ตั้งแต่สมัยยุค 90 ตอนผมยังเด็ก ๆ มองไปรอบตัว ของในบ้าน ในทีวี มีแต่สินค้าจากญี่ปุ่น ดูเป็นชาติที่ผูกขาดด้านสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบจริงจังมาก ๆ แบรนด์อื่น ๆ อย่าง Samsung, Goldstar(LG) ตอนนั้นยังไม่เคยได้ยินเลย จนมาวันนี้ 20 ปีผ่านไป เหตุการณ์กลับตาลปัตร สังเกตเห็นเป็น Trend มาสักระยะแล้วครับ ว่าตั้งแต่บริษัทเกาหลีอย่าง Samsung , LG ตีตลาดเมืองไทยกระเจิง ในตลาดโลกก็เช่นกัน บริษัทญี่ปุ่นอื่น ๆ ที่เคยโด่งดังในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในตอนนี้ก็แลดูไม่ค่อยสดใสนัก
Sanyo : ถูก Panasonic ซื้อกิจการ และขายโรงงานในไทยให้กับบริษัทจีน Haier เมื่อหลายปีก่อน นี่เป็นบริษัทแรกเลยที่เริ่มล้ม
Sony : ถูก Samsung แย่งส่วนแบ่งตลาดไปอย่างสิ้นเชิงในยุคทีวี LCD เริ่มเฟื่องฟู และยุคโทรศัพท์มือถือจอสี จากที่ว่าใครจะซื้อทีวีต้องคิดถึงโซนี่ก่อน ตอนนี้กลายเป็นว่าซัมซุงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของผู้บริโภคทั่วโลก เมื่อ 2 ปีก่อนได้ตัดธุรกิจคอมพิวเตอร์ VAIO ขายไปให้กับบริษัทอื่นเพื่อลดต้นทุน และทุกวันนี้กิจการมือถือยังขาดทุนหนักต่อเนื่องมาหลายปี ดีที่ว่ายังมี Playstation และธุรกิจเซ็นเซอร์รับภาพ(ไอโฟน)เป็นตัวที่ยังทำกำไรอยู่
Panasonic : คล้าย ๆ Sony เลย เริ่มทำตลาดในต่างประเทศน้อยลง โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก ไม่ได้มีสินค้าจำหน่ายหลากหลายเหมือนในเอเชีย ผมเองชอบแบรนด์นี้มาก ๆ ดีไซน์ดูดีและลงตัว และราคาไม่แพงเหมือน Sony แต่ตอนนี้อยู่ที่อเมริกาหาซื้อได้ยากมากกกกกกก
Toshiba : ปีก่อนตกเป็นข่าวฉาวเรื่องปลอมแปลงตัวเลขในบัญชีมาหลายปี ส่งผลให้มูลค่าในตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างหนักจนต้องขายกิจการบางส่วนทิ้งให้กับคู่แข่งอย่าง Sony
Sharp : ปีที่แล้วได้ตัดสินใจขายกิจการทีวีในอเมริกาให้กับ Hisense ยักษ์ใหญ่ด้านทีวีจากจีน จนมาเมื่อ 2-3 วันก่อนก็ได้ขายกิจการส่วนอื่นให้กับ Foxconn จากไต้หวัน ซึ่งเป็น OEM ผู้ผลิตไอโฟน ไอแพดให้แอปเปิ้ลนั่นเอง โดยดีลครั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามยื้อแบบสุด ๆ โดยเสนอดีลแข่งกับ บ ต่างชาติรายนี้ด้วยเหมือนกัน เพื่อรักษาเทคโนโลยีให้อยู่ภายในมือของคนญี่ปุ่น แต่ก็พ่ายแพ้ตัวเลขที่มากกว่าของ Foxconn
ส่วนบริษัทอื่น ๆ อย่าง Hitachi / Mitsubishi นี่แทบจะไม่มีตัวตนแล้วนอกจากในทวีปเอเชีย ความเคลื่อนไหวในตลาดผู้บริโภคน้อยมาก ๆ เป็นสองบริษัทที่ทิ้งธุรกิจมือถือและทีวีไปไม่กี่ปีก่อน ตอนนี้ดูเหมือนจะมุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมหนักมากกว่า อย่างรถไฟความเร็วสูง เครื่องบิน พลังงาน ฯลฯ
สรุป: แวดวงไอที เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอะไรที่อยู่ยากจริงครับช่วงนี้ มีบริษัทคลื่นลูกใหม่ขึ้นมาตลอด และมีการล้มของยักษ์ใหญ่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ มีคนเคยบอกผมว่าตอนนี้บริษัทเกาหลีทำกับบริษัทญี่ปุ่น เหมือนกับที่บริษัทญี่ปุ่นเคยทำกับบริษัทอเมริกันในยุค 70 และผมเริ่มเห็นแพทเทิร์นแล้วว่าในอีกไม่ถึง 10 ปี บริษัทจีนก็จะทำแบบนี้กับบริษัทเกาหลีเหมือนกัน ให้จับตาดูบริษัทอย่าง Huawei, Haier(เพิ่งซื้อกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้า GE), TCL, Xiaomi และ Lenovo (ซื้อธุรกิจ PC จาก IBM และมือถือจาก Motorola) อาจจะมีหนึ่งในนี้ที่ขึ้นมาแทน Apple กับ Samsung ก็เป็นได้....
