คุณอนุรักษ์ กิจไพบูลทวี
นักแปลคนหนึ่งที่กำลังจะตั้งสำนักพิมพ์เล็กๆ เป็นของตัวเอง
ได้ไปร่วมงาน ไทเปบุ๊คแฟร์ปี 2016
กลับมาแล้วเขียนบอกเล่าไว้ในเฟซบุ๊ก เมื่อ ๒๒ ก.พ. ๕๙
https://www.facebook.com/bebeer87/posts/1090952234259097?pnref=story
ดังนี้ครับ
...................
หวังว่าหน้าฟีดของผม จะมีเพื่อนๆ สายผู้ประกอบการ
หรือเกี่ยวข้องกับผู้จัดงานหนังสืออยู่บ้าง
ขอนำข้อมูลที่พบเห็นผ่านตา (บางส่วน) มาบอกเล่านำเสนอดังนี้
*** *** ***
สรุปผลงานไทเปบุ๊คแฟร์ปี 2016 (รวม 6 วัน)
จำนวนคนเข้างานห้าแสนคน ต่ำสุดในรอบห้าปี
นิทรรศการ กิจกรรมและเสวนาเยอะกว่าปีก่อนๆ แต่ไม่ช่วยส่งเสริมบรรยากาศการอ่านโดยรวม
ไทเปบุ๊คแฟร์เผชิญกับคอขวดของการเปลี่ยนแปลงตนเอง
จากการประเมิน สันนิษฐานว่าเกิดจากระยะเวลาการจัดงานอยู่ในช่วงเปิดเทอมแล้ว
และบังเอิญวันเสาร์เป็นวันสอนชดเชยจากการหยุดยาว
ขณะเดียวกันงานเสวนาต่างๆ ภายในงานจะเต็มทุกงาน
แสดงว่ามีความต้องการกิจกรรมพบปะสังสรรระหว่างนักเขียนกับนักอ่าน
แต่ไรมาไทเปบุ๊คแฟร์นั้นวางตัวเองไว้สามจุดคือ
"ขายหนังสือ ซื้อขายลิขสิทธิ์ และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ"
1. ขายหนังสือ
พฤติกรรมการซื้อหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์ที่ลดราคาหนักมากเป็นประจำ
ทำให้ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องมาเร่งซื้อหนังสือถูกภายในงาน
2. การซื้อขายลิขสิทธิ์
เนื่องจากความสะดวกสบายของโลกอินเทอร์เน็ต
ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพางานบุ๊คแฟร์อีกแล้ว
3. การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ
คือการมีธีมของประเทศอื่นทุกปี พร้อมเชิญนักเขียนชาตินั้นๆ มาเสวนาบนเวทีหลัก
แต่ก็ไม่มีช่องทางส่งเสริมนักอ่านให้ได้สัมผัสกับสำนักพิมพ์นานาชาติที่มากขึ้น
ในส่วนความเห็นอื่นๆ ของบางสำนักพิมพ์
คือตั้งข้อสังเกตว่ามีสำนักพิมพ์ใหญ่หลายเจ้าไม่เข้าร่วม
แต่ฝากหนังสือเข้ามาขายผ่านสายส่ง
(ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ลดความจูงใจเข้างานของผู้อ่านจำนวนหนึ่ง)
โดยสำนักพิมพ์ที่มาร่วมงานก็กล่าว (ตำหนินั่นแหละ) ว่า
"ไม่ควรเห็นแก่ยอดขาย ผลกำไรเท่านั้น
เพราะการมาออกงานมันคือโอกาสที่สำนักพิมพ์จะได้เจอกับผู้อ่านโดยตรง"
ส่วนข้อเสนอแนะ ก็คือหาทางฉีกกรอบบุ๊คแฟร์แบบเดิมๆ
เพราะมีปรากฏการณ์ "ทางเดินคนน้อย ห้องเสวนาคนแน่น"
อันสะท้อนให้เห็นว่า
นักอ่านต้องการการอ่านแบบเจาะลึกมากขึ้น และใกล้ชิดนักเขียนมากขึ้น
จากลิงค์
http://www.chinatimes.com/newspapers/20160222000371-260115
ไทเปบุ๊คแฟร์ปี 2016 - ข้อคิดต่อวงการหนังสือไทย
นักแปลคนหนึ่งที่กำลังจะตั้งสำนักพิมพ์เล็กๆ เป็นของตัวเอง
ได้ไปร่วมงาน ไทเปบุ๊คแฟร์ปี 2016
กลับมาแล้วเขียนบอกเล่าไว้ในเฟซบุ๊ก เมื่อ ๒๒ ก.พ. ๕๙
https://www.facebook.com/bebeer87/posts/1090952234259097?pnref=story
ดังนี้ครับ
...................
