สวัสดีครับเพื่อนๆ
จุดประสงค์ของการตั้งกระทู้รีวิวนี้ ก็เพื่อเป็นแนวทางให้กับเพื่อนๆที่จะทำบ่อปลาเล็กๆด้วยอิฐประสาน ตลอดจนขอคำปรึกษาจากผู้ที่มีความรู้ทุกท่าน หากเพื่อนๆคนไหนต้องการสอบสามหรือมีข้อเสนอแนะผมก็ยินดีน้อมรับเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขครับ
เนื่องจากเป็นกระทู้รีวิวครั้งแรก และรูปทั้งหมดก็ถ่ายจากกล้องมือถือ หากคุณภาพไม่ค่อยคมชัดหรือมีส่วนไหนที่ผิดระเบียบการตั้งกระทู้ประการใดต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ
เริ่มจากสองปีที่แล้วสามารถกู้ซื้อบ้านได้และอยากมีพื้นที่สีเขียวรอบบ้าน แต่ปัญหาก็คือหน้าบ้านปูด้วยกระเบื้องถึง 90% ตามรูป ซึ่งพอจะมีพื้นที่เล็กๆหน้าบ้านประมาณ 2 X 2 เมตร อยากปลูกดอกไม้แต่ก็ไม่มีความรู้ด้านนี้สักเท่าไหร่ จึงทำได้เพียงหาซื้อต้นไม้กระถางที่ไม่รู้จักมาวางๆไว้ตามมีตามเกิดดังรูปครับ
มีพื้นที่ปลูกต้นไม้เล็กๆหน้าบ้านแค่นิดเดียว
หาซื้อต้นไม้กระถางมาวางๆไว้
เวลาผ่านไปเนิ่นนาน ผมเองไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่กับบ้าน บวกกับความขี้เกียจหลังเลิกงาน จึงแทบไม่ได้ดูแลต้นไม้อีกเลย พื้นที่สีเขียวก็เลยหายไปตามกาลเวลา จนกระทั่งไปเจอกระทู้ DIY บ่อปลาของเพื่อนๆหลายๆคนที่ทำออกมาได้สวยมากๆ เป็นแรงบันดาลใจให้ฉุกคิดว่า เออ...หรือจะทำบ่อปลาดีกว่า นั่งนึกฝันได้พักหนึ่ง ก็ตื่นมาพบความจริงที่ต้องเจอข้อจำกัดมากมายเช่น....
1. ผมมีพื้นที่จำกัด
2. ผมไม่มีความรู้เรื่องบ่อปลาเลย
3. ผมไม่เคยเลี้ยงปลาจริงๆจังๆ
4. ผมไม่มีประสบการณ์ในการก่ออิฐประสานด้วยตัวเอง
5. และสุดท้าย ผมไม่มีเวลา(ขี้เกียจ)
ชั่งใจอยู่สองสามวันว่าจะเอาไงดี สุดท้ายก็ตัดสินใจลงมือทำอย่างที่ไม่รู้ ไม่มี ไม่พร้อม นี่แหละครับ ค่อยไปหาทางแก้เอาข้างหน้า เอาวะ...ลุย
ขั้นตอนที่ 1/9 : ออกแบบบ่อ
เดิมทีนั้นการออกแบบไม่ได้อยู่ในความคิดผมเลยครับ คิดว่าก่ออิฐขึ้นไปเรื่อยๆเป็นสี่เหลี่ยมตามที่เราคิดไว้ก็โอเคแล้ว แต่ระหว่างก่ออิฐก็อยากต่อเติมแท่นวางกระถางต้นไม้ ไอเดียใหม่ๆมันมาเรื่อยๆ อิฐประสานไม่พอสิครับ ต้องไปซื้อมาเพิ่มใหม่อีกรอบ แล้วก็ไม่พออีก สุดท้ายต้องรื้อลงมาทั้งหมด แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยการลองศึกษาโปรแกรม Design ต่างๆ ลองไปสองสามตัว จนมาจบที่ Google Skectup ตามรูปครับ
เมื่อได้แปลนคร่าวๆแบบนี้ ผมก็สามารถคำนวณอิฐประสานที่ต้องใช้จริงๆได้อย่างแม่นยำ และยังช่วยให้งานจริงเร็วขึ้นด้วยครับ
สรุปค่าใช้จ่ายในการออกแบบบ่อ
