Anuptaphobia โรคกลัวการอยู่คนเดียว ถามใจดูอีกทีว่าที่เป็นโสดอยู่ตอนนี้เรารู้สึกกลัวสถานะของตัวเองบ้างหรือเปล่า แล้วถ้าต้องขึ้นคานจริง ๆ คิดว่าตัวเองจะโอเคกับการอยู่ตัวคนเดียวไหม ?
ถ้าตอนนี้สถานะของตัวเองคือ โสด โปรดจีบ แสดงว่าคุณก็ไม่ค่อยจะแฮปปี้กับการอยู่คนเดียวสักเท่าไรจริงไหมคะ และแม้ว่าใคร ๆ ก็น่าจะไม่ชอบที่ต้องใช้ชีวิตตามลำพัง ทว่าในโลกนี้ยังมีอาการกลัวเป็นโสดขั้นกว่าที่ทางจิตวิทยาเรียกว่าป่วยเบา ๆ หรือที่เรียกว่า Anuptaphobia โรคกลัวการเป็นโสดอยู่ด้วยนะ รู้ยัง ?
Anuptaphobia โรคกลัวการอยู่คนเดียว คือมีจริง ๆ บนโลกใบนี้ !?
Anuptaphobia คือ โรคกลัวการอยู่คนเดียว หรือโรคกลัวการเป็นโสด ซึ่งในทางจิตวิทยาได้จัดโรค Anuptaphobia ไว้ว่าเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง (Specific Phobia) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย
Anuptaphobia มีสาเหตุมาจากอะไร ?
โรคกลัวชนิดจำเพาะเจาะจงอย่างโรค Anuptaphobia อาจมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย แต่โดยส่วนมากนักจิตวิทยาจะพบว่าความกลัวนั้น ๆ มีสาเหตุมาจากสิ่งที่ฝังใจ เหตุการณ์สุดสะเทือนใจในวัยเด็ก เช่น อาจสัมผัสได้ถึงความเหงาและความอ้างว้างจากคู่รักที่เลิกรากันไป หรือเห็นคนโสดใกล้ตัวดูเศร้าหมองไม่มีความสุข เป็นต้น
ทว่าโรค Anuptaphobia ก็ยังมีสาเหตุได้จากพันธุกรรม หรือลักษณะบางอย่างของยีนด้วย แต่ก็ยังมีรายงานว่าพบผู้ป่วยโรค Anuptaphobia จากสาเหตุแรกมากกว่านะคะ
อาการของโรค Anuptaphobia มีลักษณะบ่งชี้อะไรบ้าง ?
นอกจากจะต้องถามใจเพื่อเช็กสุขภาพจิตตัวเองสักหน่อยแล้ว เรายังสามารถบ่งชี้ความเป็นโรค Anuptaphobia ได้จากอาการเหล่านี้ด้วย
1. รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง เหมือนชีวิตต้องการใครสักคนมาเติมเต็มอยู่ตลอด โดยเฉพาะเมื่อต้องออกไปไหนมาไหนคนเดียว หรือต้องทำอะไรตามลำพังบางครั้งอาจมีความรู้สึกกังวลมากถึงขั้นรู้สึกเครียด
2. อยู่ตัวคนเดียวไม่ได้ ถ้าอยู่คนเดียวจะนอนไม่หลับ ทำอะไรไม่ถูก ต้องหาเพื่อนมานอนด้วย หรือมักจะเป็นคนที่มีนิสัยติดเพื่อนฝูงหนักมาก
3. หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่จะมีแฟน การแต่งงาน หรือชีวิตคู่ในอนาคต ชอบมโนถึงความรักที่สวยงาม ความสุขของการมีคู่ โดยไม่สนใจความเป้นจริง
4. มีความสุขกับการเพ้อว่าได้รักกับคนที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งวาดฝันความสุขกับคนที่ไม่เคยสนใจเรา หรือเพ้อว่าได้รักกับดารา นักร้อง คนที่เพิ่งพบกันครั้งแรก คนที่เจอในโลกโซเชียล หรือแม้กระทั่งกับคนที่ตัวเองรู้สึกไม่ชอบหน้า
5. ไขว่คว้าหาความรัก เฝ้านับวันที่จะมีแฟนสักที หรือชอบคิดเล่น ๆ ถึงวันที่จะมีความรัก
6. มักจะดำเนินความสัมพันธ์ในโลกของจินตนาการ คือเมื่อมีรักก็มักจะเป็นคนชอบเพ้อเจ้อ เหมือนอยากให้ทุกอย่างเพอร์เฟคท์ มีความคาดหวังว่ารักต้องสมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้อาจต้องเจอกับปัญหาความสัมพันธ์บ่อยครั้ง หรือต้องจบความสัมพันธ์ไปซะทุกที
