สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 35
ผมเองก็ลูกชาวนา ตจว ครับ ที่บ้าน ที่นาเป็นชื่อผมเอง พ่อแม่ผมเสียหมด ทุกอย่างเลยเป็นของผม ตอนนี้นาปล่อยให้เค้าเช่าอยู่
แต่ที่มาถาม เพราะผมเองแค่สงสัยว่า ในเมื่อทุกคนอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกัน ก็ย่อมต้องจ่ายภาษีเหมือนกัน แต่ถ้าหากคุณไม่ต้องเสีย หรือมีข้อยกเว้นอะไร ก็อธิบายให้มาให้ฟังหน่อยครับ ผมจะได้กระจ่าง ว่า อ่อ ที่เค้าไม่ต้องจ่าย มันเพราะ เป็นอาชีพที่ได้รับการยกเว้น หรือรายได้ไม่ถึง หรือ อย่างอื่น บลาๆๆๆๆๆๆๆ
ไม่เห้นต้องมาแขวะกันเลยครับ ว่าให้ไปเป็นเกษตรบ้าง อะไรบ้าง
ถึงถ้ากลับไปได้ ผมก็คงไม่กลับครับ เพราะยังโอเคกับงานที่ทำตรงนี้
หรือผมสงสัยเรื่องนี้ไม่ได้หรือครับ
ส่วนท่านที่อธิบายก็ขอบคุณมากๆครับ จะได้เป็นความรู้ไว้
แต่ที่มาถาม เพราะผมเองแค่สงสัยว่า ในเมื่อทุกคนอยู่ภายใต้กฏหมายเดียวกัน ก็ย่อมต้องจ่ายภาษีเหมือนกัน แต่ถ้าหากคุณไม่ต้องเสีย หรือมีข้อยกเว้นอะไร ก็อธิบายให้มาให้ฟังหน่อยครับ ผมจะได้กระจ่าง ว่า อ่อ ที่เค้าไม่ต้องจ่าย มันเพราะ เป็นอาชีพที่ได้รับการยกเว้น หรือรายได้ไม่ถึง หรือ อย่างอื่น บลาๆๆๆๆๆๆๆ
ไม่เห้นต้องมาแขวะกันเลยครับ ว่าให้ไปเป็นเกษตรบ้าง อะไรบ้าง
ถึงถ้ากลับไปได้ ผมก็คงไม่กลับครับ เพราะยังโอเคกับงานที่ทำตรงนี้
หรือผมสงสัยเรื่องนี้ไม่ได้หรือครับ
ส่วนท่านที่อธิบายก็ขอบคุณมากๆครับ จะได้เป็นความรู้ไว้
ความคิดเห็นที่ 74
จริงๆ แล้ว หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมนั้นใช้กับทุกคนนะครับ
ถ้าชาวนามีรายได้เกิน 240,000 บาทก็ต้องเสียภาษี
พ่อค้า แม่ค้าข้างถนน รายได้เกิน 240,000 บาทก็ต้องเสียภาษี
ดังนั้น ทุกคนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน
แต่ในทางปฏิบัติ วิธีการจัดเก็บภาษีมีหลายแนวทางมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะอาชีพ และที่มาของรายได้ที่สรรพากรสามารถตรวจพบ
เช่นภาษีบุคคลธรรมดาเก็บจากผู้จ่าย ไม่ได้เก็บจากผู้รับ แม้ในข้อเท็จจริง ผู้รับเป็นผู้เสียภาษี การเก็บจากผู้จ่าย สามารถเก็บได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ไปเก็บจากผู้รับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เก็บจากผู้ขาย ไม่ได้เก็บจากผู้ซื้อ โดยในหลักการผู้บริโภคเป็นคนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องไปเก็บจากผู้ขาย จึงจะได้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บมากกว่า
แต่ในกรณีเกษตรกร หรือแม่ค้า ก็ใช้วิธีการจัดเก็บอีกแแบบหนึ่ง เช่นแม่ค้า ใช้การประเมินรายได้ แล้วเหมาค่าใช้จ่าย (น่าจะประมาณ 70%) ที่เหลือจึงนำมาคิดภาษี ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์เงินเดือน ผมก็คิดว่า ยุติธรรมดี
