สืบเนื่องมาจากปัญหาการหักเหลี่ยมโหดทางธุรกิจของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีดาวเทียม ทำให้ความเสียหายตกอยู่กับผู้บริโภคตาดำๆที่ใช้บริการ Z Pay TV ผ่านกล่อง GMMz HD อย่างผม แถมผมยังเติมแพ็คเกจเพื่อดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีกมาตลอดไม่เคยงอแงต่อล้อต่อเถียงใดๆเป็นเด็กดีมาโดยตลอด จนมาวันนี้ Z Pay TV กลับยกเลิกการให้บริการบนกล่อง GMMz ก่องสิ้นสุดฤดูกาลเหมือนผู้ใหญ่รังแกเด็กแย่งอมยิ้มผมไปซะอย่างนั้น
เอาละผมเป็นแค่ผู้บริโภคตัวเล็กๆ เสียงเบาๆ ไม่มีโอกาสเรียกร้องมากนัก จะชดเชยอย่างไรผมก็ยอมครับ ขอแค่ให้ผมได้ดูรายการที่ผมอยากดูเพื่อผ่อนคลายปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างไม่เอาเปรียบจนเกินพอดีไปนัก
และหวยก็ออกที่การชดเชยกล่องของ CTH พร้องแพ็คเกจ Beyond CTHz นาน 1 ปี แต่.....ใช้ได้กับจานรับสัญญาณแบบ KU Band เท่านั้น (จานทึบ) งามไส้ คนอะไรมันจะซวยซ้ำซวยซ้อนซ่อนเงื่อนขนาดนี้ เพราะผมใช้จานรับสัญญาณแบบ C Band (จานดำโปร่ง)
ปลายเดือน มกราคม ผมตัดสินใจเป็นไงเป็นกัน ติดจานใหม่ก็ได้(วะ) หลังเลิกงานตระเวนขับรถเก็บเบอร์โทรศัพท์ตามหน้าร้านรับติดตั้งจานดาวเทียม (สาเหตุที่ไม่แวะไปถามเพราะผมเป็นคนขี้เกรงใจ เจอคนขายเก่งๆนี่ ผมเสร็จทุกราย) ลืมบอกภูมิหลังไป ตอนนี้ผมทำงานอยู่ต่างจังหวัดครับ อยู่จังหวัดใหญ่จังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่างครับ เอาละครับวันรุ่งขึ้นก่อนเข้างาน(จริงๆนะ) ผมโทรเช็คราคาค่าติดตั้งพร้อมเดินสายสำหรับจาน KU Band เพื่อเปรียบเทียบราคาและวันนัด และปรากฏว่าคุณเชื่อไหมครับถูกสุดคือ 2,000 บาท โอ้....ติดสตั้นไป 5 วิ....
แล้วผมก็มาฉุกคิดได้ เออก็ช่างเขาต้องกินต้องใช้ จานดาวเทียมใครที่ไหนเขาจะติดกันทุกวันไม่ใช่ข้าวกล่องกินแล้วหมด เขาก็ต้องมีกำไรบ้าง แต่......แล้วผมไม่ต้องกินไม่ต้องใช้เรอะ!!!!