7. รักแบบแสดงความเป็นเจ้าของมาก ๆ ชนิดที่ไม่เว้นช่องว่างให้คนรัก หรือต้องมีเขาอยู่ข้าง ๆ ทุกเวลาที่ตัวเองต้องการ
8. พยายามที่จะมีความรัก โดยไม่สนใจว่าคนที่จะมาอยู่ข้าง ๆ จะเป็นใคร มีนิสัยที่เข้ากันได้หรือไม่ ทำให้ความรักมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือต้องจบความสัมพันธ์อย่างรวดเร็ว
9. เกิดความรู้สึกกลัวจนเหงื่อแตก ใจสั่น รู้สึกเหมือนไม่สบาย หากต้องอยู่ตามลำพัง
การวินิจฉัยโรคกลัวการอยู่คนเดียว
เพราะในโลกนี้อาจมีคนขี้เหงาจำนวนไม่น้อย ฉะนั้นการจะวินิจฉัยผู้ป่วยโรค Anuptaphobia ได้อาจต้องอาศัยแบบทดสอบทางจิตวิทยาร่วมกับการวิเคราะห์อาการของโรคด้วย ซึ่งหากลองเช็กแล้วว่าตัวเองกลัวการเป็นโสดมากจนเข้าข่ายอาการของโรค Anuptaphobia กรณีนี้แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อความชัวร์อีกที
การรักษาโรค Anuptaphobia
โดยปกติแล้วความกลัวชนิดจำเพาะเจาะจงอย่างนี้อาจรักษาได้ด้วยการให้คำปรึกษา การเยียวยาด้วยการบำบัดตามหลักจิตวิทยา เช่น การบำบัดด้วยวิธีหนามยอกต้องเอาหนามบ่ง โดยฝึกให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ทนกับการอยู่คนเดียว หรือแพทย์อาจเลือกใช้วิธีสะกดจิตบำบัด โน้มน้าวให้ผู้ป่วยเชื่อว่าการอยู่คนเดียวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หรือบำบัดด้วยการปรับทัศนคติเกี่ยวกับการต้องอยู่คนเดียวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ส่วนการใช้ยารักษาโรค Anuptaphobia ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เพราะยารักษาอาจมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก และอาจต้องใช้ยาเป็นเวลานาน ทว่าจิตแพทย์ก็อาจจ่ายยาคลายเครียดเพื่อช่วยบรรเทาอาการในเบื้องต้นไปก่อน
ทั้งนี้นักจิตวิทยายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมมาว่า ผู้ป่วยโรค Anuptaphobia อาจมีโรค Gamophobia หรือโรคกลัวการแต่งงานแฝงมาด้วย ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ามีประสบการณ์กับความรักที่ไม่เพอร์เฟคท์มาเยอะ หรือมีความคาดหวังสูงมากกับคนที่จะมาเป็นคู่ชีวิต จนทำให้รู้สึกไม่มั่นใจว่าคนที่ตัวเองเลือกจะดีพอไหม และจากคนที่กลัวขึ้นคานก็กลายเป็นเจ้าสาวที่กลัวฝนเพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Phobia Source
common-phobias.com
New Love Times
Kapook.com
http://health.kapook.com/view141157.html
กลัวขึ้นคานไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ มาเช็ก 9 อาการที่ส่อเค้าว่าเป็น Anuptaphobia โรคกลัวการเป็นโสด
Anuptaphobia โรคกลัวการอยู่คนเดียว ถามใจดูอีกทีว่าที่เป็นโสดอยู่ตอนนี้เรารู้สึกกลัวสถานะของตัวเองบ้างหรือเปล่า แล้วถ้าต้องขึ้นคานจริง ๆ คิดว่าตัวเองจะโอเคกับการอยู่ตัวคนเดียวไหม ?
