เพื่อนๆๆ......ใครเคยลอง...นึกถึงความตายอยู่เนื่องๆทั้งวันบ้าง??

กระทู้สนทนา
 ธิดาช่างหูก เป็นชาดกที่เราอ่าน รู้ชอบเป็นส่วนตัวปลง ปล่อยว่างดีครับ เลยอยากเอามาแบ่งปันแก่เพื่อนๆครับ



 บุคคลผู้มีอุปนัยในทางธรรมเมื่อได้ฟังธรรมแม้เพียงครั้งเดียวก็มีใจดื่มด่ำอยากทำตาม ส่วนผู้ไม่มีอุปนิสัยแม้ฟังแล้วฟังอีก อยู่ใกล้ชิดกับบุคคลผู้มีธรรม แต่กระแสธรรมก็หาได้ซึมซาบไม่ หากเขาไม่ข่มใจให้สนใจเสียบ้างในครั้งแรกๆ อุปนิสัยก็จะไม่เกิดขึ้น และคงจะเป็นอยู่เช่นนั้นเรื่อยไป  

…ครั้งหนึ่งเมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จถึงเมืองอาราวี ชาวเมืองอาราวีดีใจชวนกันอาราธนาพระองค์และถวายทานอย่างมโหฬารยิ่ง เมื่อเสวยเสร็จแล้วพระองค์ทรงอนุโมทนาปฏิสังยุตด้วยมรณสติคาถาว่า

"ดูก่อน ชาวเมืองอาราวีทั้งหลาย ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่ความตายเป็นสิ่งที่แน่นอน เราทั้งหลายจะต้องตายเป็นแน่แท้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ชีวิตทุกชีวิตมีความตายเป็นที่สุด จบลงด้วยความตาย ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติภาวนาดังนี้เถิด เพราะบุคคลที่ไม่เคยเจริญมรณสติภาวนา เมื่อถึงมรณสมัยย่อมถึงความสะดุ้ง หวาดกลัว ปานประหนึ่งได้เห็นอสรพิษอันมีพิษร้าย ส่วนบุคคลผู้ได้เจริญมรณสติภาวนาอยู่เสมอ ย่อมไม่กลัว ไม่สะดุ้ง เมื่อความตายใกล้เข้ามา อายุของมนุษย์นี้น้อยนักจำต้องไปสู่สัมปรายภพ จึงควรรีบทำกุศล รีบประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายนั้นเป็นอันไม่มี ผู้ที่อยู่ได้นานก็เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่เกิน ๑๐๐ ปีไปก็น้อยคนนัก อายุของมนุษย์นี้น้อยนัก คนดีมีปัญญาพึงดูหมิ่นอายุนั้น คือไม่ควรภูมิใจ เพลินใจในอายุว่ามีมาก พึงรีบประพฤติความดีเสมือนบุคคลผู้อันไฟติดทั่วแล้วที่ศีรษะรีบดับเสียโดยพลันเรื่องความตายจะไม่มาถึงนั้นเป็นอันไม่มี บุคคลใดเจริญมรณสติว่าน่าปลื้มใจหนอ ที่เราอยู่มาได้ตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง โดยที่อันตรายแห่งชีวิตไม่เข้ามาตัดรอนซะในระหว่าง ดังนี้"

ด้วยเหตุนี้เราจึงควรใส่ใจคำสอนของพระผู้มีพระภาค การเจริญมรณสตินั้นทำทุกวันทุกครึ่งวัน ทุกชั่วโมงก็น้อยไป ความจริงมรณสตินั้นบุคคลควรทำทุกลมหายใจเข้าและออก อย่างนี้แหละจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาท

ประชาชนชาวอาราวีนั้นส่วนมากเมื่อฟังพระธรรมเทศนา อนุโมทนาจบแล้วก็รีบกลับไป เพราะเป็นผู้ที่ขวนขวายในกิจธุระของตน แต่ว่ามีเด็กสาวคนหนึ่งเป็นธิดานายช่างหูก มีอายุประมาณ ๑๕-๑๖ ปี คิดว่า

