สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการ bootstrapping
แต่คอมเซ็ปต์ง่ายๆก็คือ "เขียนตัวแปลงภาษาแบบง่ายบนตัวที่ยากที่สุดก่อน แล้วค่อยๆทำตัวที่ฉลาดขึ้นบนภาษานั้นอีกที"
เช่นตอนแรก ไม่มีตัวเขียนโปรแกรมอะไรเลย ก็เล่นถึกเลยครับ เขียนภาษาเครื่องมันตรงๆนี่ล่ะ
แต่อย่าทำเยอะ (เพราะเขียนภาษาเครื่องมันยาก) ก็ทำแค่โปรแกรมที่แปลง คำง่ายๆเป็นภาษาเครื่องโดยตรง
เช่นแปลง "MOV A B" เป็นภาษาเครื่อง สมมติเรียกอันนี้ว่าภาษา A
จากนั้นรอบสอง เราก็สามารถเขียนภาษาที่ซับซ้อนขึ้นได้ สมมติเรียกว่าภาษา B โดยเขียนบน B compiler ด้วย ภาษา A.
จะทำต่อไปเรื่อยๆก็ได้ครับ เช่นทำตัว compile ภาษา C ด้วย ภาษา B
แต่คอมเซ็ปต์ง่ายๆก็คือ "เขียนตัวแปลงภาษาแบบง่ายบนตัวที่ยากที่สุดก่อน แล้วค่อยๆทำตัวที่ฉลาดขึ้นบนภาษานั้นอีกที"
เช่นตอนแรก ไม่มีตัวเขียนโปรแกรมอะไรเลย ก็เล่นถึกเลยครับ เขียนภาษาเครื่องมันตรงๆนี่ล่ะ
แต่อย่าทำเยอะ (เพราะเขียนภาษาเครื่องมันยาก) ก็ทำแค่โปรแกรมที่แปลง คำง่ายๆเป็นภาษาเครื่องโดยตรง
เช่นแปลง "MOV A B" เป็นภาษาเครื่อง สมมติเรียกอันนี้ว่าภาษา A
จากนั้นรอบสอง เราก็สามารถเขียนภาษาที่ซับซ้อนขึ้นได้ สมมติเรียกว่าภาษา B โดยเขียนบน B compiler ด้วย ภาษา A.
จะทำต่อไปเรื่อยๆก็ได้ครับ เช่นทำตัว compile ภาษา C ด้วย ภาษา B
ความคิดเห็นที่ 6
ตามคห.4 ครับ
ในด้านการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นขั้นสุดท้ายก็ต้องลงไปจบที่ Machine Language ครับ
โดยการแปลภาษาจะแปลจากภาษาระดับสูง ไล่ลงไปเรื่อยๆจนเป็น Assembly แล้วก็ลงไปถึง Machine Language
ส่วนการสร้างภาษาใหม่ขึ้นมา หรือการทำโปรแกรมเพื่อเขียนโปรแกรม (IDE, Compiler) ก็ย้อนทางขึ้นมาครับ
เริ่มจากเขียน Machine Language ให้เป็นชุดคำสั่ง (Instruction Set) แล้วก็สร้างภาษา A ที่เป็นหน้ากากของ Instruction Set นั้น
พอได้ภาษา A มาชุดหนึ่ง ก็สร้างภาษา B ชึ่งรวบ Instruction Set ของภาษา A มาเป็น Instruction Set ของภาษา B อีกที
ทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆเราก็จะได้ภาษา C D E F ซึ่งสูงขึ้นมาเรื่อยๆ และความสามารถสูงขึ้นมาเรื่อยๆครับ
พอถึงจุดหนึ่ง โปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรม กับโปรแกรมอื่นๆก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันครับ
เช่นผมถามว่า Visual Basic ต่างกับโปรแกรม Word ยังไง ?
ถ้าไม่มองว่า Visual Basic เป็นโปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรม มันไม่มีอะไรต่างกับ Word เลยครับ
ทั้ง 2 ตัวเป็นโปรแกรมที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิค ทำงานบน Windows OS
ฉะนั้นปัจจุบันมองเป็นโปรแกรมปกติโปรแกรมหนึ่งก็ได้ครับ เพียงแต่มีความสามารถในการแปลภาษาที่ใส่เข้าไปเฉยๆ
ในด้านการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นขั้นสุดท้ายก็ต้องลงไปจบที่ Machine Language ครับ
โดยการแปลภาษาจะแปลจากภาษาระดับสูง ไล่ลงไปเรื่อยๆจนเป็น Assembly แล้วก็ลงไปถึง Machine Language
ส่วนการสร้างภาษาใหม่ขึ้นมา หรือการทำโปรแกรมเพื่อเขียนโปรแกรม (IDE, Compiler) ก็ย้อนทางขึ้นมาครับ
เริ่มจากเขียน Machine Language ให้เป็นชุดคำสั่ง (Instruction Set) แล้วก็สร้างภาษา A ที่เป็นหน้ากากของ Instruction Set นั้น
พอได้ภาษา A มาชุดหนึ่ง ก็สร้างภาษา B ชึ่งรวบ Instruction Set ของภาษา A มาเป็น Instruction Set ของภาษา B อีกที
ทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆเราก็จะได้ภาษา C D E F ซึ่งสูงขึ้นมาเรื่อยๆ และความสามารถสูงขึ้นมาเรื่อยๆครับ
พอถึงจุดหนึ่ง โปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรม กับโปรแกรมอื่นๆก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันครับ
เช่นผมถามว่า Visual Basic ต่างกับโปรแกรม Word ยังไง ?