ถ้าตอนนี้สถานะของตัวเองคือ โสด โปรดจีบ แสดงว่าคุณก็ไม่ค่อยจะแฮปปี้กับการอยู่คนเดียวสักเท่าไรจริงไหมคะ และแม้ว่าใคร ๆ ก็น่าจะไม่ชอบที่ต้องใช้ชีวิตตามลำพัง ทว่าในโลกนี้ยังมีอาการกลัวเป็นโสดขั้นกว่าที่ทางจิตวิทยาเรียกว่าป่วยเบา ๆ หรือที่เรียกว่า Anuptaphobia โรคกลัวการเป็นโสดอยู่ด้วยนะ รู้ยัง ?
Anuptaphobia โรคกลัวการอยู่คนเดียว คือมีจริง ๆ บนโลกใบนี้ !?
Anuptaphobia คือ โรคกลัวการอยู่คนเดียว หรือโรคกลัวการเป็นโสด ซึ่งในทางจิตวิทยาได้จัดโรค Anuptaphobia ไว้ว่าเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง (Specific Phobia) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย
Anuptaphobia มีสาเหตุมาจากอะไร ?
โรคกลัวชนิดจำเพาะเจาะจงอย่างโรค Anuptaphobia อาจมีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย แต่โดยส่วนมากนักจิตวิทยาจะพบว่าความกลัวนั้น ๆ มีสาเหตุมาจากสิ่งที่ฝังใจ เหตุการณ์สุดสะเทือนใจในวัยเด็ก เช่น อาจสัมผัสได้ถึงความเหงาและความอ้างว้างจากคู่รักที่เลิกรากันไป หรือเห็นคนโสดใกล้ตัวดูเศร้าหมองไม่มีความสุข เป็นต้น
ทว่าโรค Anuptaphobia ก็ยังมีสาเหตุได้จากพันธุกรรม หรือลักษณะบางอย่างของยีนด้วย แต่ก็ยังมีรายงานว่าพบผู้ป่วยโรค Anuptaphobia จากสาเหตุแรกมากกว่านะคะ
อาการของโรค Anuptaphobia มีลักษณะบ่งชี้อะไรบ้าง ?
นอกจากจะต้องถามใจเพื่อเช็กสุขภาพจิตตัวเองสักหน่อยแล้ว เรายังสามารถบ่งชี้ความเป็นโรค Anuptaphobia ได้จากอาการเหล่านี้ด้วย
1. รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง เหมือนชีวิตต้องการใครสักคนมาเติมเต็มอยู่ตลอด โดยเฉพาะเมื่อต้องออกไปไหนมาไหนคนเดียว หรือต้องทำอะไรตามลำพังบางครั้งอาจมีความรู้สึกกังวลมากถึงขั้นรู้สึกเครียด
2. อยู่ตัวคนเดียวไม่ได้ ถ้าอยู่คนเดียวจะนอนไม่หลับ ทำอะไรไม่ถูก ต้องหาเพื่อนมานอนด้วย หรือมักจะเป็นคนที่มีนิสัยติดเพื่อนฝูงหนักมาก
3. หมกมุ่นอยู่กับความคิดที่จะมีแฟน การแต่งงาน หรือชีวิตคู่ในอนาคต ชอบมโนถึงความรักที่สวยงาม ความสุขของการมีคู่ โดยไม่สนใจความเป้นจริง
4. มีความสุขกับการเพ้อว่าได้รักกับคนที่เป็นไปไม่ได้ ทั้งวาดฝันความสุขกับคนที่ไม่เคยสนใจเรา หรือเพ้อว่าได้รักกับดารา นักร้อง คนที่เพิ่งพบกันครั้งแรก คนที่เจอในโลกโซเชียล หรือแม้กระทั่งกับคนที่ตัวเองรู้สึกไม่ชอบหน้า
5. ไขว่คว้าหาความรัก เฝ้านับวันที่จะมีแฟนสักที หรือชอบคิดเล่น ๆ ถึงวันที่จะมีความรัก