ส่วนเกษตร พืชผลการเกษตร อาจจะคิดแบบแม่ค้าไม่ได้ เพราะราคาพืชผล และต้นทุน แกว่งมาก จนไม่มีสูตรสำเร็จว่าต้นทุนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะเอาข้อเท็จจริง แบบไม่เอาประเมินก็ต้องให้เกษตรกร จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อจัดทำรายรับรายจ่าย เพื่อหาว่ากำไรจริงเท่าไหร่
แต่ทั้งนี้ ก็ต้องเอาค่าใช้จ่ายทุกอย่างในการทำเกษตรเอาสู่ระบบคำนวณด้วย เช่น ค่ายา ค่าเมล็ด ค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน ค่าซื้อรถไถ ค่าเกี่ยว และอื่นๆ
จะเห็นได้ว่า หลักการภาษีที่กรมสรรพากรบ้านเรากำหนดขึ้นมา ก็ยุติธรรมสำหรับทุกคนอยู่แล้ว ผู้มีรายได้น้อย เสียน้อย รายได้มาก เสียมาก คนทร่ไม่มีรายได้จะไปคิดภาษีได้อย่างไร
คนที่ทำธุรกิจ ต้องเอาค่าใชจ่ายมาหักก่อน จึงนำไปคิด เสียภาษี
ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ สรรพากรไม่ได้ให้หักได้ทุกอย่าง ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที้กี่ยวข้องกับการทำธุรกิจเท่านั้น เอาไปซื้อที่ดิน สร้างบ้านส่วนตัว เอามาใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้
ถ้าชาวนามีรายได้เกิน 240,000 บาทก็ต้องเสียภาษี
พ่อค้า แม่ค้าข้างถนน รายได้เกิน 240,000 บาทก็ต้องเสียภาษี
ดังนั้น ทุกคนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน
แต่ในทางปฏิบัติ วิธีการจัดเก็บภาษีมีหลายแนวทางมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะอาชีพ และที่มาของรายได้ที่สรรพากรสามารถตรวจพบ
เช่นภาษีบุคคลธรรมดาเก็บจากผู้จ่าย ไม่ได้เก็บจากผู้รับ แม้ในข้อเท็จจริง ผู้รับเป็นผู้เสียภาษี การเก็บจากผู้จ่าย สามารถเก็บได้มีประสิทธิภาพมากกว่า ไปเก็บจากผู้รับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เก็บจากผู้ขาย ไม่ได้เก็บจากผู้ซื้อ โดยในหลักการผู้บริโภคเป็นคนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องไปเก็บจากผู้ขาย จึงจะได้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บมากกว่า
แต่ในกรณีเกษตรกร หรือแม่ค้า ก็ใช้วิธีการจัดเก็บอีกแแบบหนึ่ง เช่นแม่ค้า ใช้การประเมินรายได้ แล้วเหมาค่าใช้จ่าย (น่าจะประมาณ 70%) ที่เหลือจึงนำมาคิดภาษี ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์เงินเดือน ผมก็คิดว่า ยุติธรรมดี
ส่วนเกษตร พืชผลการเกษตร อาจจะคิดแบบแม่ค้าไม่ได้ เพราะราคาพืชผล และต้นทุน แกว่งมาก จนไม่มีสูตรสำเร็จว่าต้นทุนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะเอาข้อเท็จจริง แบบไม่เอาประเมินก็ต้องให้เกษตรกร จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อจัดทำรายรับรายจ่าย เพื่อหาว่ากำไรจริงเท่าไหร่
แต่ทั้งนี้ ก็ต้องเอาค่าใช้จ่ายทุกอย่างในการทำเกษตรเอาสู่ระบบคำนวณด้วย เช่น ค่ายา ค่าเมล็ด ค่าปุ๋ย ค่าจ้างแรงงาน ค่าซื้อรถไถ ค่าเกี่ยว และอื่นๆ
