ประเทศไทยเราตื่นตัวกับสถิติเรื่องท้องไม่พร้อมกันมาก โดยเฉพาะการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น เพราะตัวเลขในบ้านเราขึ้นเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย หลายฝ่ายหลายหน่วยงานจึงระดมทรัพยากรและความร่วมมือเพื่อจัดการสถานการณ์นี้ เราจึงเห็นว่า 4 - 5 ปีที่ผ่านมามีทำงานในระดับพื้นที่และมีการรณรงค์เรื่องนี้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งส่งผลให้เราไม่ได้รั้งหมายเลข 1 เรื่องท้องไม่พร้อมของเอเชียแล้ว แต่เราอยู่ที่อันดับที่ 15
ผลจากการทำงานดังกล่าว ทำให้นึกย้อนไปถึงสมัยที่เอชไอวี/เอดส์ เป็นสถานการณ์ปัญหาระดับประเทศ ยุคที่เราได้ยินกันว่า “ตายราวกับใบไม้ร่วง” นั่นแหละครับ หลายฝ่ายก็ระดมความร่วมมือและทรัพยากรในการจัดการปัญหาเอดส์เช่นกัน ซึ่งก็ทำให้เรื่องเอดส์คลี่คลายลงได้ในเชิงของการป้องกันและการรักษา โดยเฉพาะการรักษาที่ก้าวหน้าไปมากทั้งในเชิงเทคโนโลยีที่มียาต้านไวรัสและในเชิงระบบที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงการรักษากันได้อย่างถ้วนทั่ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศโหมทำเรื่องท้องไม่พร้อม โดยเน้นให้ “ไม่เกิดการท้อง” อุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดต่าง ๆ จึงถูกทำให้เข้าถึงง่าย เช่น มีระบบบริการเรื่องการคุมกำเนิดฟรีสำหรับวัยรุ่น ได้แก่ ใส่ห่วงคุมกำเนิด และฝังฮอร์โมน ซึ่งเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพและคุมได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่รวมถึงถุงยางและยาคุมรายเดือนที่เยาวชนสามารถไปขอรับได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาจกล่าวได้ว่าเรา “เป๊ะมาก” ในเรื่องบริการอุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิด
แต่...เราคงไม่อยากเห็นเยาวชนของเราไม่ท้องแต่ติดเชื้อเอชไอวี เพราะยกเว้นถุงยางอนามัยแล้ว ก็ยังไม่มีอุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดใดที่จะป้องกันเอชไอวีได้ แม้จะมีอุปกรณ์คุมกำเนิดทุกชนิดไว้บริการเพื่อให้เยาวชนเข้าถึงได้ง่าย แต่ก็ไม่ง่ายที่เยาวชนจะเลือกถุงยางในการคุมกำเนิดหากเราไม่ทำงานกับวิธีคิดของเยาวชน เพราะทัศนคติและค่านิยมเรื่องเพศ การให้คุณค่ากับความเป็นชายความเป็นหญิง รวมถึงความไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ได้ส่งผลต่อการเลือกอุปกรณ์คุมกำเนิดและส่งผลต่อสุขภาวะทางเพศของเยาวชนด้วย
ตัวอย่างจากที่ได้พูดคุยกับเยาวชนที่เข้ามาปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อม พบว่า เด็กจำนวนมากเลือกวิธีคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมฉุกเฉิน และกินทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่รู้ข้อมูลว่า ยานี้ไม่ใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ (จริง ๆ ควรเรียกว่ายาลดโอกาสการตั้งครรภ์มากกว่ายาคุม) แถมมีระดับฮอร์โมนสูงโดย 2 แผงของยาคุมฉุกเฉินมีระดับฮอร์โมนเท่ากับยาคุมรายเดือน 1 แผง กว่าจะรู้ข้อมูลนี้ก็กินยาคุมฉุกเฉินมานานแล้ว
ที่น่าสนใจคือ วัยรุ่นเกือบ 100% ที่เข้ามาปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อม ไม่มีใครกังวลถึงเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือกังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีเลย แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ถุงยาง เมื่อสอบถามลึกลงไปก็พบว่า วัยรุ่นเหล่านี้มีเพศสัมพันธ์กับแฟน และไม่เคยนึกเลยว่าจะมีโอกาสได้รับเชื้อเอชไอวีจากแฟน
ทั้งที่ข้อมูลระบุว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกว่าร้อยละ 90 ติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ใช้ถุงยางและส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์กับแฟน!