ค่าใช้จ่าย – 0 บาท
หมายเหตุ – มือใหม่อย่างผมคิดว่าการร่างแบบแปลนนั้นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นร่างมือหรือร่างด้วยโปรแกรมต่างๆ แต่หากใครเห็นว่าขั้นตอนนี้มันยุ่งยาก ก็ข้ามไปเลยครับ
------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 2/9 : เตรียมพื้นที่
อย่างที่เกริ่นไป ผมมีพื้นที่จะทำบ่อปลาเพียงแค่ 2 X 2 เมตรเองครับ การเตรียมพื้นที่น้อยๆแบบนี้จึงเป็นงานที่ไม่ตึงมือจนเกินไป เริ่มจากการซื้อทรายมา 4 กระสอบ แล้วเทลงพื้นปรับระดับให้เสมอกัน วิธีการปรับก็ไม่มีอะไรมากครับ เอาสันจอบกระทุ้งๆอัดให้ทรายมันแน่นๆตรงจุดที่จะวางอิฐนั่นแหละ ยิ่งแน่นยิ่งดีครับเพราะจุดนั้นจะต้องรับน้ำหนักอิฐอีกหลายก้อน
สรุปค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่
- ทราย 4 กระสอบ = 200 บาท
- อิฐประสาน 100 ก้อน = 1000 บาท
หมายเหตุ – หลังจากที่ผมก่ออิฐประสานขึ้นไปได้ระดับหนึ่งแล้ว ทั้งนิ้วทั้งมือเริ่มบวมเป็นตาปลาเพราะอิฐทั้งหนักแล้วก็หยาบ ดังนั้นมือใหม่ควรหาถุงมือมาสวมใส่ดีกว่าครับ
------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 3/9 : ก่ออิฐประสาน
พอปรับระดับพื้นฐานล่างได้แล้ว ก็ได้เวลาก่ออิฐต่อไปครับ เหมือนจะง่ายก็จริง แต่ผมว่าทุกขั้นตอนต่างก็มีปัญหาเล็กน้อยให้แก้ไขอยู่เสมอ การก่ออิฐก็เช่นกัน บางทีปรับระนาบให้ตรงไม่ได้ เพราะอิฐแต่ละก้อนก็ไม่ได้มีขนาดเท่ากันทั้งหมด จึงต้องสลับปรับก้อนเปลี่ยนอิฐอยู่บ่อยๆครับ
วัดระดับน้ำ
วัดฉาก
วัดระยะขอบบ่อกับตัวบ้าน
เทียบกับแบบแปลน
อาศัยช่วงหลังเลิกงานที่มีน้อยนิด ค่อยๆทำไปทีละหน่อย บ่อปลาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้างแล้ว
ผมเพิ่มอิฐประสานด้านซ้ายมือให้เป็นสองแถว เพราะต้องการให้มีพื้นที่สำหรับวางกระถางต้นไม้เล็กๆครับ
สรุปค่าใช้จ่ายในการก่ออิฐประสาน
0 บาท
หมายเหตุ - จากประสบการณ์ผมก็ได้พบว่า ไม่จำเป็นต้องวัดให้ละเอียดมาก เพราะสุดท้ายมันจะมีตัวแปรอื่นๆทำให้สเกลมันคลาดเคลื่อนไปอีกจนได้ครับ
------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 4/9 : ปูผ้าใบและต่อเติมบ่อให้เสร็จ
ผมคิดไว้ว่าจะทำบ่อลึกประมาณ 0.3 เมตร จึงหาผ้าใบขนาด 2.5 X 2.5 เมตร แบบหนามาเตรียมไว้ครับ การปูผ้าใบด้วยตัวคนเดียวนี่ยากกว่าที่คิดมาก โดยเฉพาะตรงมุมที่บากสองถึงสามครั้งจะต้องใช้ความตั้งใจและสมาธิพอสมควร ยิ่งทำเวลากลางคืนอย่างผมบอกเลย เหนื่อยครับ
