ที่มา:
http://www.matichon.co.th/news/44964
กลายเป็นประเด็นให้ฮือฮาอยู่เป็นระลอก เมื่อมีภาพอันเป็นหลักฐานของคนไทย “มือบอน” ขีดเขียนข้อความตามโบราณสถานสำคัญ ทั้งในเมืองไทยแล้วลามไปไกลถึงต่างแดน ไม่เพียงเท่านั้น บางรายยังคันมือคันไม้ในพื้นที่สาธารณะและร้านรวง สร้างความอับอายให้คนไทยด้วยกันเองต้องนำมาเผยแพร่ โดยหาใช่การ “แฉ” หากแต่เป็นอุทาหรณ์ไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง เพราะไม่ใช่แค่สร้างความเสื่อมเสียมาถึงประเทศชาติ แต่ยังเป็นการทำลายมรดกทางวัฒนธรรมของโลกอีกด้วย
นักกลอนก็มี คู่รักก็มา ภาพเขียนสี ‘ประตูผา’ รับเละ
มาเริ่มกันที่ “ค่ายประตูผา” อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเพิ่งตกเป็นข่าวสดๆร้อนๆ เมื่อไม่กี่วันมานี้ จากกรณีที่ โดยร.ท.ยงยุทธ ปัญญารัตน์ ทหารค่ายฝึกรบพิเศษประตูผา จังหวัดลำปาง ได้พาผู้สื่อข่าวขึ้นไปเยี่ยมชมภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์อายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งนักเลงกลอนชาวไทยไปร่ายบทกวีไว้ผิดที่ผิดทาง เพราะแทนที่จะจดโพยลงสมุดข่อย กลับค่อยๆจดจารซ้อนทับแผนผาศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์เสียอย่างนั้น
ยังไม่หมด นักเที่ยวที่มาแนวคู่รัก เขาก็จำหลักความสเน่หาไว้ให้โลกรู้ เช่น คู่ของคุณพู่กับคุณบอล ซึ่งไม่รู้ว่าป่านฉะนี้ ยังรักกันมั่นคงประดุจภูผาหินที่ตนจำหลักร่องรอยไว้หรือไม่
งานนี้ความเหนื่อยจึงตกไปอยู่ที่ สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน ซึ่งดูแลแหล่งโบราณคดีในจังหวัดน่าน ลำปาง แพร่ และพะเยา ต้องเข้าไปดูแลด่วน อย่างไรก็ตาม จตุรพร เทียมทินกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ เล่าว่า ลายมือขีดเขียนที่เป็นข่าวอยู่นี้ มีมาตั้งแต่ก่อนกรมศิลปากรเข้าไปสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2541 เสียอีก แต่ที่ยังไม่ลบออกไป เพราะไม่ได้ทำกันง่ายๆอย่างการเอาน้ำยาไปขัดๆถูกๆ เพราะจะทำให้ภาพเขียนสีโบราณถูกทำลายไปพร้อมๆกันด้วย จึงต้องใช้สารเคมีและเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง ค่อยๆขัดล้างทำความสะอาดอย่างประณีต แต่ยังติดที่งบประมาณ ข้อความเหล่านั้นจึงยังคงตราตรึงเป็นริ้วรอยแห่งความน่าอดสูสืบมาจนถึงปัจจุบัน
เกรียนไทย ไปเกาหลี “LUMI แม่ทุกสถาบัน”
