เปิดคอนโดให้เช่ารายวัน สรุปผิดกฎหมายจริงหรือไม่ นิติเอาเรื่องเจ้าของได้มั้ย

กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สคบ.เผยกระแส การนำคอนโดมิเนียม ปล่อยให้เช่าแบบรายวัน กำลังได้รับความนิยมจากผู้ซื้อหรือเจ้าของห้อง แต่ในทางกฎหมายแล้ว การนำห้องชุดเปิดให้เช่ารายวันดังกล่าว ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายถึง 2 ฉบับ

กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สคบ. กล่าวว่า การนำห้องชุดปล่อยเช่ารายวันในลักษณะโรงแรม น่าจะเข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างน้อย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ. 2478 แต่ทั้งนี้ต้องดูว่า ผู้กระทำผิดเป็นใคร หากเป็นผู้พัฒนาโครงการและนำอาคารชุดซึ่งไม่ได้จดทะเบียนโรงแรมออกให้เช่า รายวัน น่าจะมีความผิดแน่นอน เพราะถือเป็นการจดทะเบียนผิดประเภท แต่ถ้าหากเป็นเจ้าของห้องรับโอนกรรมสิทธิ์ อาจจะต้องตีความก่อนว่าผิดกฎหมายข้อใดหรือไม่   [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ด้านนาย วิวัธน์ ศรีเจริญวงศ์ นายกสมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิก เป็นผู้รับจ้างบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ได้เปิดเผยกับประชาชาติธุรกิจ" ว่าในทางกฎหมายแล้ว การนำห้องชุด ไปเปิดให้เช่ารายวันถือว่าผิดกฎหมาย ภายใต้ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ. 2478 เพราะไม่ได้จดทะเบียนเป็นโรงแรม มีผลทำให้ห้องชุดหรืออาคารชุด ไม่ได้คุ้มครองผู้บริโภคตามข้อบังคับโรงแรม เช่น กรณีทรัพย์สินผู้เข้าพักสูญหายในพื้นที่ส่วนกลาง จะไม่มีผู้รับผิดตามกฎหมาย   [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ส่วนนิติบุคคล ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มีหน้าที่ดูแลได้เพียงพื้นที่ส่วนกลาง จึงไม่สามารถยุ่งเกี่ยว หากเจ้าของห้องนำห้องชุดปล่อยเช่ารายวัน จะสามารถดูแลได้เฉพาะกรณีที่ แขกเข้าพักของห้องชุด มาใช้บริการในพื้นที่ส่วนกลางเท่านั้น และหากสร้างความเสียหายให้ทรัพย์สิน นิติบุคคล ก็จะเรียกเก็บค่าเสียหายกับเจ้าของห้องชุด และถ้านิติบุคคล พบว่าเจ้าของห้องนำห้องชุดไปโฆษณาลักษณะเดียวกับ โรงแรม สามารถฟ้องร้องหมิ่นประมาทได้ เพราะถือเป็นการทำให้อาคารชุดเสียชื่อเสียง   [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ประกอบกับมีข้อมูล ที่ขณะนี้พบมีข้อร้องเรียนจากผู้ซื้อคอนโดฯแห่งหนึ่ง พบว่ามีการนำห้องชุดปล่อยเช่ารายวันและพบข้อความโฆษณาทั้งในเว็บไซต์และมีเพจเฟซบุ๊ก โดยชูจุดขายเป็นวิวติดแม่น้ำ มีสระว่ายน้ำ และฟิตเนสส่วนกลางลอยฟ้า พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยแน่นหนา อัตราค่าเช่า เสนอเป็นแพ็กเกจค่าห้องรวมอาหารเช้าด้วย โดยเจ้าของร่วม ที่ร้องเรียนให้เหตุผลว่า เป็นการใช้อาคารผิดประเภท ที่สำคัญมีผลกระทบด้านความปลอดภัยในโครงการ เพราะพฤติกรรมผู้เช่ารายวันมักจะทำตัวฝ่าฝืนกฎระเบียบการพักอาศัยตามปกติ ไม่เหมือนผู้เช่าแบบรายเดือน พร้อมได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค (สคบ.) ศูนย์ดำรงธรรม กรมสรรพากร และแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจท้องที่ เพื่อลงบันทึกประจำวันแล้ว  

ล่าสุด นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็ได้มีคำสั่งให้ทั้ง 50 เขตพร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น งานด้านรายได้ งานด้านโยธา ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้อาคารผิดประเภท การปล่อยให้เช่าคอนโดฯรายวันว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ อย่างไร เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ร.บ.โรงแรม หากมีการร้องเรียนเข้ามาก็จะเข้าไปตรวจสอบทันที ส่วนการกระทำในลักษณะนี้ ถือว่ามีโทษทางกฎหมายทั้งติดคุก และปรับ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ถึง 2 ฉบับ

ที่มา: VoiceTV http://news.sanook.com/1867406/


- ข้อความที่อยู่ในสปอยด์ด้านบนเป็นความคิดของเราที่สงสัยค่ะ

- ตอนนี้มีคอนโดย่านปทุมธานีแล้วเราลองลงที่Airbnbดู เนื่องจากเราใช้บ่อยเวลาไปเที่ยว  ปรากฎว่าลงแค่ 2 วันทีคนมาถามห้องวันละคนเลย แต่เราปฏิเสธไปเพราะแค่อยากรู้ตลาดแถวบ้าน