ตอนสั่งซื้อผ้าใบ ผมบอกทางร้านให้ตัดขนาด 2.5 X 2.5 เมตรรอไว้เลย หลังเลิกงานจะเข้าไปรับ พอไปถึงก็พบว่าทางร้านใช้วิธีต่อผ้าใบให้(ไม่ใช่ผ้าใบเต็มทั้งผืนแบบไร้รอยตะเข็บ)ซึ่งก็เงิบไปเลย งบที่ตั้งไว้ก็มีจำกัด ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียน ครั้งต่อไปผมจะละเอียดรอบคอบให้มากกว่านี้ครับ
กางผ้าใบออกมาเทียบกับบ่อก่อน
จัดรอยพับตามมุมต่างๆแล้วรั้งไว้ด้วยอิฐประสาน
จัดแท่นวางกระถางดอกไม้ตามแบบแปลน เพิ่มแท่นวางเสาปูนปั้นตรงกลางบ่อ
ใกล้เสร็จแล้วได้รูปร่างหน้าตาออกมาแบบนี้ครับ
สรุปค่าใช้จ่ายในการปูผ้ายางและต่อเติมบ่อให้เสร็จ
ผ้าใบ 2.5 X 2.5 เมตร = 650 บาท
อิฐประสานอีก 100 ก้อน = 1000 บาท
หมายเหตุ – ช่วงที่จีบผ้าใบตรงมุมบ่อแล้วพับลงมา มันจะหนากว่าด้านที่เป็นแนวตรงครับ (ด้วยความอ่อนประสบการณ์)ทำให้ระดับของอิฐประสานไม่สมดุลย์กันรอบบ่อ ต่อให้วัดมาดีอย่างไร ก็ต้องทำใจเผื่อเรื่องแบบนี้ไว้ครับ ส่วนอุปกรณ์อีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการทำบ่อก็คือ ค้อนปอนด์ ครับ เอาไว้เคาะๆจัดระเบียบก้อนอิฐให้สวยงาม
------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 5/9 : ทดสอบการรั่วซึม
หลังจากปูผ้าใบและก่ออิฐต่อเติมจนเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาทดสอบการรั่วซึมของผ้าใบครับ เนื่องจากผ้าใบที่ซื้อมานั้นมีตะเข็บรอยต่ออย่างที่บอกไป ซึ่งไอ้เจ้ารอยต่อนี่แหละที่ทำให้ผมกังวลว่ามันอาจจะมีช่องว่างทำให้น้ำรั่วซึมได้ ลงมือลงแรงมาขนาดนี้หากบ่อรั่วซึมก็คงเสียเวลาอีกมากโขเลยทีเดียว ผมลองทดสอบด้วยการเติมน้ำลงไปในบ่อแล้วทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วันก่อน
เติมน้ำไว้เมื่อคืนก่อน ตื่นเช้ารีบมาดู ปรากฎว่าระดับของน้ำในบ่อยังอยู่ปกติดีครับ
ฐานของเสาโรมันใช้อิฐประสาน 4 ก้อนวางเรียงเป็นฐาน และสอดสายยางจากด้านล่างทะลุขึ้นไปยังตุ๊กตาปูนปั้นด้านบน
สรุปค่าใช้จ่ายในการทดสอบรั่วซึม
เสาปูนปั้นแบบโรมัน = 1000 บาท
ตุ๊กตาปูนปั้นน้ำล้น = 1500 บาท (สองอย่างนี้รวมกันแพงพอๆกับบ่อ -*-)
ปั๊มน้ำ 2700 L/H = 450 บาท
หมายเหตุ – จุดนี้ก็กังวลครับ เพราะนอกจากผ้าใบมีตะเข็บแล้วยังต้องรับน้ำหนักของชุดปูนปั้นอีกด้วย กลัวผ้าใบขาดเหมือนกัน แต่ตั้งใจไว้แล้วครับว่าจะทำแบบนี้ เป็นไงเป็นกัน
------------------------------------------------------------------------------
ขั้นตอนที่ 6/9 : จัดระบบนิเวศน์
