วิศวะโลจิสติกกับวิศวะอุตสาหการต่างกันยังไงค่ะ?

คืออยากจะทราบคะว่ามันแตกต่าง กันตรงไหน บางมหาลัยก็เปิดสาขาเป็นคู่
แล้ววิศวะโลจิสติก มีแยกสาขาอีกไหมค่ะ


ขอบคุณค่ะ นานาขอบคุณ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
แต่ละ   คณะ   สาขา   ภาควิชา   เอก   เน้นคนละด้าน

น้อง   ต้องหาตัวเองให้พบ   ชอบอะไร   ไม่ชอบอะไร   ถนัดอะไร   ไม่ถนัดอะไร   บุคลิกภาพ   เป็น   แบบไหน   เรียนจบแล้วอยากทำงานเกี่ยวกับอะไรแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่ใช่ทำในสิ่งที่ชอบแล้วจะมีความสุขในการเรียนและการทำงาน

บางคนคิดว่า   ชอบ   ถนัด   พอมาเรียนจริง   ๆ   เรียน   ไม่ได้   ไม่ไหว   ทุกปี   ทุกมหาวิทยาลัย   มีย้าย   คณะ   สาขา   ภาควิชา   เอก

ภาษา   ใช้ในการเรียนต่อ   และ   การทำงาน

โลจิสติกส์  แต่ละ  มหาวิทยาลัย  จะอยู่ใน  คณะ  ที่แตกต่างกันไป
โลจิสติกส์  แต่ละ  มหาวิทยาลัย  จะใช้ชื่อ  สาขา  ภาควิชา  เอก  ที่แตกต่างกันไป

กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 1 1/4 https://www.youtube.com/watch?v=YCpKnO1YeaQ
กบนอกกะลา : กว่าจะเป็นวิศวกร 1 2/4 https://www.youtube.com/watch?v=Maw_OlY0BBU
กบนอกกะลา : กว่าจะเป็นวิศวกร 1 3/4 https://www.youtube.com/watch?v=U5jkvRjI4lc
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 1 4/4 https://www.youtube.com/watch?v=n3yvtXVXaqQ
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 1/4 https://www.youtube.com/watch?v=TCVa8QVWvms
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 2/4 https://www.youtube.com/watch?v=1IrzM-rmbwk
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 3/4 https://www.youtube.com/watch?v=WgYmbifMW4o
กบนอกกะลา ตอนกว่าจะเป็นวิศวกร 2 4/4 https://www.youtube.com/watch?v=agomZpYzB0o

เรียนจบ   คณะวิศวกรรมศาสตร์   ต้องสอบ   ใบประกอบวิชาชีพ   กว

คณะวิศวกรรมศาสตร์
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.ช่างคิด   ชอบประดิษฐ์   คิดค้นสิ่งต่าง   ๆ
.สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่   ๆ   โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม
.ชอบคำนวณ   การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์   และ   คณิตศาสตร์
.มีลักษณะความเป็นผู้นำ
.ความสามารถวางแผน   และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
.ยึดมั่นในหลักเหตุและผล
.ใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้   ฯลฯ

สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์
สร้างคุณให้เป็นวิศวกร   นักออกแบบการเคลื่อนย้าย   การจัดเก็บ   และการขนส่ง   โดยศึกษาเกี่ยวกับการวางแผน
การควบคุม   การวิจัยดำเนินงาน   การจัดการและประเมินผลระบบ   ซึ่งครอบคลุมปัจจัยทั้งทางด้านบุคคล   สารสนเทศ
อุปกรณ์   พลังงาน   วัสดุ   รวมไปถึงการเงิน   ซึ่งมีความจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพขององค์กร

โอกาสทางวิชาชีพ

วิศวกรรมโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในสาขาที่ขาดแคลนและมีความต้องการ อย่างมากสำหรับประเทศไทย เพราะประเทศไทยยังมีการพัฒนาด้านโลจิสติกส์น้อยมากเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทางภาครัฐ จึงจัดเรื่อง โลจิสติกส์เป็นวาระแห่งชาติ ดังจะเห็นได้จากงบประมาณจำนวนมากของประเทศลงทุนในเรื่องนี้ ทำให้เกิดการจ้างงานทั้งทางภาครัฐ และเอกชน โดยที่ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ และการขนส่ง การพัฒนา การวางแผน การควบคุม การวิจัยดำเนินงาน การจัดการและประเมินผลระบบโดยรวมซึ่งครอบคลุมปัจจัยทั้งทางด้านบุคคล สารสนเทศ อุปกรณ์ พลังงาน วัสดุ รวมไปถึงการเงิน จึงเป็นศาสตร์ที่ช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพขององค์กร เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ (วิศวกรรมโลจิสติกส์ สามารถขอใบประกอบวิชาชืพสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ)



(1)     วิศวกรโลจิสติกส์ในองค์กรของรัฐและเอกชน เช่นอุตสาหกรรมค้าส่งค้าปลีก นำ เข้าส่งออก อุตสาหกรรมผลิตนํ้ามัน รถยนต์ ปูนซิเมนต์ อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

(2)     วิศวกรด้านผู้ออกแบบ ควบคุม วิเคราะห์การขนส่ง และการบริการโลจิสติกส์ (LSPs)