ยุคขาลงของบริษัทเทคโนโลยีญี่ปุ่น : Foxconn ของไต้หวันประกาศซื้อกิจการบริษัท Sharp
Sanyo : ถูก Panasonic ซื้อกิจการ และขายโรงงานในไทยให้กับบริษัทจีน Haier เมื่อหลายปีก่อน นี่เป็นบริษัทแรกเลยที่เริ่มล้ม
Sony : ถูก Samsung แย่งส่วนแบ่งตลาดไปอย่างสิ้นเชิงในยุคทีวี LCD เริ่มเฟื่องฟู และยุคโทรศัพท์มือถือจอสี จากที่ว่าใครจะซื้อทีวีต้องคิดถึงโซนี่ก่อน ตอนนี้กลายเป็นว่าซัมซุงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของผู้บริโภคทั่วโลก เมื่อ 2 ปีก่อนได้ตัดธุรกิจคอมพิวเตอร์ VAIO ขายไปให้กับบริษัทอื่นเพื่อลดต้นทุน และทุกวันนี้กิจการมือถือยังขาดทุนหนักต่อเนื่องมาหลายปี ดีที่ว่ายังมี Playstation และธุรกิจเซ็นเซอร์รับภาพ(ไอโฟน)เป็นตัวที่ยังทำกำไรอยู่
Panasonic : คล้าย ๆ Sony เลย เริ่มทำตลาดในต่างประเทศน้อยลง โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก ไม่ได้มีสินค้าจำหน่ายหลากหลายเหมือนในเอเชีย ผมเองชอบแบรนด์นี้มาก ๆ ดีไซน์ดูดีและลงตัว และราคาไม่แพงเหมือน Sony แต่ตอนนี้อยู่ที่อเมริกาหาซื้อได้ยากมากกกกกกก
Toshiba : ปีก่อนตกเป็นข่าวฉาวเรื่องปลอมแปลงตัวเลขในบัญชีมาหลายปี ส่งผลให้มูลค่าในตลาดหุ้นดิ่งลงอย่างหนักจนต้องขายกิจการบางส่วนทิ้งให้กับคู่แข่งอย่าง Sony
Sharp : ปีที่แล้วได้ตัดสินใจขายกิจการทีวีในอเมริกาให้กับ Hisense ยักษ์ใหญ่ด้านทีวีจากจีน จนมาเมื่อ 2-3 วันก่อนก็ได้ขายกิจการส่วนอื่นให้กับ Foxconn จากไต้หวัน ซึ่งเป็น OEM ผู้ผลิตไอโฟน ไอแพดให้แอปเปิ้ลนั่นเอง โดยดีลครั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามยื้อแบบสุด ๆ โดยเสนอดีลแข่งกับ บ ต่างชาติรายนี้ด้วยเหมือนกัน เพื่อรักษาเทคโนโลยีให้อยู่ภายในมือของคนญี่ปุ่น แต่ก็พ่ายแพ้ตัวเลขที่มากกว่าของ Foxconn
ส่วนบริษัทอื่น ๆ อย่าง Hitachi / Mitsubishi นี่แทบจะไม่มีตัวตนแล้วนอกจากในทวีปเอเชีย ความเคลื่อนไหวในตลาดผู้บริโภคน้อยมาก ๆ เป็นสองบริษัทที่ทิ้งธุรกิจมือถือและทีวีไปไม่กี่ปีก่อน ตอนนี้ดูเหมือนจะมุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมหนักมากกว่า อย่างรถไฟความเร็วสูง เครื่องบิน พลังงาน ฯลฯ
สรุป: แวดวงไอที เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอะไรที่อยู่ยากจริงครับช่วงนี้ มีบริษัทคลื่นลูกใหม่ขึ้นมาตลอด และมีการล้มของยักษ์ใหญ่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ มีคนเคยบอกผมว่าตอนนี้บริษัทเกาหลีทำกับบริษัทญี่ปุ่น เหมือนกับที่บริษัทญี่ปุ่นเคยทำกับบริษัทอเมริกันในยุค 70 และผมเริ่มเห็นแพทเทิร์นแล้วว่าในอีกไม่ถึง 10 ปี บริษัทจีนก็จะทำแบบนี้กับบริษัทเกาหลีเหมือนกัน ให้จับตาดูบริษัทอย่าง Huawei, Haier(เพิ่งซื้อกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้า GE), TCL, Xiaomi และ Lenovo (ซื้อธุรกิจ PC จาก IBM และมือถือจาก Motorola) อาจจะมีหนึ่งในนี้ที่ขึ้นมาแทน Apple กับ Samsung ก็เป็นได้....