ดวงอาทิตย์มีแก่น มีพื้นแข็งๆแบบโลกเราไหมครับ ถ้ามีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่าไหร่ หรือว่ามันมัแต่กลุ่มแก๊ส

กระทู้คำถาม
เห็นกระทู้แนะนำเกี่ยวกับเรื่องอวกาศเลยนึกสงสัย
ค้นกูเกิ้ลรู้ว่าดาวฤกษ์เป็นกลุ่มแก๊ส ดาวเคราะห์เป็นมวลแข็ง
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์เช่นนั้นก็เป็นเพียงกลุ่มแก๊ส ผมเข้าใจถูกไหม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ใช่ครับ

ดาวฤกษ์เกิดคือกลุ่มแก๊สที่มารวมตัวกันปริมาณมากๆ จนมันถูกแรงโน้มถ่วงของตัวมันเองอัดเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใจกลางที่มีความหนาแน่นและแรงดันที่มหาศาล พออัดกันมากๆ ถึงจุดเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นทำให้อะตอมของธาตุรวมตัวกันเป็นธาตุที่หนักกว่า(โดยมากเป็นไฮโดรเจนกับฮีเลี่ยม) เมื่อเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งมันจะร้อนมากๆๆ จนแก๊สกลายเป็นสถานะที่ 4 หรือพลาสม่า

เกือบจะติดลมร่ายยาวไปแต่เอาเป็นว่ามันไม่มีพื้นหรือแก่นที่เป็นของแข็งครับ

**ไหนก็แก้ไขเรื่องพิมพ์ผิดแล้วแถมด้วยเลยล่ะกัน**

โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์เป็นแบบนี้ ไล่จากแก่นก่อนนะครับ



แก่น (Core) : มีรัศมีประมาณ 25% ของขนาดดวงอาทิตย์ ความหนาแน่น  150 g/cm  แรงดันมหาศาลมากๆ ถึง 265 พันล้าน bar ( 1 bar = ความกดอากาศที่ผิวโลก หรือ 1แสนนิวตันต่อตารางเมตร หรือก็คือ เออ.... 265*10^20 นิวตันต่อตารางเมตร)  และมีอุณหภูมิสูงถึง 15.7 ล้านองศาเซลเซียส (หรือเคลวินก็ได้ ไม่ต่างกันแบบมีนัยะสำคัญหรอก!)   ซึ่งแก่นนี้เป็นที่เดียวที่เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น และเป็นพลังงานหลักของดวงอาทิตย์ถึง 99%

แต่ 99% ของอะไรล่ะ ....  พลังงานที่ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยออกมาในแต่ล่ะ วินาที เท่ากับ 9.192×10^10 megatons ของ TNT

ชั้นการแผ่รังสี (Radiative zone) : มีบริเวณตั้งแต่แก่นจนถึง 70% ของขนาดดวงอาทิตย์ ชั้นนี้จะเกิดการแผ่รังสีความร้อนออกมาโดยไอออนของไฮโดรเจนและฮีเลี่ยมจะคาย photon แล้วถูกดูดซับด้วย ion ไปเรื่อยๆ  กว่าจะพ้นชั้นนี้ความร้อนจะเหลือเพียง 2 ล้านองศาเท่านั้น

Tachocline : เป็นเขตที่เกิดจากความต่างของการไหลเวียนระหว่างชั้นของพลาสม่ากับชั้นของแก๊สร้อน ทำให้เกิด fluid shear ขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของดวงอาทิตย์ขึ้นอีกด้วย

ชั้นพาความร้อน (Convective zone) : ชั้นนี้จะไม่ค่อยมีแก๊สที่อยู่ในสถานะของพลาสมาแล้ว ความร้อนจะถูกส่งไปยังผิวของดวงอาทิตโดยการพาความร้อน แก๊สที่ร้อนจะลอยขึ้นไปพอเย็นก็จะตกลงมา กลายเป็น thermal column ที่เรามักเห็นเป็นวงๆ เกล็ดๆ บนผิว เวลาดูภาพถ่ายของดวงอาทิตย์  ชั้นนี้อุณภูมิจะลดลงไปอีกจนเหลือแค่ประมาณ 6 พันองศาที่พื้นผิว



Photosphere : ง่ายๆ คือชั้นพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็น โดยแสงเกิดจากการรวมตัวกันของอิเล็กตรอนกับไฮโดรเจนจนเป็น H- ion

ชั้นบรรยากาศ :  แบ่งเป็น
- temperature minimum region เป็นชั้นที่อุณหภูมิต่ำสุด โดยต่ำได้ถึง 4 พันองศา โดยสามารถเกิดโมเลกุลง่ายๆ อย่าง Carbon monoxide หรือน้ำ
- chromosphere  ชั้นนี้อุณหภูมิจะสูงขึ้นไปเป็น 2หมื่นองศา โดยฮีเลี่ยมจะถูก ionized ที่ส่วนบนสุดของชั้นนี้
- transition region เป็นชั้นที่ฮีเลี่ยมถูก ionized อย่างเต็มที่ ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงถึง 1 ล้านองศา
- corona เป็นส่วนที่เวลาเกิดสุริยุปราคาแล้วเราเห็นเป็นออร่านั่นเอง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 2 ล้านองศา และอาจสูงสุดได้ถึง 20 ล้านองศา


สาเหตุที่อุณหภูมิในชั้น chromosphere  จนถึง corona เพิ่มสูงขึ้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เดากันว่าอาจจะเกิดจากผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า  Alfvén waves

- heliosphere  หรือชื่อไทยเท่ๆ คือ สุริยมณฑล เป็นอาณาเขตทั้งหมดที่ได้รับผลจากลมสุริยะ ซึ่งมีรัศมีประมาณ 50 หน่วยดาราศาสตร์ (1หน่วยดาราศาสตร์ = ระยะทางจากโลกไปดวงอาทิตย์ หรือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่