ผมอยากได้บ่อที่มีระบบนิเวศน์ของพืชพรรณไม้ร่วมอยู่ด้วย จึงไม่พลาดที่จะหาซื้อต้นไม้กระถางเล็กๆมาประดับให้บ่อดูมีชีวิตชีวา วิธีเลือกก็ตามใจชอบเลยครับ เป็นขั้นตอนที่สบายๆและมีความสุข(แต่หนักกระเป๋ากว่าที่คิด) บางต้นยังไม่มีกระถางดินเผาก็เอามาลงไว้ก่อน บางต้นก็จำชื่อไม่ได้ เจ้าของร้านบอกมาพอกลับมาถึงบ้านก็ลืมหมดครับ
เริ่มต้นด้วย เฟิร์นข้าหลวง รวยทรัพย์ เศรษฐี(อะไรสักอย่าง) แก้วแคระ
มุมอื่นๆครับ
จากนั้นก็ทยอยมาเป็นชุดๆ
โอ่งและมอสซื้อมาจัดเองครับเอามาแปะรอบปากโอ่ง ประดับด้วยพรมออสเตรเลีย และเฟิร์นนกนารีแบ่งจากกระถางที่ซื้อมา
เฟิร์นอะไรไม่รู้ทางซ้ายมือ ส่วนด้านขวากระหล่ำ(หรือเปล่า -*- )
ดาวเรือง รอเทดินปลูกและหินขาวมาตกแต่ง
พิทูเนีย
กก นางกวัก กระบองเพชร
และสมาชิกอื่นๆเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพครับ(ช่วงนี้ไอเดียกระฉูด จับอะไรได้ก็เอามาใส่หมด)
แสงแดดยามเช้า
สรุปค่าใช้จ่ายในการจัดระบบนิเวศน์
จำไม่ได้ครับ เพราะออกไปซื้อหลายครั้ง แต่ละครั้งไม่รู้มีต้นอะไรบ้าง ทั้งหมดน่าจะราวๆ 1500 บาท
หมายเหตุ – การเดินเลือกซื้อต้นไม้เล็กๆมันมีความสุขร่มรื่นอย่างบอกไม่ถูกครับ
ยังเหลืออีกสามขั้นตอน ตามมาชมกันต่อด้านล่างเลยครับ
บ่อปลาทองตัวน้อย และสวนน้ำเล็กๆหน้าบ้านด้วยอิฐประสานครับ
จุดประสงค์ของการตั้งกระทู้รีวิวนี้ ก็เพื่อเป็นแนวทางให้กับเพื่อนๆที่จะทำบ่อปลาเล็กๆด้วยอิฐประสาน ตลอดจนขอคำปรึกษาจากผู้ที่มีความรู้ทุกท่าน หากเพื่อนๆคนไหนต้องการสอบสามหรือมีข้อเสนอแนะผมก็ยินดีน้อมรับเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขครับ
เนื่องจากเป็นกระทู้รีวิวครั้งแรก และรูปทั้งหมดก็ถ่ายจากกล้องมือถือ หากคุณภาพไม่ค่อยคมชัดหรือมีส่วนไหนที่ผิดระเบียบการตั้งกระทู้ประการใดต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ
เริ่มจากสองปีที่แล้วสามารถกู้ซื้อบ้านได้และอยากมีพื้นที่สีเขียวรอบบ้าน แต่ปัญหาก็คือหน้าบ้านปูด้วยกระเบื้องถึง 90% ตามรูป ซึ่งพอจะมีพื้นที่เล็กๆหน้าบ้านประมาณ 2 X 2 เมตร อยากปลูกดอกไม้แต่ก็ไม่มีความรู้ด้านนี้สักเท่าไหร่ จึงทำได้เพียงหาซื้อต้นไม้กระถางที่ไม่รู้จักมาวางๆไว้ตามมีตามเกิดดังรูปครับ
มีพื้นที่ปลูกต้นไม้เล็กๆหน้าบ้านแค่นิดเดียว
หาซื้อต้นไม้กระถางมาวางๆไว้
เวลาผ่านไปเนิ่นนาน ผมเองไม่ค่อยได้มีเวลาอยู่กับบ้าน บวกกับความขี้เกียจหลังเลิกงาน จึงแทบไม่ได้ดูแลต้นไม้อีกเลย พื้นที่สีเขียวก็เลยหายไปตามกาลเวลา จนกระทั่งไปเจอกระทู้ DIY บ่อปลาของเพื่อนๆหลายๆคนที่ทำออกมาได้สวยมากๆ เป็นแรงบันดาลใจให้ฉุกคิดว่า เออ...หรือจะทำบ่อปลาดีกว่า นั่งนึกฝันได้พักหนึ่ง ก็ตื่นมาพบความจริงที่ต้องเจอข้อจำกัดมากมายเช่น....