"โอ้ พระดำรัสของพระพุทธเจ้าช่างอัศจรรย์จริงหนอ เราควรเจริญมรณสติอย่างที่พระองค์ตรัสสอน" คิดดังนี้แล้วจึงเจริญมรณสติทั้งกลางวันและกลางคืน

บุคคลผู้มีอุปนัยในทางธรรมเมื่อได้ฟังธรรมแม้เพียงครั้งเดียวก็มีใจดื่มด่ำอยากทำตาม ส่วนผู้ไม่มีอุปนิสัยแม้ฟังแล้วฟังอีก อยู่ใกล้ชิดกับบุคคลผู้มีธรรม แต่กระแสธรรมก็หาได้ซึมซาบไม่ หากเขาไม่ข่มใจให้สนใจเสียบ้างในครั้งแรกๆ อุปนิสัยก็จะไม่เกิดขึ้น และคงจะเป็นอยู่เช่นนั้นเรื่อยไป

พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากเมืองอาราวี แล้วเสด็จไปสู่เมืองสาวัตถี ประทับอยู่ ณ วัดเชตุวัน

ส่วนกุมาริกาธิดาของนายช่างหูก หลังจากที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาอันสัมปยุทธด้วยมรณสติภาวนาแล้วก็ลองทำดู ก็เห็นผลว่าทำให้จิตใจสงบไม่กลัวตาย มีสติ สังเวช และญาณ นางจึงบำเพ็ญติดต่อกันเป็นเวลา ๓ ปี และได้เห็นผลดีขึ้นตามลำดับๆ

เช้าวันหนึ่งพระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกตามพุทธประเพณี ทรงเห็นกุมาริกาธิดาแห่งนายช่างหูกชาวเมืองอาราวี ได้เข้าไปในข่ายคือพระญาณของพระองค์ พระองค์ทรงพิจารณาต่อไปอีกก็ทรงทราบว่า ตั้งแต่วันที่ธิดาของนายช่างหูกฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์แล้ว ก็เจริญ มรณสติอยู่นานถึง ๓ ปี

"เธอมีอุปนิสัยควรแก่โสดาปัตติผล"

ทรงดำริต่อไปว่า "เราควรไปในที่นั้น แล้วถามปัญหา ๔ ข้อแก่นาง นางจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล"

และแล้วพระผู้มีพระภาค มีพระภิกษุสงฆ์นับร้อยเป็นบริวาร เสด็จไปสู่เมืองอาราวี ประทับอยู่ ณ อักคารววิหาร

ชาวเมืองอาราวีพูดกันว่า พระศาสดาแสดงมาแล้ว จึงพากันไปสู่วิหารนั้น แม้ธิดาแห่งนายช่างหูกได้ฟังการมาของพระศาสดาแล้ว คิดว่า

"บิดาของเรามาแล้ว พระองค์ทรงเป็นอาจารย์ของเราด้วย พระองค์ทรงพระนามว่าโคตมะพุทธะ ผู้มีพระพักตร์เปล่งปลั่งเบิกบานประดุจดวงจันทร์ เป็นเวลาถึง ๓ ปีแล้วที่เราไม่ได้เห็นพระศาสดาผู้มีพระฉวีดุจไล้ด้วยทอง วันนี้แหละเราจะได้เห็นพระองค์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ไพเราะจับใจยิ่ง"

บังเอิญบิดาของนางกำลังจะไปโรงทอผ้า ได้สั่งนางไว้ในเวลานั้นว่า

"ลูกรัก พ่อรับทอผ้าของลูกค้าคนหนึ่งไว้ กำลังทอค้างอยู่พอดีด้ายหมด ให้ลูกช่วยกรอด้ายให้พ่อด้วย พ่อจะต้องให้เสร็จในวันนี้"