6. มักจะดำเนินความสัมพันธ์ในโลกของจินตนาการ คือเมื่อมีรักก็มักจะเป็นคนชอบเพ้อเจ้อ เหมือนอยากให้ทุกอย่างเพอร์เฟคท์ มีความคาดหวังว่ารักต้องสมบูรณ์แบบที่สุด ทำให้อาจต้องเจอกับปัญหาความสัมพันธ์บ่อยครั้ง หรือต้องจบความสัมพันธ์ไปซะทุกที
7. รักแบบแสดงความเป็นเจ้าของมาก ๆ ชนิดที่ไม่เว้นช่องว่างให้คนรัก หรือต้องมีเขาอยู่ข้าง ๆ ทุกเวลาที่ตัวเองต้องการ
8. พยายามที่จะมีความรัก โดยไม่สนใจว่าคนที่จะมาอยู่ข้าง ๆ จะเป็นใคร มีนิสัยที่เข้ากันได้หรือไม่ ทำให้ความรักมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือต้องจบความสัมพันธ์อย่างรวดเร็ว
9. เกิดความรู้สึกกลัวจนเหงื่อแตก ใจสั่น รู้สึกเหมือนไม่สบาย หากต้องอยู่ตามลำพัง
การวินิจฉัยโรคกลัวการอยู่คนเดียว
เพราะในโลกนี้อาจมีคนขี้เหงาจำนวนไม่น้อย ฉะนั้นการจะวินิจฉัยผู้ป่วยโรค Anuptaphobia ได้อาจต้องอาศัยแบบทดสอบทางจิตวิทยาร่วมกับการวิเคราะห์อาการของโรคด้วย ซึ่งหากลองเช็กแล้วว่าตัวเองกลัวการเป็นโสดมากจนเข้าข่ายอาการของโรค Anuptaphobia กรณีนี้แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อความชัวร์อีกที
การรักษาโรค Anuptaphobia
โดยปกติแล้วความกลัวชนิดจำเพาะเจาะจงอย่างนี้อาจรักษาได้ด้วยการให้คำปรึกษา การเยียวยาด้วยการบำบัดตามหลักจิตวิทยา เช่น การบำบัดด้วยวิธีหนามยอกต้องเอาหนามบ่ง โดยฝึกให้ผู้ป่วยค่อย ๆ ทนกับการอยู่คนเดียว หรือแพทย์อาจเลือกใช้วิธีสะกดจิตบำบัด โน้มน้าวให้ผู้ป่วยเชื่อว่าการอยู่คนเดียวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หรือบำบัดด้วยการปรับทัศนคติเกี่ยวกับการต้องอยู่คนเดียวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ส่วนการใช้ยารักษาโรค Anuptaphobia ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เพราะยารักษาอาจมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก และอาจต้องใช้ยาเป็นเวลานาน ทว่าจิตแพทย์ก็อาจจ่ายยาคลายเครียดเพื่อช่วยบรรเทาอาการในเบื้องต้นไปก่อน
ทั้งนี้นักจิตวิทยายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมมาว่า ผู้ป่วยโรค Anuptaphobia อาจมีโรค Gamophobia หรือโรคกลัวการแต่งงานแฝงมาด้วย ซึ่งอาจเป็นเพราะว่ามีประสบการณ์กับความรักที่ไม่เพอร์เฟคท์มาเยอะ หรือมีความคาดหวังสูงมากกับคนที่จะมาเป็นคู่ชีวิต จนทำให้รู้สึกไม่มั่นใจว่าคนที่ตัวเองเลือกจะดีพอไหม และจากคนที่กลัวขึ้นคานก็กลายเป็นเจ้าสาวที่กลัวฝนเพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Phobia Source
common-phobias.com
New Love Times
Kapook.com
http://health.kapook.com/view141157.html