ตึกถาวรวัตถุตรงสนามหลวง (ตึกสีแดง) ที่มีรถทัวร์จีนจอดเยอะๆ เป็นตึกที่เดินผ่านมาหลายปีแต่ไม่เคยเข้าไป จนกระทั่งวันก่อนตอนเดินผ่านเห็นป้ายนิทรรศการตั้งอยู่หน้าตึกเลยเดินเข้าไป พอได้ดูแล้วรู้สึกเสียดายที่ทำไมเราเดินผ่านบ่อยๆ แต่ไม่เคยเข้าไป และเห็นมีกระทู้ถามที่เที่ยวในกรุงเทพบ่อยๆ ก็เลยอยากแนะนำนิทรรศการในตึกนี้ให้เพื่อนๆ
ประวัติของตึกถาวรวัตถุ
ตึกถาวรวัตถุ อันเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตึกที่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวงมาโดยตลอด
ก่อนที่จะมีการสร้างตึกถาวรวัตถุนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า การก่อสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ตามพระเกียรติยศของพระบรมวงศานุวงศ์ที่บริเวณ ท้องสนามหลวงนั้นเป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในสิ่งที่ไม่คงทนถาวร เพราะทำสำหรับใช้งานเพียงครั้งเดียวเสร็จแล้วก็ต้องรื้อทิ้ง ไม่ได้เกิดประโยชน์ในภายภาคหน้า ควรจะสร้างสิ่งที่คงทนถาวรสำหรับใช้เป็นพระที่นั่งทรงธรรมแทน เมื่อจะพระราชทานเพลิงพระศพก็เพียงแต่สร้างพระเมรุน้อยเท่านั้น
ในพ.ศ. 2436 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารขึ้นหลังหนึ่ง ตรงบริเวณด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เรียกว่า ตึกถาวรวัตถุ ในครั้งนั้นมีพระราชประสงค์ว่าจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของพระองค์เอง ถ้าว่างเว้นจากการใช้ในงานพระเมรุแล้วจึงจะทรงอนุญาตให้ใช้เป็นที่เล่าเรียน ของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย แต่ประจวบกับใน พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จสวรรคต จำเป็นที่จะต้องสร้างพระเมรุมาศเพื่อใช้ในการออกพระเมรุท้องสนามหลวงด้วย จึงทำให้เข้าใจว่าเป็นการก่อสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
การก่อสร้างโปรดฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบตึกเป็นอาคารมียอดปรางค์ 3 ยอดตามแบบปราสาทนครวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงวางศิลาพระฤกษ์การก่อสร้างตึกถาวรวัตถุเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2439 แต่การก่อสร้างอาคารเป็นไปอย่างล่าช้าจึงไม่แล้วเสร็จ ไม่ได้ใช้ทั้งในการพระเมรุและการศาสนศึกษา จนสิ้นรัชกาล
พ.ศ. 2540 รัฐบาลมีโครงการบูรณะปรับปรุงตึกถาวรวัตถุ เพื่อจัดตั้งเป็นสิ่งก่อสร้างอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครบ 100 ปี พุทธศักราช 2540 (King Chulalongkorn the Great Memorial Hall Project ) แต่การบูรณะสำเร็จเต็มตามโครงการเมื่อพ.ศ. 2553 ในโอกาส 100 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เปิดบริการ : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น.
