เห็นข่าวบิ๊กโย่ง พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีพลังงาน หนึ่งในรัฐมนตรีที่โลกลืม ออกมาแถลงว่า ครึ่งปีหลังนี้จะเปิดให้เอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 หลังจากที่ กฎหมายปิโตรเลียมใหม่ ผ่านสภาแล้ว ผมก็อดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ วันนี้น้ำมันดิบล้นโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันตกต่ำยาวนาน บริษัทน้ำมันพากันเจ๊งล้มละลายกันระนาว จะมีใครมาประมูลให้ราคาสูงๆกันอีกหรือ
แค่ บ่อน้ำมันในอ่าวไทย ของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ เชฟรอน ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในอีก 5-6 ปีข้างหน้า ยังไม่รู้จะมีใครมารับซื้อต่อเลย
วันก่อน คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ซีอีโอและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ได้พูดถึงราคาน้ำมันดิบโลกที่ระดับ 30 เหรียญต่อบาร์เรล ว่า จะส่งผลกระทบให้ บริษัทน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ผลิตจากหินดินดาน เชลออยล์ เชลแก๊ส กว่า 100 บริษัท ต้องขายกิจการในไตรมาส 1 เพราะมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอจ่ายหนี้ พูดง่ายๆก็คือเจ๊งนั่นแหละ
ล่าสุด ซาบีน ออยล์ แอนด์ แก๊ส และ ควิกซิลเวอร์ รีซอร์สเซส สองบริษัทผู้ผลิตเชลออยล์ เชลแก๊สของสหรัฐฯ ก็ยื่นขอล้มละลายต่อศาล จากหนี้สินแค่ 1 พันล้านดอลลาร์ ราว 36,000 ล้านบาทเท่านั้นเอง ขณะที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่สหรัฐฯอย่าง เอ็กซอน โคโนโคฟิลลิปส์ ก็ถูกมูดี้ส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือไปเรียบร้อย
วงการน้ำมันสหรัฐฯกำลังจับตาดูว่า ถ้าสองบริษัทน้ำมันขอความคุ้มครองจากกฎหมายล้มละลายสหรัฐฯสำเร็จ จะมีผู้ผลิตรายอื่นที่กำลังมีปัญหาการเงินยื่นขอล้มละลายด้วยกว่า 100 บริษัท เพราะบริษัทน้ำมันเชลออยล์ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก
แต่ปัญหาใหญ่ที่จะตามมา ก็คือ วิกฤติการเงินของธนาคารสหรัฐฯระลอกใหม่ เพราะบริษัทน้ำมันเหล่านี้ กู้เงินจากธนาคารทั้งสิ้น ช่วงที่เชลออยล์ เชลแก๊ส กำลังฮิต เพราะมีราคาถูกกว่าน้ำมันดิบในตะวันออกกลางเยอะ ทำให้แบงก์ตัดสินใจปล่อยกู้กันง่ายมาก เพราะมีกำไรเห็นๆ แต่วันนี้เมื่อราคาน้ำมันและแก๊สพลิกผัน ธนาคารสหรัฐฯก็ต้องรับเคราะห์ เหมือนตราสารหนี้ขยะในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์กันอีกรอบ
จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญน้ำมันตัวจริง ผมฟังข้อมูลแล้วก็ช็อก ช่วงที่ผ่านมา กลุ่มโอเปก และ นอกโอเปก ไม่รวม อิหร่าน ผู้ส่งออกรายใหม่ ผลิตน้ำมันดิบล้นโลกถึงวันละ 2 ล้านบาร์เรล มิน่าราคาน้ำมันดิบจึงต่ำเตี้ยเฉลี่ยที่บาร์เรลละ 30 เหรียญไม่ฟื้นเสียที
จากการประเมินตัวเลขน้ำมันดิบส่วนที่ล้นขายไม่ออก ถึงวันนี้น่าจะมีน้ำมันดิบเก็บไว้ในสต๊อกของบริษัทน้ำมันทั่วโลกกว่า 3,000 ล้านบาร์เรล เฉพาะในสต๊อกคงคลังของสหรัฐฯประเทศเดียวก็ปาเข้าไปกว่า 500 ล้านบาร์เรลแล้ว มากที่สุดในรอบ 86 ปี
