สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
จริงค่ะ เรียนพิเศษกันตั้งแต่สอบเข้าป.1 เลยทีเดียว ลูกเราเราไม่ได้ให้เรียนพิเศษอะไรมากมายเลย
นอกจากเรียนวาดรูป เพราะเขาชอบเขาอยากเรียน และมีทักษะ (คนนี้สอบเข้าศิลปากรได้)
ส่วนคนเล็ก ส่วนใหญ่เราก็ดูแลเขาทำการบ้าน ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็อธิบายให้ฟัง จะสอบเข้าม.ต้น
ก็ติวเอง ให้เขาทำโจทย์เยอะๆ เขาก็สอบได้คะแนนคณิตศาสตร์เป็นอันดับหนึ่ง ที่แรกเราไม่รู้หรอกมารู้ภายหลัง
เพราะผู้ปกครองคนอื่นมาถามว่า ให้ลูกเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ที่ไหน ถามหลายคนเข้าเราก็สงสัยว่าทำไม
ผลคือ พวกนี้สืบเก่งมาก แล้วมาบอก
การดูแลลูกทำการบ้านเป็นเรื่องสำคัญกว่าเรียนพิเศษ เพราะทำให้เรารู้จุดอ่อนจุดแข็งของลูก รู้ว่าลูกเก่ง
ไม่เก่งวิชาไหน อย่างลูกเราคนเล็ก ให้เรียนวาดรูปคงชักตาตั้ง เพราะไม่ชอบ เกลียด ส่วนคนโตถ้าให้
เรียนคณิตศาสตร์ก็คงตายหยังเขียด ดังนั้นต้องรู้ใจลูกค่ะ
นอกจากเรียนวาดรูป เพราะเขาชอบเขาอยากเรียน และมีทักษะ (คนนี้สอบเข้าศิลปากรได้)
ส่วนคนเล็ก ส่วนใหญ่เราก็ดูแลเขาทำการบ้าน ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็อธิบายให้ฟัง จะสอบเข้าม.ต้น
ก็ติวเอง ให้เขาทำโจทย์เยอะๆ เขาก็สอบได้คะแนนคณิตศาสตร์เป็นอันดับหนึ่ง ที่แรกเราไม่รู้หรอกมารู้ภายหลัง
เพราะผู้ปกครองคนอื่นมาถามว่า ให้ลูกเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ที่ไหน ถามหลายคนเข้าเราก็สงสัยว่าทำไม
ผลคือ พวกนี้สืบเก่งมาก แล้วมาบอก
การดูแลลูกทำการบ้านเป็นเรื่องสำคัญกว่าเรียนพิเศษ เพราะทำให้เรารู้จุดอ่อนจุดแข็งของลูก รู้ว่าลูกเก่ง
ไม่เก่งวิชาไหน อย่างลูกเราคนเล็ก ให้เรียนวาดรูปคงชักตาตั้ง เพราะไม่ชอบ เกลียด ส่วนคนโตถ้าให้
เรียนคณิตศาสตร์ก็คงตายหยังเขียด ดังนั้นต้องรู้ใจลูกค่ะ
ความคิดเห็นที่ 39
บางคน ลูกไม่ได้อยากเรียน ลูกไม่ได้ขอ เค้าก็ส่งลูกเรียนพิเศษครับ
เพื่อนผม พ่อแม่เป็นครูทั้งสองคน(สอนผมด้วย) เค้าต้องการให้ลูกเค้าเป็นเเพทย์(ค่านิยมนี้ เพลียจิตมากเลยครับ)
(ทั้งๆที่ลูกคนโตก็เรียนแพทย์ไปแล้ว แต่ในความคิดของผมเค้าคงจะให้ลูกเรียนแพทย์ทั้งสองคน)
เค้าให้ลูกเรียนเยอะมากๆๆๆ เลยครับ ทั้งตอนเย็นหลังเลิกเรียน เสาร์อาทิตย์
มีอยู่ครั้งนึง ทำงานกลุ่มกันวิชานาฏศิลป์ มันต้องนัดเพื่อนมาซ้อม
ซึ่งวันธรรมดาไม่มีเวลาซ้อมกันมากนัก จึงต้องนัดมาซ้อมกันวันเสาร์
เพื่อนคนนี้ที่ผมบอก เค้ามาถึงก่อนผม เค้าก็นั่งรอ
พอผมมาถึงเห็นเค้าซึมๆ เลยถามเค้าดู
เค้าก็เล่าว่า พ่อ(ต่อ)ว่าเสียเวลาเรียนพิเศษ ดุเค้า รวมถึงลามไปด่าเรื่องอื่นด้วย
มีประโยคนึงออกมาจากเพื่อนผม "ไม่รู้ดิ ความเลวเค้ามันเยอะเกิน จำไม่หมดหรอก"
พร้อมกับว่าเค้าร้องไห้น้ำตาเล็ดเลยครับ ผมสงสารมาก
คือเพื่อนผมเป็นผู้ชายนี่แหละครับ แต่ผมรู้สึกว่าเค้าสูญเสียสิ่งที่ควรจะได้รับในช่วงวัยรุ่น
เด็กผู้ชาย ควรได้ไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนบ้าง ใช้ชีวิตสนุกบ้างๆแต่อยู่ในขอบเขต
แต่นี่พ่อแม่เค้าไม่ปล่อยลูกเค้าเลยครับ จะให้แต่เรียน และควบคุมพฤติกรรมตลอด
