ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกไว้ก่อนว่า กระทู้นี้จะทำการีวิวกล้อง Minolta Hi-matic7 โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงมาจากคู่มือของ Minolta Hi-matic 7s จะมาแนะนำตัวกล้องพื้นฐาน การวัดแสง การโฟกัส และการถ่ายภาพเบื้องต้น ตัวอย่างของภาพจากกล้องตัวนี้ตอนนี้ยังไม่มีนะ เพราะต้องขอเวลาใช้กล้องตัวนี้อีกสักพัก เพราอยากจะลองถ่ายภาพให้ครบทุกลักษณะของแสงก่อน อาจจะตามมาโชว์ในกระทู้ภายหลัง หากใครขี้เกียจอ่านก็ข้ามไปอ่านสรุปด้านล่างได้เลยไม่ว่ากัน
เริ่มด้วยตัวเจ้าของกระทู้อยากจะได้กล้องฟิล์มน่ารักๆสักตัวมาเก็บไว้ใช้เพราะชอบโทนสีของฟิล์มอยู่แล้วเคยพยายามแต่งภาพจากดิจิตอลแล้วแต่งให้ตายยังไงมันก็ไม่เหมือนมันก็ไม่ใช่อยู่ดี มีพรีเช็ตโทนฟิล์มเป็นร้อย ดิจิตอลมันก็ดิจิตอล ฟิล์มมันก็ฟิล์ม ก็เลยเริ่มมองหากล้องฟิล์มสักรุ่นมาใช้ ในตอนแรกตกลงปลงใจ ที่จะซื้อ Minolta Hi-matic F กล้องฟิล์มสุดฮิตยอดนิยมถูกใจวัยรุ่น มีรีวิวการใช้งาน+คลิปแนะนำในการถ่ายให้เพียบ เรียกได้ว่าข้อมูลแน่นกันเลยทีเดียวชื้อมาไม่ต้องกลัวว่าจะใช้ไม่เป็น แต่ด้วยความใจร้อนบวกกับตังในกระเป๋าต้องการปะทะกับกล้องฟิล์ม ทำให้หน้ามืดตามัวหรือไม่ก็พรหมลิขิตก็เป็นได้ทำให้เห็น เลข7 กลายเป็นตัว F กว่าจะรู้ตัวอีกที ก็โอนตัวให้คนขายเรียบร้อยแล้ว สรุปจะชื้อรุ่น Minolta Hi-matic F แต่ดูผิด เลยได้เจ้าตัวพระเอกของกระทู้นี้มา คือ Minolta Hi-matic 7
แต่เวรกรรมยังไม่หมดแค่นั้น ก็นึกว่าจะมีรีวิวเจ๋งๆ มีคลิปแนะนำกล้องแบบเข้าใจง่ายๆให้ดูเหมือนกับกล้องตัวอื่นๆเขาบ้าง
แต่กลับพบกับความจริงที่ว่า มันไม่มีอะไรเลยที่เป็นภาษาไทย(มีแต่จะขายของ) มีแต่ข้อมูลภาษาอังกฤษ มีคลิปโชว์กล้องของฝรั่ง ยอมรับกันตรงนี้เลยว่ายังฟังภาษาอังกฤษไม่ค่อยแตกฉานสักเท่าไหร่
มีใครสักคนช่วยแปลให้ก็คงดี รีวิวฝรั่งยังพอทน แต่เจอพี่บังภาษาอะไรก็ไม่รู้มารีวิวนี้ขอลาก่อนพอกันทีบาย แต่ข้าจะไม่ทน ก็เลยค้นไปค้นมาอยู่2-3วัน ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น สุดท้ายก็ไปได้ไฟล์สแกนคู่มือฉบับเก่ากึกของกล้องรุ่น Minolta Hi-matic 7s เอาว่ะ! จากที่รู้มาสองตัวนี้ 7กับ7s ระบบหลายๆอย่างมีความคล้ายคลึงกันอยู่ก็น่าจะพอช่วยอะไรได้บ้าง ยังไงต่อละครับ ก็อ่านสิครับเปิดดิกชันนารี โชคยังพอเข้าข้างพึ่งเรียนวิชาเปิดดิกชันนารีมาช่วยได้นิดหน่อย อ่านจนได้ข้อมูลจะเก็บไว้คนเดียวก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น ก็เลยอยากจะมาแบ่งปันกัน และจัดทำสรุปเป็นรายละเอียดแบบชาวบ้านออกมาเป็นดังในกระทู้นี้นะครับ ก็หวังว่าจะช่วยให้ความรู้เล็กๆน้อยๆของคนพึ่งหัดใช้กล้องฟิล์ม หรือคนที่สนใจอยากจะถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม หากมีข้อมูลใดผิดพลาดก็ขอน้อบรับไว้ตรงนี้เลยแล้วกัน พูดคุยโต้แย้งกันได้เต็มที่ครับ
หลายหัวคิดย่อมดีกว่าหัวเดียวคิดอยู่แล้ว ส่วนใครที่สนใจหรือสงสัยอะไรอยากหาเพื่อนพูดคุยเกี่ยวกับกล้องฟิล์มก็ทักทายกันได้เน้อ
ดูรูปกันหน่อย
มาเริ่มประวัติกันเล็กน้อย ของเก่ามันมีประวัติมันมีที่มา
