****** ปัญหาภัยขาดนำ้กิน !!!! เเก้ได้ด้วย ระบบไอที บริหารน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ****** ( by : Robinhood 9 )
การนำไอทีมาช่วยบริหารน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
แผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเปิด-ปิดประตูน้ำทุกเขื่อนด้วยระบบไอทีแบบเรียลไทม์นั้น เป็นการทำงานร่วมกันของ สนนก. กรมชลฯ กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการรวบรวมข้อมูล และรายงานสถานการณ์ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำลองเป็นโมเดลขึ้นมา ตั้งแต่ฝนตก น้ำหลาก โดยโครงการนี้มีการนำร่องแล้วที่เขื่อนเจ้าพระยา และจากนี้จะมีการขยายผลไปที่ภาคอีสานโดยจะเริ่มในปีนี้ และถัดไป คือภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคตะวันตก จนครบทั้งประเทศ
“การนำระบบไอทีมาใช้กับการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมา ในด้านการขุดลอกลำคลองแม่น้ำ ซึ่งจากระบบเดิมเห็นเพียงภาพน้ำที่อยู่ริมตลิ่ง 2 ฝั่งของเจ้าพระยา แต่หลังจากที่ใช้ไอทีเข้ามาช่วยจะทำให้เห็นได้ว่า ตะกอนไปกองอยู่ตรงไหน ดังนั้นเวลาขุดลอกไม่จำเป็นต้องขุดลอกทั้งลำน้ำอีกต่อไป”
ขณะเดียวกันยังมีแผนการจัดการน้ำในขั้นต่อไปของกรมทรัพยากรน้ำที่อยู่ระหว่างจัดทำโมเดลสำหรับนอกเขตชลประทาน เพื่อมาต่อเข้ากับระบบชลประทาน และเชื่อมต่อเข้ากับระดับน้ำที่อ่าวไทย ซึ่งโครงการนี้จะทำให้การบริหารจัดการน้ำนอกเขตพื้นที่กรมชลประทานมีศักยภาพมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีพื้นที่นอกเขตชลประทาน 87% และภาคอีสานถึง 94%
เมื่อโครงการนี้วางระบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะทำให้สามารถบริหารจัดการได้ล่วงหน้า 7 วัน และสามารถประเมินสถานการณ์ เช่น ที่เขื่อนแม่กวงจะสามารถประเมินได้ว่ามีปริมาณน้ำในระดับใกล้จุดที่ต้องการเตือนหรือเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้มาลงในระบบ เพื่อจะจำลองการไหลของลำน้ำได้ทั้งหมด
ดังนั้นการที่ภาครัฐมีแผนการจัดการน้ำที่ดีแล้ว จะทำให้แก้ปัญหาน้ำได้ทั้งระบบคือไม่ให้มีน้ำท่วมและในช่วงหน้าแล้งก็ไม่เกิดปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำเหมือนที่ผ่านมา!
****** ปัญหาภัยขาดนำ้กิน !!!! เเก้ได้ด้วย ระบบไอที บริหารน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ****** ( by : Robinhood 9 )
การนำไอทีมาช่วยบริหารน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
แผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเปิด-ปิดประตูน้ำทุกเขื่อนด้วยระบบไอทีแบบเรียลไทม์นั้น เป็นการทำงานร่วมกันของ สนนก. กรมชลฯ กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการรวบรวมข้อมูล และรายงานสถานการณ์ เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาจำลองเป็นโมเดลขึ้นมา ตั้งแต่ฝนตก น้ำหลาก โดยโครงการนี้มีการนำร่องแล้วที่เขื่อนเจ้าพระยา และจากนี้จะมีการขยายผลไปที่ภาคอีสานโดยจะเริ่มในปีนี้ และถัดไป คือภาคตะวันออก ภาคใต้และภาคตะวันตก จนครบทั้งประเทศ
“การนำระบบไอทีมาใช้กับการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมา ในด้านการขุดลอกลำคลองแม่น้ำ ซึ่งจากระบบเดิมเห็นเพียงภาพน้ำที่อยู่ริมตลิ่ง 2 ฝั่งของเจ้าพระยา แต่หลังจากที่ใช้ไอทีเข้ามาช่วยจะทำให้เห็นได้ว่า ตะกอนไปกองอยู่ตรงไหน ดังนั้นเวลาขุดลอกไม่จำเป็นต้องขุดลอกทั้งลำน้ำอีกต่อไป”
ขณะเดียวกันยังมีแผนการจัดการน้ำในขั้นต่อไปของกรมทรัพยากรน้ำที่อยู่ระหว่างจัดทำโมเดลสำหรับนอกเขตชลประทาน เพื่อมาต่อเข้ากับระบบชลประทาน และเชื่อมต่อเข้ากับระดับน้ำที่อ่าวไทย ซึ่งโครงการนี้จะทำให้การบริหารจัดการน้ำนอกเขตพื้นที่กรมชลประทานมีศักยภาพมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีพื้นที่นอกเขตชลประทาน 87% และภาคอีสานถึง 94%
เมื่อโครงการนี้วางระบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะทำให้สามารถบริหารจัดการได้ล่วงหน้า 7 วัน และสามารถประเมินสถานการณ์ เช่น ที่เขื่อนแม่กวงจะสามารถประเมินได้ว่ามีปริมาณน้ำในระดับใกล้จุดที่ต้องการเตือนหรือเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านี้มาลงในระบบ เพื่อจะจำลองการไหลของลำน้ำได้ทั้งหมด
ดังนั้นการที่ภาครัฐมีแผนการจัดการน้ำที่ดีแล้ว จะทำให้แก้ปัญหาน้ำได้ทั้งระบบคือไม่ให้มีน้ำท่วมและในช่วงหน้าแล้งก็ไม่เกิดปัญหาวิกฤตขาดแคลนน้ำเหมือนที่ผ่านมา!