1. ผมมีพื้นที่จำกัด
2. ผมไม่มีความรู้เรื่องบ่อปลาเลย
3. ผมไม่เคยเลี้ยงปลาจริงๆจังๆ
4. ผมไม่มีประสบการณ์ในการก่ออิฐประสานด้วยตัวเอง
5. และสุดท้าย ผมไม่มีเวลา(ขี้เกียจ)
ชั่งใจอยู่สองสามวันว่าจะเอาไงดี สุดท้ายก็ตัดสินใจลงมือทำอย่างที่ไม่รู้ ไม่มี ไม่พร้อม นี่แหละครับ ค่อยไปหาทางแก้เอาข้างหน้า เอาวะ...ลุย
ขั้นตอนที่ 1/9 : ออกแบบบ่อ
เดิมทีนั้นการออกแบบไม่ได้อยู่ในความคิดผมเลยครับ คิดว่าก่ออิฐขึ้นไปเรื่อยๆเป็นสี่เหลี่ยมตามที่เราคิดไว้ก็โอเคแล้ว แต่ระหว่างก่ออิฐก็อยากต่อเติมแท่นวางกระถางต้นไม้ ไอเดียใหม่ๆมันมาเรื่อยๆ อิฐประสานไม่พอสิครับ ต้องไปซื้อมาเพิ่มใหม่อีกรอบ แล้วก็ไม่พออีก สุดท้ายต้องรื้อลงมาทั้งหมด แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยการลองศึกษาโปรแกรม Design ต่างๆ ลองไปสองสามตัว จนมาจบที่ Google Skectup ตามรูปครับ
เมื่อได้แปลนคร่าวๆแบบนี้ ผมก็สามารถคำนวณอิฐประสานที่ต้องใช้จริงๆได้อย่างแม่นยำ และยังช่วยให้งานจริงเร็วขึ้นด้วยครับ
สรุปค่าใช้จ่ายในการออกแบบบ่อ
ค่าใช้จ่าย – 0 บาท
หมายเหตุ – มือใหม่อย่างผมคิดว่าการร่างแบบแปลนนั้นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นร่างมือหรือร่างด้วยโปรแกรมต่างๆ แต่หากใครเห็นว่าขั้นตอนนี้มันยุ่งยาก ก็ข้ามไปเลยครับ
ขั้นตอนที่ 2/9 : เตรียมพื้นที่
อย่างที่เกริ่นไป ผมมีพื้นที่จะทำบ่อปลาเพียงแค่ 2 X 2 เมตรเองครับ การเตรียมพื้นที่น้อยๆแบบนี้จึงเป็นงานที่ไม่ตึงมือจนเกินไป เริ่มจากการซื้อทรายมา 4 กระสอบ แล้วเทลงพื้นปรับระดับให้เสมอกัน วิธีการปรับก็ไม่มีอะไรมากครับ เอาสันจอบกระทุ้งๆอัดให้ทรายมันแน่นๆตรงจุดที่จะวางอิฐนั่นแหละ ยิ่งแน่นยิ่งดีครับเพราะจุดนั้นจะต้องรับน้ำหนักอิฐอีกหลายก้อน
สรุปค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่
- ทราย 4 กระสอบ = 200 บาท
- อิฐประสาน 100 ก้อน = 1000 บาท
หมายเหตุ – หลังจากที่ผมก่ออิฐประสานขึ้นไปได้ระดับหนึ่งแล้ว ทั้งนิ้วทั้งมือเริ่มบวมเป็นตาปลาเพราะอิฐทั้งหนักแล้วก็หยาบ ดังนั้นมือใหม่ควรหาถุงมือมาสวมใส่ดีกว่าครับ
ขั้นตอนที่ 3/9 : ก่ออิฐประสาน
