.
หากมองกลับไปในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาก่อนจะมาเป็นผู้นำโลกเสรีในวันนี้ จะเห็นได้ว่าอเมริกานั้นก็มีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง และต้องรบราฆ่าฟันกันเองในยุคสงครามกลางเมืองของฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ อันมีสาเหตุใหญ่จากแนวคิดเท่าเทียมที่ต้องการเลิกทาสในอเมริกา
เมื่อมองย้อนไปก่อนที่จะกำเนิด ประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น จากที่สเปนได้ยึดครองดินแดนบางส่วนของทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคมแล้ว ได้เกิดการล้มตายของชาวพื้นเมืองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสเปนใช้แรงงานคนกลุ่มนี้อย่างหนัก และคนสเปนได้นำเอาเชื้อโรคจากยุโรปเข้ามาสู่โลกใหม่ จากเหตุการณ์ดังที่กล่าวมา ส่งผลให้เกิด การนำทาสผิวดำเข้ามาใช้ในทวีปอเมริกา ต่อมาการใช้ทาสผิวดำได้ขยายไปทั่วอาณานิคมที่เป็นของอังกฤษในทวีปอเมริกา
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ทาส” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับอเมริกายุคแรก เนื่องจากระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆล้วนมาจากการใช้แรงงานทาสเหล่านี้สร้างขึ้น
แต่อังกฤษใช้นโยบายการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับอาณานิคม เนื่องจากบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกใบชาที่สำคัญ
อังกฤษใช้วิธีซื้อจากอาณานิคมในราคาถูกมากแล้วนำไปขายในยุโรปในราคาเพิ่มหลายเท่า ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ และประกอบกับการที่ชาวอมริกันได้รับแนวคิดจาก นักปรัชญา คือ จอห์น ล็อก ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่ ก่อให้การประท้วงชุมนุมงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน (Boston Tea Party) ที่กรุงบอสตัน อังกฤษจึงส่งกำลังเข้าปราบปราม ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก ฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลืออเมริกา นำไปสู่
สงครามปฏิวัติอเมริกัน
อเมริกาชนะอังกฤษ สามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 แต่ทาสก็ยังไม่ได้รับการปลดปล่อย
ต้องรอจนเศรษฐกิจที่มีความเป็นทุนนิยมมากขึ้น ทำให้เกิดโครงสร้างและระบบการดำเนินงานของชนชั้นกลางมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความต้องการที่จะปลดปล่อยทาสให้กลายเป็นแรงงานเสรี
เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีความตระหนักในเรื่อง “เสรีภาพ” และ“อิสรภาพ” เป็นพื้นฐาน
แต่นั้นก็นำไปสู่ชวนสงครามครั้งต่อมา เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ในช่วงสงครามกลางเมือง มีประเด็นเรื่องความเป็นทาสเป็นสำคัญ
เพราะบางส่วนของประเทศในหลายๆรัฐในทางใต้ ไม่ต้องการให้ชนชั้น “ทาส” ได้รับความเป็น”ไท”และมีสิทธิเทียมเท่าตนเอง
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1860 พรรครีพับลิกัน นำโดย อับราฮัม ลินคอล์น รณรงค์ต่อต้านระบบทาส และได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนได้รับการเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของ อเมริกา แต่ก่อนฝ่ายบริหารเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1861 รัฐทางใต้ซึ่งมีแรงงานทาสจำนวนมาก ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของลินคอล์น เพราะมองว่า ชนชั้น ทาส เป็นทรัพย์สมบัติและไม่ควรได้รับสิทธิอันใด จึงได้รวมตัวกัน 7 รัฐประกาศแยกตัวและรวมเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา ที่สุดก็เกิดเป็นสงครามกลางเมืองอเมริกา ที่รบราฆ่าฟันกันเองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้