ปิดบริการ : วันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ที่ตั้ง : ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0 2222 4867 โทรสาร 0 2221 6830
หมายเหตุ : ไม่เสียค่าเข้าชม
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.nlt.go.th/node/136
ภาพบางส่วนของนิทรรศการ
การออกแบบทำได้สวยดี มีมัลติมีเดียไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นภาพนิ่งและข้อความ บริเวณจัดแสดงร้อนไปหน่อย สำหรับนิทรรศการไม่เสียค่าใช้จ่ายถือว่าทำได้ดีมากทีเดียว หลังจากแวะตึกนี้แล้วถ้าใครอยากนั่งพักเดินต่อไปข้างหน้ามีร้านคาเฟ่เวโลโดมให้นั่งชิลล์ตากแอร์ได้ หรือจะเดินไปท่ามหาราชต่อก็ได้
จบท้ายรีวิวด้วยชาเขียวเย็นที่คาเฟ่เวโลโดม ณ วันที่กรุงเทพเช้านี้เย็นๆ 18 องศา
[CR] พาไปชมนิทรรศการในตึกถาวรวัตถุ (สนามหลวง)
ประวัติของตึกถาวรวัตถุ
ตึกถาวรวัตถุ อันเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นตึกที่มีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวงมาโดยตลอด
ก่อนที่จะมีการสร้างตึกถาวรวัตถุนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า การก่อสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ตามพระเกียรติยศของพระบรมวงศานุวงศ์ที่บริเวณ ท้องสนามหลวงนั้นเป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในสิ่งที่ไม่คงทนถาวร เพราะทำสำหรับใช้งานเพียงครั้งเดียวเสร็จแล้วก็ต้องรื้อทิ้ง ไม่ได้เกิดประโยชน์ในภายภาคหน้า ควรจะสร้างสิ่งที่คงทนถาวรสำหรับใช้เป็นพระที่นั่งทรงธรรมแทน เมื่อจะพระราชทานเพลิงพระศพก็เพียงแต่สร้างพระเมรุน้อยเท่านั้น
ในพ.ศ. 2436 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารขึ้นหลังหนึ่ง ตรงบริเวณด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เรียกว่า ตึกถาวรวัตถุ ในครั้งนั้นมีพระราชประสงค์ว่าจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของพระองค์เอง ถ้าว่างเว้นจากการใช้ในงานพระเมรุแล้วจึงจะทรงอนุญาตให้ใช้เป็นที่เล่าเรียน ของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย แต่ประจวบกับใน พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จสวรรคต จำเป็นที่จะต้องสร้างพระเมรุมาศเพื่อใช้ในการออกพระเมรุท้องสนามหลวงด้วย จึงทำให้เข้าใจว่าเป็นการก่อสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
การก่อสร้างโปรดฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบตึกเป็นอาคารมียอดปรางค์ 3 ยอดตามแบบปราสาทนครวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงวางศิลาพระฤกษ์การก่อสร้างตึกถาวรวัตถุเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2439 แต่การก่อสร้างอาคารเป็นไปอย่างล่าช้าจึงไม่แล้วเสร็จ ไม่ได้ใช้ทั้งในการพระเมรุและการศาสนศึกษา จนสิ้นรัชกาล
พ.ศ. 2540 รัฐบาลมีโครงการบูรณะปรับปรุงตึกถาวรวัตถุ เพื่อจัดตั้งเป็นสิ่งก่อสร้างอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครบ 100 ปี พุทธศักราช 2540 (King Chulalongkorn the Great Memorial Hall Project ) แต่การบูรณะสำเร็จเต็มตามโครงการเมื่อพ.ศ. 2553 ในโอกาส 100 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เปิดบริการ : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 16.00 น.
ปิดบริการ : วันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ที่ตั้ง : ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0 2222 4867 โทรสาร 0 2221 6830
หมายเหตุ : ไม่เสียค่าเข้าชม
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพบางส่วนของนิทรรศการ
การออกแบบทำได้สวยดี มีมัลติมีเดียไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นภาพนิ่งและข้อความ บริเวณจัดแสดงร้อนไปหน่อย สำหรับนิทรรศการไม่เสียค่าใช้จ่ายถือว่าทำได้ดีมากทีเดียว หลังจากแวะตึกนี้แล้วถ้าใครอยากนั่งพักเดินต่อไปข้างหน้ามีร้านคาเฟ่เวโลโดมให้นั่งชิลล์ตากแอร์ได้ หรือจะเดินไปท่ามหาราชต่อก็ได้
จบท้ายรีวิวด้วยชาเขียวเย็นที่คาเฟ่เวโลโดม ณ วันที่กรุงเทพเช้านี้เย็นๆ 18 องศา
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น