จากลำปาง ไปเการักกันต่อที่เกาหลี ซึ่งมีพลเมืองดีไปพบเห็นคนไทยด้วยกัน ขีดเขียนกลางหน้าผากของ ‘เจ้าแฮชิ’ หรือ ‘แฮแท” ประจำกรุงโซล เกาหลีใต้ ด้วยข้อความสั้นๆ แต่น่าละอาย ว่า “LUMI แม่ทุกสถาบัน” อย่างไรก็ตาม งานนี้ ไม่ได้มีเฉพาะอักษรไทยที่ก้าวไกลไปสู่สากล เพราะยังมีข้อความภาษาเกาหลี และภาษาอังกฤษที่ร่วมด้วยช่วยกันละเลง
ภาพจากเฟซบุ๊ก Yudthana Yuvapad ซึ่งโพสต์ภาพ เจ้าแฮชิ หรือแฮแท มาสคอตประจำกรุงโซล เกาหลีใต้ ถูกมือบอนไทยเขียนกลางหน้าผาก เหตุเกิดเมื่อปลายปี 2558
Link ของ FB: https://www.facebook.com/yudthana.yuvapad/posts/10154196258492576
อยากรู้ แต่ไม่อยากถาม คนไทยเขียนอะไรใน ‘ชิบุย่า’
เขยิบอีกนิด ไปต่อกันที่เมืองท่องเที่ยวในฝันของหลายๆคน อย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกคนไทยบุกมหาศาลตั้งแต่ยกเลิกวีซ่า ก็มีผู้ก่อวีรกรรมไว้ในร้าน ดิสนีย์ ย่านชิบุย่า ณ โซนจำหน่ายเครื่องเขียน โดยใช้ปากกาในร้านเขียนข้อความหยาบคายบนกระดาษที่ใช้สำหรับลองเครื่องเขียน ส่วนจะเป็นข้อความว่าอะไรนั้น ลองอ่านกันดู
ภาพจากเฟซบุ๊ก Miyobu Saruwatari ที่ระบุว่า ” วันนี้ไป shop Disney ที่ shibuya ตรงโซนที่ขายเครื่องเขียน เจอสิ่งที่แย่ที่สุดเท่าที่ได้มาที่ญี่ปุ่น อย่าทำแบบนี้เลย แค่นี้คนเค้าก็เอือมไปทั่วแล้ว อย่าคิดว่าเขียนแบบนี้นอกประเทศแล้วจะไม่มีคนอ่านออกนะ ถ้าคนญี่ปุ่นเค้าอ่านออกจะรู้สึกยังไง… “
Link ของ FB: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10206543625016548
เอาที่สบายใจ ! ทางการไฟเขียว ขีดเขียนกำแพงเมืองจีน (เฉพาะจุด)
ปิดท้ายด้วยความยิ่งใหญ่ของกำแพงเมืองจีน ที่หนีไม่พ้นสมาคมคันมือประจำประเทศไทย ซึ่งไปจดจารตัวอักษรประกาศศักดาไว้มากมาย กระทั่งสุดท้ายทางการจีนต้องจำใจกันพื้นที่บางส่วนของกำแพงอันยิ่งใหญ่ไว้ให้ชาวมือบอนขีดเขียนตามใจชอบ ซึ่งไม่ได้มีแต่คนไทยเท่านั้น ยังมีชาติอื่นๆอีกมากมาย เรียกได้ว่า อาการคันมือนี้ระบาดอยู่ทั่วไปในพิภพโลก
สาเหตุที่จีนต้องยอมสละพื้นที่โบราณสภานสำคัญให้คนกลุ่มนี้ ก็เพราะไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไร เนื่องจากเคยพยายามห้ามปรามแล้ว แต่ไม่ได้ผล เลยต้องยอมอนุรักษ์โบราณสถานด้วยวิธีนี้ เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวเขียนเปรอะไปทั่ว แต่อนุญาตให้เขียนได้ตามสบาย เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น
ภาพนี้ถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย หลักฐานชัดมากว่าคนไทยมาเยือน!
หนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ รายงานว่า หน่วยงานที่ดูแลกำแพงเมืองจีนจัดให้บริเวณหอศึก หมายเลข 14 ของมู่เทียนหยู เป็นลานขีดเขียนของนักท่องเที่ยวแล้ว
China Daily: http://www.chinadaily.com.cn/china/2014-03/04/content_17319367.htm
นักวิชาการแนะปลูกจิตสำนึก อย่าตำหนิแต่แก๊งค์มือบอน
อย่างไรก็ตาม
รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร มองว่า ปัญหาการทำลายมรดกทางวัฒนธรรมจากการขีดเขียน ไม่ควรตำหนิผู้กระทำเพียงอย่างเดียว เพราะอาจไม่ทราบถึงความสำคัญ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในเมืองไทย กรมศิลปากรและสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นควรรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสถานที่ดังกล่าว
“ปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วโลก ในต่างประเทศ มีคนไปเขียนในปิระมิด เหมือนเป็นสัญลักษณ์ว่าฉันมาถึงแล้ว ภาพเขียนสีในภาคอีสานอีกหลายที่ เช่น เขาจันทน์งาม จังหวัดนครราชสีมา ก็มีการเขียนชื่อบอกว่า มาแล้วนะ และลงวันที่ไว้ด้วย แต่จะตำหนิคนที่มือบอนเลย 100 เปอร์เซนต์คงไมได้ เพราะไม่รู้ว่าความรับรู้ของเขามีมากน้อยแค่ไหน ต้องไม่สันนิษฐานไปเองว่าเขารู้ ต้องสันนิษฐานว่าเขาไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่โดยนิสัยของคนที่ไปเที่ยวสถานที่แบบนี้จะชอบจารึก ชอบบันทึกว่ามาถึงแล้ว สิ่งที่ควรทำก่อนอื่นคือ ป้ายบอกว่า กรุณาอย่าเขียนบนผนัง
อย่างที่สอง คือระดมความคิด จัดการให้มีคนดูแล มีไกด์ท้องถิ่น อย่างน้อยที่สุดเวลาคนไปก็เดินเล่าเรื่อง ตรงนั้นเป็นที่สำคัญมาก แต่ขาดการให้ความหมายความสำคัญ มีของสำคัญมาก เช่น สิ่งที่จะต้องปลูกจิตสำนึกคือความสำคัญของแหล่งฯ สมมติว่าเขารู้แล้วจากป้ายที่บอก ว่าตรงนี้เป็นโบราณสถาน เป็นของเก่าแล้วยังทำอยู่ อันนี้แย่ ซึ่งจริงๆแล้ว มีกฎหมายลงโทษได้”
รวมภาพวีรกรรม ‘มือบอนไทย’ ขีดเขียนไกลทั่วโลก นักวิชาการแนะช่องทลายสมาคมคันมือ
กลายเป็นประเด็นให้ฮือฮาอยู่เป็นระลอก เมื่อมีภาพอันเป็นหลักฐานของคนไทย “มือบอน” ขีดเขียนข้อความตามโบราณสถานสำคัญ ทั้งในเมืองไทยแล้วลามไปไกลถึงต่างแดน ไม่เพียงเท่านั้น บางรายยังคันมือคันไม้ในพื้นที่สาธารณะและร้านรวง สร้างความอับอายให้คนไทยด้วยกันเองต้องนำมาเผยแพร่ โดยหาใช่การ “แฉ” หากแต่เป็นอุทาหรณ์ไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง เพราะไม่ใช่แค่สร้างความเสื่อมเสียมาถึงประเทศชาติ แต่ยังเป็นการทำลายมรดกทางวัฒนธรรมของโลกอีกด้วย
นักกลอนก็มี คู่รักก็มา ภาพเขียนสี ‘ประตูผา’ รับเละ
มาเริ่มกันที่ “ค่ายประตูผา” อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งเพิ่งตกเป็นข่าวสดๆร้อนๆ เมื่อไม่กี่วันมานี้ จากกรณีที่ โดยร.ท.ยงยุทธ ปัญญารัตน์ ทหารค่ายฝึกรบพิเศษประตูผา จังหวัดลำปาง ได้พาผู้สื่อข่าวขึ้นไปเยี่ยมชมภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์อายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งนักเลงกลอนชาวไทยไปร่ายบทกวีไว้ผิดที่ผิดทาง เพราะแทนที่จะจดโพยลงสมุดข่อย กลับค่อยๆจดจารซ้อนทับแผนผาศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์เสียอย่างนั้น