และในขณะที่เกิดสงครามการเมืองอยู่นั้น ฝ่ายเหนือก็ได้ประกาศเลิกทาส เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ออกโดยประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 ระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดยใช้อำนาจยามสงครามของตน โดยมิใช่กฎหมายที่รัฐสภาคองเกรสผ่าน คำสั่งดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการประกาศให้เสรีภาพแก่ทาสในรัฐซึ่งเป็นกบฏอยู่ขณะนั้นด้วย
ทาสผิวดำมากมายในฝ่ายใต้ จึงหันมาสนับสนุนฝ่ายเหนือ เพื่อความเป็น “ไท”ของตนเอง และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายเหนือชนะสงครามในที่สุดและรวบรวมทุกรัฐในประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง
และลินคอล์น ก็ได้ถูกจารึกให้เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐเรื่อยมา
แต่สิ่งที่ลินคอล์นได้รับจากการทำเพื่อประชาชนนั้น คือ ความตาย
ลินคอล์นเองถูกสังเวยให้กับการกระทำที่หาญกล้าของเขา เพราะถูกผู้ที่ยังคับแค้นต่อการผ่ายแพ้ในสงคราม ลงมือลอบสังหาร แต่ก็เชื่อว่า
หากลินคอล์นรู้ตัวล่วงหน้าว่าเขาจะต้องตาย เพราะการทำให้ประชาชนของเขามีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน เขาก็คงยังจะทำมันอยู่ดี
นั้นทำให้ อับราฮัม ลินคล์น ยังยิ่งใหญ่เสมอในสายตาคนอเมริกัน
ในเมืองไทย ก็มีผู้นำหลายคน ที่ต้องสังเวยให้กับการทำหน้าที่เพื่อประชาชนของตัวเอง อย่าง
นาย ปรัดี ผู้ริเริ่มและนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทย ที่ถูกความแค้นทางการเมือง เขี่ยกระเด็นพ้นจากเส้นทางของอำนาจไป
พลเอกชาติชาย ผู้หวังนำพาชาติให้เจริญรุดหน้าด้วยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ก็เก้าอี้คว่ำ หลุดวงโคจรไปไม่ต่างจากนายปรีดี
ดร.ทักษิณ ผุ้นำที่สร้างให้ความฝันด้านการพัฒนาประเทศเป้นจริงด้วยการกระทำ จนป่านนี้ก็ยังไม่เห็นแววในการกลับสู่วงโคจร
ล่าสุด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้มีแนวคิด แก้ไข ไม่แก้แค้น ก็กำลังผจญวงจรเดิมๆของการเมืองเล่นงาน
ลินคอล์นสังเวยชีวิตเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงได้รับการยกย่อง
ผู้นำไทยที่กล่าวนามมานี้ ก็ต้องสังเวยตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ยังได้รับการยกย่องจากคนไทยจำนวนมากเพราะอะไร เพราะพวกเขาทำเพื่อประชาชนใช่หรือไม่ ท่านที่เข้ามาอ่านก็ลองหาคำตอบกันเองนะครับ
สุดท้าย ผมอยากบอกว่า ไม่ว่าต้องสังเวยผู้นำอีกสักกี่คน หากมีโอกาส ประชาชนไทยก็ยังเลือกคนที่เขาคิดว่า ทำเพื่อประชาชนอยู่ดี ไม่เกี่ยวว่า ต้องมีนามสกุล ชินวัตร หรือไม่ ดังนั้นต่อให้ต้องสังเวยชินวัตรอีกกี่คน ก็ไม่อาจเปลี่ยนความคิดนี้ของประชาชนไปได้ครับ
ป.ล.ได้อมยิ้มใหม่ เลยเอาฤกษ์เอาชัยด้วยการเขียนสาระ บทความยกย่องคนดีที่ดีด้วยการกระทำ ไม่ได้ดีเพราะอวดอ้างตนเอง ประเดิมให้กับนามแฝงที่เพิ่งได้รับมาสักครั้ง ก่อนที่จะหลบไปแอบยืนเงียบๆ แสงความเห็นแบบเบาๆหน่อมแน้มไม่แตะต้องอะไรที่สุ่มเสี่ยงอีกแล้ว โดนไป 3 นามแฝงแล้วเพิ่งสำนึกได้ แต่งทุกที่ผมเขียน ก็เขียนลักษณะนี้มาตลอด
ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงถูกอุ้มบ่อย ทั้งๆที่ก็ไม่ได้เขียนสไตล์บู้ล้างพลาญอะไรสักหน่อย ทำไมถึงได้รังแกผมจัง
ขอบคุณครับ
(บทความ) การเมือง คือเครื่องสังเวยชีวิตใครสักคน เพื่อสถาปนาเจริญรุ่งเรืองและความมั่งคงของสิทธิเสรีภาพ
หากมองกลับไปในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาก่อนจะมาเป็นผู้นำโลกเสรีในวันนี้ จะเห็นได้ว่าอเมริกานั้นก็มีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง และต้องรบราฆ่าฟันกันเองในยุคสงครามกลางเมืองของฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ อันมีสาเหตุใหญ่จากแนวคิดเท่าเทียมที่ต้องการเลิกทาสในอเมริกา
เมื่อมองย้อนไปก่อนที่จะกำเนิด ประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้น จากที่สเปนได้ยึดครองดินแดนบางส่วนของทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคมแล้ว ได้เกิดการล้มตายของชาวพื้นเมืองเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสเปนใช้แรงงานคนกลุ่มนี้อย่างหนัก และคนสเปนได้นำเอาเชื้อโรคจากยุโรปเข้ามาสู่โลกใหม่ จากเหตุการณ์ดังที่กล่าวมา ส่งผลให้เกิด การนำทาสผิวดำเข้ามาใช้ในทวีปอเมริกา ต่อมาการใช้ทาสผิวดำได้ขยายไปทั่วอาณานิคมที่เป็นของอังกฤษในทวีปอเมริกา
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า “ทาส” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับอเมริกายุคแรก เนื่องจากระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆล้วนมาจากการใช้แรงงานทาสเหล่านี้สร้างขึ้น
แต่อังกฤษใช้นโยบายการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับอาณานิคม เนื่องจากบริเวณลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีนี้เป็นแหล่งเพาะปลูกใบชาที่สำคัญ อังกฤษใช้วิธีซื้อจากอาณานิคมในราคาถูกมากแล้วนำไปขายในยุโรปในราคาเพิ่มหลายเท่า ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ และประกอบกับการที่ชาวอมริกันได้รับแนวคิดจาก นักปรัชญา คือ จอห์น ล็อก ทำให้เหตุการณ์ลุกลามใหญ่ ก่อให้การประท้วงชุมนุมงานเลี้ยงน้ำชาที่บอสตัน (Boston Tea Party) ที่กรุงบอสตัน อังกฤษจึงส่งกำลังเข้าปราบปราม ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก ฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลืออเมริกา นำไปสู่ สงครามปฏิวัติอเมริกัน
อเมริกาชนะอังกฤษ สามารถประกาศอิสรภาพได้ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 แต่ทาสก็ยังไม่ได้รับการปลดปล่อย
ต้องรอจนเศรษฐกิจที่มีความเป็นทุนนิยมมากขึ้น ทำให้เกิดโครงสร้างและระบบการดำเนินงานของชนชั้นกลางมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดความต้องการที่จะปลดปล่อยทาสให้กลายเป็นแรงงานเสรี เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีความตระหนักในเรื่อง “เสรีภาพ” และ“อิสรภาพ” เป็นพื้นฐาน
แต่นั้นก็นำไปสู่ชวนสงครามครั้งต่อมา เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ในช่วงสงครามกลางเมือง มีประเด็นเรื่องความเป็นทาสเป็นสำคัญ เพราะบางส่วนของประเทศในหลายๆรัฐในทางใต้ ไม่ต้องการให้ชนชั้น “ทาส” ได้รับความเป็น”ไท”และมีสิทธิเทียมเท่าตนเอง
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1860 พรรครีพับลิกัน นำโดย อับราฮัม ลินคอล์น รณรงค์ต่อต้านระบบทาส และได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนได้รับการเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของ อเมริกา แต่ก่อนฝ่ายบริหารเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1861 รัฐทางใต้ซึ่งมีแรงงานทาสจำนวนมาก ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของลินคอล์น เพราะมองว่า ชนชั้น ทาส เป็นทรัพย์สมบัติและไม่ควรได้รับสิทธิอันใด จึงได้รวมตัวกัน 7 รัฐประกาศแยกตัวและรวมเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา ที่สุดก็เกิดเป็นสงครามกลางเมืองอเมริกา ที่รบราฆ่าฟันกันเองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้
