คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
กบฏแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ในความเป็นจริง กรณี กบฎแมนฮัตตัน เป็นกรณีต่อเนื่องระหว่างความขัดแย้งของ ฝ่ายรัฐประหารที่โค่นอำนาจรัฐบาลสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ฝ่ายหนึ่ง และกำลังสนับสนุนนายปรีดี อีกฝ่ายที่ประกอบขึ้นระหว่างกองกำลังเสรีไทย และกำลังทหารเรืออีกฝ่ายหนึ่ง เหตุการณ์นี้ขัดแย้งยืดเยื้อจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ กบฎวังหลวง ซึ่งลงเอยด้วยการลี้ภัยของนายปรีดี แต่รัฐบาลยังไม่กล้าทำอะไรกับกองทัพเรือ จนกระทั่งมีการกระทบกระทั่งกันอีกหลายครั้ง
หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spirt fire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าและสิงคโปร์
น.ต.มนัส จารุภา รน. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495
เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ
หลังจากกบฏแมนฮัตตันแล้ว กองทัพเรือได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จนเกือบจะกล่าวได้ว่ากองทัพเรือนั้นไม่มีอิทธิพลใดอีกแล้ว ถึงแม้จะมีความพยายามของ พล.ร.ท. หลวงพลสินธวาณัติก์ ที่จะรื้อฟื้นกองทัพเรือแต่ก็ไม่ประสบผลจนกระทั่งภายหลังเขาต้องลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้ส่งพวกของคณะรัฐประหารที่วางใจได้ เข้าสวมตำแหน่งสำคัญๆ ไว้โดยสิ้นเชิง เช่น พล.ร.ต. หลวงยุทธศาสตร์ โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) นายทหารนอกราชการ และเป็นอดีตคนสนิทของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารเรือแทน ส่วนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ถูกปลดออกจากตำแหน่งหมด
อาจสรุปได้ว่ากรณีแมนฮัตตัน เริ่มต้นจากความพยายามในการก่อการโค่นรัฐบาลของทหารเรือชั้นผู้น้อย ที่เรียกว่า 'คณะกู้ชาติ' แต่ลงท้ายด้วยการที่รัฐบาลถือโอกาสปราบปรามฝ่ายกองทัพเรือครั้งใหญ่ จนไม่อาจเป็นภัยคุกคามใดๆ แก่คณะรัฐประหารได้อีก ทั้งนี้แม้ฝ่ายรัฐบาลจะทราบว่านายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่มิได้เข้าร่วมหรือสนับสนุนกลุ่ม 'คณะกู้ชาติ' แต่ฝ่ายรัฐบาลก็ได้เตรียมการที่จะปราบปรามกองทัพเรือโดยไม่ประณีประนอม
ที่มา: http://www.politicalbase.in.th/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8E%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99
-=เพื่อเป็นข้อมูลกรณี "กบฎแมนฮัตตัน" =-
กบฏแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา
ในความเป็นจริง กรณี กบฎแมนฮัตตัน เป็นกรณีต่อเนื่องระหว่างความขัดแย้งของ ฝ่ายรัฐประหารที่โค่นอำนาจรัฐบาลสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ฝ่ายหนึ่ง และกำลังสนับสนุนนายปรีดี อีกฝ่ายที่ประกอบขึ้นระหว่างกองกำลังเสรีไทย และกำลังทหารเรืออีกฝ่ายหนึ่ง เหตุการณ์นี้ขัดแย้งยืดเยื้อจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ กบฎวังหลวง ซึ่งลงเอยด้วยการลี้ภัยของนายปรีดี แต่รัฐบาลยังไม่กล้าทำอะไรกับกองทัพเรือ จนกระทั่งมีการกระทบกระทั่งกันอีกหลายครั้ง
หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spirt fire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าและสิงคโปร์
น.ต.มนัส จารุภา รน. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495
เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ
หลังจากกบฏแมนฮัตตันแล้ว กองทัพเรือได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จนเกือบจะกล่าวได้ว่ากองทัพเรือนั้นไม่มีอิทธิพลใดอีกแล้ว ถึงแม้จะมีความพยายามของ พล.ร.ท. หลวงพลสินธวาณัติก์ ที่จะรื้อฟื้นกองทัพเรือแต่ก็ไม่ประสบผลจนกระทั่งภายหลังเขาต้องลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้ส่งพวกของคณะรัฐประหารที่วางใจได้ เข้าสวมตำแหน่งสำคัญๆ ไว้โดยสิ้นเชิง เช่น พล.ร.ต. หลวงยุทธศาสตร์ โกศล (ประยูร ศาสตระรุจิ) นายทหารนอกราชการ และเป็นอดีตคนสนิทของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลื่อนขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารเรือแทน ส่วนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ถูกปลดออกจากตำแหน่งหมด
อาจสรุปได้ว่ากรณีแมนฮัตตัน เริ่มต้นจากความพยายามในการก่อการโค่นรัฐบาลของทหารเรือชั้นผู้น้อย ที่เรียกว่า 'คณะกู้ชาติ' แต่ลงท้ายด้วยการที่รัฐบาลถือโอกาสปราบปรามฝ่ายกองทัพเรือครั้งใหญ่ จนไม่อาจเป็นภัยคุกคามใดๆ แก่คณะรัฐประหารได้อีก ทั้งนี้แม้ฝ่ายรัฐบาลจะทราบว่านายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่มิได้เข้าร่วมหรือสนับสนุนกลุ่ม 'คณะกู้ชาติ' แต่ฝ่ายรัฐบาลก็ได้เตรียมการที่จะปราบปรามกองทัพเรือโดยไม่ประณีประนอม
ที่มา: http://www.politicalbase.in.th/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%8E%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99
แสดงความคิดเห็น
ทำไมหนังสือ ปวศ.บางเล่มถึงบอกว่ากบฏแมนฮัตตันเป็นสงครามกลางเมือง ช่วยเล่ารายละเอียดที และอะไรเกิดผิดพลาดขึ้น