หวังว่าหน้าฟีดของผม จะมีเพื่อนๆ สายผู้ประกอบการ
หรือเกี่ยวข้องกับผู้จัดงานหนังสืออยู่บ้าง
ขอนำข้อมูลที่พบเห็นผ่านตา (บางส่วน) มาบอกเล่านำเสนอดังนี้
*** *** ***
สรุปผลงานไทเปบุ๊คแฟร์ปี 2016 (รวม 6 วัน)
จำนวนคนเข้างานห้าแสนคน ต่ำสุดในรอบห้าปี
นิทรรศการ กิจกรรมและเสวนาเยอะกว่าปีก่อนๆ แต่ไม่ช่วยส่งเสริมบรรยากาศการอ่านโดยรวม
ไทเปบุ๊คแฟร์เผชิญกับคอขวดของการเปลี่ยนแปลงตนเอง
จากการประเมิน สันนิษฐานว่าเกิดจากระยะเวลาการจัดงานอยู่ในช่วงเปิดเทอมแล้ว
และบังเอิญวันเสาร์เป็นวันสอนชดเชยจากการหยุดยาว
ขณะเดียวกันงานเสวนาต่างๆ ภายในงานจะเต็มทุกงาน
แสดงว่ามีความต้องการกิจกรรมพบปะสังสรรระหว่างนักเขียนกับนักอ่าน
แต่ไรมาไทเปบุ๊คแฟร์นั้นวางตัวเองไว้สามจุดคือ
"ขายหนังสือ ซื้อขายลิขสิทธิ์ และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ"
1. ขายหนังสือ
พฤติกรรมการซื้อหนังสือผ่านช่องทางออนไลน์ที่ลดราคาหนักมากเป็นประจำ
ทำให้ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องมาเร่งซื้อหนังสือถูกภายในงาน
2. การซื้อขายลิขสิทธิ์
เนื่องจากความสะดวกสบายของโลกอินเทอร์เน็ต
ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพางานบุ๊คแฟร์อีกแล้ว
3. การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนานาชาติ
คือการมีธีมของประเทศอื่นทุกปี พร้อมเชิญนักเขียนชาตินั้นๆ มาเสวนาบนเวทีหลัก
แต่ก็ไม่มีช่องทางส่งเสริมนักอ่านให้ได้สัมผัสกับสำนักพิมพ์นานาชาติที่มากขึ้น
ในส่วนความเห็นอื่นๆ ของบางสำนักพิมพ์
คือตั้งข้อสังเกตว่ามีสำนักพิมพ์ใหญ่หลายเจ้าไม่เข้าร่วม
แต่ฝากหนังสือเข้ามาขายผ่านสายส่ง
(ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ลดความจูงใจเข้างานของผู้อ่านจำนวนหนึ่ง)
โดยสำนักพิมพ์ที่มาร่วมงานก็กล่าว (ตำหนินั่นแหละ) ว่า
"ไม่ควรเห็นแก่ยอดขาย ผลกำไรเท่านั้น
เพราะการมาออกงานมันคือโอกาสที่สำนักพิมพ์จะได้เจอกับผู้อ่านโดยตรง"
ส่วนข้อเสนอแนะ ก็คือหาทางฉีกกรอบบุ๊คแฟร์แบบเดิมๆ
เพราะมีปรากฏการณ์ "ทางเดินคนน้อย ห้องเสวนาคนแน่น"
อันสะท้อนให้เห็นว่า
นักอ่านต้องการการอ่านแบบเจาะลึกมากขึ้น และใกล้ชิดนักเขียนมากขึ้น
จากลิงค์
http://www.chinatimes.com/newspapers/20160222000371-260115