และในขณะที่เกิดสงครามการเมืองอยู่นั้น ฝ่ายเหนือก็ได้ประกาศเลิกทาส เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ออกโดยประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1863 ระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดยใช้อำนาจยามสงครามของตน โดยมิใช่กฎหมายที่รัฐสภาคองเกรสผ่าน คำสั่งดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการประกาศให้เสรีภาพแก่ทาสในรัฐซึ่งเป็นกบฏอยู่ขณะนั้นด้วย
ทาสผิวดำมากมายในฝ่ายใต้ จึงหันมาสนับสนุนฝ่ายเหนือ เพื่อความเป็น “ไท”ของตนเอง และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายเหนือชนะสงครามในที่สุดและรวบรวมทุกรัฐในประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง
และลินคอล์น ก็ได้ถูกจารึกให้เป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ของสหรัฐเรื่อยมา
แต่สิ่งที่ลินคอล์นได้รับจากการทำเพื่อประชาชนนั้น คือ ความตาย
ลินคอล์นเองถูกสังเวยให้กับการกระทำที่หาญกล้าของเขา เพราะถูกผู้ที่ยังคับแค้นต่อการผ่ายแพ้ในสงคราม ลงมือลอบสังหาร แต่ก็เชื่อว่า หากลินคอล์นรู้ตัวล่วงหน้าว่าเขาจะต้องตาย เพราะการทำให้ประชาชนของเขามีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน เขาก็คงยังจะทำมันอยู่ดี
นั้นทำให้ อับราฮัม ลินคล์น ยังยิ่งใหญ่เสมอในสายตาคนอเมริกัน
ในเมืองไทย ก็มีผู้นำหลายคน ที่ต้องสังเวยให้กับการทำหน้าที่เพื่อประชาชนของตัวเอง อย่าง
นาย ปรัดี ผู้ริเริ่มและนำประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทย ที่ถูกความแค้นทางการเมือง เขี่ยกระเด็นพ้นจากเส้นทางของอำนาจไป
พลเอกชาติชาย ผู้หวังนำพาชาติให้เจริญรุดหน้าด้วยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ก็เก้าอี้คว่ำ หลุดวงโคจรไปไม่ต่างจากนายปรีดี
ดร.ทักษิณ ผุ้นำที่สร้างให้ความฝันด้านการพัฒนาประเทศเป้นจริงด้วยการกระทำ จนป่านนี้ก็ยังไม่เห็นแววในการกลับสู่วงโคจร
ล่าสุด ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้มีแนวคิด แก้ไข ไม่แก้แค้น ก็กำลังผจญวงจรเดิมๆของการเมืองเล่นงาน
ลินคอล์นสังเวยชีวิตเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงได้รับการยกย่อง
ผู้นำไทยที่กล่าวนามมานี้ ก็ต้องสังเวยตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ยังได้รับการยกย่องจากคนไทยจำนวนมากเพราะอะไร เพราะพวกเขาทำเพื่อประชาชนใช่หรือไม่ ท่านที่เข้ามาอ่านก็ลองหาคำตอบกันเองนะครับ
สุดท้าย ผมอยากบอกว่า ไม่ว่าต้องสังเวยผู้นำอีกสักกี่คน หากมีโอกาส ประชาชนไทยก็ยังเลือกคนที่เขาคิดว่า ทำเพื่อประชาชนอยู่ดี ไม่เกี่ยวว่า ต้องมีนามสกุล ชินวัตร หรือไม่ ดังนั้นต่อให้ต้องสังเวยชินวัตรอีกกี่คน ก็ไม่อาจเปลี่ยนความคิดนี้ของประชาชนไปได้ครับ
ป.ล.ได้อมยิ้มใหม่ เลยเอาฤกษ์เอาชัยด้วยการเขียนสาระ บทความยกย่องคนดีที่ดีด้วยการกระทำ ไม่ได้ดีเพราะอวดอ้างตนเอง ประเดิมให้กับนามแฝงที่เพิ่งได้รับมาสักครั้ง ก่อนที่จะหลบไปแอบยืนเงียบๆ แสงความเห็นแบบเบาๆหน่อมแน้มไม่แตะต้องอะไรที่สุ่มเสี่ยงอีกแล้ว โดนไป 3 นามแฝงแล้วเพิ่งสำนึกได้ แต่งทุกที่ผมเขียน ก็เขียนลักษณะนี้มาตลอด
ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงถูกอุ้มบ่อย ทั้งๆที่ก็ไม่ได้เขียนสไตล์บู้ล้างพลาญอะไรสักหน่อย ทำไมถึงได้รังแกผมจัง
ขอบคุณครับ