จนผมว่าบางทีมันมากเกินไป แต่ผมก็ช่วยอะไรเค้าไม่ได้
เพื่อนผมนิสัยดีมากๆ เค้าดีมากจริงๆ เป็นเด็กดีทุกอย่าง เรียนเก่งมากๆ
จนน่าสงสารมาก ว่าทำไมเค้าถึงต้องทนจมอยู่กับเรื่องเรียนๆๆๆ
ไม่ได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นเหมือนคนอื่นๆบ้าง ผมกลัวว่าเพื่อนผมเค้าจะใช้ชีวิตไม่เป็น
ตอนอยู่ม.2 ในกลุ่มเพื่อน ก็คุยเรื่องดูหนังกัน
เค้าเป็นคนเดียวที่ไม่เคยเข้าโรงหนัง เค้าไม่รู้ว่าต้องทำยังไง เป็นยังไง เพราะพ่อแม่เค้าไม่เคยให้ดู
ทุกวันนี้เพื่อนในห้องขี่รถมอเตอร์ไซค์กันได้แล้ว เพื่อนผมคนนี้ยังขี่ไม่แข็งเลย
หลายๆครั้งที่เค้าไม่ค่อยรู้เรื่องรอบตัว บ้านเมือง หรือการใช้ชีวิตประจำวัน
เพราะพ่อแม่เค้าทำให้หมด รีดผ้าเค้าก็รีดไม่เป็น เป็นห่วงเพื่อนมากเลยครับ
ผมกับเพื่อนอยู่ม.3 ครับตอนนี้
แม่ของผมไม่ยุ่งเรื่องเรียนผมเลยครับ เค้าจะคอยแนะนำบ้างบางครั้ง
เวลาอยากเรียนพิเศษอะไรที่ไหน ผมก็จะหาเองว่าที่ไหนดี
อยู่ใกล้ๆบ้าน ไปเรียนเองได้ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ไปส่ง(เพราะเค้าไม่ค่อยมีเวลา-ทำงานหนักมากเลยครับ)
แล้วก็ไปขอแม่เรียน
แม่ผมจะถามด้วยซ้ำว่าเรียนไหวหรอ เรียนแล้วจะทำการบ้านทันมั้ย
แต่ถ้าผมไหวเค้าก็โอเคให้เรียนตลอด ผมได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียนด้วย
ไม่รู้สึกว่าโดนบังคับครับ
แม่ผมเค้าเคยบอกว่า จะตั้งใจเรียนหรือไม่ ยังไง มันคือตัวผม สิ่งที่ได้/เสียเกิดขึ้นกับผมเอง
อนาคตสิ่งที่เกิดขึ้นก็ตัวผม ลำบาก/สบายก็ตัวผม แม่ช่วยอะไรไม่ได้ เค้าทำงานหาเงินให้เรียนได้
เวลาเกรดออกมาก ถ้ามันตก เค้าจะไม่เคยว่าเลยครับ จะคอยแนะนำบ้างเล็กๆน้อยๆ
เพราะท่านก็เข้าใจว่าสมัยนี้เรียนยากมากกว่าเมื่อก่อนอยู่แล้วครับ
ทุกวันนี้ผมอยู่กับพ่อแม่น้อยมากๆเลยครับ เจอกันวันละไม่กี่ชม.เองเพราะอยู่คนละบ้าน
(ผมอยู่บ้านยายเพราะใกล้ร.ร.มากกว่า แต่แม่ก็จะมาหาทุกวัน)
แต่ผมรู้สึกได้ว่าเค้าทำเพื่อผมจริงๆครับ รักพ่อแม่มากๆเลยครับ
เวลาอยากได้อะไร เค้าก็จะดูความเหมาะสม จำเป็นมั้ย ใช้ประโยขน์อะไรได้
นานๆทีจะซื้อของไร้สาระบ้าง ที่ผมอยากได้
มีบ้างที่ผมรู้สึกว่ามันไม่พอ แต่ผมก็ไม่เคยรู้สึกว่าขาดเลยครับ
เพราะผมเข้าใจว่าพ่อแม่ทำงานหนักจริงๆ
เป็นพ่อค้าแม่ค้าอยู่ตลาด ทำงานครึ่งคืนค่อนวัน เพื่อหาเงินให้ผมเรียนให้ผมใช้
ซึ่งต่างจากเพื่อนคนนี้ที่ผมบอกมาก เค้าไม่ปล่อยลูกเค้าเลยครับ
เกรดตกนิดเดียว เค้าก็พูดคุย(เชิงต่อว่า)ลูกเค้าเเล้ว
เวลาผมไปเดินถนนคนเดินทุกวันเสาร์ ผมเจอพ่อแม่เค้าบ้างบางครั้ง
แต่ไม่มีสักครั้งที่จะพาลูกมาด้วย
เดาไม่ยากเลยครับว่าเรียน
พ่อแม่เค้าให้ลูกไปเรียนถึงจังหวัดข้างๆ เพราะศูนย์เรียนพิเศษจังหวัดผมไม่ค่อยมี
เพื่อนผมเค้าก็ต้องไป
อยากฝากถึงพ่อแม่หลายๆคนนะครับ ว่าเด็กทุกคนต้องการชีวิตแบบวัยรุ่น
แต่ละคนคงต้องการไม่เหมือนกัน แต่ก็ปล่อยเค้าบ้างเถอะครับ
ให้เค้ามีความทรงจำที่น่าจดจำอยู่ในใจของเค้าบ้าง
บางครั้งเค้าอาจทำผิดพลาดบ้าง ก็ให้โอกาสเค้าบ้างนะครับ
ไม่ใช่ผิดแล้วห้ามเด็ดขาดเลย
ขนาดขี่จักรยานยังต้องฝึกหลายๆครั้ง ล้มบ้าง ก็ต้องลองใหม่ให้เป็น จริงมั้ยครับ?