หลังจากนั่งทำงานไปอย่างมีสมาธิ (ถ้าใครแอบมาดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ผมนี้ มีแต่เรื่องจานรับสัญญาณดาวเทียมไม่มีงานเลย) ผมก็บรรลุสัจธรรมว่าการติดตั้งจานดาวเทียมก็เหมือนกับการทำงานของผม นั่นคือ ถ้าอยากให้งานออกมาดี เรียบร้อย รวดเร็ว มีคุณภาพ คุณต้องลงมือทำมันเอง 55555 (ผมบ้าไปแล้วตอนนั้น)
ผมใช้เวลาศึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมอยู่ 2 วัน (ทุกท่านช่วยพยายามคิดเอาว่าเป็นเสาร์-อาทิตย์แล้วกันนะครับ) ทำให้ผมได้ข้อสรุปที่ผมคิด(ไปเอง)ว่าถูกต้อง ดังนี้
1. ถ้าคุณมีจานรับสัญญาณดาวเทียม C Band อยู่แล้ว คุณสามารถซื้อ LNB (หัวรับสัญญาณของจานดาวเทียม) ที่เป็นแบบ duo โดยสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง C Band (เดิมตามชนิดจาน) และ KU Band โดยใช้เพียงไขควงอันเดียว แต่มีบางคนทั้งใน Pantip เอง และที่เว็บอื่น บอกว่ามันจะรับสัญญาณได้ไม่ดี จูนหาสัญญาณยาก ต้องใช้ความชำนาญ อ้าวแล้วผมจะเอาความชำนาญมาจากไหน ไม่เคยเกี่ยวข้องกับวงการนี้เลย เคยแค่จ่ายเงินกับชี้ว่าให้ติดตรงไหน เดินสายมาตรงไหน เป็นอันว่าข้อนี้ตกไป (ทั้งที่อาจเป็นวิธีที่ถูกสุด ง่ายสุด ดีสุด เร็วสุด แต่ผมเลือกบริหารความเสี่ยงดีกว่า ก็คนมันไม่เคยนี่ครับ)
2. ติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ KU Band ใหม่อีกจาน อันนี้ยุ่งหน่อย อุปกรณ์เยอะ แต่ชัวร์กว่า และจากเวลา 2 วันที่ผมเข้าไปอยู่ในวงการนี้ทำให้ผมมีความเชื่อมั่นได้ว่าผมต้องทำเองได้ (เมื่อก่อนผมก็คิดว่าทำเองได้นะครับ ผมคิดว่าแค่ดูจานอื่นว่าเขาหันไปทางไหนก็หันไปทางนั้นแล้วมันจะได้เอง หรือแค่ให้เห็นท้องฟ้าก็พอเพราะดาวเทียมโคจรอยู่ข้างบนสูงจากพื้นโลก 35,800 กิโลเมตร รับส่งสัญญาณแบบกรวยแผ่ลงมา มันต้องโดนอยู่แล้วถ้าไม่มีอะไรมาบังก็น่าจะใช้ได้ ซึ่งความคิดนี้ผิดหมดเลย) แต่เอาเข้าจริงๆ ผมก็คิดว่าไม่ยากเท่าไหร่ ติดจะง่ายซะด้วย ผมเลยเลือกวิธีนี้
ความรู้พร้อม!!!
วิธีการพร้อม!!!
ทีนี้ก็เหลือแต่อุปกรณ์
ผมสั่งจากเว็บไซต์ขายของชื่อดังแห่งหนึ่งแล้วคุณเชื่อไหมครับ ผมได้อุปกรณ์ทุกอย่างรวมส่วนลดแล้วคือ 410 บาท!!! ส่งฟรี!!! นี่เรากำลังพูดถึง จานรับสัญญาณดาวเทียมระบบ KU Band ขนาด 60 ซ.ม. + หัวรับสัญญาณ LNB ความถี่ 11300 (ไทยคม) + สายสัญญาณ RG 6 ความยาว 20 เมตร + หัว F Type ของสายสัญญาณ 2 อัน + พุกเหล็กเจาะปูน พระเจ้าช่วย!!! ผมเสียเงินไป 410 ได้ของครบแล้ว เหลือแต่ออกแรงกันละทีนี้
ผมขอยืมอุปกรณ์มาจากพี่ที่ทำงาน แล้วเชื่อไหมว่าผมก็ไม่เคยใช้สว่านมาก่อนด้วย ครั้งแรกก็มาเจาะปูนกันเลยทีเดียว ผมเลิกงาน 4 โมงครึ่ง ถึงที่พัก 5 โมงเย็น ผมก็เริ่มติดตั้ง เริ่มจากเปิดกูเกิ้ลค้นหาว่าพุกเหล็กใช้ยังไง 555 ผมเปิดกูเกิ้ลทุกขั้นตอนเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น สายสัญญาณ RG 6 เข้าหัวยังไง ประกอบจานดาวเทียมยังไง จานต้องก้มต้องหันเท่าไหร่ หัวรับสัญญาณ LNB ใส่ยังไง ผมติดเสร็จก่อนมืดอีกครับ เสียแต่แดดร้อนแรงมาก ได้สัญญาณมาแรงมาก 100% ผมเก่งนะเนี้ย (ขนาดไม่ใช้อุปกรณ์วัดมุมใดๆเลยนะครับ)
