โฟม EPS หรือ Expandable Polystyrene เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดหนึ่งที่เกิดจากผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม
(นั้นทำให้โฟมติดไฟได้ดี) มาในรูปเม็ดพลาสติกเล็กๆกลมรีๆ นำผ่านกระบวนการให้ความร้อนจากไอน้ำ
เกิดเป็นเม็ดโฟม EPS สีขาว ขยายตัวประมาณ 10-80 เท่า( แล้วแต่ทางผู้ผลิต)
จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปโฟมบล็อกและโฟมโมลด์ตามรูปแบบต่างๆ
โฟมบล็อกทั่วไปจะมีความหนาแน่น 16 ถึง 60 กิโลต่อลบ.ม.(แล้วแต่ทางผู้ผลิต)
ขนาดของโฟมที่พบเห็นโดยทั่วไปที่หาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนมีขนาด
กว้าง 2 ฟุต ยาว 4 ฟุต ความหนามีตั้งแต่ 1/2ถึง2-3 นิ้ว ผลิตจากโฟมก้อนขนาด กว้าง 4 ฟุต หนา 2 ฟุต สูง 8 ฟุต
และก็มีโฟมที่นำไปทำที่แกนกลางนอน ผลิตจากโฟมก้อนขนาด กว้าง 6 ฟุต หนา 2 ฟุต สูง 6.5 ฟุต
ส่วนโฟมที่ใช้กันในงานก่อสร้างบ้านทั่วไป ที่เรียกกันว่าโฟมกันไฟ เป็นโฟมที่เติมสารที่ไม่ให้รุกลามไฟ มันไม่ไม่สามารถกันไฟได้นะครับ
มันยังคงติดไฟแต่จะไม่ลามวอดอย่างรวดเร็วเหมือนโฟมปกติ และเมื่อนำแหล่งไฟออก ไฟที่โฟมจะดับเองใน5-10 วินาที่
รุ้ใหมว่า
- โฟมขายน้ำหนักไม่ใช้ขนาด เวลาเราไปสั่งโฟมแผ่นกับโรงงาน ทางโรงงานก็จะก็จะคำนวนออกมาเป็นน้ำหนักแล้วคิดราคา
- โฟมความหนาแน่น 1 ปอนด์ เท่ากับ 30 กก.ต่อ ลบ.ม.
- โฟมยิ่งมีความหนาแน่นมาก ยิ่งหนัก ยิ่งแข็ง ยิ่งแพง
- โฟมที่ดีเวลากดจะไม่ดังกร็อบๆ ถ้ากดแล้วดังแสดงว่าโฟมแผ่น/ชิ้นนั้นกรอบ อาจเกิดจากเม็ดโฟมเก่าเกินไปทำให้น้ำยาประสานหมดคุณภาพ
ส่งผลให้เม็ดโฟมไม่เชื่อมกันเป็นเนื้อเดียว
- โฟมที่ดีสีขาวต้องสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น/ชิ้น ถ้ามีสีขาวไม่สม่ำเสมออาจเกิดจากเป็นโฟมที่ผลิดช่วงเปลื่ยนเกรดโฟมทางโรงงานทำความสะอาด
เป่าไล่ลมท่อทางเครื่องจักรไม่ดีทำให้มีเม็ดสองเกรดมาปนกัน ค่าความหนาแน่นของโฟมจะไม่ได้ หรือทางโรงงานตั้งใจทำเพื่อผลิตโฟม
ในเกรดที่ตัวเองไม่มีในเกรดน้ำหนักนั้นๆ อาจเอาเม็ดโฟม 10 กก.มาถ่วงเม็ดโฟม 30 กก. เพื่อให้ได้โฟม 20 กก.
- โฟมที่ดี ผิวต้องเรียบเนียนลูบไม่สะดุดมืออาจมีเสียนโฟมบ้างเป็นเรื่องปกติในการตัดโฟมด้วยลวดความร้อน
(เสียนโฟม คือ เส้นใยสีขาวใสเล็กๆคล้ายใยแก้ว) ถ้าลูบสะดุดมืออาจเกิดจาก โฟมยังมีความชื้นอยู่ตอนตัดแผ่น หรือ มีการนำเศษโฟมที่ตกเกรด
มาบดผสมเพื่อลดต้นทุน
- สั่งโฟมจากโรงงานอย่ารีบ การผลิตโฟมหนึ่งก้อนใช้เวลาไม่น้อยกว่า 25 ชม.กระบวนการผลิตโฟมหนึ่งก้อนเริ่มจาก
นึ่งเม็ดโฟม ใช้เวลา 2-6 (ตามเกรด)โฟมบางเกรดต้องนึ่งสองรอบ นึ่งรอบแรก 1-2 ชม.(ตามเกรด) พักเม็ดโฟมให้เซ็ตตัว 1-3 ชม.(ตามเกรด)
นึ่งรอบสอง 1-2 ชม.(ตามเกรด)พักเม็ดโฟมให้เซ็ตตัว 2-6 ชม.(ตามเกรด)
ขึ้นรูปเป็นโฟมก้อน 5-20 นาทีต่อก้อน(ตามเกรด) อบด้วยความร้อนที่ 70 องศาให้โฟมแห้ง 4-16 ชม.(ตามเกรด)