อย่าให้ใครมาเรียกลูกคุณว่า"เด็กเก็บกด"เลยครับ ผมว่า ไม่มีเด็กคนไหนอยากโดนเรียกแบบนั้นหรอก
(ใครอ่านมาจนจบ ก็ขอบคุณมากนะครับ เผื่อจะเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นบ้างก็ยังดีครับ
ผมก็เด็กคนนึง ม.3 เอง คิดได้เท่านี้นี่แหละครับ ผมไม่รู้หรอกว่าผู้ใหญ่เค้าต้องเจออะไรบ้าง
แต่ก็อยากให้เอาความคิดเห็นนี้ไปพิจารณาดูนะครับ ขอบคุณครับ )
เพื่อนผม พ่อแม่เป็นครูทั้งสองคน(สอนผมด้วย) เค้าต้องการให้ลูกเค้าเป็นเเพทย์(ค่านิยมนี้ เพลียจิตมากเลยครับ)
(ทั้งๆที่ลูกคนโตก็เรียนแพทย์ไปแล้ว แต่ในความคิดของผมเค้าคงจะให้ลูกเรียนแพทย์ทั้งสองคน)
เค้าให้ลูกเรียนเยอะมากๆๆๆ เลยครับ ทั้งตอนเย็นหลังเลิกเรียน เสาร์อาทิตย์
มีอยู่ครั้งนึง ทำงานกลุ่มกันวิชานาฏศิลป์ มันต้องนัดเพื่อนมาซ้อม
ซึ่งวันธรรมดาไม่มีเวลาซ้อมกันมากนัก จึงต้องนัดมาซ้อมกันวันเสาร์
เพื่อนคนนี้ที่ผมบอก เค้ามาถึงก่อนผม เค้าก็นั่งรอ
พอผมมาถึงเห็นเค้าซึมๆ เลยถามเค้าดู
เค้าก็เล่าว่า พ่อ(ต่อ)ว่าเสียเวลาเรียนพิเศษ ดุเค้า รวมถึงลามไปด่าเรื่องอื่นด้วย
มีประโยคนึงออกมาจากเพื่อนผม "ไม่รู้ดิ ความเลวเค้ามันเยอะเกิน จำไม่หมดหรอก"
พร้อมกับว่าเค้าร้องไห้น้ำตาเล็ดเลยครับ ผมสงสารมาก
คือเพื่อนผมเป็นผู้ชายนี่แหละครับ แต่ผมรู้สึกว่าเค้าสูญเสียสิ่งที่ควรจะได้รับในช่วงวัยรุ่น
เด็กผู้ชาย ควรได้ไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนบ้าง ใช้ชีวิตสนุกบ้างๆแต่อยู่ในขอบเขต
แต่นี่พ่อแม่เค้าไม่ปล่อยลูกเค้าเลยครับ จะให้แต่เรียน และควบคุมพฤติกรรมตลอด
จนผมว่าบางทีมันมากเกินไป แต่ผมก็ช่วยอะไรเค้าไม่ได้
เพื่อนผมนิสัยดีมากๆ เค้าดีมากจริงๆ เป็นเด็กดีทุกอย่าง เรียนเก่งมากๆ
จนน่าสงสารมาก ว่าทำไมเค้าถึงต้องทนจมอยู่กับเรื่องเรียนๆๆๆ
ไม่ได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นเหมือนคนอื่นๆบ้าง ผมกลัวว่าเพื่อนผมเค้าจะใช้ชีวิตไม่เป็น
ตอนอยู่ม.2 ในกลุ่มเพื่อน ก็คุยเรื่องดูหนังกัน
เค้าเป็นคนเดียวที่ไม่เคยเข้าโรงหนัง เค้าไม่รู้ว่าต้องทำยังไง เป็นยังไง เพราะพ่อแม่เค้าไม่เคยให้ดู
ทุกวันนี้เพื่อนในห้องขี่รถมอเตอร์ไซค์กันได้แล้ว เพื่อนผมคนนี้ยังขี่ไม่แข็งเลย
หลายๆครั้งที่เค้าไม่ค่อยรู้เรื่องรอบตัว บ้านเมือง หรือการใช้ชีวิตประจำวัน
เพราะพ่อแม่เค้าทำให้หมด รีดผ้าเค้าก็รีดไม่เป็น เป็นห่วงเพื่อนมากเลยครับ
ผมกับเพื่อนอยู่ม.3 ครับตอนนี้
แม่ของผมไม่ยุ่งเรื่องเรียนผมเลยครับ เค้าจะคอยแนะนำบ้างบางครั้ง
เวลาอยากเรียนพิเศษอะไรที่ไหน ผมก็จะหาเองว่าที่ไหนดี
อยู่ใกล้ๆบ้าน ไปเรียนเองได้ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ไปส่ง(เพราะเค้าไม่ค่อยมีเวลา-ทำงานหนักมากเลยครับ)
แล้วก็ไปขอแม่เรียน
แม่ผมจะถามด้วยซ้ำว่าเรียนไหวหรอ เรียนแล้วจะทำการบ้านทันมั้ย
แต่ถ้าผมไหวเค้าก็โอเคให้เรียนตลอด ผมได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียนด้วย
ไม่รู้สึกว่าโดนบังคับครับ
แม่ผมเค้าเคยบอกว่า จะตั้งใจเรียนหรือไม่ ยังไง มันคือตัวผม สิ่งที่ได้/เสียเกิดขึ้นกับผมเอง
อนาคตสิ่งที่เกิดขึ้นก็ตัวผม ลำบาก/สบายก็ตัวผม แม่ช่วยอะไรไม่ได้ เค้าทำงานหาเงินให้เรียนได้
เวลาเกรดออกมาก ถ้ามันตก เค้าจะไม่เคยว่าเลยครับ จะคอยแนะนำบ้างเล็กๆน้อยๆ
เพราะท่านก็เข้าใจว่าสมัยนี้เรียนยากมากกว่าเมื่อก่อนอยู่แล้วครับ