สรุปว่า นอกจากเสียแรง เสียเหงื่อไปแล้ว ผมเสียเงินแค่ 410 บาท ในการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมระบบ KU Band (ที่ไม่ใช่จานปิ๊กนิคด้วย)
สุดท้ายไหนๆก็ลงมือแล้ว ผมเลยเอาให้เต็มที่ จากที่คิดว่าติดตั้งจานดาวเทียมเองน่าจะสักพันกว่าบาท ที่ไหนได้ 410 บาท ผมเลยเริ่มปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงในอนาคตซะเลย ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างในกรณีนี้อีก ผมเลยสั่งซื้อกล่อง True HD2 จากเว็บไซต์(เดิม) ค่าเสียหาย 1,010 บาท (จากราคาที่ขายกัน 1,690 บาท จนผมชักเริ่มงงแล้วว่าตกลงราคาของพวกนี้มันยังไงกันแน่ ทำไมสั่งซื้อเองที่ไรถูกจนผิดปกติขนาดนี้) มาพร้อมกับการแถมแพ็คเกจเพิ่มช่องนู้นนี่นั่นอีกพอหอมปากหอมคอ แต่เมื่อมาดูในแผ่นพับที่แถมมาในกล่องพบว่าพวกช่องเติมเงินมันไปอยู่ในระบบ KU Band หมดเลย อนาคตหาก True ได้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกผมก็ต้องใช้จานระบบ KU Band นอกจากนี้เมื่อผมดูจากช่องรายการแล้วเอาให้คุ้มต้องใช้ 2 ระบบผสมกันไปเลย
โอเค ณ ตอนนี้ผมมีสายสัญญาณดังนี้
1. สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ KU Band ที่เพิ่มติดตั้งเสร็จไปหมาดๆ 1 เส้น (เพื่อรอกล่อง CTH ที่ยังไม่ได้รับ) อยู่ที่ห้องหน้าบ้าน
2. สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ C Band ของเก่า 1 เส้น (ก่อนหน้าใช้กับกล่อง GMMz) อยู่ที่ห้องหน้าบ้าน
3. สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ C Band ของเก่า 1 เส้น (ใช้กับกล่อง PSI) อยู่ที่ห้องนอน
ผมเลยไปค้นวิธีที่จะทำให้สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ KU Band เพิ่มขึ้นมาเป็น 2 เส้น ซึ่งมีหลายวิธี แต่โดยสรุปวิธีที่ดีที่สุด (สำหรับผม) คือเปลี่ยนหัวรับสัญญาณ LNB (ที่เพิ่งติดไปยังไม่ได้ใช้งานเลย) ให้เป็นแบบ 2 หัว สนนราคา 270 บาท ส่งฟรีเหมือนเดิม (วู้!!! ช้อปปิ้งออนไลน์จงเจริญ) ผมก็สั่งมาเลย พร้อมกับ อุปกรณ์รวมสัญญาณดาวเทียม (DiSEqC) ราคา 60 บาท เพื่อมารวมสัญญาณ KU Band กับ C Band เข้าด้วยกัน ส่วนสายสัญญาณไม่ต้องซื้อเพิ่มของเดิมยังเหลือครับ คราวนี้ผมวัดแล้วจากจาน KU Band ไปจาน C Band ใช้สายไม่เกิน 2 เมตร ซื้อหัว F Type เพิ่ม 2 อัน 10 บาท (อันนี้ผมซื้อร้านอมรครับเพราะใช้แค่ 2 อันอันละ 5 บาท สั่งในอินเตอร์เน็ตไม่ค่อยเหมาะ)
อ้อ...จุดที่ห้องหน้าบ้านปลั๊กไฟฟ้าเต็มแล้วครับ ถ้าได้กล่อง CTH มาผมคงต้องซื้อปลั๊กไฟฟ้าเพิ่ม (เริ่มจะบานปลายแล้ว)
โดยสรุปแล้ว ณ ตอนนี้ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ผมมีการบริหารความเสี่ยงดังนี้ครับ
1. ห้องหน้าบ้านจุดที่ 1 ใช้กล่อง True HD2 เป็นระบบ KU Band + C Band