พอปรับระดับพื้นฐานล่างได้แล้ว ก็ได้เวลาก่ออิฐต่อไปครับ เหมือนจะง่ายก็จริง แต่ผมว่าทุกขั้นตอนต่างก็มีปัญหาเล็กน้อยให้แก้ไขอยู่เสมอ การก่ออิฐก็เช่นกัน บางทีปรับระนาบให้ตรงไม่ได้ เพราะอิฐแต่ละก้อนก็ไม่ได้มีขนาดเท่ากันทั้งหมด จึงต้องสลับปรับก้อนเปลี่ยนอิฐอยู่บ่อยๆครับ
วัดระดับน้ำ
วัดฉาก
วัดระยะขอบบ่อกับตัวบ้าน
เทียบกับแบบแปลน
อาศัยช่วงหลังเลิกงานที่มีน้อยนิด ค่อยๆทำไปทีละหน่อย บ่อปลาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้างแล้ว
ผมเพิ่มอิฐประสานด้านซ้ายมือให้เป็นสองแถว เพราะต้องการให้มีพื้นที่สำหรับวางกระถางต้นไม้เล็กๆครับ
สรุปค่าใช้จ่ายในการก่ออิฐประสาน
0 บาท
หมายเหตุ - จากประสบการณ์ผมก็ได้พบว่า ไม่จำเป็นต้องวัดให้ละเอียดมาก เพราะสุดท้ายมันจะมีตัวแปรอื่นๆทำให้สเกลมันคลาดเคลื่อนไปอีกจนได้ครับ
ขั้นตอนที่ 4/9 : ปูผ้าใบและต่อเติมบ่อให้เสร็จ
ผมคิดไว้ว่าจะทำบ่อลึกประมาณ 0.3 เมตร จึงหาผ้าใบขนาด 2.5 X 2.5 เมตร แบบหนามาเตรียมไว้ครับ การปูผ้าใบด้วยตัวคนเดียวนี่ยากกว่าที่คิดมาก โดยเฉพาะตรงมุมที่บากสองถึงสามครั้งจะต้องใช้ความตั้งใจและสมาธิพอสมควร ยิ่งทำเวลากลางคืนอย่างผมบอกเลย เหนื่อยครับ
ตอนสั่งซื้อผ้าใบ ผมบอกทางร้านให้ตัดขนาด 2.5 X 2.5 เมตรรอไว้เลย หลังเลิกงานจะเข้าไปรับ พอไปถึงก็พบว่าทางร้านใช้วิธีต่อผ้าใบให้(ไม่ใช่ผ้าใบเต็มทั้งผืนแบบไร้รอยตะเข็บ)ซึ่งก็เงิบไปเลย งบที่ตั้งไว้ก็มีจำกัด ครั้งนี้ถือเป็นบทเรียน ครั้งต่อไปผมจะละเอียดรอบคอบให้มากกว่านี้ครับ
กางผ้าใบออกมาเทียบกับบ่อก่อน
จัดรอยพับตามมุมต่างๆแล้วรั้งไว้ด้วยอิฐประสาน
จัดแท่นวางกระถางดอกไม้ตามแบบแปลน เพิ่มแท่นวางเสาปูนปั้นตรงกลางบ่อ
ใกล้เสร็จแล้วได้รูปร่างหน้าตาออกมาแบบนี้ครับ
สรุปค่าใช้จ่ายในการปูผ้ายางและต่อเติมบ่อให้เสร็จ
ผ้าใบ 2.5 X 2.5 เมตร = 650 บาท
อิฐประสานอีก 100 ก้อน = 1000 บาท
หมายเหตุ – ช่วงที่จีบผ้าใบตรงมุมบ่อแล้วพับลงมา มันจะหนากว่าด้านที่เป็นแนวตรงครับ (ด้วยความอ่อนประสบการณ์)ทำให้ระดับของอิฐประสานไม่สมดุลย์กันรอบบ่อ ต่อให้วัดมาดีอย่างไร ก็ต้องทำใจเผื่อเรื่องแบบนี้ไว้ครับ ส่วนอุปกรณ์อีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการทำบ่อก็คือ ค้อนปอนด์ ครับ เอาไว้เคาะๆจัดระเบียบก้อนอิฐให้สวยงาม
ขั้นตอนที่ 5/9 : ทดสอบการรั่วซึม