กุมาริกาคิดว่า เราจะประสงค์จะไปฟังธรรมของพระศาสดา แต่ว่าบิดาสั่งให้กรอด้าย

"เราจะทำอย่างไรดี จะกรอด้ายให้บิดาหรือว่าจะไปฟังธรรมของพระผู้มีพระภาค หากว่าเราทิ้งงานของบิดาไปฟังธรรม ท่านอาจจะโบยหรือตีเรา เพราะฉะนั้นเราควรกรอด้ายให้เสร็จเสียก่อน แล้วไปฟังธรรมที่หลัง"

คิดดังนี้แล้วนางจึงนั่งกรอด้ายอยู่บนเตียงน้อย แต่ว่าจิตใจของนางนั้นพะวงอยู่แต่การเข้าไปเฝ้าพระศาสดาตลอดเวลา

ชาวอาราวีอังคาสพระตถาคตเจ้าด้วย ขาทนียโภชนียาหาร อันประเสริฐแล้ว รับบาตรของพระองค์ และยืนเฝ้าอยู่เพื่อรับการอนุโมทนา

พระจอมมุนีไม่เห็นกุมาริกาธิดานายช่างหูก จึงทรงดำริว่า

"เราเดินทางมาถึง ๓๐ โยชน์ เพื่อโปรดธิดานายช่างหูก แต่ว่าบัดนี้นางยังไม่มีโอกาสมาหาเรา เมื่อนางมาแล้วเราจึงค่อยทำอนุโมทนา"

ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงทรงดุษณีอยู่ เมื่อพระศาสดาทรงนิ่งใครๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกก็ไม่อาจจะให้พระองค์ตรัสได้ พุทธบริษัททุกคนจึงเงียบหมด บรรยากาศอยู่ในสภาพเช่นนั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่งธิดาของนายช่างหูกกรอด้ายเสร็จแล้ว เก็บใส่ไว้ในกระเช้าแล้วรีบมาสู่สำนักของพระศาสดา นางยืนอยู่ตอนท้ายของพุทธบริษัทยืนมองดูพระศาสดาอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงชะเง้อพระศอมองดูนางเหมือนกัน ธิดานายช่างหูกเป็นคนฉลาด เมื่อเห็นพระอาการเช่นนั้นก็ทราบว่า พระศาสดาคงรอการมาของตน มิฉะนั้นแล้วไฉนเล่าพระองค์จึงทรงชะเง้ออยู่ท่ามกลางพุทธบริษัทมากมาย นางจึงวางของที่ติดมือมา คือกระเช้าด้ายหลอด เข้าไปสู่ที่ใกล้ของพระผู้มีพระภาค

เหตุไฉนพระศาสดาจึงทรงกระทำเช่นนั้น เพราะพระมหากรุณา พระองค์ทรงดำริว่า การตายของปุถุชนนั้นมีคติไม่แน่นอน ธิดาช่างหูกมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว เมื่อได้ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อ นางจักได้บรรลุโสดาปัตติผล และมีคติที่แน่นอนไม่ตกต่ำอีกเลย และนางจะต้องตายในวันนั้นไม่สามารถหลีกพ้นได้ ดูเถิด พระมหากรุณาของพระตถาคตเจ้า

นางเข้าไปเฝ้าพระศาสดาด้วยสัญญาณที่พระองค์ทรงมองดูนั้น ถวายบังคมแล้วยืนอยู่

พระศาสดาตรัสถามนางว่า "ดูก่อนกุมาริกา เธอมาจากไหน"

"ไม่ทราบพระเจ้าข้า" นางทูลตอบ

"เธอจะไปไหน"

"ไม่ทราบพระเจ้าข้า"

"เธอไม่ทราบรึ"

"ทราบพระเจ้าข้า"

"เธอทราบรึ"

"ไม่ทราบพระเจ้าข้า"

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อแก่นาง ด้วยประการฉะนี้ มหาชนซึ่งประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ได้ฟังแล้วก็พากันตำหนิว่า "ดูเถิด ท่านทั้งหลาย ธิดาช่างหูกกล้ากล่าวเล่นลิ้นกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนี้ ก็เมื่อพระองค์ตรัสถามแล้ว ตอบเสียตามความเป็นจริงมิได้หรือว่า มาจากเรือนของนายช่างหูกผู้เป็นบิดา และจะไปสู่โรงทอผ้า"