จะเห็นได้ว่า หลักการภาษีที่กรมสรรพากรบ้านเรากำหนดขึ้นมา ก็ยุติธรรมสำหรับทุกคนอยู่แล้ว ผู้มีรายได้น้อย เสียน้อย รายได้มาก เสียมาก คนทร่ไม่มีรายได้จะไปคิดภาษีได้อย่างไร
คนที่ทำธุรกิจ ต้องเอาค่าใชจ่ายมาหักก่อน จึงนำไปคิด เสียภาษี
ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ สรรพากรไม่ได้ให้หักได้ทุกอย่าง ต้องเป็นค่าใช้จ่ายที้กี่ยวข้องกับการทำธุรกิจเท่านั้น เอาไปซื้อที่ดิน สร้างบ้านส่วนตัว เอามาใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้
ความคิดเห็นที่ 64
งั้นขอตอบคำถาม จขกทในมุมมองของผมหน่อยครับ
ไม่แน่ใจว่า จขกท. หมายถึงเกษตรแบบใดที่ว่ามีรายได้มากจนถึงอัตราต้องเสียภาษี เมื่อเทียบกับมนุษย์เงินเดือน
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อน
รายได้มนุษย์เงินเดือน เป็นคนละกรณีกับรายได้ทีเกษตรขายผลผลิต
มนุษย์เงินเดือนขายแรงงาน รายได้ก็คือเงินเดือน อันนี้เห็นชัดเจน
เกษตกรผลิตสินค้าเกษตร เอาไปขาย ดังนั้น รายได้เกษตรกร คือ จำนวนเงินที่ขายผลผลิตได้ ลบด้วยต้นทุนการผลิต
1) รายได้มนุษย์เงินเดือน สรรพากรให้หักค่าลดหย่อนได้เต็มไปหมด เหลือเท่าไหร่ค่อยเอาไปคิดภาษี แต่คร่าวๆ คนมีเงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท (ปีละ 240,000 บาท) ไม่ต้องเสียภาษี (ตัวเลขนี้ไม่รู้ผมอัพเดตหรือเปล่า)
2) ถ้าจะเทียบเคียงรายได้เกษตรกรให้ใกล้เคียงกับมนุษย์เงินเดือน ก็ต้องมีเงินได้สุทธิมากกกว่า 240,000 บาทต่อปีต่อคน ถ้าครอบครัวช่วยกันทำเกษตรหลายคน รายได้ต่อปีก็ต้องลดลงตามสัดส่วน
ถ้าคิดคร่าวๆ ตอนนี้ ทำนาภาคอีสาน กำไรสุทธิประมาณ 2,000 บาทต่อไร่ ถ้าทำ 100 ไร่ มีรายได้ปีละประมาณ 200,000 บาท ยังไม่ถึงเรทมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษีเลยครับ
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง คนจะมีที่นาร้อยไร่สำหรับทำนา มีน้อยมากๆๆๆๆ ในภาคอีสาน
คุณอาจจะมองว่า คนที่มีนาร้อยไร่ มีรายได้เป็นหลายแสนบาท แต่เขามีรายได้ที่หักต้นทุนการผลิตแล้ว เหลือไม่กี่บาท
ดังนั้น ถ้าให้ตอบคำถามให้ใกล้เคียงกับที่ จขกท ถามว่า ทำไมเกษตรกรที่มีรายได้มากจึงเสียภาษีน้อย ก็ต้องดูว่า เขาเหลือรายได้จริง ที่เอามาเทียบกับมนุษย์เงินเดือนแล้ว เป็นเท่าไหร่
ประการต่อมา การเก็บภาษีต้องมีความยุติธรรม ผู้มีรายได้น้อย เสียน้อย ผู้มีรายได้มากเสียมาก
เกษตรกรมีรายได้น้อย จึงเสียภาษีน้อยมาก หรือแทบไม่เสียเลย
เทียบเคียงคำอธิบายเดียวกันกับ ทำไมผู้จัดการในบริษัทจึงเสียภาษีเยอะ แล้วแม่บ้านในบริษัทจึงไม่เสียภาษี เพราะแม่บ้านได้เงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
หวังว่าคำอธิบายคงตรงกับสิ่งที่ถามมานะครับ
