ขออนุญาติแชร์จาก Blog นะครับ เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อนักออกแบบ
(แนะนำให้ดูวิดิโอมากกว่านะครับ รู้สึกเขียนบทความแล้วมันเข้าใจยาก)
บทความนี้จะเป็นการเสนอวิธีการนำ ความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิด ซึ่งการใช้ความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิดช่วยทำให้สถาปัตยกรรมออกมานั้นยังเป็นวิธีการที่ใช้อยู่แพร่หลายในประเทศไทย เช่นล่าสุดคืองาน ศาลาไทย ในงาน Expo ที่ มิลาน ในปี 2015 ที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับผมแล้วนี่เป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดเครื่องมือหนึ่งในการคิดคอนเซปท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ฝึกคิดใหม่ๆ เนื่องมาจาก เป็นวิธีการที่ค่อนข้างมีขั้นตอนชัดเจน เข้าใจได้ง่าย
โดยวิธีนำความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิด Concept ให้เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมนั้น ไม่ได้เหมาะสมกับทุกประเภทโครงการ แต่เหมาะสมสำหรับโครงการบางประเภทที่ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้ เข้าไปใช้งานอาคารต้องการมิติที่นอกเหนือมิติทางด้านประโยชน์ใช้สอย แต่ต้องการมิติเชิงความหมาย ที่ทำให้พวกเขาเข้าใจเรื่องราวที่อาคารทำการสื่อสารได้มากขึ้น อาคารประเภทนี้เช่น พิพิธภัณฑ์ พื้นที่นิทรรศการ - พิพิธภัณฑ์ข้าวไทย ก็ทำให้อาคารออกมามีรูปเหมือนข้าว คนที่เข้าไปใช้ก็จะอินกับการดูนิทรรศการมากขึ้น เข้าใจข้าวได้มากขึ้น, ร้านค้าที่ต้องการส่งเสริมแบรนด์ - ร้าน Apple Store ที่ทำให้ผู้คนรับรู้ถึงความมหัศจรรย์ของ Apple ผ่านการทำให้ Apple Store มีลักษณะเหมือนศาสนสถาน, โรงแรม รีสอร์ท - เราไม่ได้เข้าไปโรงแรมเพียงเพื่อไปนอนหลับบนเตียงเหมือนตอนเราอยู่บ้าน แต่เราอยากจะเข้าไปอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบชนเผ่า เมื่อเราไป Africa เราอยากจะเสพมิติที่เป็นความหมาย ซึ่งเป็นมิติที่ซ้อนทับมากไปกว่าประโยชน์ใช้สอย
การนำความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิดคอนเซปท์ให้เกิดสถาปัตยกรรม นั้นโดยปกติแล้วจะประกอบไปด้วยสองแนวทางคือ
1. การใช้วัตถุมาเป็นตัวสื่อความหมาย เช่น การนำข้าวมาเป็นตัวสื่อความหมายของพิพิธภัณฑ์ข้าว ซึ่งวัตถุนี้อาจจะเป็นการประกอบกันขึ้น ของวัตถุที่มากกว่าชิ้นเดียวก็ได้ เช่น ศาลาไทยในงาน Expo ปรกอบไปด้วย หมวกชาวนา, พญานาค, น้ำ
2. การใช้ความหมายมาเป็นตัวสื่อความหมาย เช่นการนำข้อความ หรือ คำมาเป็นตัวตั้งต้น และนำไปสู่การเกิดสถาปัตยกรรม เช่น ชีวิตของข้าว ในโครงการพิพิธภัณฑ์ข้าวไทย
