สุริยุปราคา ครั้งต่อไป.....

เนื่องด้วยวันที่ 9 มีนาคม 2559 จะเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยสามารถเห็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วนได้ทั้งประเทศไทย

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เจ้าของกระทู้สนใจว่าจะได้มีโอกาสเห็นปรากฎการณ์ดังกล่าวแบบเต็มดวงอีกหรือไม่
จึงได้เริ่มค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เมื่อได้ข้อมูลมาก็เลยอยากจะนำมาแบ่งปันกันต่อ

จากการรวบรวม สามารถสรุปได้ดังนี้
1) สุริยุปราคาแบบเต็มดวงครั้งต่อไปในประเทศไทย คือวันที่ 11 เมษายน 2613 (ค.ศ. 2070)
พื้นที่ที่มองเห็น: ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี ตราด
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 4 นาที 4 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_April_11,_2070

2) สุริยุปราคาแบบวงแหวนครั้งต่อไปในประเทศไทย คือวันที่ 21 พฤษภาคม 2574 (ค.ศ. 2031)
พื้นที่ที่มองเห็น: ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 5 นาที 26 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_May_21,_2031

จากการที่การเกิดสุริยุปราคาครั้งต่อไปในประเทศไทยจะทิ้งช่วงระยะเวลานานมาก
ทำให้เจ้าของกระทู้สนใจว่า แล้วบริเวณอื่นๆที่เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว จะเกิดขึ้นที่ไหน? แล้วมีโอกาสจะไปดูได้หรือไม่?
ซึ่งเจ้าของกระทู้ขอเลือกการเกิดปรากฎการณ์ในบริเวณ เอเซีย ยุโรป และออสเตรเลียเป็นหลัก
เนื่องจากเป็นบริเวณที่คนไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และเดินทางไปรับชมปรากฎการณ์ดังกล่าว

อนึ่ง กระทู้นี้ขอคัดมาเพียงปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นในประมาณ 20 ปีข้างหน้าเท่านั้น

สุริยุปราคาแบบเต็มดวง
3) วันที่ 20 เมษายน 2566 (ค.ศ. 2023)
พื้นที่ที่มองเห็น: ออสเตรเลีย ติมอร์ อินโดนีเซีย
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 1 นาที 16 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_April_20,_2023

4) วันที่ 12 สิงหาคม 2569 (ค.ศ. 2026)
พื้นที่ที่มองเห็น: กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ สเปน
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 2 นาที 18 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_August_12,_2026

5) วันที่ 22 กรกฎาคม 2571 (ค.ศ. 2028)
พื้นที่ที่มองเห็น: ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 5 นาที 10 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_July_22,_2028

6) วันที่ 25 พฤศจิกายน 2573 (ค.ศ. 2030)
พื้นที่ที่มองเห็น: แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 3 นาที 44 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_November_25,_2030

7) วันที่ 2 กันยายน 2578 (ค.ศ. 2035)
พื้นที่ที่มองเห็น: จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 2 นาที 54 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_September_2,_2035

8) วันที่ 13 กรกฎาคม 2580 (ค.ศ. 2037)
พื้นที่ที่มองเห็น: ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 3 นาที 58 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_July_13,_2037

สุริยุปราคาแบบวงแหวน
9) วันที่ 26 ธันวาคม 2562 (ค.ศ. 2019)
พื้นที่ที่มองเห็น: ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 3 นาที 40 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_December_26,_2019

10) วันที่ 21 มิถุนายน 2563 (ค.ศ. 2020)
พื้นที่ที่มองเห็น: ปากีสถาน อินเดีย จีน ไต้หวัน
ระยะเวลาการบังดวงอาทิตย์ที่นานที่สุด: 38 วินาที
อ้างอิง: https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse_of_June_21,_2020

หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆสมาชิกที่สนใจเรื่องดังกล่าว
ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่