เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือนที่ผู้ประกอบการไทยจะไปยื่นจดแจ้งเพื่อขอจัดทำบัญชีเดียวที่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ หลังจากการจดแจ้งแล้วจะได้รับสิทธิการยกเว้น ตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน สั่งให้เสียภาษีอากร และจะไม่มีความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร นอกจากนี้ SME ที่มีรายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาทจะได้รับการยกเว้นภาษีปี 2559 และได้รับลดหย่อนในปี 60
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการจดแจ้งเพื่อจัดทำบัญชีเดียวนั้นจะต้องเป็นนิติบุคคลประเภท 1.บริษัทจำกัด 2.บริษัทมหาชนจำกัด 3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด 4.ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน 5.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย ที่ไม่ใช่กิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ 6.กิจการร่วมค้า
นอกเหนือจากคุณสมบัติความเป็นนิติบุคคลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นิติบุคคลเหล่านี้จะต้องมีรายได้จากการประกอบกิจการไม่เกิน 500 ล้านบาท(ไม่รวมรายได้จากการขายสินทรัพย์)ในรอบบัญชีที่ผ่านมาและมีกำหนดครบ 12 เดือน โดยมีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 สิทธินี้ดูตอนเข้าหลังจากเข้าแล้วหากรายได้มากกว่า 500 ล้านบาทถือว่ายังอยู่ในการคุ้มครองของกฎหมายฉบับนี้
ผู้ที่ได้ทำการจดแจ้งแล้วจะได้รับสิทธิยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน สั่งให้เสียภาษีอากร ตลอดจนความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ภาษีที่ได้รับยกเว้นคือภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกเว้นผู้ได้รับหมายเรียกก่อนวันที่ 1 ม.ค.59 อยู่ในระหว่างดำเนินคดี หรือมีความจงใจในการหนีภาษีด้วยการทำเอกสารปลอม
เมื่อผู้ประกอบการได้จดแจ้งและได้รับสิทธิยกเว้นแล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
-ยื่นแบบภ.ง.ด.50 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ยื่นแบบ ภ.พ.30 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ยื่นแบบภ.ธ.40 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ยื่นแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค.59 เป็นต้นไป
-จัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีเล่มเดียว) ตั้งแต่รอบบัญชีที่เริ่มหรือหลัง 1 ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ไม่ทำการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากรตั้งแต่ 1 ม.ค.59 เป็นต้นไป
ผู้ที่ได้เข้าไปจดแจ้งแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ข้างต้น อธิบดีกรมสรรพากรจะมีคำสั่งเพิกถอนการได้รับสิทธิยกเว้นฯและถือเสมือนว่าไม่เคยได้รับสิทธิยกเว้นใดๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และดำเนินคดีอาญาได้ตามประมวลรัษฎากร
นอกจากนี้สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการทำระบบบัญชีเดียวคือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.62 เป็นต้นไป กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย จะดำเนินการให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นต่อกรมสรรพากร เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อ
ทางด้านการสนับสนุนทางภาษี ผู้ประกอบการ SME ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีทุนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยในปีรอบระยะบัญชี 1ม.ค.59-31ธ.ค.59 ให้การยกเว้นภาษีทั้งจำนวน ส่วนรอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.60-31 ธ.ค.60 ยกเว้น 3 แสนบาทแรก ส่วนที่เกินเสียภาษี 10 %
ผู้ประกอบการหรือ SME ที่สนใจสามารถจดแจ้งได้จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2559 โดยลงทะเบียนผ่านทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้นที่ www.rd.go.th
ถ้าหากท่านใดยังมีข้อสงสัยหรือสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถรับฟังการสัมมนาย้อนหลัง “SME บัญชีเดียว มีแต่ได้”ที่จัดขึ้นโดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=9MGSfFYlLKA
“SME บัญชีเดียว มีแต่ได้” ลงทะเบียนจดแจ้งก่อน15 มี.ค.59
ผู้ที่มีคุณสมบัติในการจดแจ้งเพื่อจัดทำบัญชีเดียวนั้นจะต้องเป็นนิติบุคคลประเภท 1.บริษัทจำกัด 2.บริษัทมหาชนจำกัด 3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด 4.ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน 5.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย ที่ไม่ใช่กิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ 6.กิจการร่วมค้า
นอกเหนือจากคุณสมบัติความเป็นนิติบุคคลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นิติบุคคลเหล่านี้จะต้องมีรายได้จากการประกอบกิจการไม่เกิน 500 ล้านบาท(ไม่รวมรายได้จากการขายสินทรัพย์)ในรอบบัญชีที่ผ่านมาและมีกำหนดครบ 12 เดือน โดยมีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 สิทธินี้ดูตอนเข้าหลังจากเข้าแล้วหากรายได้มากกว่า 500 ล้านบาทถือว่ายังอยู่ในการคุ้มครองของกฎหมายฉบับนี้
ผู้ที่ได้ทำการจดแจ้งแล้วจะได้รับสิทธิยกเว้นจากการตรวจสอบ ไต่สวน ประเมิน สั่งให้เสียภาษีอากร ตลอดจนความผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ภาษีที่ได้รับยกเว้นคือภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกเว้นผู้ได้รับหมายเรียกก่อนวันที่ 1 ม.ค.59 อยู่ในระหว่างดำเนินคดี หรือมีความจงใจในการหนีภาษีด้วยการทำเอกสารปลอม
เมื่อผู้ประกอบการได้จดแจ้งและได้รับสิทธิยกเว้นแล้ว ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
-ยื่นแบบภ.ง.ด.50 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ยื่นแบบ ภ.พ.30 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ยื่นแบบภ.ธ.40 ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ยื่นแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ที่ต้องยื่นตั้งแต่ ม.ค.59 เป็นต้นไป
-จัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีเล่มเดียว) ตั้งแต่รอบบัญชีที่เริ่มหรือหลัง 1 ม.ค.59 เป็นต้นไป
-ไม่ทำการใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากรตั้งแต่ 1 ม.ค.59 เป็นต้นไป
ผู้ที่ได้เข้าไปจดแจ้งแล้วไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ข้างต้น อธิบดีกรมสรรพากรจะมีคำสั่งเพิกถอนการได้รับสิทธิยกเว้นฯและถือเสมือนว่าไม่เคยได้รับสิทธิยกเว้นใดๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร และดำเนินคดีอาญาได้ตามประมวลรัษฎากร
นอกจากนี้สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการทำระบบบัญชีเดียวคือตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.62 เป็นต้นไป กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย จะดำเนินการให้สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นต่อกรมสรรพากร เป็นหลักฐานในการขอสินเชื่อ
ทางด้านการสนับสนุนทางภาษี ผู้ประกอบการ SME ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีทุนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยในปีรอบระยะบัญชี 1ม.ค.59-31ธ.ค.59 ให้การยกเว้นภาษีทั้งจำนวน ส่วนรอบบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค.60-31 ธ.ค.60 ยกเว้น 3 แสนบาทแรก ส่วนที่เกินเสียภาษี 10 %
ผู้ประกอบการหรือ SME ที่สนใจสามารถจดแจ้งได้จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2559 โดยลงทะเบียนผ่านทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้นที่ www.rd.go.th
ถ้าหากท่านใดยังมีข้อสงสัยหรือสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถรับฟังการสัมมนาย้อนหลัง “SME บัญชีเดียว มีแต่ได้”ที่จัดขึ้นโดยธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=9MGSfFYlLKA