ในบทความนี้จะเสนอวิธีแรก คือ นำวัตถุมาเป็นตัวสื่อความหมาย และเพื่อให้เข้าใจง่าย เหมาะแก่การฝึกคิดสำหรับผู้เริ่มต้น จึงทดลองนำ แก้วกาแฟ หนึ่ง แก้ว มาทำให้เป็นสถาปัตยกรรม ร้านกาแฟ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์วัตถุ
เมื่อเลือกวัตถุที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ทำการออกแบบ ได้แล้ว ซึ่งในที่นี้คือ แก้วกาแฟ ของร้านกาแฟที่จะทำการออกแบบ ทำการวิเคราะห์แก้วกาแฟ โดยพยายามถอดสิ่งต่างๆ ที่เห็นจากแก้วกาแฟ ออกมาให้ได้เยอะที่สุด โดยยังไม่ต้องคิดว่า สิ่งที่ได้จะเอาไปทำเป็นส่วนใดของสถาปัตยกรรม ซึ่งในตัวอย่าง ทำการถอดแก้วกาแฟ มาได้ 4 ประเด็นคือ การดูดกาแฟมีทิศทางเอียงจากก้นแก้วผ่านหลอดสู่ผู้ดื่มกาแฟ, การลดของระดับกาแฟในแก้วผกผันกับความสุขของผู้ดื่ม, หยดน้ำที่เกาะกาแฟแสดงถึงความเย็นของกาแฟที่อยู่ด้านใน, ฝากาแฟ ที่มีรูเจาะสำหรับใส่หลอด โดยจะต้องทำสิ่งที่วิเคราะห์ได้ให้ออกมาเป็นกราฟฟิคเพื่อง่ายต่อการประยุกต์เป็นสถาปัตยกรรม
2. ซ้อนสิ่งที่วิเคราะห์ได้เข้าไปองค์ประกอบพื้นฐานของสถาปัตยกรรม
นำประเด็นทั้งสี่ที่ได้มาพิจารณาว่า หากจะทำให้ประเด็นทั้งสี่กลายเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรม จะมีลักษณะอย่างไร ซึ่งในตัวอย่างนี้ประกอบไปด้วย Form, Space, Circulation + Perception, Material แล้วจะสามารถประยุกต์เข้าได้อย่างไร เช่น การลดของระดับกาแฟในแก้วผกผันกับความสุขของผู้ดื่ม น่าจะสัมพันธ์กับ Perception ในขณะที่ การดูดกาแฟมีทิศทางเอียงจากก้นแก้วผ่านหลอดสู่ผู้ดื่มกาแฟ น่าจะสัมพันธ์กับ Circulation, หยดน้ำที่เกาะกาแฟแสดงถึงความเย็นของกาแฟที่อยู่ด้านใน น่าจะสัมพันธ์กับ Material และ หลอดเอียงน่าจะสัมพันธ์กับ Form และ Space
3. นำลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้ มาประกอบเป็นภาพแรกของสถาปัตยกรรม โดยในการประกอบกันนั้น จะต้องทำการเลือกภาพหลักขึ้นมาหนึ่งภาพ เพื่อเป็นตัวเริ่มต้นก่อน หลังจากนั้นจึงทำการ นำภาพอื่นๆ เข้ามาเสริม โดยในตัวอย่างนี้เริ่มต้นที่ หลอดเอียง มาเป็นภาพเริ่มต้น หลังจากนั้นจึงทำการซ้อนลักษณะทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ตามเข้าไป เช่น Circulation ที่การดูดกาแฟมีทิศทางเอียงจากก้นแก้วผ่านหลอด, วัสดุที่แสดงถึงหยดน้ำที่เกาะกาแฟ, การถูกแบ่งเป็นชั้นๆ ของระดับของกาแฟที่ลดลงเรื่อย มาขีดแบ่งเป็นส่วนๆ
