..พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป
เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น
งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย...
------
(บาลี) มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.
ในประเทศไทยนั้น ได้จัดตั้ง “คณะพระธรรมจาริก” ขึ้นมาดำเนินงานด้านการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาในหมู่บ้านชาวเขาที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายบนภูเขาตามจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย
พระธรรมจาริก คือ บุคคลที่เป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา ได้อาสาไปปฏิบัติงานประจำอยู่ตามอาศรมในหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตกของประเทศไทย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านบริหารจัดการ คือโครงการพระธรรมจาริกได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ชาวเขาแต่ละเผ่าซึ่งแต่เดิมมีคติความเชื่อตามจารีตประเพณีที่แตกต่างจากคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาได้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ดังตัวอย่างนี้
วันที่ 6 เมษายน 2508 คณะพระธรรมจาริก นำโดยพระราชเวที ปัจจุบันคือเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นหัวหน้าคณะ ได้นำพระธรรมจาริกออกปฏิบัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหมู่บ้านชาวเขาทับเบิก และหมู่บ้านชาวเขาเผ่าแม้วป่ายาบ ผลงาน ชาวเขา 4 ครอบครัว ยินยอมให้ลูกชายบวชในเวลาต่อมา 4 คน
พระมหาสมศักดิ์ สุทธิญาณเมธี- รองประธานคณะพระธรรมจาริก อาจารย์ใหญ่สำนักวัดเบญจมบพิตร เลขานุการเจ้าสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร ให้ความเห็นว่า
" พ.ศ. 2508 เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สมัครเป็นพระธรรมจาริกรุ่นแรก (พระปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่กันดาร) ไปอยู่สงเคราะห์ประชาชนเผ่าม้งที่บ้านภูลมโล จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ชักชวนให้กุลบุตรเผ่าม้งมาบรรพชาอุปสมบทเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2538 - 2558 เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ดำรงตำแหน่งประธานคณะพระธรรมจาริก มีหน้าที่กำกับดูแล คณะพระธรรมจาริก และสงเคราะห์ประชาชนบนพื้นที่สูง ทั้งที่อายุมาก แต่ก็มีความห่วงใยพระและชาวบ้านเป็นอย่างมาก บางพื้นที่กันดารลำบาก ด้วยการเดินทาง ขนาดคนหนุ่มอย่างเราเดินทางยังลำบาก แต่ท่านก็เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจพระ และชาวบ้านบนพื้นที่สูง หากไปไม่ได้ก็ช่วยสงเคราะห์สิ่งของ ปัจจัยต่างๆ สมทบสิ่งก่อสร้าง เป็นประจำ ตลอด ๒๐ ปี ถือว่าได้ว่า คณะพระธรรมจาริก และประชาชนบนพื้นที่สูง ได้รับเมตตาจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มากมายเหลือคณานับ และเป็นเกียรติและความสุขใจที่อยู่ใต้ร่มบารมีธรรมอันอบอุ่นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ..."
บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริก ระหว่างปี พศ 2508 - 2558 มีผลงานเด่นชัด คือด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
จากผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยชาวเขาได้แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวเขาที่มีต่อพระธรรมจาริกเป็นอย่างมากถึงกับมีความต้องการให้บุตรหลานของตนได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา ดังรายละเอียดผลสำรวจดังนี้
ชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ต้องการให้บุตรหลานบวช คิดเป็นร้อยละ 63
ชาวเขาเผ่ามูเซอ ต้องการให้บุตรหลานบวช คิดเป็นร้อยละ 60
เผ่า แม้ว เย้า อีก้อ ต้องการให้บุตรหลานบวช คิดเป็นร้อยละ 83
*อ้างอิง กรมประชาสงเคราะห์ (2528 ) การประเมิณผลการให้คำปรึกษาของพระธรรมจาริก
ภารกิจด้านศาสนา เป็นแนวคิดที่กำหนดกรอบและแนวทางการปฏิบัติงานของพระธรรมจาริกในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยตรง ซึ่งได้วางไว้ ดังนี้
1) ปฏิบัติงานด้านพัฒนาจิตใจชักชวนให้ชาวเขานำคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน
2) สนับสนุนให้ชาวเขาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
3) เมื่อชาวเขาเกิดศรัทธาเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา ส่งบุตรหลานเข้าบรรพชาอุปสมบท ให้อำนวยความสะดวกให้สำเร็จสมเจตนา โดยคัดเลือกกุลบุตรชาวเขาเหล่านั้น นำส่งรายชื่อที่สำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค
4) ปฏิบัติศาสนกิจได้แก่ การทำวัตรเช้า-เย็นสวดมนต์เจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ออกบิณฑบาตตามแบบอย่างของพุทธบุตร เมื่อชาวเขานำอาหารมาถวายที่อาศรม
แนะนำให้รู้จักศาสนพิธี เช่น ไหว้พระ อาราธนาศีล รับศีล เป็นต้น
5) ชักชวนชาวเขาให้ร่วมมือกันบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะในอาศรม ปรับปรุงบริเวณพื้นที่อาศรมให้เป็นที่ร่มรื่น เพื่อสร้างศรัทธาแก่ผู้พบเห็น
6) จัดให้มีการทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเป็นประจำทุกวันธรรมสวนะ
7) จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลตามเทศกาลในวาระต่างๆ ตามประเพณีทางพระพุทธศาสนา
ปัจจุบัน คณะพระธรรมจาริก มีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เป็นประธานคณะพระธรรมจาริกส่วนกลาง และสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค ตั้งอยู่ที่วัดศรีโสดา อ. เมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพระเทพโกศลเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา (วัดอารามหลวง) และเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานคณะกรรมการบริหารงาน ครอบคลุมพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคเหนือ
พระธรรมจาริก
เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น
งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย...
------
(บาลี) มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.
ในประเทศไทยนั้น ได้จัดตั้ง “คณะพระธรรมจาริก” ขึ้นมาดำเนินงานด้านการเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาในหมู่บ้านชาวเขาที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายบนภูเขาตามจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย
พระธรรมจาริก คือ บุคคลที่เป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา ได้อาสาไปปฏิบัติงานประจำอยู่ตามอาศรมในหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตกของประเทศไทย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านบริหารจัดการ คือโครงการพระธรรมจาริกได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ชาวเขาแต่ละเผ่าซึ่งแต่เดิมมีคติความเชื่อตามจารีตประเพณีที่แตกต่างจากคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาได้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ดังตัวอย่างนี้
วันที่ 6 เมษายน 2508 คณะพระธรรมจาริก นำโดยพระราชเวที ปัจจุบันคือเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นหัวหน้าคณะ ได้นำพระธรรมจาริกออกปฏิบัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหมู่บ้านชาวเขาทับเบิก และหมู่บ้านชาวเขาเผ่าแม้วป่ายาบ ผลงาน ชาวเขา 4 ครอบครัว ยินยอมให้ลูกชายบวชในเวลาต่อมา 4 คน
พระมหาสมศักดิ์ สุทธิญาณเมธี- รองประธานคณะพระธรรมจาริก อาจารย์ใหญ่สำนักวัดเบญจมบพิตร เลขานุการเจ้าสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร ให้ความเห็นว่า
" พ.ศ. 2508 เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สมัครเป็นพระธรรมจาริกรุ่นแรก (พระปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่กันดาร) ไปอยู่สงเคราะห์ประชาชนเผ่าม้งที่บ้านภูลมโล จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้ชักชวนให้กุลบุตรเผ่าม้งมาบรรพชาอุปสมบทเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2538 - 2558 เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ดำรงตำแหน่งประธานคณะพระธรรมจาริก มีหน้าที่กำกับดูแล คณะพระธรรมจาริก และสงเคราะห์ประชาชนบนพื้นที่สูง ทั้งที่อายุมาก แต่ก็มีความห่วงใยพระและชาวบ้านเป็นอย่างมาก บางพื้นที่กันดารลำบาก ด้วยการเดินทาง ขนาดคนหนุ่มอย่างเราเดินทางยังลำบาก แต่ท่านก็เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจพระ และชาวบ้านบนพื้นที่สูง หากไปไม่ได้ก็ช่วยสงเคราะห์สิ่งของ ปัจจัยต่างๆ สมทบสิ่งก่อสร้าง เป็นประจำ ตลอด ๒๐ ปี ถือว่าได้ว่า คณะพระธรรมจาริก และประชาชนบนพื้นที่สูง ได้รับเมตตาจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มากมายเหลือคณานับ และเป็นเกียรติและความสุขใจที่อยู่ใต้ร่มบารมีธรรมอันอบอุ่นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ..."
บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมจาริก ระหว่างปี พศ 2508 - 2558 มีผลงานเด่นชัด คือด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
จากผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยชาวเขาได้แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวเขาที่มีต่อพระธรรมจาริกเป็นอย่างมากถึงกับมีความต้องการให้บุตรหลานของตนได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา ดังรายละเอียดผลสำรวจดังนี้
ชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ต้องการให้บุตรหลานบวช คิดเป็นร้อยละ 63
ชาวเขาเผ่ามูเซอ ต้องการให้บุตรหลานบวช คิดเป็นร้อยละ 60
เผ่า แม้ว เย้า อีก้อ ต้องการให้บุตรหลานบวช คิดเป็นร้อยละ 83
*อ้างอิง กรมประชาสงเคราะห์ (2528 ) การประเมิณผลการให้คำปรึกษาของพระธรรมจาริก
ภารกิจด้านศาสนา เป็นแนวคิดที่กำหนดกรอบและแนวทางการปฏิบัติงานของพระธรรมจาริกในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยตรง ซึ่งได้วางไว้ ดังนี้
1) ปฏิบัติงานด้านพัฒนาจิตใจชักชวนให้ชาวเขานำคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน
2) สนับสนุนให้ชาวเขาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
3) เมื่อชาวเขาเกิดศรัทธาเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา ส่งบุตรหลานเข้าบรรพชาอุปสมบท ให้อำนวยความสะดวกให้สำเร็จสมเจตนา โดยคัดเลือกกุลบุตรชาวเขาเหล่านั้น นำส่งรายชื่อที่สำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค
4) ปฏิบัติศาสนกิจได้แก่ การทำวัตรเช้า-เย็นสวดมนต์เจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ออกบิณฑบาตตามแบบอย่างของพุทธบุตร เมื่อชาวเขานำอาหารมาถวายที่อาศรม
แนะนำให้รู้จักศาสนพิธี เช่น ไหว้พระ อาราธนาศีล รับศีล เป็นต้น
5) ชักชวนชาวเขาให้ร่วมมือกันบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะในอาศรม ปรับปรุงบริเวณพื้นที่อาศรมให้เป็นที่ร่มรื่น เพื่อสร้างศรัทธาแก่ผู้พบเห็น
6) จัดให้มีการทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเป็นประจำทุกวันธรรมสวนะ
7) จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลตามเทศกาลในวาระต่างๆ ตามประเพณีทางพระพุทธศาสนา
ปัจจุบัน คณะพระธรรมจาริก มีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เป็นประธานคณะพระธรรมจาริกส่วนกลาง และสำนักงานบริหารงานโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค ตั้งอยู่ที่วัดศรีโสดา อ. เมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีพระเทพโกศลเจ้าอาวาสวัดศรีโสดา (วัดอารามหลวง) และเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานคณะกรรมการบริหารงาน ครอบคลุมพื้นที่ ๑๔ จังหวัดภาคเหนือ