เอพี/เอเจนซีส์ - มาเลเซียแอร์ไลน์ส (MAS) สายการบินแห่งชาติของแดนเสือเหลือง สามารถออกมาจาก “ห้องไอซียู” ได้แล้ว และเวลานี้กำลังดำเนินการฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรงขึ้นใหม่ในระยะยาว ถึงแม้ยังมีคำถามข้องใจกันอยู่ว่า สายการบินแห่งนี้จะสามารถอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้หรือไม่ ในสภาพการแข่งขันอันดุเดือดรุนแรง โดยเฉพาะกับพวก “โลว์คอสต์” ทั้งหลาย
วันนี้ (8 มี.ค.) ของเมื่อ 2 ปีก่อน ความวิบัติจู่โจมเข้าใส่ MAS เมื่อเที่ยวบิน MH370 หายสาบสูญโดยที่ยังติดตามหากันไม่เจอจนกระทั่งปัจจุบัน ปล่อยให้บริษัทสายการบินแห่งนี้โซซัดโซมาอยู่ท่ามกลางวิกฤตการณ์ แล้วขณะที่สถานการณ์ยังไม่ทันคลี่คลายดี มาเลเซียแอร์ไลน์ก็เผชิญกับความหายนะอีกคำรบหนึ่ง เมื่อเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777 ลำที่ 2 ถูกยิงตกในยูเครน
ในสภาพที่ถูกผู้โดยสารพากันเมินหน้าหนี และอาการของบริษัทก็ย่ำแย่อยู่แล้วจากการบริหารจัดการอันผิดพลาดมาเป็นแรมปีซึ่งทำให้ MAS ตกอยู่ในภาวะขาดทุนอย่างน้อยที่สุด 1,700 ล้านดอลลาร์นับแต่ปี 2011 เป็นต้นมา สายการบินแห่งชาติของมาเลเซียรายนี้จึงเสมือนกับยืนโงนเงนอยู่ตรงปากขอบเหวแห่งการล้มละลาย บีบบังคับให้ภาครัฐแดนเสือเหลืองผู้เป็นเจ้าของ ต้องยอมตัดสินใจดำเนินการปรับโครงสร้างอย่างรุนแรงขนานใหญ่
คริสตอฟ มืลเลอร์ ซีอีโอคนใหม่ ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์สูงเรื่องปรับปรุงฟื้นฟูกิจการสายการบิน กำลังใช้วิธีลดหรือกระทั่งเลิกพวกเส้นทางบินที่ไม่ทำกำไร, หยุดใช้เครื่องบินจำนวนมาก และปลดลูกจ้างพนักงานซึ่งมีจำนวนล้นงานออกไปถึง 6,000 คน ทั้งหมดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องบริษัทที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้สายการบินแห่งนี้กลับมาทำกำไรได้ โดยอย่างเร็วที่สุดอาจจะเป็นปีหน้า
อย่างไรก็ตาม พวกนักวิเคราะห์มองว่ายุทธศาสตร์การลดขนาดตัวเองเพื่อความอยู่รอดเช่นนี้ก็กำลังทำให้มาเลเซียแอร์ไลน์สอยู่ในฐานะที่เปราะบางอ่อนแอ ในการเผชิญการแข่งขันอย่างดุเดือดจากพวกสายการบินโลว์คอสต์ทั้งหลาย ซึ่งกำลังเติบใหญ่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้บริการพวกผู้บริโภคชนชั้นกลางที่กำลังเฟื่องฟูและกระหายที่จะเดินทาง การแข่งขันดังกล่าวนี้มีทั้งที่มาจากพวกกิจการซึ่งเติบโตในแดนเสือเหลืองเองอย่าง แอร์เอเชีย และพวกที่มีฐานอยู่ในประเทศใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นไลอ้อนแอร์ของอินโดนีเซีย, ไทเกอร์แอร์ และสกู๊ต ของสิงคโปร์, ตลอดจน เจ็ตสตาร์ ที่แตกตัวมาจากแควนตัส