ทุกวันนี้ผมอยู่กับพ่อแม่น้อยมากๆเลยครับ เจอกันวันละไม่กี่ชม.เองเพราะอยู่คนละบ้าน
(ผมอยู่บ้านยายเพราะใกล้ร.ร.มากกว่า แต่แม่ก็จะมาหาทุกวัน)
แต่ผมรู้สึกได้ว่าเค้าทำเพื่อผมจริงๆครับ รักพ่อแม่มากๆเลยครับ
เวลาอยากได้อะไร เค้าก็จะดูความเหมาะสม จำเป็นมั้ย ใช้ประโยขน์อะไรได้
นานๆทีจะซื้อของไร้สาระบ้าง ที่ผมอยากได้
มีบ้างที่ผมรู้สึกว่ามันไม่พอ แต่ผมก็ไม่เคยรู้สึกว่าขาดเลยครับ
เพราะผมเข้าใจว่าพ่อแม่ทำงานหนักจริงๆ
เป็นพ่อค้าแม่ค้าอยู่ตลาด ทำงานครึ่งคืนค่อนวัน เพื่อหาเงินให้ผมเรียนให้ผมใช้
ซึ่งต่างจากเพื่อนคนนี้ที่ผมบอกมาก เค้าไม่ปล่อยลูกเค้าเลยครับ
เกรดตกนิดเดียว เค้าก็พูดคุย(เชิงต่อว่า)ลูกเค้าเเล้ว
เวลาผมไปเดินถนนคนเดินทุกวันเสาร์ ผมเจอพ่อแม่เค้าบ้างบางครั้ง
แต่ไม่มีสักครั้งที่จะพาลูกมาด้วย
เดาไม่ยากเลยครับว่าเรียน
พ่อแม่เค้าให้ลูกไปเรียนถึงจังหวัดข้างๆ เพราะศูนย์เรียนพิเศษจังหวัดผมไม่ค่อยมี
เพื่อนผมเค้าก็ต้องไป
อยากฝากถึงพ่อแม่หลายๆคนนะครับ ว่าเด็กทุกคนต้องการชีวิตแบบวัยรุ่น
แต่ละคนคงต้องการไม่เหมือนกัน แต่ก็ปล่อยเค้าบ้างเถอะครับ
ให้เค้ามีความทรงจำที่น่าจดจำอยู่ในใจของเค้าบ้าง
บางครั้งเค้าอาจทำผิดพลาดบ้าง ก็ให้โอกาสเค้าบ้างนะครับ
ไม่ใช่ผิดแล้วห้ามเด็ดขาดเลย
ขนาดขี่จักรยานยังต้องฝึกหลายๆครั้ง ล้มบ้าง ก็ต้องลองใหม่ให้เป็น จริงมั้ยครับ?
อย่าให้ใครมาเรียกลูกคุณว่า"เด็กเก็บกด"เลยครับ ผมว่า ไม่มีเด็กคนไหนอยากโดนเรียกแบบนั้นหรอก
(ใครอ่านมาจนจบ ก็ขอบคุณมากนะครับ เผื่อจะเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นบ้างก็ยังดีครับ
ผมก็เด็กคนนึง ม.3 เอง คิดได้เท่านี้นี่แหละครับ ผมไม่รู้หรอกว่าผู้ใหญ่เค้าต้องเจออะไรบ้าง
แต่ก็อยากให้เอาความคิดเห็นนี้ไปพิจารณาดูนะครับ ขอบคุณครับ )
ความคิดเห็นที่ 23
เราไม่ชอบกระแสการเรียนพิเศษในไทยเลยค่ะ ไม่จำเป็น เพราะส่งเสริมให้เด็กเรียนเองไม่เป็น
จริง ๆ ตอนเด็ก ๆ เราก็ขอพ่อแม่เรียนพิเศษ แต่เรียนพวกศิลปะ ดนตรี เพราะเป็นสิ่งที่เราชอบทำเป็นงานอดิเรก ไม่ได้เรียนพิเศษในเชิงวิชาการจริง ๆ จัง ๆ สักที เป็นอย่างนั้นมาเรื่อยจนขึ้น ม.ปลาย แม่เริ่มกังวลกลัวว่าเราจะเรียนตามเพื่อนไม่ทานเพราะเราอ่อนเลขกับวิทย์ แม่เลยบังคับให้ไปเรียนพิเศษ ปรากฏว่าเราไปแค่ครั้งแรกครั้งเดียวแล้วไม่ไปอีกเลยเพราะเราไม่ชอบ ตอนนั้นคิดว่าทำไมต้องให้เราเสียตังค์เยอะแยะเพื่อไปนั่งในห้องแคบ ๆ ฟังติวเตอร์กรอกหูด้วยสิ่งที่เราอ่านเองก็ได้ หลังจากนั้นก็ไม่ได้เรียนพิเศษอีกเลย อ่านเอง ทวนเอง ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย เข้าถึงได้หลายทาง ทั้งหนังสือ อินเตอร์เน็ต โปรแกรม และอื่น ๆ จริง ๆ ตอนนั้นเราก็สุดโต่งไปนิดนึง เราบอกแม่ว่าเราไม่อยากแอดมิดชั่นเรียนต่อเข้ามหาลัยเพราะไม่รู้จะเข้าไปทำไม อ่านหนังสือเองก็ได้ (แต่สุดท้ายก็ดีใจนะคะที่เลือกเรียนต่อ) บรรดาญาติๆก็มาไซโคแม่เราว่าลูกเธอไม่ไหว อย่างนี้แย่แน่.....แล้วเป็นยังไงคะ? สุดท้ายก็จบจาก ม.ดังย่านสามย่าน เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง
พอเราเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง บางคนก็บอกว่าแบบนี้มันกรณีพิเศษเพราะเราเก่ง เราไม่เข้าใจคนที่ไม่เก่งหรอก แต่เราขอค้านค่ะ เราไม่ใช่คนเก่ง เราไม่รู้อะไรหลายอย่าง แต่เราติดนิสัยชอบค้นคว้าหาความรู้เองทันทีที่สงสัย ซึ่งมันเป็นนิสัยที่เด็ก ๆ ควรมีเพื่อเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ถ้าผู้ใหญ่ไม่สนับสนุนให้เด็กคิดเอง เด็กจะเริ่มมีปัญหาตอนเข้ามหาวิทยาลัยเพราะการเรียนการสอนเปลี่ยนจากท่องจำมาเป็นคิดวิเคราะห์ และจะมีปัญหามากขึ้นเมื่อเรียนระดับสูงขึ้นไปอีกเพราะต้องคิดและค้นคว้าในหัวข้อที่ตัวเองสนใจ หลังจากเรียนจบแล้วไปทำงานหรือทำธุรกิจของตัวเอง ก็ไม่มีติวเตอร์มาติวให้คุณนะคะว่าจะต้องทำงานยังไง เพราะฉะนั้นยิ่งหัดเรียนรู้เองเร็วเท่าไรยิ่งดี
เราไม่ชอบแนวคิดเรื่องการกวดวิชามาก ๆ และตั้งใจว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย แต่เราก็เคยสอนพิเศษอยู่พักหนึ่งเพราะมีผู้ปกครองมาขอร้องให้ไปช่วยสอนลูกเขาเนื่องจากได้ยินมาว่าเราได้เหรียญทอง เราพยายามปฎิเสธแต่เขาก็ขอให้ช่วยเพราะเขาเป็นห่วงลูกจริง ๆ ลูกเข้าโรงเรียนใหม่แล้วเกรดตกจนซึมไป เราไปลองไปคุยกับน้องคนนั้นก็เห็นว่าน้องเครียดจริง ๆ เลยตกลงรับปากช่วย แต่พอคลุกคลีกับน้องมากขึ้นก็ได้รู้ว่าน้องเรียนพิเศษตามสถาบันดัง ๆ เยอะมาก เรียนทุกวันตอนเย็นแถมวันเสาร์อาทิตย์ก็ไม่ได้พัก (เคยถามน้องว่าเวลาว่างชอบทำอะไร เพราะเราจะเอาสิ่งที่น้องชอบมาบูรณาการกับบทเรียน น้องอึ้ง ๆ ไปสักพักก่อนจะตอบว่า ไม่ว่างค่ะ เรียนพิเศษตลอด) ถามน้องว่าไปเรียนพิเศษเยอะ ๆ แบบนี้แล้วเกรดดีขึ้นไหม น้องบอกว่าเกรดแย่ลง ไปเรียนก็ไม่เห็นรู้เรื่องเลย เราถามน้องต่อว่าไม่รู้เรื่องแล้วทำไมยังไปเรียน น้องบอกเพราะคนอื่น ๆ ไปเรียนหมด ถ้าตัวเองไม่ไปเรียนจะเสียเปรียบ และถึงตอนนี้ไม่รู้เรื่อง ไปนั่งฟังติวเตอร์พูดเรื่อย ๆ อาจจะรู้เรื่องก็ได้
จากที่สังเกต น้องไม่ได้ไม่เก่งนะคะ แต่น้องไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลยเพราะคุณแม่เป็นคนตัดสินใจให้ทุกอย่าง และมันทำให้น้องไม่เชื่อว่าตัวเองเรียนหนังสือเองได้ บางทีให้น้องทำแบบฝึกหัดแล้วน้องเลือกข้อที่ถูก เรายังไม่บอกว่าถูกแต่เราถามน้องว่าทำไมเลือกข้อนี้ น้องจะเริ่มอึกอัก ๆ และขอเปลี่ยนคำตอบ คือน้องตอบถูกแต่ให้เหตุผลไม่ได้ว่าทำไม เพราะน้องจำมาจากติวเตอร์ว่าคำถามนี้ต้องตอบอย่างนี้ แต่ไม่ได้คิดต่อว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งถ้าน้องศึกษาเองตั้งแต่ต้นเหตุจนถึงผลลัพธ์น้องย่อมอธิบายได้ สุดท้ายเราเลยบอกแม่น้องเขาว่าเราไม่ถนัดสอนพิเศษแบบนี้จริง ๆ และถอนตัวออกมา
ถ้าเรามีลูก ตอนลูกยังเล็กเราจะสอนลูกเหมือนที่พ่อแม่สอนเราตอนเด็ก ๆ ค่ะ ถ้าสงสัยอะไรพ่อแม่จะไม่ตอบทันทีแต่จะถามกลับก่อนว่าลูกคิดว่ายังไง แล้วให้หนังสือหรือพาไปห้องสมุดเพื่อให้ลูกฝึกหาคำตอบเอง ถ้าลูกอยากจะเรียนพิเศษเราก็พร้อมสนับสนุน แต่ต้องมีเหตุผลที่ดี ("เพราะใคร ๆ ก็เรียน" แบบนี้ไม่ผ่าน) ถ้าเราไม่มีเงินเราก็จะอธิบายให้ลูกเข้าใจตามจริง เพื่อให้ลูกรู้ว่าทุกอย่างไม่ได้ได้มาง่าย ๆ และให้ลูกอยู่กับความเป็นจริง (ตอนมัธยมเราเองก็เคยอยากไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ แต่ไม่ได้ไปเพราะแม่บอกว่าไม่มีเงิน เราเลยเริ่มเก็บเงินเองและหาทางไป สุดท้ายก็ได้มาเรียน ป.โท ที่ต่างประเทศค่ะ กว่าฝันจะเป็นจริงใช้เวลารวม 8 ปี แต่เราภูมิใจมากเพราะเราทำฝันให้เป็นจริงด้วยตัวเอง)
ตอนนี้ย้ายมาอยู่ต่างประเทศสักพักนึงแล้ว เวลาคุยกับเพื่อนต่างชาติเราชอบถามเรื่องการเรียนพิเศษในประเทศเขา ก็เห็นมีแต่ประเทศในเอเชียที่มีโรงเรียนกวดวิชาแบบจริง ๆ จังๆ เราสงสัยเลยหาสารคดีเรื่องนี้ดูแล้วก็เจอสารคดีของวัฒนธรรมชุบแป้ง ตอน ทำไมต้องกวดวิชา (https://www.youtube.com/watch?v=v5qp_38GA1s) ดูแล้วก็เข้าใจที่มาที่ไปของการกวดวิชาในไทยนะคะ แต่ยังไม่เห็นด้วยอยู่ดี