พักก้อนให้โฟมเซ็ตตัวและคลายความร้อน อย่างน้อย 12-30 ชม.(ตามเกรด)
ตัดแผ่น 2-24 ชม.(ตามคิว)
รู้จักโฟม EPS กัน
(นั้นทำให้โฟมติดไฟได้ดี) มาในรูปเม็ดพลาสติกเล็กๆกลมรีๆ นำผ่านกระบวนการให้ความร้อนจากไอน้ำ
เกิดเป็นเม็ดโฟม EPS สีขาว ขยายตัวประมาณ 10-80 เท่า( แล้วแต่ทางผู้ผลิต)
จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูปโฟมบล็อกและโฟมโมลด์ตามรูปแบบต่างๆ
โฟมบล็อกทั่วไปจะมีความหนาแน่น 16 ถึง 60 กิโลต่อลบ.ม.(แล้วแต่ทางผู้ผลิต)
ขนาดของโฟมที่พบเห็นโดยทั่วไปที่หาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนมีขนาด
กว้าง 2 ฟุต ยาว 4 ฟุต ความหนามีตั้งแต่ 1/2ถึง2-3 นิ้ว ผลิตจากโฟมก้อนขนาด กว้าง 4 ฟุต หนา 2 ฟุต สูง 8 ฟุต
และก็มีโฟมที่นำไปทำที่แกนกลางนอน ผลิตจากโฟมก้อนขนาด กว้าง 6 ฟุต หนา 2 ฟุต สูง 6.5 ฟุต
ส่วนโฟมที่ใช้กันในงานก่อสร้างบ้านทั่วไป ที่เรียกกันว่าโฟมกันไฟ เป็นโฟมที่เติมสารที่ไม่ให้รุกลามไฟ มันไม่ไม่สามารถกันไฟได้นะครับ
มันยังคงติดไฟแต่จะไม่ลามวอดอย่างรวดเร็วเหมือนโฟมปกติ และเมื่อนำแหล่งไฟออก ไฟที่โฟมจะดับเองใน5-10 วินาที่
รุ้ใหมว่า
- โฟมขายน้ำหนักไม่ใช้ขนาด เวลาเราไปสั่งโฟมแผ่นกับโรงงาน ทางโรงงานก็จะก็จะคำนวนออกมาเป็นน้ำหนักแล้วคิดราคา
- โฟมความหนาแน่น 1 ปอนด์ เท่ากับ 30 กก.ต่อ ลบ.ม.
- โฟมยิ่งมีความหนาแน่นมาก ยิ่งหนัก ยิ่งแข็ง ยิ่งแพง
- โฟมที่ดีเวลากดจะไม่ดังกร็อบๆ ถ้ากดแล้วดังแสดงว่าโฟมแผ่น/ชิ้นนั้นกรอบ อาจเกิดจากเม็ดโฟมเก่าเกินไปทำให้น้ำยาประสานหมดคุณภาพ
ส่งผลให้เม็ดโฟมไม่เชื่อมกันเป็นเนื้อเดียว
- โฟมที่ดีสีขาวต้องสม่ำเสมอกันทั้งแผ่น/ชิ้น ถ้ามีสีขาวไม่สม่ำเสมออาจเกิดจากเป็นโฟมที่ผลิดช่วงเปลื่ยนเกรดโฟมทางโรงงานทำความสะอาด
เป่าไล่ลมท่อทางเครื่องจักรไม่ดีทำให้มีเม็ดสองเกรดมาปนกัน ค่าความหนาแน่นของโฟมจะไม่ได้ หรือทางโรงงานตั้งใจทำเพื่อผลิตโฟม
ในเกรดที่ตัวเองไม่มีในเกรดน้ำหนักนั้นๆ อาจเอาเม็ดโฟม 10 กก.มาถ่วงเม็ดโฟม 30 กก. เพื่อให้ได้โฟม 20 กก.
- โฟมที่ดี ผิวต้องเรียบเนียนลูบไม่สะดุดมืออาจมีเสียนโฟมบ้างเป็นเรื่องปกติในการตัดโฟมด้วยลวดความร้อน
(เสียนโฟม คือ เส้นใยสีขาวใสเล็กๆคล้ายใยแก้ว) ถ้าลูบสะดุดมืออาจเกิดจาก โฟมยังมีความชื้นอยู่ตอนตัดแผ่น หรือ มีการนำเศษโฟมที่ตกเกรด
มาบดผสมเพื่อลดต้นทุน
- สั่งโฟมจากโรงงานอย่ารีบ การผลิตโฟมหนึ่งก้อนใช้เวลาไม่น้อยกว่า 25 ชม.กระบวนการผลิตโฟมหนึ่งก้อนเริ่มจาก
นึ่งเม็ดโฟม ใช้เวลา 2-6 (ตามเกรด)โฟมบางเกรดต้องนึ่งสองรอบ นึ่งรอบแรก 1-2 ชม.(ตามเกรด) พักเม็ดโฟมให้เซ็ตตัว 1-3 ชม.(ตามเกรด)
นึ่งรอบสอง 1-2 ชม.(ตามเกรด)พักเม็ดโฟมให้เซ็ตตัว 2-6 ชม.(ตามเกรด)
ขึ้นรูปเป็นโฟมก้อน 5-20 นาทีต่อก้อน(ตามเกรด) อบด้วยความร้อนที่ 70 องศาให้โฟมแห้ง 4-16 ชม.(ตามเกรด)
พักก้อนให้โฟมเซ็ตตัวและคลายความร้อน อย่างน้อย 12-30 ชม.(ตามเกรด)
ตัดแผ่น 2-24 ชม.(ตามคิว)