มืลเลอร์เดินหมากตาสำคัญที่สุดของเขาในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยการเปิดตัวข้อตกลงจับมือเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับสายการบินเอมิเรตส์ ซึ่งเปิดทางให้มาเลเซียแอร์ไลน์สได้อาศัยเกาะไปกับสายการบินยักษ์ใหญ่ของดูไบแห่งนี้ ในเส้นทางต่างๆ มากกว่า 90 เส้นทางทั่วโลก ขณะที่หั่นลดเครือข่ายของตัวเองให้มุ่งโฟกัสเฉพาะในเอเชีย
การทำความตกลงเช่นนี้กับเอมิเรตส์ หนึ่งในสายการบินใหญ่ที่สุดของโลกปัจจุบันเมื่อวัดจากศักยภาพด้านจำนวนที่นั่งโดยสาร คือ “การเดินหมากที่เหลือเชื่อเกินความคาดหมาย แต่ชาญฉลาดอย่างยิ่งจริงๆ” โมห์ชิน อาซิส นักวิเคราะห์หุ้นอุตสาหกรรมการบิน ของ เมย์แบงก์ กิม เอ็ง ซีเคียวริตีส์ ให้ความเห็น “แต่พวกเขาก็ทำให้เกิดขึ้นมาได้ สำหรับผมแล้ว นี่คือรากฐานอันมั่นคงเพื่อการอยู่รอดในอนาคตของพวกเขาอย่างแท้จริง”
โมห์ชินให้เครดิตแก่ มืลเลอร์ ซึ่งเป็นคนเยอรมันและเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่เข้ามากุมบังเหียน MAS ว่ากำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงอันยากลำบากต่างๆ ที่พวกผู้บริหารที่ผ่านๆ มาพยายามหลบเลี่ยง
อย่างไรก็ดี ชูคอร์ ยูโซฟ ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยด้านการบินนามว่า “เอนดาว อะนาลิติกส์” ท้วงติงว่า ยุทธศาสตร์ของมืลเลอร์นั้นมุ่งโฟกัสไปที่ผลดีซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น
“พวกเขาใช้วิธีเอาง่ายเข้าว่า” ชูคอร์บอก ทั้งนี้เขาอยู่ในกลุ่มซึ่งได้ยื่นเสนอซื้อทรัพย์สินบางส่วนของมาเลเซียแอร์ไลน์ส เพื่อนำเอามาตั้งเป็นสายการบินโลว์คอสต์ ทว่าถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย ชูคอร์กล่าวว่า การตัดหั่นสิ่งต่างๆ อย่างขนานใหญ่นั้น เป็น “หนทางเร็วที่สุดในการกำจัดต้นทุน แต่ในระยะยาวแล้วผมไม่คิดว่าหนทางเช่นนี้จะสามารถเสนอโอกาสไปสู่ความเข้มแข็งอย่างแท้จริง หรือ … เป็นการยกเครื่องแก้ไขปัญหาระดับรากฐานต่างๆ ของบริษัท” ซึ่งก็รวมถึงเรื่องที่เจ้าของ MAS อันได้แก่ คาซานาห์ นาเซียนนัล เบอร์ฮัด กองทุนเพื่อการลงทุนของภาครัฐมาเลเซีย ได้เข้ามาแทรกแซงกิจการของสายการบินแห่งนี้อยู่เรื่อยๆ
มืลเลอร์นั้นประสบความสำเร็จในงานที่ลำบากยากเย็นอย่างการฟื้นฟูกิจการสายการบิน แอร์ ลิงกัส ของไอร์แลนด์ ซึ่งทำให้เขาได้รับฉายานามว่า “นักทำลายล้าง” (The Terminator) สืบเนื่องจากสำเนียงพูดของเขาทำให้ดูเหมาะเหม็งที่จะเปรียบเทียบกับการแสดงบทบาทเป็นหุ่นยนต์นักฆ่าของอาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์
ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้มาเลเซียแอร์ไลน์สกลับก้าวขึ้นเป็นสายการบินชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้งหนึ่ง นับแต่ที่เขาเข้ามารับผิดชอบในเดือนพฤษภาคม 2015 เขาก็เข้านำการเจรจาทำความตกลงกันใหม่กับซัปพลายเออร์เจ้าต่างๆ ตลอดจนในเรื่องดีลลีสซิ่งเครื่องบิน นอกจากนั้นก็นำเอาผู้บริหารอาวุโสที่มีประสบการณ์กับสายการบินโลว์โคสต์เข้ามาทำงานด้วยหลายราย รวมทั้งนำเอาซอฟต์แวร์สุดเนี๊ยบทางด้านการบริหารต้นทุนของเยอรมันเข้ามาใช้งาน เพื่อตัดต้นทุนการปฏิบัติงานในภาคพื้นดินลงมาให้ได้ 20%