จริง ๆ ตอนเด็ก ๆ เราก็ขอพ่อแม่เรียนพิเศษ แต่เรียนพวกศิลปะ ดนตรี เพราะเป็นสิ่งที่เราชอบทำเป็นงานอดิเรก ไม่ได้เรียนพิเศษในเชิงวิชาการจริง ๆ จัง ๆ สักที เป็นอย่างนั้นมาเรื่อยจนขึ้น ม.ปลาย แม่เริ่มกังวลกลัวว่าเราจะเรียนตามเพื่อนไม่ทานเพราะเราอ่อนเลขกับวิทย์ แม่เลยบังคับให้ไปเรียนพิเศษ ปรากฏว่าเราไปแค่ครั้งแรกครั้งเดียวแล้วไม่ไปอีกเลยเพราะเราไม่ชอบ ตอนนั้นคิดว่าทำไมต้องให้เราเสียตังค์เยอะแยะเพื่อไปนั่งในห้องแคบ ๆ ฟังติวเตอร์กรอกหูด้วยสิ่งที่เราอ่านเองก็ได้ หลังจากนั้นก็ไม่ได้เรียนพิเศษอีกเลย อ่านเอง ทวนเอง ความรู้ในโลกนี้มีมากมาย เข้าถึงได้หลายทาง ทั้งหนังสือ อินเตอร์เน็ต โปรแกรม และอื่น ๆ จริง ๆ ตอนนั้นเราก็สุดโต่งไปนิดนึง เราบอกแม่ว่าเราไม่อยากแอดมิดชั่นเรียนต่อเข้ามหาลัยเพราะไม่รู้จะเข้าไปทำไม อ่านหนังสือเองก็ได้ (แต่สุดท้ายก็ดีใจนะคะที่เลือกเรียนต่อ) บรรดาญาติๆก็มาไซโคแม่เราว่าลูกเธอไม่ไหว อย่างนี้แย่แน่.....แล้วเป็นยังไงคะ? สุดท้ายก็จบจาก ม.ดังย่านสามย่าน เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง
พอเราเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง บางคนก็บอกว่าแบบนี้มันกรณีพิเศษเพราะเราเก่ง เราไม่เข้าใจคนที่ไม่เก่งหรอก แต่เราขอค้านค่ะ เราไม่ใช่คนเก่ง เราไม่รู้อะไรหลายอย่าง แต่เราติดนิสัยชอบค้นคว้าหาความรู้เองทันทีที่สงสัย ซึ่งมันเป็นนิสัยที่เด็ก ๆ ควรมีเพื่อเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ถ้าผู้ใหญ่ไม่สนับสนุนให้เด็กคิดเอง เด็กจะเริ่มมีปัญหาตอนเข้ามหาวิทยาลัยเพราะการเรียนการสอนเปลี่ยนจากท่องจำมาเป็นคิดวิเคราะห์ และจะมีปัญหามากขึ้นเมื่อเรียนระดับสูงขึ้นไปอีกเพราะต้องคิดและค้นคว้าในหัวข้อที่ตัวเองสนใจ หลังจากเรียนจบแล้วไปทำงานหรือทำธุรกิจของตัวเอง ก็ไม่มีติวเตอร์มาติวให้คุณนะคะว่าจะต้องทำงานยังไง เพราะฉะนั้นยิ่งหัดเรียนรู้เองเร็วเท่าไรยิ่งดี
เราไม่ชอบแนวคิดเรื่องการกวดวิชามาก ๆ และตั้งใจว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย แต่เราก็เคยสอนพิเศษอยู่พักหนึ่งเพราะมีผู้ปกครองมาขอร้องให้ไปช่วยสอนลูกเขาเนื่องจากได้ยินมาว่าเราได้เหรียญทอง เราพยายามปฎิเสธแต่เขาก็ขอให้ช่วยเพราะเขาเป็นห่วงลูกจริง ๆ ลูกเข้าโรงเรียนใหม่แล้วเกรดตกจนซึมไป เราไปลองไปคุยกับน้องคนนั้นก็เห็นว่าน้องเครียดจริง ๆ เลยตกลงรับปากช่วย แต่พอคลุกคลีกับน้องมากขึ้นก็ได้รู้ว่าน้องเรียนพิเศษตามสถาบันดัง ๆ เยอะมาก เรียนทุกวันตอนเย็นแถมวันเสาร์อาทิตย์ก็ไม่ได้พัก (เคยถามน้องว่าเวลาว่างชอบทำอะไร เพราะเราจะเอาสิ่งที่น้องชอบมาบูรณาการกับบทเรียน น้องอึ้ง ๆ ไปสักพักก่อนจะตอบว่า ไม่ว่างค่ะ เรียนพิเศษตลอด) ถามน้องว่าไปเรียนพิเศษเยอะ ๆ แบบนี้แล้วเกรดดีขึ้นไหม น้องบอกว่าเกรดแย่ลง ไปเรียนก็ไม่เห็นรู้เรื่องเลย เราถามน้องต่อว่าไม่รู้เรื่องแล้วทำไมยังไปเรียน น้องบอกเพราะคนอื่น ๆ ไปเรียนหมด ถ้าตัวเองไม่ไปเรียนจะเสียเปรียบ และถึงตอนนี้ไม่รู้เรื่อง ไปนั่งฟังติวเตอร์พูดเรื่อย ๆ อาจจะรู้เรื่องก็ได้