พระตถาคตเจ้าทรงทราบเรื่องที่มหาชนตำหนินางเช่นนั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า

"ที่เธอบอกว่า ไม่ทราบว่ามาจากไหนนั้น หมายความว่าอย่างไร"

"ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐข้าพระพุทธเจ้าทราบดีว่ามาจากเรือนของนายช่างหูก แต่ไม่ทราบว่าก่อนที่จะมาเกิดในชาตินี้ข้าพระพุทธเจ้ามาจากกำเนิดใด เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงทูลว่าไม่ทราบ"

"ก็เมื่อเราถามว่าเธอจะไปไหน ทำไมเธอจึงบอกว่าไม่ทราบ"

"ข้าพระองค์ทราบว่าจะไปสู่โรงทอผ้า แต่ข้าพระองค์ไม่อาจทราบได้ว่าเมื่อสิ้นชีพจากชาตินี้แล้วจะไปเกิดในที่ใด จะถือกำเนิดเป็นมนุษย์ หรือเดรัจฉาน เปรต อสูรกาย หรือเทพเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง"

"เมื่อเราถามว่า ไม่ทราบรึ เธอตอบว่าทราบ หมายความว่าอย่างไร"

"ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์ทราบว่าข้าพระองค์จะต้องตายอย่างแน่นอน"

"เมื่อเราถามว่า เธอทราบรึ เหตุไฉนเธอตอบว่าไม่ทราบ"

"ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบว่าจะตายวันใด จะตายเวลาใด และจะตายที่ไหน"

พระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการทุกครั้งที่นางตอบปัญหาของพระองค์ รวม ๔ ครั้ง และแล้วพระองค์ก็ได้ตรัสกับประชาชนว่า

"ท่านทั้งหลาย ท่านมิได้รู้ความหมายอันลึกซึ้งที่ธิดาช่างหูกกล่าวแล้วจึงติเตียน บัดนี้เธอได้อธิบายจนแจ่มแจ้งแล้ว เราสาธุการต่อคำตอบของเธอ คำตอบนั้นถูกต้อง บุคคลผู้มีจักษุพิจารณาแล้วย่อมเห็นตาม"

พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า "โลกนี้มืดยิ่งนัก สัตว์โลกส่วนใหญ่เป็นผู้มืดบอด มีน้อยคนที่มีปัญญาเห็นแจ้ง และมีคนจำนวนน้อยที่ไปสวรรค์ เหมือนนกที่ติดข่ายแล้ว ที่รอดพ้นจากข่ายของนายพรานได้นั้นมีน้อยนัก โลกนี้มืดยิ่งนัก มืดอยู่ด้วยอวิชชาและความหลงผิด หาใช่ความมืดของอากาศโลกไม่ แต่หมายถึงสัตว์โลก สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลก เขาอยู่ในความมืดจนเคยชินกับความมืดนั้น แต่เมื่อใดเขาค่อยๆ เดินออกมาสู่แสงสว่างทีละน้อยๆ กระทั่งได้รับแสงสว่างเต็มที่ เขาจะได้การเปรียบเทียบ จึงรู้ว่าการอยู่ในความมืดนั้นเป็นความทรมาน เป็นการเสี่ยงต่ออันตรายอันน่าหวาดกลัว และการอยู่ในที่ใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยแสงสว่างนั้นเป็นความผาสุข มีอันตรายน้อย มีโอกาสเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงได้มากกว่า เป็นที่น่าเสียดายว่ามีคนเป็นจำนวนน้อยที่มีปัญญาเห็นแจ้งว่าอะไรเป็นอะไร ความจริงก็พอจะรู้บ้างว่าอะไรควรเว้นอะไรควรทำ แต่อะไรเล่าที่ทำให้เขาต้องตกอยู่ในห้วงแห่งความมืด อะไรเล่าที่ทำให้เขาต้องทนทรมานอยู่ในข่ายคือโมหะ อาจเป็นเพราะเขาประมาทมัวเมาเกินไป อาจเป็นเพราะเขาเห็นคุณค่าของธรรมะน้อยเกินไป หรือเพราะไม่อาจทนต่อสิ่งเร้าอันยั่วยวนต่างๆ ได้"

