ทำไมราถึงขึ้นมะขามได้ครับ ทั้งๆที่เปลือกมะขามก็ไม่ได้แตกหรือมีรูเลย

กระทู้คำถาม
คือ รำคาญและเสียดายมาก กินมะขามเนี่ย เราอุตส่าห์เลืกฝักที่สวยๆ ใหญ่ๆ กะว่าต้องอร่อยและเนื้อเยอะ หวานฉ่ำแน่ๆ แต่แกะมา เอ้า ราบ้าง มดบ้าง เน่าบ้าง
คือ อยากรู้เหตุผลหน่อยครับ ว่าทำไมจึงเกิดขึ้นได้ ทั้งๆที่ดูภายนอกแล้ว ฝักมีลักษณะสมบูรณ์ สวย ไม่มีรอยแตกร้าวหรือรูอะไร แล้วไอรา มดพวกนี้มันเข้าไปอยู่ได้ยังไง และตั้งแต่เมื่อไหร่อ่ะครับ

ซื้อมาโลนึง เป็นรา มด เน่า รวมกันซัก 2-3 ขีดได้ เจอเยอะมากๆ แทบหมดอารมณ์กินเลย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
       มะขามที่เป็นเชื้อราเพราะติดเชื้อราตั้งแตระยะเปนดอก โดยสปอรของเชื้อราอาจปลิวลงไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย และเจริญลงไปในรังไข หรืออาจปลิวลงไปพรอมกับละอองเกสรตัวผูจากนั้นเจริญเติบโตขึ้นมาพรอมกับผนังรังไข จึงทําใหสามารถตรวจพบเชื้อราในฝกมะขามไดตั้งแตอายุ 1 – 8 เดือน และในฝกสุกอายุ 9 – 10 เดือน โดยที่ไมพบรองรอยของการติดเชื้อราที่ผิวนอก




       ปญหาการเกิดเชื้อราทําใหคนไมนิยมซื้อมะขามหวานเทาที่ควร เพราะไมมั่นใจวามีเชื้อราหรือไม ซึ่งมองจากภายนอกจะดูไมออกมองไมเห็นรองรอยการทําลายก็ยังพบเชื้อราในฝกอีก การปองกันและกําจัดเชื้อราในมะขามหวานจึงนับวามีความสําคัญอยางยิ่ง แตสวนใหญมีการศึกษาวิธีการปฏิบัติหลังจากการเก็บเกี่ยว เชน การผึ่งแดด การนึ่ง การอบในเตาพลังงานแสงอาทิตย อบในเตาไมโครเวฟ การรมดวยกํามะถัน การเก็บในหองเย็น การฉายรังสี  ซึ่งวิธีการตางๆ ที่กลาวมาแลวก็สามารถที่จะยับยั้งเชื้อราไมใหลุกลามตอไปได้  แตก็ยังเหลือรองรอยการถูกทําลาย เห็นสปอรของราติดอยู  ซึ่งผูบริโภคส่วนใหญ่ไมยอมรับ  ดังนั้นวิธีการปองกันไมใหเกิดเชื้อราตั้งแตอยูบนตนจึงมีส่วนสำคัญ โดยปจจัยที่ทําใหเชื้อราเจริญเติบโตดีก็คือปริมาณฝน ความชื้นในดินและในอากาศ ปริมาณน้ําตาลซูโครสในเนื้อมะขาม ความหนาของเนื้อ ตนที่เกิดเชื้อรามากมักมีรมเงามาบังแสง หรือตนที่อยูในที่ลุ่มและทรงพุมหนาแนนทึบจะเกิดเชื้อราไดมาก หวังว่าคงได้ความรู้บ้างพอสมควรนะครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่