ยังไม่หมด นักเที่ยวที่มาแนวคู่รัก เขาก็จำหลักความสเน่หาไว้ให้โลกรู้ เช่น คู่ของคุณพู่กับคุณบอล ซึ่งไม่รู้ว่าป่านฉะนี้ ยังรักกันมั่นคงประดุจภูผาหินที่ตนจำหลักร่องรอยไว้หรือไม่
งานนี้ความเหนื่อยจึงตกไปอยู่ที่ สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน ซึ่งดูแลแหล่งโบราณคดีในจังหวัดน่าน ลำปาง แพร่ และพะเยา ต้องเข้าไปดูแลด่วน อย่างไรก็ตาม จตุรพร เทียมทินกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ เล่าว่า ลายมือขีดเขียนที่เป็นข่าวอยู่นี้ มีมาตั้งแต่ก่อนกรมศิลปากรเข้าไปสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2541 เสียอีก แต่ที่ยังไม่ลบออกไป เพราะไม่ได้ทำกันง่ายๆอย่างการเอาน้ำยาไปขัดๆถูกๆ เพราะจะทำให้ภาพเขียนสีโบราณถูกทำลายไปพร้อมๆกันด้วย จึงต้องใช้สารเคมีและเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง ค่อยๆขัดล้างทำความสะอาดอย่างประณีต แต่ยังติดที่งบประมาณ ข้อความเหล่านั้นจึงยังคงตราตรึงเป็นริ้วรอยแห่งความน่าอดสูสืบมาจนถึงปัจจุบัน
เกรียนไทย ไปเกาหลี “LUMI แม่ทุกสถาบัน”
จากลำปาง ไปเการักกันต่อที่เกาหลี ซึ่งมีพลเมืองดีไปพบเห็นคนไทยด้วยกัน ขีดเขียนกลางหน้าผากของ ‘เจ้าแฮชิ’ หรือ ‘แฮแท” ประจำกรุงโซล เกาหลีใต้ ด้วยข้อความสั้นๆ แต่น่าละอาย ว่า “LUMI แม่ทุกสถาบัน” อย่างไรก็ตาม งานนี้ ไม่ได้มีเฉพาะอักษรไทยที่ก้าวไกลไปสู่สากล เพราะยังมีข้อความภาษาเกาหลี และภาษาอังกฤษที่ร่วมด้วยช่วยกันละเลง
ภาพจากเฟซบุ๊ก Yudthana Yuvapad ซึ่งโพสต์ภาพ เจ้าแฮชิ หรือแฮแท มาสคอตประจำกรุงโซล เกาหลีใต้ ถูกมือบอนไทยเขียนกลางหน้าผาก เหตุเกิดเมื่อปลายปี 2558
Link ของ FB: https://www.facebook.com/yudthana.yuvapad/posts/10154196258492576
อยากรู้ แต่ไม่อยากถาม คนไทยเขียนอะไรใน ‘ชิบุย่า’
เขยิบอีกนิด ไปต่อกันที่เมืองท่องเที่ยวในฝันของหลายๆคน อย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกคนไทยบุกมหาศาลตั้งแต่ยกเลิกวีซ่า ก็มีผู้ก่อวีรกรรมไว้ในร้าน ดิสนีย์ ย่านชิบุย่า ณ โซนจำหน่ายเครื่องเขียน โดยใช้ปากกาในร้านเขียนข้อความหยาบคายบนกระดาษที่ใช้สำหรับลองเครื่องเขียน ส่วนจะเป็นข้อความว่าอะไรนั้น ลองอ่านกันดู
ภาพจากเฟซบุ๊ก Miyobu Saruwatari ที่ระบุว่า ” วันนี้ไป shop Disney ที่ shibuya ตรงโซนที่ขายเครื่องเขียน เจอสิ่งที่แย่ที่สุดเท่าที่ได้มาที่ญี่ปุ่น อย่าทำแบบนี้เลย แค่นี้คนเค้าก็เอือมไปทั่วแล้ว อย่าคิดว่าเขียนแบบนี้นอกประเทศแล้วจะไม่มีคนอ่านออกนะ ถ้าคนญี่ปุ่นเค้าอ่านออกจะรู้สึกยังไง… “
Link ของ FB: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10206543625016548