(3)     วิศวกรวางแผนด้านวัสดุ และการผลิต ในโรงงาน

(4)     วิศวกรการบริหารจัดการ และออกแบบระบบด้านคลังสินค้า และกระจายสินค้า

(5)     ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโลจิสติกส์ (ขนส่ง, จัดเก็บ, วางแผน, ฯลฯ)

(6)     ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์

(7)     นักวิจัย นักวิชาการเกี่ยวกับงานทางด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน   ฯลฯ

สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
สร้างคุณให้เป็นวิศวกรออกแบบ   การปรับปรุง   จัดตั้งและพัฒนาระบบปฏิบัติงาน   ให้เกิดความสอดคล้องระหว่างคน   วัสดุ
และเครื่องจักรอุปกรณ์   เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ   ความปลอดภัย   และใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด   ต่อกระบวนการผลิต
และการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรมและกระบวนการทางธุรกิจอื่น   ๆ   ที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิศวกรรม   เช่น   ระบบ
โลจิสติกส์   การควบคุมคุณภาพ   เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

โอกาสทางวิชาชีพ
โอกาสการมีงานทำสูง

       อุตสาหกรรมภายในประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการจึงเป็นสาขาที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเล็งเห็นความสำคัญฉะนั้นงานสำหรับวิศวกรสาขานี้จึงยังมีอยู่อย่างกว้างขวาง แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของโรงงานต่างๆ และการพัฒนากระบวนการผลิตสำหรับหน่วยงานราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจก็ยังต้องการวิศวกรอุตสาหการ เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิต และการวิจัยและวางแผนพัฒนา เพื่อลดเวลา และต้นทุน


ความก้าวหน้าทางอาชีพสูง

       ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรอุตสาหการ เมื่อทำงานเพิ่มประสบการณ์และได้รับการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีความสามารถในการบริหารก็สามารถที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารในสถานประกอบการอุตสาหกรรมได้ หรือสามารถทำธุรกิจส่วนตัวโดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนงานการผลิต แก้ไขปรับปรุง กระบวนการผลิต และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สำหรับผู้ที่ศึกษาเพิ่มเติมถึงขั้นปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก สามารถที่จะเป็นอาจารย์ใน มหาวิทยาลัยทั่วไปได้

1.วิศวกรอุตสาหการ

ลักษณะงาน  การควบคุมกระบวนการผลิต  ระบบจัดการและการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม การวางผังโรงงาน  การออกแบบกระบวนการผลิต  การวางแผนและควบคุมการผลิต ระบบควบคุมและปรับปรุงคุณภาพและผลิตผลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ  การแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรม  ความปลอดภัย ในโรงงานอุตสาหกรรม   การประเมินผลของการดำเนินการเชิงเศรษฐศาสตร์    การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมและพัฒนาระบบงานด้านต่างๆ   สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

สาขางานที่เกี่ยวข้อง

-วิศวกรควบคุมคุณภาพ

- วิศวกรการผลิต

- วิศวกรรักษาความปลอดภัย

-วิศวกรทางด้านการบำรุงรักษา

ฯลฯ

2. ที่ปรึกษา (Consultation)

- ที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคและระบบคุณภาพ (Quality Management Systems) เช่น Good Manufacturing Practice (GMP), Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP), 22000 Food Safety Management System (ISO 22000), 9001 Quality Management System (ISO 9001), Environmental Management System (ISO 14001)

- ที่ปรึกษาทางด้านการสอบเทียบและเครื่องมือวัด เช่น บริการศึกษาจัดระบบสอบเทียบมาตรฐานมาตรฐานเครื่องมือวัด เครื่องทดสอบ ระบบจัดการคุณภาพห้องปฏิบัติการ ให้คำปรึกษาการสอบเทียบเครื่องมือวัดปริมาณทางกล บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการ ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบคุณภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

3. ผู้ประกอบการ

เป็นผู้ประกอบการ/ทำธุรกิจส่วนตัว

สถานที่ทำงานในอนาคต

ที่ไหนมีโรงงานที่นั่นมีงานทำ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท
ถึงแม้ไม่มีโรงงาน เราก็มีทำงานทำได้ด้วยความเป็น IE เช่น บริษัทด้านการรับรองระบบมาตรฐาน ธนาคาร คลังสินค้า 7-Eleven เป็นต้น   ฯลฯ

โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน
.วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคาร  ทั้งในฐานะผู้ออกแบบ
ควบคุมการติดตั้ง  หรือ  บริหารการใช้งาน  ในระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ  สื่อสารโทรคมนาคม  ระบบควบคุมอัตโนมัติ
รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม
.วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบ
โครงสร้างอาคาร  ระบบขนส่ง  รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
และสิ่งแวดล้อมของเมือง
.วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น  ๆ
.ผู้ออกแบบ  หรือ  บริหารควบคุมการใช้งาน  เครื่องจักรอุปกรณ์  เช่น
ยานยนต์  เครื่องจักรการผลิต  ระบบอาคารสถาน  ฯลฯ
นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่าง  ๆ  ข้างต้นแล้ว  พื้นฐานทางด้าน
วิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่น  ๆ  ได้เป็นอย่างดี
เช่น  นักประดิษฐ์  ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม
รวมถึงตำแหน่งงานอื่น  ๆ  ทั้ง  ภาครัฐและเอกชน   ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่