- แล้วเราเสิจดูหลายแห่งในละแวกเดียวกัน แต่คนละคอนโดก็มีการปล่อยเช่ารายวัน และบางแห่งก็มีคนเช่าไปเยอะ  บางแห่งเป็นแนวบ้านในหมู่บ้านด้วยซ้ำ  บางแห่งเหมือนเจ้าของอยู่เองเลยก็มี

สิ่งที่สงสัยคือ
1. อยากถามผู้รู้กฎหมายนะคะ  ทำไมเท่าที่อ่านๆหลายๆแห่งเหมือนก็ยังไม่มีใครชี้ชัดได้ว่าผิดมาตราไหนแบบตรงๆ จากที่อ่านคือเหมือนกับว่าไปเอาเปรียบโรงแรม  

2. อยากถามว่าการให้คนมาพักที่ห้องซึ่งเป็นของเรา ต่างจาก การพักแบบเกสต์เฮาส์  หรือการให้เช่าบ้านมั้ยคะ  คือถ้าอย่างนั้นการทำเกสต์เฮาส์ผิดกฏหมายมั้ยคะ เกสต์เฮาส์ชาวบ้าน  

3. บางคนวิเคราะห์ไปว่าจะทำให้ภาพลักษณ์ประเทศเสียหาย (อ่านมาอีกทีดูเนื้อหาด้านล่าง) หรืออีกปัญหาที่อาจเกิดคือไม่มีกฎหมายไปคุ้มครองผู้เข้าพักหากเกิดเหตุสุดวิสัย (แต่มันเป็นสิ่งที่ยอมรับกันระหว่างผู้เช่าและผู้ขอเช่าอยู่แล้วรึป่าว)  แล้วถ้าเราขอข้อมูลส่วนตัวให้เซนต์ว่าไม่ต้องมาคุ้มครองอะไรข้าพเจ้านะถ้าของหาย ข้าพเจ้าแค่มานอน 1 คืนก็ไปอะไรประมาณนี้ได้มั้ยคะ

4. เคยตามอ่านข่าว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้  ว่าอเมริกา มีการแบนด์แอปพลิเคชั่นนี้แล้ว ใครมีข้อมูลเอามาแชร์กันค่ะ

5. นิติบุคลห้ามเช่ารายวัน อยากถามว่าเค้ามีกฎหมายอะไร หรือมีข้อบังคับอะไรมาเอาผิดกับเราได้หรือไม่คะ คือถ้าเค้ารู้มันจะเป็นอย่างไร ไล่เราออก ปรับเราเพิ่ม เก็บค่าอะไรเพิ่มแบบนี้เหรือคะ

เท่าที่พยายามตามอ่านในหลายๆกระทู้และในเวปไซต์ต่างๆ  มีอีกหลายอันนะคะ แต่อ่านแล้วก็ไม่ทันเซฟ
http://www.dailynews.co.th/economic/236900
http://ppantip.com/topic/32442691
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1441973745

ปล.กลัวกับการตั้งกระทู้พันทิปมากค่ะ กลัวโดนด่า หาว่าไม่หาข้อมูลมาบ้าง แต่เราอ่านแล้วเราไม่เข้าใจจริงๆค่ะ  
รบกวนถามข้อมูลนะคะ  
ปล.2ตอนนี้หาคนเช่ารายเดือนยาวอยู่ค่ะ แต่ยังไม่มี ถ้ามันสามารถปล่อยเช่ารายวันได้ระหว่างนี้ก็จะดีค่ะ ถือเป็นรายได้เล็กๆน้อยๆค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าเช่ารายเดือน มีสัญญาเช่า ไม่ผิดกฎหมาย

แต่ถ้าเช่ารายวัน  ผิดกฎหมายครับ  หลายข้อเลยเช่น
พรบ.ควบคุมอาคาร
พรบ.โรงแรม
สมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศไทย และกทม.เคยออกมาบอกแล้วว่าผิดกฎหมาย   เพราะไม่ได้จดทะเบียนเป็นโรงแรม
มีผลทำให้ผู้เข้าพักไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆในกรณีของหาย  หรือความคุ้มครองอื่นๆตามพรบ.โรงแรม

ผู้ให้พัก ต้องรายงานชื่อของแขกชาวต่างชาติให้กับตม.รับทราบ ตามพรบ.โรงแรม    
แต่ถ้าเราเปิดให้เช่าแบบนี้ก็พลอยจะผิดกฎหมายตม.ไปได้อีก
ยังไม่นับรวมถึงภาษีย้อนหลัง  ซึ่งมีกฎหมายภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องอีก

ถ้ารวมกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง  ก็ทั้งพรบ.ควบคุมอาคาร โรงแรม ตรวจคนเข้าเมือง ภาษีต่างๆ
โทษรวมกันมีหนักถึงจำคุก และปรับ
นิติไม่มีสิทธิ์ห้ามเจ้าของห้องเรื่องการปล่อยเช่า  
แต่นิติมีสิทธิ์ห้ามคนอื่นมาใช้พื้นที่ส่วนกลาง  และรวมถึงการไม่รับผิดชอบกรณีของหาย

ดูเหมือนว่าแค่เปิดห้องให้เช่า น่าจะเรื่องเล็กๆใช่ไหมครับ   จริงๆเรื่องยาวมาก
ถ้าหน่วยงานท้องที่ไม่เอาจริงก็สบายไป  แต่ถ้าตามเอาเรื่องมางานจะงอกอีกเยอะเลยครับ    
ส่วนเกสเฮาซ์ หรือ โฮสเทล ก็เข้าข่ายพรบ.โรงแรมหมด    
ส่วนกรณีโฮมสเตย์ ขึ้นดูแลกับปกครองท้องที่และอำเภอควบคุมครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่