เอาที่สบายใจ ! ทางการไฟเขียว ขีดเขียนกำแพงเมืองจีน (เฉพาะจุด)
ปิดท้ายด้วยความยิ่งใหญ่ของกำแพงเมืองจีน ที่หนีไม่พ้นสมาคมคันมือประจำประเทศไทย ซึ่งไปจดจารตัวอักษรประกาศศักดาไว้มากมาย กระทั่งสุดท้ายทางการจีนต้องจำใจกันพื้นที่บางส่วนของกำแพงอันยิ่งใหญ่ไว้ให้ชาวมือบอนขีดเขียนตามใจชอบ ซึ่งไม่ได้มีแต่คนไทยเท่านั้น ยังมีชาติอื่นๆอีกมากมาย เรียกได้ว่า อาการคันมือนี้ระบาดอยู่ทั่วไปในพิภพโลก
สาเหตุที่จีนต้องยอมสละพื้นที่โบราณสภานสำคัญให้คนกลุ่มนี้ ก็เพราะไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไร เนื่องจากเคยพยายามห้ามปรามแล้ว แต่ไม่ได้ผล เลยต้องยอมอนุรักษ์โบราณสถานด้วยวิธีนี้ เพื่อไม่ให้นักท่องเที่ยวเขียนเปรอะไปทั่ว แต่อนุญาตให้เขียนได้ตามสบาย เฉพาะในพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น
ภาพนี้ถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย หลักฐานชัดมากว่าคนไทยมาเยือน!
หนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ รายงานว่า หน่วยงานที่ดูแลกำแพงเมืองจีนจัดให้บริเวณหอศึก หมายเลข 14 ของมู่เทียนหยู เป็นลานขีดเขียนของนักท่องเที่ยวแล้ว
China Daily: http://www.chinadaily.com.cn/china/2014-03/04/content_17319367.htm
นักวิชาการแนะปลูกจิตสำนึก อย่าตำหนิแต่แก๊งค์มือบอน
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช อาจารย์ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร มองว่า ปัญหาการทำลายมรดกทางวัฒนธรรมจากการขีดเขียน ไม่ควรตำหนิผู้กระทำเพียงอย่างเดียว เพราะอาจไม่ทราบถึงความสำคัญ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นในเมืองไทย กรมศิลปากรและสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นควรรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสถานที่ดังกล่าว
“ปัญหาลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วโลก ในต่างประเทศ มีคนไปเขียนในปิระมิด เหมือนเป็นสัญลักษณ์ว่าฉันมาถึงแล้ว ภาพเขียนสีในภาคอีสานอีกหลายที่ เช่น เขาจันทน์งาม จังหวัดนครราชสีมา ก็มีการเขียนชื่อบอกว่า มาแล้วนะ และลงวันที่ไว้ด้วย แต่จะตำหนิคนที่มือบอนเลย 100 เปอร์เซนต์คงไมได้ เพราะไม่รู้ว่าความรับรู้ของเขามีมากน้อยแค่ไหน ต้องไม่สันนิษฐานไปเองว่าเขารู้ ต้องสันนิษฐานว่าเขาไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่โดยนิสัยของคนที่ไปเที่ยวสถานที่แบบนี้จะชอบจารึก ชอบบันทึกว่ามาถึงแล้ว สิ่งที่ควรทำก่อนอื่นคือ ป้ายบอกว่า กรุณาอย่าเขียนบนผนัง
อย่างที่สอง คือระดมความคิด จัดการให้มีคนดูแล มีไกด์ท้องถิ่น อย่างน้อยที่สุดเวลาคนไปก็เดินเล่าเรื่อง ตรงนั้นเป็นที่สำคัญมาก แต่ขาดการให้ความหมายความสำคัญ มีของสำคัญมาก เช่น สิ่งที่จะต้องปลูกจิตสำนึกคือความสำคัญของแหล่งฯ สมมติว่าเขารู้แล้วจากป้ายที่บอก ว่าตรงนี้เป็นโบราณสถาน เป็นของเก่าแล้วยังทำอยู่ อันนี้แย่ ซึ่งจริงๆแล้ว มีกฎหมายลงโทษได้”