เพื่อดึงดูดผู้โดยสารให้ได้มากขึ้น MAS ในยุคของเขากำลังอัปเดตเมนูอาหารบนเครื่องบิน และเสนอบริการใหม่ๆ อย่างเช่น สัญญาณไวไฟบนเครื่องบิน และที่นั่งแบบใหม่ที่นอนราบได้ ในชั้นธุรกิจของเครื่องบินบางลำ
เครือข่ายนอกเอเชียของมาเลเซียแอร์ไลน์สที่ได้ถูกตัดหั่นจนเหลือแต่โครงอยู่แล้ว ได้ถูกมืลเลอร์ตัดหั่นลงไปอีก เส้นทางปารีสและอัมสเตอร์ดัมถูกยกเลิกในเดือนมกราคม โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการใหญ่ในการถอยออกจากตลาดนานาชาติซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อนประสบวิกฤตแล้ว เวลานี้ ลอนดอน กับ เจดดาห์, ซาอุดีอาระเบีย คือจุดหมายปลายทางนอกเอเชีย-แปซิฟิกที่ยังเหลืออยู่ ถึงแม้ผู้โดยสารสามารถซื้อเที่ยวบินแบบแชร์โค้ด ไปต่อเครื่องบินของเอมิเรตส์ ผ่านศูนย์ที่ดูไบของสายการบินยักษ์ใหญ่แห่งนี้
มาเลเซียแอร์ไลน์สยังกำลังปรับฝูงเครื่องบินของตนเพื่อลดต้นทุนและทำให้สอดคล้องกับเส้นทางที่เปลี่ยนแปลงใหม่ โดยกำลังค่อยๆ ปลดระวางโบอิ้ง 777 ที่อายุเก่ากว่า รวมทั้ง แอร์บัส เอ380 ที่กินน้ำมันดุ ตลอดจนค่อยๆ เลิกใช้ โบอิ้ง 737 ที่ลำเล็ก ขณะเดียวกันก็สั่งซื้อ เอ 350 จำนวน 4 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสารแบบล่าสุดและทันสมัยก้าวหน้าที่สุดของค่ายแอร์บัส
การที่ราคาน้ำมันกำลังไหลรูด มีส่วนช่วยให้ MAS ประหยัดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงลงได้มาก ถึงแม้ดอกผลเหล่านี้ถูกบั่นทอนไปบางส่วนจากการที่เงินดอลลาร์เพิ่มค่าขึ้นในช่วงหลังๆ นี้เมื่อเทียบกับเงินริงกิตมาเลเซีย
กระนั้น ชูคอร์ แห่ง เอนดาว อะนาลิติกส์ ย้ำถึงคำถามที่ว่า สายการบินแห่งนี้มีความสามารถ หรือกระทั่งสมควร ที่จะรอดชีวิตต่อไปในระยะยาวหรือไม่
เวลานี้ผู้โดยสารจำนวนมากได้รับบริการที่ดีกว่าจากสายการบินโลว์คอสต์ชั้นนำอย่าง แอร์เอเชีย ซึ่งบินไปสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ มากแห่งกว่า และก็กำลังมีผลประกอบการที่ดีกว่า เสียงสงสัยข้องใจยังคงดังไม่ขาดระยะว่าสายการบินที่ต้องมีรัฐบาลคอยหนุนหลังเช่นนี้ จะให้ประโยชน์ในระยะยาวแก่มาเลเซียจริงหรือไม่
“คำถามที่จำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาตั้งปุจฉาก็คือ เวลานี้มาเลเซียจำเป็นที่จะต้องมีมาเลเซียแอร์ไลน์สหรือไม่?” ชูคอร์กล่าว “ถ้ามาเลเซียแอร์ไลน์สต้องปิดตัวลงในวันพรุ่งนี้ ก็คงจะไม่มีคนมากมายอะไรนักหรอกที่จะรู้สึกถึงการขาดหายไปของสายการบินแห่งนี้” แต่ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่าผู้พูดผู้นี้มีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับการแยกสลายมาเลเซียแอร์ไลน์ส
ที่มา
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000024312