2. ห้องหน้าบ้านจุดที่ 2 (กำลังจะ)ใช้กล่อง CTH เป็นระบบ KU Band (ตอนนี้สายสัญญาณกับ HDMI รออยู่แล้ว แอบเห็นคนที่ได้แล้วถ่ายรูปมาให้ดู รู้สึกว่า CTH ไม่ให้สาย HDMI ใช่ไหมครับ งกชะมัด)
3. ที่ห้องนอนจุดที่ 1 ใช้กล่อง GMMz HD (ที่ย้ายมาจากห้องหน้าบ้าน) เป็นระบบ C Band (กล่อง PSI ที่ใช้เดิมเก็บครับ)
4. ที่ห้องนอนจุดที่ 2 ใช้กล่อง Android TV Box เป็นระบบ อินเตอร์เน็ต (อันนี้อยู่ที่เดิมครับ)
ดูสิครับจะทำอะไรผมได้ 5555
ที่มาพล่ามให้ฟังครั้งนี้ จุดประสงค์หลักของผมคือต้องการให้ทุกท่านเห็นว่าความรู้ก็สำคัญนะครับ จินตนาการอย่างเดียวไปไม่รอดหรอกครับ ผมพูดจริงๆเลยคือผมไม่เคยมีความรู้อะไรทำนองนี้เลยนะครับ ขนาดพุกเหล็กยึดขาตั้งจานกับปูนใช้ยังไงผมยังต้องค้นในกูเกิ้ลเลยครับ เรื่องเกี่ยวกับการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมนี่ผมได้จากที่ Pantip นี่เยอะมากครับ ต้องขอขอบคุณพื้นที่ดีๆ สังคมออนไลน์ดีๆ ที่มีประโยชน์อย่างนี้ด้วยนะครับ และแทนที่ผมจะต้องเสีย 2,000 บาทในตอนแรก (และต้องรอคิวอีกยาวด้วย) กลายเป็น 410 บาท และได้ความรู้ในการติดตั้งจานดาวเทียมแบบจริงจังอีกด้วยครับ

ท้ายที่สุดครับ สิ่งที่ผมช้ำใจมากที่สุดคืออะไรรู้ไหมครับ…..
ตอนนี้ผมยังไม่ได้กล่องของ CTH ที่จะส่งมาชดเชยเลยครับ และทำให้คืนวันเสาร์และคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมต้องเสียเงินไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท ไปกับร้านเหล้าที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก………แล้วทั้งหมดที่ผ่านมามันคืออะไร นี่ผมทำทุกอย่างไปเพื่อ.???
………Glory Glory Man united………
เมื่อผมโดน CTH แกล้ง บนกล่อง GMMz
เอาละผมเป็นแค่ผู้บริโภคตัวเล็กๆ เสียงเบาๆ ไม่มีโอกาสเรียกร้องมากนัก จะชดเชยอย่างไรผมก็ยอมครับ ขอแค่ให้ผมได้ดูรายการที่ผมอยากดูเพื่อผ่อนคลายปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างไม่เอาเปรียบจนเกินพอดีไปนัก
และหวยก็ออกที่การชดเชยกล่องของ CTH พร้องแพ็คเกจ Beyond CTHz นาน 1 ปี แต่.....ใช้ได้กับจานรับสัญญาณแบบ KU Band เท่านั้น (จานทึบ) งามไส้ คนอะไรมันจะซวยซ้ำซวยซ้อนซ่อนเงื่อนขนาดนี้ เพราะผมใช้จานรับสัญญาณแบบ C Band (จานดำโปร่ง)
ปลายเดือน มกราคม ผมตัดสินใจเป็นไงเป็นกัน ติดจานใหม่ก็ได้(วะ) หลังเลิกงานตระเวนขับรถเก็บเบอร์โทรศัพท์ตามหน้าร้านรับติดตั้งจานดาวเทียม (สาเหตุที่ไม่แวะไปถามเพราะผมเป็นคนขี้เกรงใจ เจอคนขายเก่งๆนี่ ผมเสร็จทุกราย) ลืมบอกภูมิหลังไป ตอนนี้ผมทำงานอยู่ต่างจังหวัดครับ อยู่จังหวัดใหญ่จังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่างครับ เอาละครับวันรุ่งขึ้นก่อนเข้างาน(จริงๆนะ) ผมโทรเช็คราคาค่าติดตั้งพร้อมเดินสายสำหรับจาน KU Band เพื่อเปรียบเทียบราคาและวันนัด และปรากฏว่าคุณเชื่อไหมครับถูกสุดคือ 2,000 บาท โอ้....ติดสตั้นไป 5 วิ....