4. คิดเรื่องกิจกรรมที่จะเกิดจะขึ้นในร้านกาแฟ ซ้อนเข้าไป ในไดอะแกรม เช่น ชั้นบนสุดน่าจะเป็นส่วนที่สุดยอดของโครงการเป็นความรู้สึกที่ได้ดื่มกาแฟแล้วเกิดอารมณ์ปลอดโปร่ง จึงสร้างกิจกรรมจิบกาแฟชมวิว ทำงานศิลปะไปด้วย, ชั้นล่างสุดที่เป็นสีกาแฟเข้มข้นน่าจะ Set กิจกรรมที่เกี่ยวกับการขายกาแฟ การชงกาแฟ, ชั้นรองลงมาที่มีสีกาแฟเข้ม เหมาะสำหรับการนั่งดื่มาแฟคนเดียวและคิดงานไปด้วยโดยไม่อยากถูกรบกวน, ชั้นที่เป็นหยดน้ำเกาะกาแฟ เป็นชั้นที่เริ่มเห็นสภาพแวดล้อมข้างๆ ที่ไม่ชักนัก เหมาะสำหรับนั่งดื่มกาแฟเป็นกลุ่มกับเพื่อน
5. คิดเรื่องลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้ชัดเจนขึ้น เช่นเริ่มกำหนดขอบเขตของพื้น กำหนดว่า ระบบ Circulation ที่เป็นหลอดเอียงจะใช้งานจริงอย่างได้อย่างไร
เมื่อทำครบทั้งห้าขั้นตอนก็จะได้ภาพแรกของร้านกาแฟออกมา เป็น Idea ที่เกิดจาก การนำแก้วกาแฟมาวิเคราะห์ ถอดลักษณะต่างๆ ออกมา และทำการประกอบกลับเข้าไปเป็นสถาปัตยกรรม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้งานสถาปัตยกรรมแตกต่างออกไปจากการนำแก้วกาแฟมาประยุกต์แบบตรงไปตรงมา ผู้ใช้หรือกลุ่มเป้าหมาย อาจะมีความสุขกับการดื่มกาแฟมากขึ้นและประทับใจในประสบการณ์ของการมาดื่มกาแฟ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากร้านกาแฟทั่วไป
Page ครับ
https://goo.gl/Dg7tkt
Blog ครับ
http://goo.gl/rZOljI
ออกแบบร้านกาแฟจากการวิเคราะห์กาแฟหนึ่งแก้ว Concept โดยใช้ความหมาย
(แนะนำให้ดูวิดิโอมากกว่านะครับ รู้สึกเขียนบทความแล้วมันเข้าใจยาก)
บทความนี้จะเป็นการเสนอวิธีการนำ ความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิด ซึ่งการใช้ความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิดช่วยทำให้สถาปัตยกรรมออกมานั้นยังเป็นวิธีการที่ใช้อยู่แพร่หลายในประเทศไทย เช่นล่าสุดคืองาน ศาลาไทย ในงาน Expo ที่ มิลาน ในปี 2015 ที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับผมแล้วนี่เป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดเครื่องมือหนึ่งในการคิดคอนเซปท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ฝึกคิดใหม่ๆ เนื่องมาจาก เป็นวิธีการที่ค่อนข้างมีขั้นตอนชัดเจน เข้าใจได้ง่าย
โดยวิธีนำความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิด Concept ให้เกิดเป็นงานสถาปัตยกรรมนั้น ไม่ได้เหมาะสมกับทุกประเภทโครงการ แต่เหมาะสมสำหรับโครงการบางประเภทที่ กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้ เข้าไปใช้งานอาคารต้องการมิติที่นอกเหนือมิติทางด้านประโยชน์ใช้สอย แต่ต้องการมิติเชิงความหมาย ที่ทำให้พวกเขาเข้าใจเรื่องราวที่อาคารทำการสื่อสารได้มากขึ้น อาคารประเภทนี้เช่น พิพิธภัณฑ์ พื้นที่นิทรรศการ - พิพิธภัณฑ์ข้าวไทย ก็ทำให้อาคารออกมามีรูปเหมือนข้าว คนที่เข้าไปใช้ก็จะอินกับการดูนิทรรศการมากขึ้น เข้าใจข้าวได้มากขึ้น, ร้านค้าที่ต้องการส่งเสริมแบรนด์ - ร้าน Apple Store ที่ทำให้ผู้คนรับรู้ถึงความมหัศจรรย์ของ Apple ผ่านการทำให้ Apple Store มีลักษณะเหมือนศาสนสถาน, โรงแรม รีสอร์ท - เราไม่ได้เข้าไปโรงแรมเพียงเพื่อไปนอนหลับบนเตียงเหมือนตอนเราอยู่บ้าน แต่เราอยากจะเข้าไปอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบชนเผ่า เมื่อเราไป Africa เราอยากจะเสพมิติที่เป็นความหมาย ซึ่งเป็นมิติที่ซ้อนทับมากไปกว่าประโยชน์ใช้สอย
การนำความหมายมาเป็นเครื่องมือในการคิดคอนเซปท์ให้เกิดสถาปัตยกรรม นั้นโดยปกติแล้วจะประกอบไปด้วยสองแนวทางคือ
1. การใช้วัตถุมาเป็นตัวสื่อความหมาย เช่น การนำข้าวมาเป็นตัวสื่อความหมายของพิพิธภัณฑ์ข้าว ซึ่งวัตถุนี้อาจจะเป็นการประกอบกันขึ้น ของวัตถุที่มากกว่าชิ้นเดียวก็ได้ เช่น ศาลาไทยในงาน Expo ปรกอบไปด้วย หมวกชาวนา, พญานาค, น้ำ
2. การใช้ความหมายมาเป็นตัวสื่อความหมาย เช่นการนำข้อความ หรือ คำมาเป็นตัวตั้งต้น และนำไปสู่การเกิดสถาปัตยกรรม เช่น ชีวิตของข้าว ในโครงการพิพิธภัณฑ์ข้าวไทย
ในบทความนี้จะเสนอวิธีแรก คือ นำวัตถุมาเป็นตัวสื่อความหมาย และเพื่อให้เข้าใจง่าย เหมาะแก่การฝึกคิดสำหรับผู้เริ่มต้น จึงทดลองนำ แก้วกาแฟ หนึ่ง แก้ว มาทำให้เป็นสถาปัตยกรรม ร้านกาแฟ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. วิเคราะห์วัตถุ
เมื่อเลือกวัตถุที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ทำการออกแบบ ได้แล้ว ซึ่งในที่นี้คือ แก้วกาแฟ ของร้านกาแฟที่จะทำการออกแบบ ทำการวิเคราะห์แก้วกาแฟ โดยพยายามถอดสิ่งต่างๆ ที่เห็นจากแก้วกาแฟ ออกมาให้ได้เยอะที่สุด โดยยังไม่ต้องคิดว่า สิ่งที่ได้จะเอาไปทำเป็นส่วนใดของสถาปัตยกรรม ซึ่งในตัวอย่าง ทำการถอดแก้วกาแฟ มาได้ 4 ประเด็นคือ การดูดกาแฟมีทิศทางเอียงจากก้นแก้วผ่านหลอดสู่ผู้ดื่มกาแฟ, การลดของระดับกาแฟในแก้วผกผันกับความสุขของผู้ดื่ม, หยดน้ำที่เกาะกาแฟแสดงถึงความเย็นของกาแฟที่อยู่ด้านใน, ฝากาแฟ ที่มีรูเจาะสำหรับใส่หลอด โดยจะต้องทำสิ่งที่วิเคราะห์ได้ให้ออกมาเป็นกราฟฟิคเพื่อง่ายต่อการประยุกต์เป็นสถาปัตยกรรม
2. ซ้อนสิ่งที่วิเคราะห์ได้เข้าไปองค์ประกอบพื้นฐานของสถาปัตยกรรม