เมื่อจบพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ธิดาช่างหูกได้บรรลุโสดาปัตติผล พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก ธิดาช่างหูกถวายบังคมพระศาสดาแล้วรีบไปสู่สำนักของบิดา ณ โรงทอผ้า ขณะนั้นนายช่างหูกผู้เป็นบิดานั่งหลับอยู่ นางมิได้ดูให้รู้แน่ว่าบิดาหลับอยู่หรือตื่นอยู่ จึงสอดด้ายหลอดเข้าไป ด้ายหลอดนั้นได้กระทบปลายเฟืองเสียงดังแล้วตกไปเบื้องล่าง นายช่างหูกตื่นขึ้นกระชากปลายหูกกลับมากระทบกับหน้าอกของธิดาสาวโดยแรง นางได้ถึงกาลกิริยาทันที

นายช่างหูกได้เห็นลูกสาวมีสรีระทั้งสิ้นแดงฉานด้วยเลือดและสิ้นใจเสียแล้ว ก็เสียใจมาก คิดว่า "ความโศกของเราครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ใครเล่าจักดับได้นอกจากพระศาสดา" จึงคร่ำครวญมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า "พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงช่วยยังความโศกของข้าพุทธเจ้าให้ดับด้วยเถิด"

พระศาสดาทรงปลอบนายช่างหูกว่า "อย่าเศร้าโศกเลย ในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้น และเบื้องปลาย อันบุคคลไม่อาจรู้ได้นี้ น้ำตาของผู้ที่หลั่งออกมา เพราะมรณกรรมแห่งปิยชนที่รัก มีธิดาเป็นต้นนั้น มีประมาณยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก ดูก่อน เปสักกะ ท่านจงบรรเทาความโศกเสียเถิด สังสารวัฏอันยาวนานนี้ระดะไปด้วยความทุกข์นานาประการ สุดที่ใครจะกำหนดได้ เช่น ความทุกข์ในการแสวงหาอาหาร ความทุกข์เพราะความป่วยไข้ ความทุกข์เพราะความชรา ความทุกข์เพราะการวิวาทกัน ความทุกข์เพราะกิเลสเผาผลาญ ความทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเริงใจ ความทุกข์เพราะไม่ได้สัดและสังขารตามปรารถนา และความทุกข์เพราะต้องบริหารขันธ์คือร่างกาย อันเป็นเหมือนกับเด็กอ่อนอยู่เสมอนี้ ดูก่อน เปสักกะ ทางแห่งสังสารวัฏเป็นทางที่น่ากลัว เพราะมีภัยต่างๆ เสมือนบุคคลที่หลงเข้าสู่ป่าลึก ซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด จึงควรหาทางออกจากป่าคือสังสารวัฏนี้ เราตถาคตได้เดินทางออกจากสังสารวัฏแล้ว และชักชวนคนทั้งหลายให้เดินทางออกด้วย บัดนี้ ธิดาของท่านได้สำเร็จโสดาปัตติผลแล้ว ได้เห็นทางออกจากสังสารวัฏแล้ว เธอมีคติที่แน่นอนไม่ตกต่ำ ท่านเบาใจเสียเถิด"

นายช่างหูกนั้น สดับพระพุทธพจน์อันมีเหตุผล บรรเทาความโศกได้แล้ว ได้ขอบรรพชาอุปสมบท ไม่นานนัก ได้สำเร็จอรหันต์ผล เป็นพระอรหันต์ แล…



โดยอาจารย์วศิน อินทสระ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่