ไม่แน่ใจว่า จขกท. หมายถึงเกษตรแบบใดที่ว่ามีรายได้มากจนถึงอัตราต้องเสียภาษี เมื่อเทียบกับมนุษย์เงินเดือน
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อน
รายได้มนุษย์เงินเดือน เป็นคนละกรณีกับรายได้ทีเกษตรขายผลผลิต
มนุษย์เงินเดือนขายแรงงาน รายได้ก็คือเงินเดือน อันนี้เห็นชัดเจน
เกษตกรผลิตสินค้าเกษตร เอาไปขาย ดังนั้น รายได้เกษตรกร คือ จำนวนเงินที่ขายผลผลิตได้ ลบด้วยต้นทุนการผลิต
1) รายได้มนุษย์เงินเดือน สรรพากรให้หักค่าลดหย่อนได้เต็มไปหมด เหลือเท่าไหร่ค่อยเอาไปคิดภาษี แต่คร่าวๆ คนมีเงินเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท (ปีละ 240,000 บาท) ไม่ต้องเสียภาษี (ตัวเลขนี้ไม่รู้ผมอัพเดตหรือเปล่า)
2) ถ้าจะเทียบเคียงรายได้เกษตรกรให้ใกล้เคียงกับมนุษย์เงินเดือน ก็ต้องมีเงินได้สุทธิมากกกว่า 240,000 บาทต่อปีต่อคน ถ้าครอบครัวช่วยกันทำเกษตรหลายคน รายได้ต่อปีก็ต้องลดลงตามสัดส่วน
ถ้าคิดคร่าวๆ ตอนนี้ ทำนาภาคอีสาน กำไรสุทธิประมาณ 2,000 บาทต่อไร่ ถ้าทำ 100 ไร่ มีรายได้ปีละประมาณ 200,000 บาท ยังไม่ถึงเรทมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษีเลยครับ
แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง คนจะมีที่นาร้อยไร่สำหรับทำนา มีน้อยมากๆๆๆๆ ในภาคอีสาน
คุณอาจจะมองว่า คนที่มีนาร้อยไร่ มีรายได้เป็นหลายแสนบาท แต่เขามีรายได้ที่หักต้นทุนการผลิตแล้ว เหลือไม่กี่บาท
ดังนั้น ถ้าให้ตอบคำถามให้ใกล้เคียงกับที่ จขกท ถามว่า ทำไมเกษตรกรที่มีรายได้มากจึงเสียภาษีน้อย ก็ต้องดูว่า เขาเหลือรายได้จริง ที่เอามาเทียบกับมนุษย์เงินเดือนแล้ว เป็นเท่าไหร่
ประการต่อมา การเก็บภาษีต้องมีความยุติธรรม ผู้มีรายได้น้อย เสียน้อย ผู้มีรายได้มากเสียมาก
เกษตรกรมีรายได้น้อย จึงเสียภาษีน้อยมาก หรือแทบไม่เสียเลย
เทียบเคียงคำอธิบายเดียวกันกับ ทำไมผู้จัดการในบริษัทจึงเสียภาษีเยอะ แล้วแม่บ้านในบริษัทจึงไม่เสียภาษี เพราะแม่บ้านได้เงินเดือนไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
หวังว่าคำอธิบายคงตรงกับสิ่งที่ถามมานะครับ
แสดงความคิดเห็น
มนุษย์เงินเดือนต้องเสียภาษี แล้วชาวไร่ ชาวสวน ที่รายได้มากๆ ต้องเสียภาษีด้วยมั้ยครับ
แต่ที่สงสัยคือ แล้วคนอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนล่ะครับ เค้าต้องเสียภาษีมั้ย อย่างที่ ตจว บ้านผม บางบ้าน ทำสวนปีนึงได้หลายแสน เฉลี่ยน เดือนนึงรับเงิน 5-6 หมื่นบาท บางคนทำนาเป็นร้อยๆไร่ ขายข้าวทีนึงได้หลายแสนบาท เท่าที่ผมคุยกับเค้า เค้าก็ไม่ร็้เรื่องอะไรเกี่ยวกับภาษีเลยสักนิด ทุกคนได้เงินมา ก็นำไปฝากธนาคารบ้าง เอาไปลงทุนไร่สวนกันต่อ
แล้วแบบนี้มันยังไงอ่ะครับ รายได้พวกเค้ามากกว่าผมเกือบ 50% ต่อเดือน แต่ไม่ต้องเสียภาษีเลย
ที่ถามนี้แค่สงสัยว่าระบบสรรพากรบ้านเรา มีการจัดการบริหารตรงนี้ยังไงบ้างอ่ะครับ
ขอบคุณครับ