ถ้าไม่มองว่า Visual Basic เป็นโปรแกรมสำหรับเขียนโปรแกรม มันไม่มีอะไรต่างกับ Word เลยครับ
ทั้ง 2 ตัวเป็นโปรแกรมที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิค ทำงานบน Windows OS
ฉะนั้นปัจจุบันมองเป็นโปรแกรมปกติโปรแกรมหนึ่งก็ได้ครับ เพียงแต่มีความสามารถในการแปลภาษาที่ใส่เข้าไปเฉยๆ
ความคิดเห็นที่ 1
1. ภาษาเครื่อง (Machine language)
เป็นภาษาพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ แต่ละคำสั่งประกอบขึ้นจากกลุ่มตัวเลข 0 และ 1 ซึ่งเป็นเลขฐานสอง
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language)
เป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ข้อความ แทนกลุ่มของตัวเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากขึ้น การทำงานของโปรแกรมจะต้องทำการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้ตัวแปลที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler)
3. ภาษาชั้นสูง (High-level language) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยมีลักษณะเหมือนกับภาษาอังกฤษทั่วไป ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฮาร์แวร์แต่อย่างใด ภาษานี้จำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาเครื่องเช่นกัน เรียกตัวแปลนี้ว่า คอมไพเลอร์ (compiler)หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างของภาษาชั้นสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาซี ภาษโคบอล ภาษเบสิก ภาษาฟอร์แทรน
ภาษาระดับสูง (High Level Languages)
ภาษาระดับสูง เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้งาน สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันได้ โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง จำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยโปรแกรมแปลภาษามี 2 ประเภท คือ คอมไพเลอร์ และอินเตอร์พรีเตอร์ ตัวอย่างของภาษาระดับสูง ได้แก่
1 ภาษาฟอร์แทรน (Fortran Language)
FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslator เป็นภาษาระดับสูงภาษาแรกที่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลาย เป็นภาษาที่ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีการคำนวณมาก ๆ มีฟังก์ชันการคำนวณให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้มาก เหมาะกับนักวิจัย นักสถิติ หรือวิศวกร
ข้อดี คือ คำสั่งส่วนใหญ่จะง่ายและสั้น โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งจะสามารถนำไปแก้ไขและใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกประเภทหนึ่งได้ ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับงานทางธุรกิจที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับงานทางด้านการรับข้อมูลเข้า (Input) และข้อมูลออก (Output) ที่ต้องสร้างรายงานมากๆ หรืองานที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์
ยกมาจาก kroobee.wordpress.com
เป็นภาษาพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ แต่ละคำสั่งประกอบขึ้นจากกลุ่มตัวเลข 0 และ 1 ซึ่งเป็นเลขฐานสอง
2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language)
เป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ข้อความ แทนกลุ่มของตัวเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากขึ้น การทำงานของโปรแกรมจะต้องทำการแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง โดยใช้ตัวแปลที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler)
3. ภาษาชั้นสูง (High-level language) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยมีลักษณะเหมือนกับภาษาอังกฤษทั่วไป ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฮาร์แวร์แต่อย่างใด ภาษานี้จำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาเครื่องเช่นกัน เรียกตัวแปลนี้ว่า คอมไพเลอร์ (compiler)หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างของภาษาชั้นสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาซี ภาษโคบอล ภาษเบสิก ภาษาฟอร์แทรน
ภาษาระดับสูง (High Level Languages)
ภาษาระดับสูง เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปประยุกต์ใช้งาน สามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันได้ โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง จำเป็นต้องมีตัวแปลภาษาเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยโปรแกรมแปลภาษามี 2 ประเภท คือ คอมไพเลอร์ และอินเตอร์พรีเตอร์ ตัวอย่างของภาษาระดับสูง ได้แก่
1 ภาษาฟอร์แทรน (Fortran Language)
FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslator เป็นภาษาระดับสูงภาษาแรกที่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลาย เป็นภาษาที่ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่มีการคำนวณมาก ๆ มีฟังก์ชันการคำนวณให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้มาก เหมาะกับนักวิจัย นักสถิติ หรือวิศวกร
ข้อดี คือ คำสั่งส่วนใหญ่จะง่ายและสั้น โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งจะสามารถนำไปแก้ไขและใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกประเภทหนึ่งได้ ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับงานทางธุรกิจที่ต้องยุ่งเกี่ยวกับงานทางด้านการรับข้อมูลเข้า (Input) และข้อมูลออก (Output) ที่ต้องสร้างรายงานมากๆ หรืองานที่ต้องการเก็บข้อมูลเป็นไฟล์
ยกมาจาก kroobee.wordpress.com
แสดงความคิดเห็น
สงสัยว่าเค้าใช้โปรแกรมอะไรเขียนโปรแกรมที่ใช้เขียนโปรแกรมครับ