
เจ้าของบทประพันธ์ อธิบายต่อว่า ถัดมาในภาคที่ 2 ของเพชรพระอุมา จึงเป็นการอธิบายถึงความสามารถในแง่วิชาอาคมของรพินทร์ที่ยังค้างคาอยู่ในภาคที่ 1 และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า ทุกปัญหาที่สามารถผ่านพ้นไปได้ในภาคแรกนั้น มิใช่ผ่านพ้นไปได้เพราะความฟลุก แต่มาจากมันสมองและคาถาอาคมของพรานใหญ่รพินทร์
“แต่พ่อก็ยังภูมิใจอยู่อย่างหนึ่งว่า ถึงแม้ผู้อ่านจะตำหนิติติงอย่างไร พ่อก็ไม่เห็นมีใครซื้อเฉพาะภาคแรก หากได้มีโอกาสหยิบขึ้นมาอ่านแล้ว ส่วนใหญ่จะซื้อและหาอ่านกันต่อทั้งสองภาค เพราะตลอดระยะเวลา 50 ปี ที่ผ่านมา ยอดขายนวนิยายเรื่องนี้ไม่เคยตก มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน” เจ้าของนวนิยายอันเลื่องชื่อกล่าวด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ
อาถรรพณ์ของป่าดงพงไพร เรื่องจริงที่ถูกนำมาเขียนในเพชรพระอุมา
คนส่วนใหญ่มักรู้จัก “พนมเทียน” ในนามนักเขียนมือทองของเมืองไทย แต่น้อยคนนักที่จะล่วงรู้ว่า ชายผู้นี้ยังมีความสามารถอีกด้านหนึ่ง ซึ่งใครต่อใครพากันยกย่องว่าเก่งกาจชนิดหาตัวจับยาก และนั่นก็คือ การเป็นนักเดินป่าที่มีประสบการณ์ในการใช้อาวุธปืน และช่ำชองเรื่องเครื่องกระสุนเป็นอย่างดี
ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ แต่เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธปืน ถ่ายทอดเรื่องเล่าลี้ลับในป่าใหญ่ที่เจอมากับตัวให้ทีมข่าวได้ฟังว่า ในกลางดึกคืนหนึ่ง ซึ่งแสงจันทร์สุกสว่างราวกับจุดตะเกียง ตนกับพรานป่าได้นัดแนะกันไปดักยิงหมูป่าที่มักจะมาแอบกินดินโป่งใกล้ๆ กับหมู่บ้าน ซึ่งค่ำคืนนั้น ทั้งคู่ต่างพกพาอุปกรณ์ล่าสัตว์ไปพร้อมสรรพ หวังจัดการหมู่ป่าโชคร้าย เพื่อนำมาแปรรูปเป็นอาหารชั้นยอด
“เราซุ่มรอกันอยู่พักหนึ่ง หมูป่าเจ้ากรรมก็เดินมายังจุดที่เราต้องการ พ่อไม่รีรอลั่นไกไปที่สัตว์สี่ขาที่อยู่ลิบๆ ด้านหน้าทันที ปัง! โอ๊ย!! พ่อและพรานป่าตกใจสุดขีด หลังได้ยินเสียงผู้ชายร้องดังลั่น เราสองคนรีบวิ่งไปดูบริเวณที่หมูป่าโดนยิง พร้อมส่องไฟฉายไปทั่วบริเวณเพื่อค้นหาว่า หมูป่าที่เรายิงเข้าจังๆ เมื่อไม่กี่อึดใจที่ผ่านมา ทำไมถึงร้องออกมาเป็นเสียงมนุษย์เช่นนี้ และสิ่งที่ปรากฏตรงหน้าของเราทั้งคู่ ก็คือ ร่องรอยของกระสุนปืน แต่ไม่มีหมูป่า หรือมนุษย์ผู้ใดทั้งสิ้น” อดีตนักเดินป่าตัวยงเล่าถึงนาทีระทึกที่ตนเองยังจดจำได้ดี
อาถรรพณ์ของป่าดงพงไพรที่พนมเทียนมีความเชื่อมั่นว่าเป็นเรื่องจริง ยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ ศิลปินแห่งชาติด้านงานเขียน แต่จัดเจนด้านลั่นไก บอกเล่าอีกว่า ตนได้นำเหตุการณ์อาถรรพณ์ในป่าที่เกิดขึ้นจริง มาปรับประยุกต์ให้เข้ากับเนื้อเรื่องของเพชรพระอุมา โดยประพันธ์ไว้ตอนไพรมหากาฬ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ดารินเข้าไปลูบคลำลูกเสือตัวน้อยด้วยความเอ็นดู แต่รพินทร์กลับเกรงว่าจะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา ดังนั้น รพินทร์จึงตัดไฟตั้งแต่ต้นลม โดยการฆ่าลูกเสือทิ้งทั้ง 3 ตัว เพราะถ้าเสือแม่ลูกอ่อนกลับมา และได้กลิ่นแปลกปลอมจากตัวลูก แม่เสือจะออกตามไล่ล่าผู้ที่มีกลิ่นเดียวกับลูกของมัน