นำประเด็นทั้งสี่ที่ได้มาพิจารณาว่า หากจะทำให้ประเด็นทั้งสี่กลายเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรม จะมีลักษณะอย่างไร ซึ่งในตัวอย่างนี้ประกอบไปด้วย Form, Space, Circulation + Perception, Material แล้วจะสามารถประยุกต์เข้าได้อย่างไร เช่น การลดของระดับกาแฟในแก้วผกผันกับความสุขของผู้ดื่ม น่าจะสัมพันธ์กับ Perception ในขณะที่ การดูดกาแฟมีทิศทางเอียงจากก้นแก้วผ่านหลอดสู่ผู้ดื่มกาแฟ น่าจะสัมพันธ์กับ Circulation, หยดน้ำที่เกาะกาแฟแสดงถึงความเย็นของกาแฟที่อยู่ด้านใน น่าจะสัมพันธ์กับ Material และ หลอดเอียงน่าจะสัมพันธ์กับ Form และ Space
3. นำลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้ มาประกอบเป็นภาพแรกของสถาปัตยกรรม โดยในการประกอบกันนั้น จะต้องทำการเลือกภาพหลักขึ้นมาหนึ่งภาพ เพื่อเป็นตัวเริ่มต้นก่อน หลังจากนั้นจึงทำการ นำภาพอื่นๆ เข้ามาเสริม โดยในตัวอย่างนี้เริ่มต้นที่ หลอดเอียง มาเป็นภาพเริ่มต้น หลังจากนั้นจึงทำการซ้อนลักษณะทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ตามเข้าไป เช่น Circulation ที่การดูดกาแฟมีทิศทางเอียงจากก้นแก้วผ่านหลอด, วัสดุที่แสดงถึงหยดน้ำที่เกาะกาแฟ, การถูกแบ่งเป็นชั้นๆ ของระดับของกาแฟที่ลดลงเรื่อย มาขีดแบ่งเป็นส่วนๆ
4. คิดเรื่องกิจกรรมที่จะเกิดจะขึ้นในร้านกาแฟ ซ้อนเข้าไป ในไดอะแกรม เช่น ชั้นบนสุดน่าจะเป็นส่วนที่สุดยอดของโครงการเป็นความรู้สึกที่ได้ดื่มกาแฟแล้วเกิดอารมณ์ปลอดโปร่ง จึงสร้างกิจกรรมจิบกาแฟชมวิว ทำงานศิลปะไปด้วย, ชั้นล่างสุดที่เป็นสีกาแฟเข้มข้นน่าจะ Set กิจกรรมที่เกี่ยวกับการขายกาแฟ การชงกาแฟ, ชั้นรองลงมาที่มีสีกาแฟเข้ม เหมาะสำหรับการนั่งดื่มาแฟคนเดียวและคิดงานไปด้วยโดยไม่อยากถูกรบกวน, ชั้นที่เป็นหยดน้ำเกาะกาแฟ เป็นชั้นที่เริ่มเห็นสภาพแวดล้อมข้างๆ ที่ไม่ชักนัก เหมาะสำหรับนั่งดื่มกาแฟเป็นกลุ่มกับเพื่อน
5. คิดเรื่องลักษณะทางสถาปัตยกรรมให้ชัดเจนขึ้น เช่นเริ่มกำหนดขอบเขตของพื้น กำหนดว่า ระบบ Circulation ที่เป็นหลอดเอียงจะใช้งานจริงอย่างได้อย่างไร
เมื่อทำครบทั้งห้าขั้นตอนก็จะได้ภาพแรกของร้านกาแฟออกมา เป็น Idea ที่เกิดจาก การนำแก้วกาแฟมาวิเคราะห์ ถอดลักษณะต่างๆ ออกมา และทำการประกอบกลับเข้าไปเป็นสถาปัตยกรรม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยทำให้งานสถาปัตยกรรมแตกต่างออกไปจากการนำแก้วกาแฟมาประยุกต์แบบตรงไปตรงมา ผู้ใช้หรือกลุ่มเป้าหมาย อาจะมีความสุขกับการดื่มกาแฟมากขึ้นและประทับใจในประสบการณ์ของการมาดื่มกาแฟ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากร้านกาแฟทั่วไป
Page ครับ https://goo.gl/Dg7tkt
Blog ครับ http://goo.gl/rZOljI