จากที่สังเกต น้องไม่ได้ไม่เก่งนะคะ แต่น้องไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลยเพราะคุณแม่เป็นคนตัดสินใจให้ทุกอย่าง และมันทำให้น้องไม่เชื่อว่าตัวเองเรียนหนังสือเองได้ บางทีให้น้องทำแบบฝึกหัดแล้วน้องเลือกข้อที่ถูก เรายังไม่บอกว่าถูกแต่เราถามน้องว่าทำไมเลือกข้อนี้ น้องจะเริ่มอึกอัก ๆ และขอเปลี่ยนคำตอบ คือน้องตอบถูกแต่ให้เหตุผลไม่ได้ว่าทำไม เพราะน้องจำมาจากติวเตอร์ว่าคำถามนี้ต้องตอบอย่างนี้ แต่ไม่ได้คิดต่อว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งถ้าน้องศึกษาเองตั้งแต่ต้นเหตุจนถึงผลลัพธ์น้องย่อมอธิบายได้ สุดท้ายเราเลยบอกแม่น้องเขาว่าเราไม่ถนัดสอนพิเศษแบบนี้จริง ๆ และถอนตัวออกมา
ถ้าเรามีลูก ตอนลูกยังเล็กเราจะสอนลูกเหมือนที่พ่อแม่สอนเราตอนเด็ก ๆ ค่ะ ถ้าสงสัยอะไรพ่อแม่จะไม่ตอบทันทีแต่จะถามกลับก่อนว่าลูกคิดว่ายังไง แล้วให้หนังสือหรือพาไปห้องสมุดเพื่อให้ลูกฝึกหาคำตอบเอง ถ้าลูกอยากจะเรียนพิเศษเราก็พร้อมสนับสนุน แต่ต้องมีเหตุผลที่ดี ("เพราะใคร ๆ ก็เรียน" แบบนี้ไม่ผ่าน) ถ้าเราไม่มีเงินเราก็จะอธิบายให้ลูกเข้าใจตามจริง เพื่อให้ลูกรู้ว่าทุกอย่างไม่ได้ได้มาง่าย ๆ และให้ลูกอยู่กับความเป็นจริง (ตอนมัธยมเราเองก็เคยอยากไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ แต่ไม่ได้ไปเพราะแม่บอกว่าไม่มีเงิน เราเลยเริ่มเก็บเงินเองและหาทางไป สุดท้ายก็ได้มาเรียน ป.โท ที่ต่างประเทศค่ะ กว่าฝันจะเป็นจริงใช้เวลารวม 8 ปี แต่เราภูมิใจมากเพราะเราทำฝันให้เป็นจริงด้วยตัวเอง)
ตอนนี้ย้ายมาอยู่ต่างประเทศสักพักนึงแล้ว เวลาคุยกับเพื่อนต่างชาติเราชอบถามเรื่องการเรียนพิเศษในประเทศเขา ก็เห็นมีแต่ประเทศในเอเชียที่มีโรงเรียนกวดวิชาแบบจริง ๆ จังๆ เราสงสัยเลยหาสารคดีเรื่องนี้ดูแล้วก็เจอสารคดีของวัฒนธรรมชุบแป้ง ตอน ทำไมต้องกวดวิชา (https://www.youtube.com/watch?v=v5qp_38GA1s) ดูแล้วก็เข้าใจที่มาที่ไปของการกวดวิชาในไทยนะคะ แต่ยังไม่เห็นด้วยอยู่ดี
แสดงความคิดเห็น
หายนะทางการเงิน เมื่อส่งลูกเรียนพิเศษ By นายแพทย์ อิทธิฤทธิ์
คอลัมน์...Dad Mom and Kids
โดย...นพ.อิทธิฤทธิ์-พญ.สาริณี จุฬาลักษณ์ศิริบุญ
http://www.naewna.com/columnonline/23044
วันนี้ขอแทรกเรื่องใหญ่ ที่คนทั่วไปไม่ได้พูดถึงกันเลย คือ เรื่องการเงินของบ้าน เมื่อต้องส่งลูกๆเรียนพิเศษ
ผมเตรียมบทความเรื่องการเรียนพิเศษกลุ่มวิชาการไว้แล้ว แต่มานึกได้ว่า มีประเด็นสำคัญที่ผมไม่อาจข้ามไปได้
เราเคยได้ยินคำเปรียบเปรย “มีลูก 1 คน จนไป 7 ปี” หลายคนก็เถียงว่า เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่ 7 ปี แต่เป็น 20 ปี
ที่มีคำพูดนี้ เพราะการมีลูก 1 คน สร้างรายจ่ายจำนวนมาก มากจนหลายบ้านคาดไม่ถึง และไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้
พอลูกเข้าเรียน ถ้าเป็นโรงเรียนดีๆ ก็มักจะเป็น รร.เอกชน ซึ่งค่าเทอมก็ทำเอาผู้ปกครองจุก ส่วนคนที่ส่งเรียน รร.รัฐบาลดังๆ ประจำจังหวัด เดี๋ยวนี้ก็มีทางเลือกให้ คือ มีโปรแกรมพิเศษ เช่น English program ค่าเรียนก็สูง
พอเรียนๆไป ก็เริ่มมี Line กลุ่มผู้ปกครองกัน แต่ละคนก็จะเริ่ม "ส่อง" กันละ ว่าใครส่งลูกเรียนพิเศษที่ไหน ยิ่งถ้าเด็กที่ผลการเรียนดี ก็จะยิ่งถูกจับตาเป็นพิเศษ
ความกลัวที่ครอบงำ เริ่มทำให้หลายๆบ้าน อยากส่งลูกเรียนพิเศษ โดยหลายครั้ง เราก็เก็บๆกดๆ เรื่องเงินที่ต้องจ่ายเอาไว้ ไม่เอามาคิด เพราะทุกคนรู้สึกว่า "เพื่อลูก" ฉันต้องทำได้