“คุณทวดได้เล่าว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวคุณทวดเอง ภายหลังจากที่คุณทวดได้ฆ่าลูกเสือไปแล้ว คุณทวดจึงหนีขึ้นไปหลบแม่เสือบนต้นตะเคียน เพราะเชื่อว่าแม่เสือต้องกลับไปเจอลูกตัวเองเป็นศพ และต้องตามไล่ล่าผู้ที่ฆ่าลูกเสือแน่นอน แล้วก็จริงอย่างที่ว่า แม่เสือตามล่าด้วยความอาฆาต แต่หาคุณทวดไม่เจอ ด้วยความโกรธแม่เสือจึงไปฆ่ากะเหรี่ยงที่ตัดไม้ริมชายป่าเสียชีวิต 3 คน แต่ศพที่ 3 ประหลาดมาก กะเหรี่ยงคนนี้ขี่หลังเสือมาที่ใต้ต้นตะเคียน พร้อมชี้นิ้วบอกตำแหน่งของคุณทวด จากนั้นเสือแม่ลูกอ่อนก็กระโจนเข้าใส่คุณทวด วินาทีนั้น คุณทวดตัดสินใจใช้ปืนยิงแสกหน้าแม่เสือจนตายคาที่ จากนั้นร่างของกะเหรี่ยงผู้นี้ก็ล้มลง โดยคุณทวดเชื่อว่า กะเหรี่ยงที่ขี่หลังเสือมานั้น คือ ผีที่มาบอกว่าใครเป็นคนฆ่าลูกเสือ” พนมเทียน ถ่ายทอดเรื่องราวอันเหลือเชื่อด้วยน้ำเสียงหนักเบาชวนขนลุก
นักเขียนเดินดง วัย 83 ปี บอกเล่าอีกว่า ตำนานอาถรรพณ์พงไพรที่เล่ามาข้างต้นนั้น คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับตัวของคุณทวดในยุครัชกาลที่ 5 ตอนต้น และสถานที่เกิดเหตุก็คือ ดงพญาไฟในสมัยก่อน หรือถนนมิตรภาพในทุกวันนี้
ผู้สื่อข่าวฟังเรื่องราวลี้ลับในพงไพรจากนักเขียนรุ่นใหญ่อีกมากมายหลากหลายเรื่อง โดยแต่ละเรื่องล้วนน่าฟัง และมีที่มาที่ไปชวนขนลุกขนพองทั้งสิ้น แต่หากจะหยิบมาเขียนจนครบทุกเรื่อง คงกินความยาวอีกหลายหน้ากระดาษเป็นแน่..
จับนิยายดังสู่ละครจอแก้ว!
นอกเสียจากเรื่องราวลี้ลับในพงไพรที่หลายคนให้ความสนใจ ตำนานอมตะนวนิยายเพชรพระอุมายังมีอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่แฟนพนมเทียนทุกคนเฝ้าติดตามกันอยู่ทุกยุคทุกสมัย “ปัจจุบัน มีเอกชนขอซื้อลิขสิทธิ์เพชรพระอุมาไปทำละคร หรือภาพยนตร์บ้างหรือไม่? ประเด็นสำคัญที่เราไม่ลืมถามไถ่ให้ชาวหนองน้ำแห้ง ซึ่งได้รับคำตอบว่า “เพชรพระอุมาเคยถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์เมื่อปี พ.ศ.2514 โดยมีนักแสดงนำ คือ วิทยา เวสสวัฒน์ รับบท รพินทร์ ไพรวัลย์ และสุทิศา พัฒนุช รับบท ดาริน วราฤทธิ์ แต่ภาพยนตร์ระบบ 35 มม.ในครั้งนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ” เจ้าของบทประพันธ์อมตะนิรันดร์กาล เกริ่นก่อนเข้าเรื่อง
“40 ปีให้หลัง ท่านมุ้ย (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล) ได้ติดต่อขอนำนวนิยายเพชรพระอุมาไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งทางพ่อก็ตอบตกลงมอบลิขสิทธิ์ให้ พร้อมทำสัญญาร่วมกัน โดยกำหนดอายุสัญญาไว้ทั้งสิ้น 6 ปี แต่เวลาล่วงเลยมานานหลายปีจนสัญญาขาด ท่านมุ้ยก็ยังไม่ได้ทำภาพยนตร์เพชรพระอุมาเสียที เมื่อไม่นานมานี้ ท่านมุ้ยได้เข้ามาพูดคุยอีกครั้ง เพื่อขอทำสัญญาฉบับใหม่ แต่บังเอิญว่าอะไรต่ออะไรคงไม่พร้อม ก็เลยเงียบหายไป” ฉัตรชัย ผู้ครอบครองบทประพันธ์อันเลื่องชื่อบอกเล่าอย่างไม่ปกปิด
“ล่าสุด ทางบริษัท ดาราวิดีโอ ได้เข้ามาพูดคุย เพื่อขอทำละครยาวออกอากาศทางช่อง 7 โดยเหตุที่ต้องทำเป็นละครยาวนั้นก็เพราะนวนิยายเรื่องนี้ต้องนำไปสร้างมากถึงร้อยตอนถึงจะจบบริบูรณ์ โดยตอนนี้สัญญาผ่านไปแล้วปีครึ่ง ก็คิดว่าตอนนี้เขาคงจะกำลังเตรียมการกันอยู่” พนมเทียน บอกเล่าถึงอนาคตบทประพันธ์ด้วยแววตาฉายแววแห่งความคาดหวัง
แม้เพชรพระอุมา จะเป็นนวนิยายที่ถูกประพันธ์ขึ้นจากจินตนาการของผู้เขียน
แต่คุณค่าที่ซ่อนเร้นในวรรณกรรมชิ้นนี้ ในแง่ของความรู้ ความซื่อสัตย์ มนุษยธรรม หรือจริยธรรม
ยากที่จะหาบทประพันธ์ใดเสมอเหมือน...