ส่วนการบินไทย เราก็ยังแก้ปัญหาแบบเกรงใจกันไป เลยปรับได้ทีละน้อย ๆ เปลี่ยนแปลงอะไรมากไม่ได้
ได้แต่เอาใจช่วยนะครับ จากใจแฟนการบินไทยครับ
มาเลเซียแอร์ไลน์สออกจากห้องไอซียูแล้ว 2 ปีหลังประสบหายนะ MH370
วันนี้ (8 มี.ค.) ของเมื่อ 2 ปีก่อน ความวิบัติจู่โจมเข้าใส่ MAS เมื่อเที่ยวบิน MH370 หายสาบสูญโดยที่ยังติดตามหากันไม่เจอจนกระทั่งปัจจุบัน ปล่อยให้บริษัทสายการบินแห่งนี้โซซัดโซมาอยู่ท่ามกลางวิกฤตการณ์ แล้วขณะที่สถานการณ์ยังไม่ทันคลี่คลายดี มาเลเซียแอร์ไลน์ก็เผชิญกับความหายนะอีกคำรบหนึ่ง เมื่อเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777 ลำที่ 2 ถูกยิงตกในยูเครน
ในสภาพที่ถูกผู้โดยสารพากันเมินหน้าหนี และอาการของบริษัทก็ย่ำแย่อยู่แล้วจากการบริหารจัดการอันผิดพลาดมาเป็นแรมปีซึ่งทำให้ MAS ตกอยู่ในภาวะขาดทุนอย่างน้อยที่สุด 1,700 ล้านดอลลาร์นับแต่ปี 2011 เป็นต้นมา สายการบินแห่งชาติของมาเลเซียรายนี้จึงเสมือนกับยืนโงนเงนอยู่ตรงปากขอบเหวแห่งการล้มละลาย บีบบังคับให้ภาครัฐแดนเสือเหลืองผู้เป็นเจ้าของ ต้องยอมตัดสินใจดำเนินการปรับโครงสร้างอย่างรุนแรงขนานใหญ่
คริสตอฟ มืลเลอร์ ซีอีโอคนใหม่ ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์สูงเรื่องปรับปรุงฟื้นฟูกิจการสายการบิน กำลังใช้วิธีลดหรือกระทั่งเลิกพวกเส้นทางบินที่ไม่ทำกำไร, หยุดใช้เครื่องบินจำนวนมาก และปลดลูกจ้างพนักงานซึ่งมีจำนวนล้นงานออกไปถึง 6,000 คน ทั้งหมดเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องบริษัทที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้สายการบินแห่งนี้กลับมาทำกำไรได้ โดยอย่างเร็วที่สุดอาจจะเป็นปีหน้า
อย่างไรก็ตาม พวกนักวิเคราะห์มองว่ายุทธศาสตร์การลดขนาดตัวเองเพื่อความอยู่รอดเช่นนี้ก็กำลังทำให้มาเลเซียแอร์ไลน์สอยู่ในฐานะที่เปราะบางอ่อนแอ ในการเผชิญการแข่งขันอย่างดุเดือดจากพวกสายการบินโลว์คอสต์ทั้งหลาย ซึ่งกำลังเติบใหญ่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้บริการพวกผู้บริโภคชนชั้นกลางที่กำลังเฟื่องฟูและกระหายที่จะเดินทาง การแข่งขันดังกล่าวนี้มีทั้งที่มาจากพวกกิจการซึ่งเติบโตในแดนเสือเหลืองเองอย่าง แอร์เอเชีย และพวกที่มีฐานอยู่ในประเทศใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นไลอ้อนแอร์ของอินโดนีเซีย, ไทเกอร์แอร์ และสกู๊ต ของสิงคโปร์, ตลอดจน เจ็ตสตาร์ ที่แตกตัวมาจากแควนตัส
มืลเลอร์เดินหมากตาสำคัญที่สุดของเขาในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยการเปิดตัวข้อตกลงจับมือเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์กับสายการบินเอมิเรตส์ ซึ่งเปิดทางให้มาเลเซียแอร์ไลน์สได้อาศัยเกาะไปกับสายการบินยักษ์ใหญ่ของดูไบแห่งนี้ ในเส้นทางต่างๆ มากกว่า 90 เส้นทางทั่วโลก ขณะที่หั่นลดเครือข่ายของตัวเองให้มุ่งโฟกัสเฉพาะในเอเชีย