ถามว่าประเทศและบริษัทผู้ผลิตน้ำมันดิบเหล่านี้ เก็บสต๊อกน้ำมันที่ล้นเหลือไว้ที่ไหน ฟังคำตอบแล้วน่าตกใจ เก็บไว้ในคลังน้ำมันบนบกไม่พอ แต่มีการ เช่าเรือบรรทุกน้ำมันขนาดยักษ์ลำละ 300,000-500,000 ตันจากทั่วโลก เอาไปเก็บน้ำมันดิบที่ล้น แล้วลอยลำอยู่ในทะเล เพื่อรอคนซื้อ ส่งผลให้เรือขนน้ำมันดิบและแก๊สขนาดใหญ่ขาดแคลนทั่วโลก แล้วราคาน้ำมันดิบและแก๊สจะสูงขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อผู้ซื้อทุกคนรู้ข้อมูลกันหมด
ต่อให้ ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย กาตาร์ เวเนซุเอลา สี่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบและแก๊สรายใหญ่ของโลก จับมือคงกำลังการผลิตไว้เท่าเดิม (เพื่อรักษารายได้ตัวเองเอาไว้) น้ำมันดิบก็ยังล้นโลกอยู่วันละ 2 ล้านบาร์เรลอยู่ดี ยังไม่นับน้ำมันดิบในสต๊อกที่ขายไม่ออกอีกกว่า 3,000 ล้านบาร์เรล กว่าจะขายหมดก็คงอีกหลายปี
ราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ ส่งผลให้ ปตท.มีกำไรสุทธิปี 58 ลดลง 66% แต่ ปตท.และบริษัทในเครือ ก็ยังมีเงินสดอยู่ในมือสูงถึง 300,000 ล้านบาท รวยกว่าบริษัทน้ำมันต่างชาติเสียอีก
แทนที่จะไป เปิดสัมปทานรอบที่ 21 ผมคิดว่าหาทาง ให้ ปตท.เอาเงินสดในมือไปซื้อบ่อน้ำมันและแก๊สในราคาถูกมาเป็นสมบัติของชาติ จะดีกว่าและเวิร์กกว่าเยอะนะครับ ท่านรัฐมนตรี.
“ลม เปลี่ยนทิศ”
http://www.thairath.co.th/content/584890
น้ำมันดิบล้นโลก บ.น้ำมันสหรัฐฯเริ่มล้มละลาย
เห็นข่าวบิ๊กโย่ง พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีพลังงาน หนึ่งในรัฐมนตรีที่โลกลืม ออกมาแถลงว่า ครึ่งปีหลังนี้จะเปิดให้เอกชนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 หลังจากที่ กฎหมายปิโตรเลียมใหม่ ผ่านสภาแล้ว ผมก็อดรู้สึกเป็นห่วงไม่ได้ วันนี้น้ำมันดิบล้นโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันตกต่ำยาวนาน บริษัทน้ำมันพากันเจ๊งล้มละลายกันระนาว จะมีใครมาประมูลให้ราคาสูงๆกันอีกหรือ
แค่ บ่อน้ำมันในอ่าวไทย ของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ เชฟรอน ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในอีก 5-6 ปีข้างหน้า ยังไม่รู้จะมีใครมารับซื้อต่อเลย
วันก่อน คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช ซีอีโอและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ได้พูดถึงราคาน้ำมันดิบโลกที่ระดับ 30 เหรียญต่อบาร์เรล ว่า จะส่งผลกระทบให้ บริษัทน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ผลิตจากหินดินดาน เชลออยล์ เชลแก๊ส กว่า 100 บริษัท ต้องขายกิจการในไตรมาส 1 เพราะมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอจ่ายหนี้ พูดง่ายๆก็คือเจ๊งนั่นแหละ
ล่าสุด ซาบีน ออยล์ แอนด์ แก๊ส และ ควิกซิลเวอร์ รีซอร์สเซส สองบริษัทผู้ผลิตเชลออยล์ เชลแก๊สของสหรัฐฯ ก็ยื่นขอล้มละลายต่อศาล จากหนี้สินแค่ 1 พันล้านดอลลาร์ ราว 36,000 ล้านบาทเท่านั้นเอง ขณะที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่สหรัฐฯอย่าง เอ็กซอน โคโนโคฟิลลิปส์ ก็ถูกมูดี้ส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือไปเรียบร้อย