แล้วผมก็มาฉุกคิดได้ เออก็ช่างเขาต้องกินต้องใช้ จานดาวเทียมใครที่ไหนเขาจะติดกันทุกวันไม่ใช่ข้าวกล่องกินแล้วหมด เขาก็ต้องมีกำไรบ้าง แต่......แล้วผมไม่ต้องกินไม่ต้องใช้เรอะ!!!!
หลังจากนั่งทำงานไปอย่างมีสมาธิ (ถ้าใครแอบมาดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ผมนี้ มีแต่เรื่องจานรับสัญญาณดาวเทียมไม่มีงานเลย) ผมก็บรรลุสัจธรรมว่าการติดตั้งจานดาวเทียมก็เหมือนกับการทำงานของผม นั่นคือ ถ้าอยากให้งานออกมาดี เรียบร้อย รวดเร็ว มีคุณภาพ คุณต้องลงมือทำมันเอง 55555 (ผมบ้าไปแล้วตอนนั้น)
ผมใช้เวลาศึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมอยู่ 2 วัน (ทุกท่านช่วยพยายามคิดเอาว่าเป็นเสาร์-อาทิตย์แล้วกันนะครับ) ทำให้ผมได้ข้อสรุปที่ผมคิด(ไปเอง)ว่าถูกต้อง ดังนี้
1. ถ้าคุณมีจานรับสัญญาณดาวเทียม C Band อยู่แล้ว คุณสามารถซื้อ LNB (หัวรับสัญญาณของจานดาวเทียม) ที่เป็นแบบ duo โดยสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง C Band (เดิมตามชนิดจาน) และ KU Band โดยใช้เพียงไขควงอันเดียว แต่มีบางคนทั้งใน Pantip เอง และที่เว็บอื่น บอกว่ามันจะรับสัญญาณได้ไม่ดี จูนหาสัญญาณยาก ต้องใช้ความชำนาญ อ้าวแล้วผมจะเอาความชำนาญมาจากไหน ไม่เคยเกี่ยวข้องกับวงการนี้เลย เคยแค่จ่ายเงินกับชี้ว่าให้ติดตรงไหน เดินสายมาตรงไหน เป็นอันว่าข้อนี้ตกไป (ทั้งที่อาจเป็นวิธีที่ถูกสุด ง่ายสุด ดีสุด เร็วสุด แต่ผมเลือกบริหารความเสี่ยงดีกว่า ก็คนมันไม่เคยนี่ครับ)
2. ติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมแบบ KU Band ใหม่อีกจาน อันนี้ยุ่งหน่อย อุปกรณ์เยอะ แต่ชัวร์กว่า และจากเวลา 2 วันที่ผมเข้าไปอยู่ในวงการนี้ทำให้ผมมีความเชื่อมั่นได้ว่าผมต้องทำเองได้ (เมื่อก่อนผมก็คิดว่าทำเองได้นะครับ ผมคิดว่าแค่ดูจานอื่นว่าเขาหันไปทางไหนก็หันไปทางนั้นแล้วมันจะได้เอง หรือแค่ให้เห็นท้องฟ้าก็พอเพราะดาวเทียมโคจรอยู่ข้างบนสูงจากพื้นโลก 35,800 กิโลเมตร รับส่งสัญญาณแบบกรวยแผ่ลงมา มันต้องโดนอยู่แล้วถ้าไม่มีอะไรมาบังก็น่าจะใช้ได้ ซึ่งความคิดนี้ผิดหมดเลย) แต่เอาเข้าจริงๆ ผมก็คิดว่าไม่ยากเท่าไหร่ ติดจะง่ายซะด้วย ผมเลยเลือกวิธีนี้
ความรู้พร้อม!!!
วิธีการพร้อม!!!