การทำความตกลงเช่นนี้กับเอมิเรตส์ หนึ่งในสายการบินใหญ่ที่สุดของโลกปัจจุบันเมื่อวัดจากศักยภาพด้านจำนวนที่นั่งโดยสาร คือ “การเดินหมากที่เหลือเชื่อเกินความคาดหมาย แต่ชาญฉลาดอย่างยิ่งจริงๆ” โมห์ชิน อาซิส นักวิเคราะห์หุ้นอุตสาหกรรมการบิน ของ เมย์แบงก์ กิม เอ็ง ซีเคียวริตีส์ ให้ความเห็น “แต่พวกเขาก็ทำให้เกิดขึ้นมาได้ สำหรับผมแล้ว นี่คือรากฐานอันมั่นคงเพื่อการอยู่รอดในอนาคตของพวกเขาอย่างแท้จริง”
โมห์ชินให้เครดิตแก่ มืลเลอร์ ซึ่งเป็นคนเยอรมันและเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่เข้ามากุมบังเหียน MAS ว่ากำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงอันยากลำบากต่างๆ ที่พวกผู้บริหารที่ผ่านๆ มาพยายามหลบเลี่ยง
อย่างไรก็ดี ชูคอร์ ยูโซฟ ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยด้านการบินนามว่า “เอนดาว อะนาลิติกส์” ท้วงติงว่า ยุทธศาสตร์ของมืลเลอร์นั้นมุ่งโฟกัสไปที่ผลดีซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น
“พวกเขาใช้วิธีเอาง่ายเข้าว่า” ชูคอร์บอก ทั้งนี้เขาอยู่ในกลุ่มซึ่งได้ยื่นเสนอซื้อทรัพย์สินบางส่วนของมาเลเซียแอร์ไลน์ส เพื่อนำเอามาตั้งเป็นสายการบินโลว์คอสต์ ทว่าถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย ชูคอร์กล่าวว่า การตัดหั่นสิ่งต่างๆ อย่างขนานใหญ่นั้น เป็น “หนทางเร็วที่สุดในการกำจัดต้นทุน แต่ในระยะยาวแล้วผมไม่คิดว่าหนทางเช่นนี้จะสามารถเสนอโอกาสไปสู่ความเข้มแข็งอย่างแท้จริง หรือ … เป็นการยกเครื่องแก้ไขปัญหาระดับรากฐานต่างๆ ของบริษัท” ซึ่งก็รวมถึงเรื่องที่เจ้าของ MAS อันได้แก่ คาซานาห์ นาเซียนนัล เบอร์ฮัด กองทุนเพื่อการลงทุนของภาครัฐมาเลเซีย ได้เข้ามาแทรกแซงกิจการของสายการบินแห่งนี้อยู่เรื่อยๆ
มืลเลอร์นั้นประสบความสำเร็จในงานที่ลำบากยากเย็นอย่างการฟื้นฟูกิจการสายการบิน แอร์ ลิงกัส ของไอร์แลนด์ ซึ่งทำให้เขาได้รับฉายานามว่า “นักทำลายล้าง” (The Terminator) สืบเนื่องจากสำเนียงพูดของเขาทำให้ดูเหมาะเหม็งที่จะเปรียบเทียบกับการแสดงบทบาทเป็นหุ่นยนต์นักฆ่าของอาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์
ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้มาเลเซียแอร์ไลน์สกลับก้าวขึ้นเป็นสายการบินชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้งหนึ่ง นับแต่ที่เขาเข้ามารับผิดชอบในเดือนพฤษภาคม 2015 เขาก็เข้านำการเจรจาทำความตกลงกันใหม่กับซัปพลายเออร์เจ้าต่างๆ ตลอดจนในเรื่องดีลลีสซิ่งเครื่องบิน นอกจากนั้นก็นำเอาผู้บริหารอาวุโสที่มีประสบการณ์กับสายการบินโลว์โคสต์เข้ามาทำงานด้วยหลายราย รวมทั้งนำเอาซอฟต์แวร์สุดเนี๊ยบทางด้านการบริหารต้นทุนของเยอรมันเข้ามาใช้งาน เพื่อตัดต้นทุนการปฏิบัติงานในภาคพื้นดินลงมาให้ได้ 20%
