คุยกับนักวิทยาศาสตร์ผู้วิจัยเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชัน

ตอนนี้นักวิจัยเตาปฎิกรณ์ฟิวชันจากสถาบันวิจัย แมกซ์แพลงค์ กำลังเปิดโอกาสให้ถามคำถามอยู่ครับ ใครสนใจเข้าไปถามได้เลย

https://www.reddit.com/r/science/comments/46k5y4/science_ama_series_hi_reddit_were_scientists_at/

Hi Reddit, we're scientists at the Max Planck Institute for plasma physics, where the Wendelstein 7-X fusion experiment has just heated its first hydrogen plasma to several million degrees. Ask us anything about our experiment, stellerators and tokamaks, and fusion power!

เดี๋ยวผมจะแปลคำถาม-ตอบ ที่น่าสนใจมาลงเป็นระยะๆ

เมื่อไหร่พลังงานฟิวชันจะสามารถใช้งานได้จริง?

ตามแผนการแล้ว การผลิตไฟฟ้าจากเตาปฏิกรณ์รุ่นทดลองจะเริ่มในปี 2050 หลังจากนั้นก็จะสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้ถ้าทุกอย่างราบรื่น คาดว่าปี 2060 น่าจะสามารถนำเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันไปใช้งานได้จริง


อุปสรรคของการพัฒนาเตาปฎิกรณ์คืออะไร?

1.)    การเอาพลังงานความร้อนออกมาใช้ – การจะผลิตพลังงานได้นั้นเราต้องเอาอนุภาคและความร้อนออกมาสู่ขอบของเตาปฎิกรณ์ แต่วัสดุที่เรามีอยู่ในปัจจุบันสามารถทนได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น
2.)    การผลิต Tritium – เตาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ Deuterium-Tritium แต่ทว่า Tritium ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติ เราต้องสร้างมันขึ้นมาในเตาปฎิกรณ์
3.)    ความสม่ำเสมอ – เราต้องการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องซึ่งเตาแบบ Tokamak ทำอย่างนั้นไม่ได้ แต่ Stellarator สามารถทำได้ตามทฤษฎี
4.)    เสถียรภาพ – เตาแบบ Takamak บางครั้งจะเกิดปรากฎการณ์ที่ Plasma ไม่เสถียร และสูญเสียสภาพไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะทำให้เตาปฎิกรณ์เสียหายได้


คุณได้รับงบประมาณเท่าไหร่ และคุณต้องการงบประมาณเท่าไหร่งานวิจัยถึงจะดำเนินไปได้เร็วกว่านี้?

ยิ่งมากยิ่งดี ^^ งบประมาณของประเทศเรา(เยอรมัน) อยู่ที่ 150 ล้านยูโร แต่จะดีกว่านี้ถ้าเรามีโครงการระดับนานาชาติเหมือน ITER ความเร็วในการฟัฒนาแปรผันตรงกับเงินลงทุนที่ให้กับโครงการ

เป้าหมายของ W7-X คืออะไร?

    เป้าหมายแรกของเราคือการสร้างเตาปฎิกรณ์ โดยเทคโนโลยีที่ใช้สร้างขดลวดเหนี่ยวนำของ W7-X นั้นเรียกได้ว่าพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว เป้าหมายถัดมาคือการทดสอบสมมติฐานและทฤษฎีต่างๆที่ใช้ เพื่อนำไปพัฒนาเตาปฎิกรณ์เครื่องต่อไป

แผนการของพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันคือ?

         เราต้องแยกระหว่างเตาแบบ Tokamak กับ Stellarator ก่อน ในส่วนของ Tokamak โครงการหลักคือ ITER ที่มีศูนย์วิจัยหลักในฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในขั้นตอนการแสดงให้เห็นว่าพลังงานที่ผลิตออกมา มากกว่าพลังงานที่ใส่เข้าไป จากนั้นก็จะสร้างโรงไฟฟ้ารุ่นทดลอง หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่การผลิตแบบ Commercial
    ส่วนเตาแบบ Stellarator นั้นหลังจาก WX-7 แล้วยังไม่มีการตัดสินใจว่าจะทำยังไงต่อ แต่มีแผนหนึ่งที่คิดว่าจะให้พัฒนาจากรุ่นนี้เข้าสู่ขั้น Commercial เลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่