โดยเนื้อแท้ เอชไอวีกับท้องไม่พร้อมคือเรื่องเดียวกัน แม้ว่าโดยภาพที่ปรากฏดูเหมือนว่าจะเป็นคนละเรื่องและการจัดการก็คนละอย่าง แต่ไม่ว่าจะท้องไม่พร้อมหรือเอชไอวีก็เกิดจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางเหมือนกัน ต้องพูดกันอย่างตรงไปตรงมาว่าคนที่ท้องไม่พร้อมก็คือคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีด้วย
ด้วยเหตุนี้ การทำงานประเด็นเรื่องท้องไม่พร้อมจึงไม่อาจมองข้ามหรือละการพูดประเด็นเรื่องเอชไอวี/เอดส์ได้ และเราไม่ควรดีใจกับตัวเลขท้องไม่พร้อมที่ลดลง เพราะตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของเด็กที่ไม่ท้องอาจจะไปอยู่อีกฟากของจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก manager.co.th/QOL
Report by LIV APCO
ท้องไม่พร้อม VS เอชไอวี : ปรากฏการณ์คนละเรื่องเดียวกัน
ผลจากการทำงานดังกล่าว ทำให้นึกย้อนไปถึงสมัยที่เอชไอวี/เอดส์ เป็นสถานการณ์ปัญหาระดับประเทศ ยุคที่เราได้ยินกันว่า “ตายราวกับใบไม้ร่วง” นั่นแหละครับ หลายฝ่ายก็ระดมความร่วมมือและทรัพยากรในการจัดการปัญหาเอดส์เช่นกัน ซึ่งก็ทำให้เรื่องเอดส์คลี่คลายลงได้ในเชิงของการป้องกันและการรักษา โดยเฉพาะการรักษาที่ก้าวหน้าไปมากทั้งในเชิงเทคโนโลยีที่มียาต้านไวรัสและในเชิงระบบที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงการรักษากันได้อย่างถ้วนทั่ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศโหมทำเรื่องท้องไม่พร้อม โดยเน้นให้ “ไม่เกิดการท้อง” อุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดต่าง ๆ จึงถูกทำให้เข้าถึงง่าย เช่น มีระบบบริการเรื่องการคุมกำเนิดฟรีสำหรับวัยรุ่น ได้แก่ ใส่ห่วงคุมกำเนิด และฝังฮอร์โมน ซึ่งเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพและคุมได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน ไม่รวมถึงถุงยางและยาคุมรายเดือนที่เยาวชนสามารถไปขอรับได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาจกล่าวได้ว่าเรา “เป๊ะมาก” ในเรื่องบริการอุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิด
แต่...เราคงไม่อยากเห็นเยาวชนของเราไม่ท้องแต่ติดเชื้อเอชไอวี เพราะยกเว้นถุงยางอนามัยแล้ว ก็ยังไม่มีอุปกรณ์คุมกำเนิดชนิดใดที่จะป้องกันเอชไอวีได้ แม้จะมีอุปกรณ์คุมกำเนิดทุกชนิดไว้บริการเพื่อให้เยาวชนเข้าถึงได้ง่าย แต่ก็ไม่ง่ายที่เยาวชนจะเลือกถุงยางในการคุมกำเนิดหากเราไม่ทำงานกับวิธีคิดของเยาวชน เพราะทัศนคติและค่านิยมเรื่องเพศ การให้คุณค่ากับความเป็นชายความเป็นหญิง รวมถึงความไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง ได้ส่งผลต่อการเลือกอุปกรณ์คุมกำเนิดและส่งผลต่อสุขภาวะทางเพศของเยาวชนด้วย
ตัวอย่างจากที่ได้พูดคุยกับเยาวชนที่เข้ามาปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อม พบว่า เด็กจำนวนมากเลือกวิธีคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมฉุกเฉิน และกินทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่รู้ข้อมูลว่า ยานี้ไม่ใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ (จริง ๆ ควรเรียกว่ายาลดโอกาสการตั้งครรภ์มากกว่ายาคุม) แถมมีระดับฮอร์โมนสูงโดย 2 แผงของยาคุมฉุกเฉินมีระดับฮอร์โมนเท่ากับยาคุมรายเดือน 1 แผง กว่าจะรู้ข้อมูลนี้ก็กินยาคุมฉุกเฉินมานานแล้ว
ที่น่าสนใจคือ วัยรุ่นเกือบ 100% ที่เข้ามาปรึกษาเรื่องท้องไม่พร้อม ไม่มีใครกังวลถึงเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือกังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีเลย แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ถุงยาง เมื่อสอบถามลึกลงไปก็พบว่า วัยรุ่นเหล่านี้มีเพศสัมพันธ์กับแฟน และไม่เคยนึกเลยว่าจะมีโอกาสได้รับเชื้อเอชไอวีจากแฟน
ทั้งที่ข้อมูลระบุว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีกว่าร้อยละ 90 ติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ใช้ถุงยางและส่วนใหญ่มีเพศสัมพันธ์กับแฟน!
โดยเนื้อแท้ เอชไอวีกับท้องไม่พร้อมคือเรื่องเดียวกัน แม้ว่าโดยภาพที่ปรากฏดูเหมือนว่าจะเป็นคนละเรื่องและการจัดการก็คนละอย่าง แต่ไม่ว่าจะท้องไม่พร้อมหรือเอชไอวีก็เกิดจากเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางเหมือนกัน ต้องพูดกันอย่างตรงไปตรงมาว่าคนที่ท้องไม่พร้อมก็คือคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีด้วย
ด้วยเหตุนี้ การทำงานประเด็นเรื่องท้องไม่พร้อมจึงไม่อาจมองข้ามหรือละการพูดประเด็นเรื่องเอชไอวี/เอดส์ได้ และเราไม่ควรดีใจกับตัวเลขท้องไม่พร้อมที่ลดลง เพราะตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของเด็กที่ไม่ท้องอาจจะไปอยู่อีกฟากของจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก manager.co.th/QOL
Report by LIV APCO