หลังจากปูผ้าใบและก่ออิฐต่อเติมจนเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาทดสอบการรั่วซึมของผ้าใบครับ เนื่องจากผ้าใบที่ซื้อมานั้นมีตะเข็บรอยต่ออย่างที่บอกไป ซึ่งไอ้เจ้ารอยต่อนี่แหละที่ทำให้ผมกังวลว่ามันอาจจะมีช่องว่างทำให้น้ำรั่วซึมได้ ลงมือลงแรงมาขนาดนี้หากบ่อรั่วซึมก็คงเสียเวลาอีกมากโขเลยทีเดียว ผมลองทดสอบด้วยการเติมน้ำลงไปในบ่อแล้วทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วันก่อน
เติมน้ำไว้เมื่อคืนก่อน ตื่นเช้ารีบมาดู ปรากฎว่าระดับของน้ำในบ่อยังอยู่ปกติดีครับ
ฐานของเสาโรมันใช้อิฐประสาน 4 ก้อนวางเรียงเป็นฐาน และสอดสายยางจากด้านล่างทะลุขึ้นไปยังตุ๊กตาปูนปั้นด้านบน
สรุปค่าใช้จ่ายในการทดสอบรั่วซึม
เสาปูนปั้นแบบโรมัน = 1000 บาท
ตุ๊กตาปูนปั้นน้ำล้น = 1500 บาท (สองอย่างนี้รวมกันแพงพอๆกับบ่อ -*-)
ปั๊มน้ำ 2700 L/H = 450 บาท
หมายเหตุ – จุดนี้ก็กังวลครับ เพราะนอกจากผ้าใบมีตะเข็บแล้วยังต้องรับน้ำหนักของชุดปูนปั้นอีกด้วย กลัวผ้าใบขาดเหมือนกัน แต่ตั้งใจไว้แล้วครับว่าจะทำแบบนี้ เป็นไงเป็นกัน
ขั้นตอนที่ 6/9 : จัดระบบนิเวศน์
ผมอยากได้บ่อที่มีระบบนิเวศน์ของพืชพรรณไม้ร่วมอยู่ด้วย จึงไม่พลาดที่จะหาซื้อต้นไม้กระถางเล็กๆมาประดับให้บ่อดูมีชีวิตชีวา วิธีเลือกก็ตามใจชอบเลยครับ เป็นขั้นตอนที่สบายๆและมีความสุข(แต่หนักกระเป๋ากว่าที่คิด) บางต้นยังไม่มีกระถางดินเผาก็เอามาลงไว้ก่อน บางต้นก็จำชื่อไม่ได้ เจ้าของร้านบอกมาพอกลับมาถึงบ้านก็ลืมหมดครับ
เริ่มต้นด้วย เฟิร์นข้าหลวง รวยทรัพย์ เศรษฐี(อะไรสักอย่าง) แก้วแคระ
มุมอื่นๆครับ
จากนั้นก็ทยอยมาเป็นชุดๆ
โอ่งและมอสซื้อมาจัดเองครับเอามาแปะรอบปากโอ่ง ประดับด้วยพรมออสเตรเลีย และเฟิร์นนกนารีแบ่งจากกระถางที่ซื้อมา
เฟิร์นอะไรไม่รู้ทางซ้ายมือ ส่วนด้านขวากระหล่ำ(หรือเปล่า -*- )
ดาวเรือง รอเทดินปลูกและหินขาวมาตกแต่ง
พิทูเนีย
กก นางกวัก กระบองเพชร
และสมาชิกอื่นๆเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพครับ(ช่วงนี้ไอเดียกระฉูด จับอะไรได้ก็เอามาใส่หมด)
แสงแดดยามเช้า
สรุปค่าใช้จ่ายในการจัดระบบนิเวศน์
จำไม่ได้ครับ เพราะออกไปซื้อหลายครั้ง แต่ละครั้งไม่รู้มีต้นอะไรบ้าง ทั้งหมดน่าจะราวๆ 1500 บาท
หมายเหตุ – การเดินเลือกซื้อต้นไม้เล็กๆมันมีความสุขร่มรื่นอย่างบอกไม่ถูกครับ
ยังเหลืออีกสามขั้นตอน ตามมาชมกันต่อด้านล่างเลยครับ