ทีนี้ก็เหลือแต่อุปกรณ์
ผมสั่งจากเว็บไซต์ขายของชื่อดังแห่งหนึ่งแล้วคุณเชื่อไหมครับ ผมได้อุปกรณ์ทุกอย่างรวมส่วนลดแล้วคือ 410 บาท!!! ส่งฟรี!!! นี่เรากำลังพูดถึง จานรับสัญญาณดาวเทียมระบบ KU Band ขนาด 60 ซ.ม. + หัวรับสัญญาณ LNB ความถี่ 11300 (ไทยคม) + สายสัญญาณ RG 6 ความยาว 20 เมตร + หัว F Type ของสายสัญญาณ 2 อัน + พุกเหล็กเจาะปูน พระเจ้าช่วย!!! ผมเสียเงินไป 410 ได้ของครบแล้ว เหลือแต่ออกแรงกันละทีนี้
ผมขอยืมอุปกรณ์มาจากพี่ที่ทำงาน แล้วเชื่อไหมว่าผมก็ไม่เคยใช้สว่านมาก่อนด้วย ครั้งแรกก็มาเจาะปูนกันเลยทีเดียว ผมเลิกงาน 4 โมงครึ่ง ถึงที่พัก 5 โมงเย็น ผมก็เริ่มติดตั้ง เริ่มจากเปิดกูเกิ้ลค้นหาว่าพุกเหล็กใช้ยังไง 555 ผมเปิดกูเกิ้ลทุกขั้นตอนเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น สายสัญญาณ RG 6 เข้าหัวยังไง ประกอบจานดาวเทียมยังไง จานต้องก้มต้องหันเท่าไหร่ หัวรับสัญญาณ LNB ใส่ยังไง ผมติดเสร็จก่อนมืดอีกครับ เสียแต่แดดร้อนแรงมาก ได้สัญญาณมาแรงมาก 100% ผมเก่งนะเนี้ย (ขนาดไม่ใช้อุปกรณ์วัดมุมใดๆเลยนะครับ)
สรุปว่า นอกจากเสียแรง เสียเหงื่อไปแล้ว ผมเสียเงินแค่ 410 บาท ในการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมระบบ KU Band (ที่ไม่ใช่จานปิ๊กนิคด้วย)
สุดท้ายไหนๆก็ลงมือแล้ว ผมเลยเอาให้เต็มที่ จากที่คิดว่าติดตั้งจานดาวเทียมเองน่าจะสักพันกว่าบาท ที่ไหนได้ 410 บาท ผมเลยเริ่มปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงในอนาคตซะเลย ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างในกรณีนี้อีก ผมเลยสั่งซื้อกล่อง True HD2 จากเว็บไซต์(เดิม) ค่าเสียหาย 1,010 บาท (จากราคาที่ขายกัน 1,690 บาท จนผมชักเริ่มงงแล้วว่าตกลงราคาของพวกนี้มันยังไงกันแน่ ทำไมสั่งซื้อเองที่ไรถูกจนผิดปกติขนาดนี้) มาพร้อมกับการแถมแพ็คเกจเพิ่มช่องนู้นนี่นั่นอีกพอหอมปากหอมคอ แต่เมื่อมาดูในแผ่นพับที่แถมมาในกล่องพบว่าพวกช่องเติมเงินมันไปอยู่ในระบบ KU Band หมดเลย อนาคตหาก True ได้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกผมก็ต้องใช้จานระบบ KU Band นอกจากนี้เมื่อผมดูจากช่องรายการแล้วเอาให้คุ้มต้องใช้ 2 ระบบผสมกันไปเลย
โอเค ณ ตอนนี้ผมมีสายสัญญาณดังนี้
1. สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ KU Band ที่เพิ่มติดตั้งเสร็จไปหมาดๆ 1 เส้น (เพื่อรอกล่อง CTH ที่ยังไม่ได้รับ) อยู่ที่ห้องหน้าบ้าน
2. สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ C Band ของเก่า 1 เส้น (ก่อนหน้าใช้กับกล่อง GMMz) อยู่ที่ห้องหน้าบ้าน
3. สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ C Band ของเก่า 1 เส้น (ใช้กับกล่อง PSI) อยู่ที่ห้องนอน