ยิ่งบางโรงเรียน มีวัฒนธรรมที่เพื่อนๆ ในห้อง ไปเรียน Summer เมืองนอก ราคาเป็นหลักแสนบาท ไอ้เราพ่อแม่ก็ไม่อยากให้ลูกเสียโอกาส ก็เลยบอกลูกให้สมัครไป
หลายบ้าน เพียงเพราะลูกมาขอว่าอยากเรียน ก็ตอบตกลงทันที โดยคิดแต่ว่า "เพื่อลูก เพื่อลูก" และไม่เคยคุยกับลูกเรื่องเงินค่าเรียนเลย
พ่อแม่จำนวนไม่น้อย ส่งลูกเรียนเพราะรู้สึกว่า เอาไป "อวดได้" ว่าลูกฉันเรียนดนตรี กับครูที่เก่งมาก เรียนไวโอลินกับครูชื่อดัง เป็นต้น
ผมเดาว่า หลายบ้าน เริ่มเข้าสู่ภาวะเงินตึงตัว ไหนจะค่าเทอม ไหนจะค่าเรียนพิเศษลูก ยิ่งบ้านที่มีลูกมากกว่า 1 คน ยิ่งตึงมาก
พอเงินตึงมือ สิ่งที่ต้องทำคือ
1.หาเงินเพิ่มขึ้น ต้องขึ้นเวร ทำOT ผลคือ เวลาที่มีให้ลูกก็น้อยลง ลางร้ายเริ่มมาเยือนละ
2.เปียแชร์ ยิ่งถ้าช่วงที่ใกล้เปิดเทอม ยิ่งแย่งกัน ถ้าอยากได้จริงๆ ต้องสู้ค่าดอก พออีกหลายงวดต้องจ่ายดอกแพง ก็เริ่มหน้ามืด ผมรู้เพราะป๊าผมเคยเป็นเจ้ามือแชร์ครับ เลยรู้เยอะ เห็นเยอะ
3.เริ่มพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซื้อหวย โชคดีที่ คสช.คุมราคาหวย 80 บาท แต่เชื่อเถอะ เงินที่เคยถูกรางวัล เทียบไม่ได้กับที่ต้องเสียไป
4.อะไรที่กู้ได้ กู้หมด สหกรณ์เอย ธนาคารที่มีสินเชื่อพิเศษกับหน่วยงานของเรา กู้หมด กู้เต็มวงเงิน เงินเดือนถูกหักเรียบ บางทีเหลือเงินเดือนให้กดแค่หลักพันบาท
5.สมัครบัตรกดเงินสดทั้งหลาย ไม่เชื่อลองดูทุกสิ้นเดือนสิครับ แถวกดเงินตู้กดเงินสด ยาวเหยียดจนน่ากลัว
6.กดเงินสดจากบัตรเครดิต อาการนี้แปลว่าเริ่มสาหัสมาก
7.ส่งรหัสชิงโชคใต้ฝาเครื่องดื่ม ดื่มกันจนเบาหวานขึ้นปรี๊ด
8.ขาย หรือ จำนำ ทรัพย์สมบัติที่มี
9.กู้เงินนอกระบบ นี่สาหัสมาก อาการโคม่า
เรียนพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี เต้น กีฬา ศิลปะ หรือวิชาการ มีค่าใช้จ่ายทั้งทางตรง คือ ค่าเรียนที่ต้องจ่าย และทางอ้อม คือ ค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าอุปกรณ์ รวมๆแล้วถือว่ามาก
ดังนั้น เวลาที่ใครก็ตาม ที่อยากส่งลูกเรียนพิเศษ อย่าเพิ่งเอาเหตุผลเหล่านี้มาก่อน เช่น
-ฝึกสมาธิ ฝึกความคิดที่ซับซ้อน ฝึกความจำ
-จัดระเบียบร่างกาย
-จิตใจที่อ่อนโยน ละมุนละไม
-ลูกอยากเรียน ลูกมีความสุข
ผมคิดว่า เรื่อง Budget หรืองบประมาณ ต้องมาก่อน แน่นอนว่า มีหลายบ้านที่เหลือกินเหลือใช้จริงๆ ผมก็ยินดีด้วย และอยากเรียนอะไร ก็คงไม่กระทบกับฐานะทางการเงิน
อย่าหลงไป "ติดกับ" กับธุรกิจเรียนพิเศษครับ ผมไม่ได้รังเกียจคนที่สอนพิเศษ แค่ต้องการเตือนสติท่านว่า อย่าหลงเคลิ้มไปกับสิ่งที่ธุรกิจเหล่านี้ ที่พูดแต่ข้อดีเมื่อส่งลูกมาเรียนกับเขา
แตะกระเป๋าสตางค์ทุกครั้ง ที่คิดจะจ่ายเงินค่าเรียนพิเศษ ไม่มีใครปกป้องเงินในกระเป๋าคุณได้ นอกจากตัวคุณเอง
อย่าลืมว่า มีสิ่งที่ "จำเป็นจริงๆ" อีกมากที่ต้องจ่าย เพราะฉะนั้น อย่าให้เงินรั่วไหลไปกับการเรียนพิเศษที่ "ไม่มีความจำเป็นจริงๆ" เลยครับ
อ้อ! ที่สำคัญที่สุด สิ่งที่ผมพูด ผมก็ทำอย่างนั้น ปากตรงกับใจครับ ลูกๆ ของผมเทอมนี้ไม่ได้เรียนพิเศษเลย และคงเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าจะเรียนอะไรสักอย่าง ก็ต้องผ่านการคิดการพูดคุยถึงประโยชน์จริงๆ ผมไม่ได้ขี้เหนียวอะไร ผมทำทุกอย่างก็ "เพื่อลูก" เหมือนทุกท่านแหละครับ
รูปนี้ กำลังจะบอกว่า พอไม่ได้เรียนพิเศษ เลยเหลือเวลาพาลูกเที่ยว ที่สำคัญถูกตังค์กว่าค่าเรียนพิเศษเยอะ