วงการน้ำมันสหรัฐฯกำลังจับตาดูว่า ถ้าสองบริษัทน้ำมันขอความคุ้มครองจากกฎหมายล้มละลายสหรัฐฯสำเร็จ จะมีผู้ผลิตรายอื่นที่กำลังมีปัญหาการเงินยื่นขอล้มละลายด้วยกว่า 100 บริษัท เพราะบริษัทน้ำมันเชลออยล์ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก
แต่ปัญหาใหญ่ที่จะตามมา ก็คือ วิกฤติการเงินของธนาคารสหรัฐฯระลอกใหม่ เพราะบริษัทน้ำมันเหล่านี้ กู้เงินจากธนาคารทั้งสิ้น ช่วงที่เชลออยล์ เชลแก๊ส กำลังฮิต เพราะมีราคาถูกกว่าน้ำมันดิบในตะวันออกกลางเยอะ ทำให้แบงก์ตัดสินใจปล่อยกู้กันง่ายมาก เพราะมีกำไรเห็นๆ แต่วันนี้เมื่อราคาน้ำมันและแก๊สพลิกผัน ธนาคารสหรัฐฯก็ต้องรับเคราะห์ เหมือนตราสารหนี้ขยะในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์กันอีกรอบ
จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญน้ำมันตัวจริง ผมฟังข้อมูลแล้วก็ช็อก ช่วงที่ผ่านมา กลุ่มโอเปก และ นอกโอเปก ไม่รวม อิหร่าน ผู้ส่งออกรายใหม่ ผลิตน้ำมันดิบล้นโลกถึงวันละ 2 ล้านบาร์เรล มิน่าราคาน้ำมันดิบจึงต่ำเตี้ยเฉลี่ยที่บาร์เรลละ 30 เหรียญไม่ฟื้นเสียที
จากการประเมินตัวเลขน้ำมันดิบส่วนที่ล้นขายไม่ออก ถึงวันนี้น่าจะมีน้ำมันดิบเก็บไว้ในสต๊อกของบริษัทน้ำมันทั่วโลกกว่า 3,000 ล้านบาร์เรล เฉพาะในสต๊อกคงคลังของสหรัฐฯประเทศเดียวก็ปาเข้าไปกว่า 500 ล้านบาร์เรลแล้ว มากที่สุดในรอบ 86 ปี
ถามว่าประเทศและบริษัทผู้ผลิตน้ำมันดิบเหล่านี้ เก็บสต๊อกน้ำมันที่ล้นเหลือไว้ที่ไหน ฟังคำตอบแล้วน่าตกใจ เก็บไว้ในคลังน้ำมันบนบกไม่พอ แต่มีการ เช่าเรือบรรทุกน้ำมันขนาดยักษ์ลำละ 300,000-500,000 ตันจากทั่วโลก เอาไปเก็บน้ำมันดิบที่ล้น แล้วลอยลำอยู่ในทะเล เพื่อรอคนซื้อ ส่งผลให้เรือขนน้ำมันดิบและแก๊สขนาดใหญ่ขาดแคลนทั่วโลก แล้วราคาน้ำมันดิบและแก๊สจะสูงขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อผู้ซื้อทุกคนรู้ข้อมูลกันหมด
ต่อให้ ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย กาตาร์ เวเนซุเอลา สี่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันดิบและแก๊สรายใหญ่ของโลก จับมือคงกำลังการผลิตไว้เท่าเดิม (เพื่อรักษารายได้ตัวเองเอาไว้) น้ำมันดิบก็ยังล้นโลกอยู่วันละ 2 ล้านบาร์เรลอยู่ดี ยังไม่นับน้ำมันดิบในสต๊อกที่ขายไม่ออกอีกกว่า 3,000 ล้านบาร์เรล กว่าจะขายหมดก็คงอีกหลายปี
ราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ ส่งผลให้ ปตท.มีกำไรสุทธิปี 58 ลดลง 66% แต่ ปตท.และบริษัทในเครือ ก็ยังมีเงินสดอยู่ในมือสูงถึง 300,000 ล้านบาท รวยกว่าบริษัทน้ำมันต่างชาติเสียอีก
แทนที่จะไป เปิดสัมปทานรอบที่ 21 ผมคิดว่าหาทาง ให้ ปตท.เอาเงินสดในมือไปซื้อบ่อน้ำมันและแก๊สในราคาถูกมาเป็นสมบัติของชาติ จะดีกว่าและเวิร์กกว่าเยอะนะครับ ท่านรัฐมนตรี.
“ลม เปลี่ยนทิศ”
http://www.thairath.co.th/content/584890