เพื่อดึงดูดผู้โดยสารให้ได้มากขึ้น MAS ในยุคของเขากำลังอัปเดตเมนูอาหารบนเครื่องบิน และเสนอบริการใหม่ๆ อย่างเช่น สัญญาณไวไฟบนเครื่องบิน และที่นั่งแบบใหม่ที่นอนราบได้ ในชั้นธุรกิจของเครื่องบินบางลำ
เครือข่ายนอกเอเชียของมาเลเซียแอร์ไลน์สที่ได้ถูกตัดหั่นจนเหลือแต่โครงอยู่แล้ว ได้ถูกมืลเลอร์ตัดหั่นลงไปอีก เส้นทางปารีสและอัมสเตอร์ดัมถูกยกเลิกในเดือนมกราคม โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการใหญ่ในการถอยออกจากตลาดนานาชาติซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อนประสบวิกฤตแล้ว เวลานี้ ลอนดอน กับ เจดดาห์, ซาอุดีอาระเบีย คือจุดหมายปลายทางนอกเอเชีย-แปซิฟิกที่ยังเหลืออยู่ ถึงแม้ผู้โดยสารสามารถซื้อเที่ยวบินแบบแชร์โค้ด ไปต่อเครื่องบินของเอมิเรตส์ ผ่านศูนย์ที่ดูไบของสายการบินยักษ์ใหญ่แห่งนี้
มาเลเซียแอร์ไลน์สยังกำลังปรับฝูงเครื่องบินของตนเพื่อลดต้นทุนและทำให้สอดคล้องกับเส้นทางที่เปลี่ยนแปลงใหม่ โดยกำลังค่อยๆ ปลดระวางโบอิ้ง 777 ที่อายุเก่ากว่า รวมทั้ง แอร์บัส เอ380 ที่กินน้ำมันดุ ตลอดจนค่อยๆ เลิกใช้ โบอิ้ง 737 ที่ลำเล็ก ขณะเดียวกันก็สั่งซื้อ เอ 350 จำนวน 4 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินโดยสารแบบล่าสุดและทันสมัยก้าวหน้าที่สุดของค่ายแอร์บัส
การที่ราคาน้ำมันกำลังไหลรูด มีส่วนช่วยให้ MAS ประหยัดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงลงได้มาก ถึงแม้ดอกผลเหล่านี้ถูกบั่นทอนไปบางส่วนจากการที่เงินดอลลาร์เพิ่มค่าขึ้นในช่วงหลังๆ นี้เมื่อเทียบกับเงินริงกิตมาเลเซีย
กระนั้น ชูคอร์ แห่ง เอนดาว อะนาลิติกส์ ย้ำถึงคำถามที่ว่า สายการบินแห่งนี้มีความสามารถ หรือกระทั่งสมควร ที่จะรอดชีวิตต่อไปในระยะยาวหรือไม่
เวลานี้ผู้โดยสารจำนวนมากได้รับบริการที่ดีกว่าจากสายการบินโลว์คอสต์ชั้นนำอย่าง แอร์เอเชีย ซึ่งบินไปสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ มากแห่งกว่า และก็กำลังมีผลประกอบการที่ดีกว่า เสียงสงสัยข้องใจยังคงดังไม่ขาดระยะว่าสายการบินที่ต้องมีรัฐบาลคอยหนุนหลังเช่นนี้ จะให้ประโยชน์ในระยะยาวแก่มาเลเซียจริงหรือไม่
“คำถามที่จำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาตั้งปุจฉาก็คือ เวลานี้มาเลเซียจำเป็นที่จะต้องมีมาเลเซียแอร์ไลน์สหรือไม่?” ชูคอร์กล่าว “ถ้ามาเลเซียแอร์ไลน์สต้องปิดตัวลงในวันพรุ่งนี้ ก็คงจะไม่มีคนมากมายอะไรนักหรอกที่จะรู้สึกถึงการขาดหายไปของสายการบินแห่งนี้” แต่ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมว่าผู้พูดผู้นี้มีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับการแยกสลายมาเลเซียแอร์ไลน์ส
ที่มา http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000024312
ส่วนการบินไทย เราก็ยังแก้ปัญหาแบบเกรงใจกันไป เลยปรับได้ทีละน้อย ๆ เปลี่ยนแปลงอะไรมากไม่ได้
ได้แต่เอาใจช่วยนะครับ จากใจแฟนการบินไทยครับ