สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
กลับมาน่ะดีแล้วครับ กลับมาพัฒนาประเทศ
ไปทำงานต่างประเทศเลย = สมองไหล(brain drain) เท่ากับภาษีที่รัฐจ่ายไปกับการศึกษาสูญเปล่า ทำให้ประเทศเสียหายทางอ้อม เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาแทบทุกประเทศรวมถึงไทย
ยกเว้นจะไปทำงานแค่พอฝึกฝีมือเก็บประสบการณ์เก็บKnow-How แล้วกลับมาเปิดกิจการในไทยแบบหลายๆบริษัท
ไปทำงานต่างประเทศเลย = สมองไหล(brain drain) เท่ากับภาษีที่รัฐจ่ายไปกับการศึกษาสูญเปล่า ทำให้ประเทศเสียหายทางอ้อม เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาแทบทุกประเทศรวมถึงไทย
ยกเว้นจะไปทำงานแค่พอฝึกฝีมือเก็บประสบการณ์เก็บKnow-How แล้วกลับมาเปิดกิจการในไทยแบบหลายๆบริษัท
ความคิดเห็นที่ 15
1. ปัญหาเรื่อง "ทักษะพิเศษที่หายไป"
หากมองจากมุมมองของนายจ้างแล้ว
จ้างคนประเทศเดียวกัน = จ่ายค่าจ้าง
จ้างคนต่างประเทศ = จ่ายค่าจ้าง + visa sponsorship
คนที่อยากได้รับการจ้างงานที่ต่างประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องแสดงให้เป็นว่าเรามีอะไรที่คุ้มค่าต่อต้นทุนที่เพิ่มเข้ามาด้าน visa sponsorship
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
-ต่อให้เราเก่งภาษาต่างประเทศเก่งขนาดไหน ถ้ามองจากมุมมองของเป็นคนประเทศนั้นแล้ว เราก็เป็นเหมือนคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น
ทั้งๆที่ในไทย เราสามารถเอาทักษะทางภาษาไปเป็นช่องทางในการหาตำแหน่งงานที่สูงกว่าได้
- อย่างไรก็ดี ทักษะภาษาไทยของเรา อาจจะกลายเป็นทักษะพิเศษได้ ถ้าไปถูกประเทศ ถูกตลาด
- คนที่ไปเรียนคณะสายศิลป์สังคม หางานตรงสาย (ที่สามารถเอาสิ่งที่เราเรียนมาไปเป็น "จุดขาย"ได้)ลำยาก
2. คนที่มาเรียนต่อเมืองนอกได้ส่วนใหญ่ เป็นคนรวยที่เมืองไทยครับ
่
แม้แต่ในหมู่นักเรียนทุนก็ตาม นักเรียนทุนหลายคนที่ผมรู้จัก ก็รวยในระดับที่มาเรียนด้วยทุนตัวเองได้ (บางคนที่รู้จักมาต่อนอกเป็นใบที่สอง โดยที่ใบแรกมาด้วยทุนส่วนตัว)
แต่นักเรียนกลุ่มนี้ก็เลือกที่จะชิงทุนมาเพื่อพิสูจน์ฝีมือตัวเอง ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่
(ซึ่งประเด็นนี้ บอกยากเหมือนกันว่ามันเหมาะสมหรือไม่ เพราะในด้านหนึ่ง วัตถุประสงค์ของทุนการศึกษาระดับสูงจะที่เน้นความสามารถมากกว่า
มองเรื่องความขาดแคลนอยู่แล้ว และการที่เด็กรักดี มันก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันก็ทำให้เด็กที่ไม่ได้รวย ที่ขยันและมีฝีมือเหมือนกัน โดนตัดโอกาสไปกลายๆ เพราะถึงจะมีฝีมือแต่ก็แข่งชนะเด็กรวยได้ยาก)
ด้วยเหตุนี้ นักเรียนนอกส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะกลับมาอยู่แบบรวยๆที่ไทย ทำงานบริษัทพอเป็นพิธี
มากกว่าที่จะไปเป็นมนุษย์เงินเดือนจริงจังๆที่เมืองนอกครับ
หากมองจากมุมมองของนายจ้างแล้ว
จ้างคนประเทศเดียวกัน = จ่ายค่าจ้าง
จ้างคนต่างประเทศ = จ่ายค่าจ้าง + visa sponsorship
คนที่อยากได้รับการจ้างงานที่ต่างประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องแสดงให้เป็นว่าเรามีอะไรที่คุ้มค่าต่อต้นทุนที่เพิ่มเข้ามาด้าน visa sponsorship
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
-ต่อให้เราเก่งภาษาต่างประเทศเก่งขนาดไหน ถ้ามองจากมุมมองของเป็นคนประเทศนั้นแล้ว เราก็เป็นเหมือนคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น
ทั้งๆที่ในไทย เราสามารถเอาทักษะทางภาษาไปเป็นช่องทางในการหาตำแหน่งงานที่สูงกว่าได้
- อย่างไรก็ดี ทักษะภาษาไทยของเรา อาจจะกลายเป็นทักษะพิเศษได้ ถ้าไปถูกประเทศ ถูกตลาด
- คนที่ไปเรียนคณะสายศิลป์สังคม หางานตรงสาย (ที่สามารถเอาสิ่งที่เราเรียนมาไปเป็น "จุดขาย"ได้)ลำยาก
2. คนที่มาเรียนต่อเมืองนอกได้ส่วนใหญ่ เป็นคนรวยที่เมืองไทยครับ
่
แม้แต่ในหมู่นักเรียนทุนก็ตาม นักเรียนทุนหลายคนที่ผมรู้จัก ก็รวยในระดับที่มาเรียนด้วยทุนตัวเองได้ (บางคนที่รู้จักมาต่อนอกเป็นใบที่สอง โดยที่ใบแรกมาด้วยทุนส่วนตัว)
แต่นักเรียนกลุ่มนี้ก็เลือกที่จะชิงทุนมาเพื่อพิสูจน์ฝีมือตัวเอง ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่
(ซึ่งประเด็นนี้ บอกยากเหมือนกันว่ามันเหมาะสมหรือไม่ เพราะในด้านหนึ่ง วัตถุประสงค์ของทุนการศึกษาระดับสูงจะที่เน้นความสามารถมากกว่า
มองเรื่องความขาดแคลนอยู่แล้ว และการที่เด็กรักดี มันก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันก็ทำให้เด็กที่ไม่ได้รวย ที่ขยันและมีฝีมือเหมือนกัน โดนตัดโอกาสไปกลายๆ เพราะถึงจะมีฝีมือแต่ก็แข่งชนะเด็กรวยได้ยาก)
ด้วยเหตุนี้ นักเรียนนอกส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะกลับมาอยู่แบบรวยๆที่ไทย ทำงานบริษัทพอเป็นพิธี
มากกว่าที่จะไปเป็นมนุษย์เงินเดือนจริงจังๆที่เมืองนอกครับ
แสดงความคิดเห็น
คนที่ไปเรียนเมืองนอก ทำไมเขาไม่ทำงานเมืองนอกไปเลย ผมเห็นเก่งๆสุดท้ายก็ต้องกลับมาเมืองไทย
ไม่ทราบว่าติดอุปสรรคอะไรเหรอครับ