ผมเลยไปค้นวิธีที่จะทำให้สายสัญญาณของจานดาวเทียม ระบบ KU Band เพิ่มขึ้นมาเป็น 2 เส้น ซึ่งมีหลายวิธี แต่โดยสรุปวิธีที่ดีที่สุด (สำหรับผม) คือเปลี่ยนหัวรับสัญญาณ LNB (ที่เพิ่งติดไปยังไม่ได้ใช้งานเลย) ให้เป็นแบบ 2 หัว สนนราคา 270 บาท ส่งฟรีเหมือนเดิม (วู้!!! ช้อปปิ้งออนไลน์จงเจริญ) ผมก็สั่งมาเลย พร้อมกับ อุปกรณ์รวมสัญญาณดาวเทียม (DiSEqC) ราคา 60 บาท เพื่อมารวมสัญญาณ KU Band กับ C Band เข้าด้วยกัน ส่วนสายสัญญาณไม่ต้องซื้อเพิ่มของเดิมยังเหลือครับ คราวนี้ผมวัดแล้วจากจาน KU Band ไปจาน C Band ใช้สายไม่เกิน 2 เมตร ซื้อหัว F Type เพิ่ม 2 อัน 10 บาท (อันนี้ผมซื้อร้านอมรครับเพราะใช้แค่ 2 อันอันละ 5 บาท สั่งในอินเตอร์เน็ตไม่ค่อยเหมาะ)
อ้อ...จุดที่ห้องหน้าบ้านปลั๊กไฟฟ้าเต็มแล้วครับ ถ้าได้กล่อง CTH มาผมคงต้องซื้อปลั๊กไฟฟ้าเพิ่ม (เริ่มจะบานปลายแล้ว)
โดยสรุปแล้ว ณ ตอนนี้ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ผมมีการบริหารความเสี่ยงดังนี้ครับ
1. ห้องหน้าบ้านจุดที่ 1 ใช้กล่อง True HD2 เป็นระบบ KU Band + C Band
2. ห้องหน้าบ้านจุดที่ 2 (กำลังจะ)ใช้กล่อง CTH เป็นระบบ KU Band (ตอนนี้สายสัญญาณกับ HDMI รออยู่แล้ว แอบเห็นคนที่ได้แล้วถ่ายรูปมาให้ดู รู้สึกว่า CTH ไม่ให้สาย HDMI ใช่ไหมครับ งกชะมัด)
3. ที่ห้องนอนจุดที่ 1 ใช้กล่อง GMMz HD (ที่ย้ายมาจากห้องหน้าบ้าน) เป็นระบบ C Band (กล่อง PSI ที่ใช้เดิมเก็บครับ)
4. ที่ห้องนอนจุดที่ 2 ใช้กล่อง Android TV Box เป็นระบบ อินเตอร์เน็ต (อันนี้อยู่ที่เดิมครับ)
ดูสิครับจะทำอะไรผมได้ 5555
ที่มาพล่ามให้ฟังครั้งนี้ จุดประสงค์หลักของผมคือต้องการให้ทุกท่านเห็นว่าความรู้ก็สำคัญนะครับ จินตนาการอย่างเดียวไปไม่รอดหรอกครับ ผมพูดจริงๆเลยคือผมไม่เคยมีความรู้อะไรทำนองนี้เลยนะครับ ขนาดพุกเหล็กยึดขาตั้งจานกับปูนใช้ยังไงผมยังต้องค้นในกูเกิ้ลเลยครับ เรื่องเกี่ยวกับการติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียมนี่ผมได้จากที่ Pantip นี่เยอะมากครับ ต้องขอขอบคุณพื้นที่ดีๆ สังคมออนไลน์ดีๆ ที่มีประโยชน์อย่างนี้ด้วยนะครับ และแทนที่ผมจะต้องเสีย 2,000 บาทในตอนแรก (และต้องรอคิวอีกยาวด้วย) กลายเป็น 410 บาท และได้ความรู้ในการติดตั้งจานดาวเทียมแบบจริงจังอีกด้วยครับ
ท้ายที่สุดครับ สิ่งที่ผมช้ำใจมากที่สุดคืออะไรรู้ไหมครับ…..
ตอนนี้ผมยังไม่ได้กล่องของ CTH ที่จะส่งมาชดเชยเลยครับ และทำให้คืนวันเสาร์และคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมต้องเสียเงินไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท ไปกับร้านเหล้าที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก………แล้วทั้งหมดที่ผ่านมามันคืออะไร นี่ผมทำทุกอย่างไปเพื่อ.???
………Glory Glory Man united………