Minolta Hi-Matic 7 เป็นโมเดลที่สองที่ Minolta ทำออกมาในซีรีย์ Hi-Matic ทำออกมาในปี 1963 Minolta Hi-Matic7 พระเอกของเรา เป็นรุ่นที่มีการปรับปรุงให้มีการทำงานที่เร็วขึ้นใช้ระบบวัดแสงแบบ CdS แทน selenium meter ระบบเก่าใน Minolta Hi-Matic
ด้านสเปคของ Hi-Matic 7 นั้น ถือเป็นกล้องที่รองรับทั้งระบบ manual และ auto ในตัวเดียว โดยระบบ auto นั้นยังแบ่งออกเป็น auto speed และ auto aperture อีกด้วย และกล้องยังสามารถถ่ายในโหมด แมนนวลได้โดยไม่ต้องอาศัยแบตเตอรี่อีกด้วย ดังนั้นทำให้รุ่นนี้ไม่ง้อแบตเตอรี่ครับ ฟังไม่ผิดครับไม่ง้อแบตเตอรี่ ไม่มีแบตข้าก็ถ่ายได้โว้ยยยยยยยย แต่แค่ตัววัดแสงไม่ทำงานเท่านั้นเอง -*- แต่ถ้าใครที่พอจะเข้าใจกฏ sunny16 ก็สามารถถ่ายได้ไม่ต้องง้อตัววัดแสงเลยสบาย (กฎ sunny16 ถามอากู๋เกิ้ลเลยมีเยอะมากมันไม่ยากเกินความเข้าใจนะ 10 นาทีก็เข้าใจแล้ว)
เลนส์ที่ใช้เป็นระยะ 45mm ซึ่งเป็นช่วงเลนส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย และ f ที่กว้างถึง 1.8 ยังช่วยในการถ่ายในสภาพแสงน้อย และให้ภาพละลายฉากหลังที่สวยงาม
Models
เรียงลำดับการเกิดหลังของแต่ละรุ่นนะ เผื่อใครมีรุ่นไหนใครเก่ากว่าใครมาโชว์กัน
Minolta Hi-Matic ออกมาในปี 1962 มาคู่กับเลนส์ 45 mm f2 หรือ 45 mm f2.8
Hi-Matic 7 ออกมาในปี 1963 มาคู่กับเลนส์ Rokkor PF 45mm f1.8 (ตัวที่ใช้รีวิว)
Hi-Matic 7S ออกมาในปี 1966 มาคู่กับเลนส์ 45mm f1.8 เหมือน Hi-Matic 7
***(7 กับ 7s ต่างกันที่ระบบวัดแสง 7s จะวัดแสงได้แม่นกว่า 7 และ7s มี hot shoe หรือแฟลช นอกนั้นเหมือนกันเกือบหมด)
Hi-Matic 9 ออกมาในปี 1966 มาคู่กับเลนส์ 45mm f1.7
Hi-Matic 11 ออกมาในปี 1969 คล้ายกับ Hi-Matic 9
Hi-Matic C ออกมาในปี 1969 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f2.7 (ขนาดเริ่มเล็กลงเบาขึ้น)
Hi-Matic 5 ออกมาในปี 1969 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f2.7
Hi-Matic E ออกมาในปี 1971 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f1.7 (พัฒนามาจาก Hi-Matic C)
Hi-Matic F ออกมาในปี 1972 มาคู่กับเลนด์ 38mm f2.7 (รุ่นยอดฮิตยอดนิยมแบบเดียวกับพี่หมอก hormones รุ่นนี้เป็นแบบauto ส่องโฟกัสถ่าย ต้องใช้ถ่านไม่มีถ่านก็ที่ทับกระดาษสวยๆนี้เอง)
Hi-Matic G ออกมาในปี 1974 มาคู่กับเลนด์ 38mm f2.8
Hi-Matic 7 SII ออกมาในปี 1977 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f1.7 (ตัวเทพดีไปหมดส่วนตัวชอบรุ่นนี้ที่สุดแต่หาชื้อไม่ได้ ร้องไห้จนร้องขอชีวิต) ได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในรุ่นที่ดีที่สุดของ Minolta rangefinders
Hi-Matic G2 ออกมาในปี 1982
รุ่นหลังๆจะเป็นพวก fully automatic เน้นโฟกัสแล้วถ่ายปรับค่าได้นิดหน่อย ส่วนใหญ่มาคู่กับเลนส์ Rokkor 38 mm f/2.7
จะมีรุ่น Hi-Matic S, Hi-Matic SD, Hi-Matic S2 , Hi-Matic S2, Hi-Matic SD2, Hi-Matic AF
(ส่วนตัวเจ้าของกระทู้ กล้องพวก fully automatic จะเหมาะกับการถ่ายแนว street คือพวกเดินไปถ่ายไปไม่คิดมากเน้นไวได้ภาพด้วยระยะ38mm การถ่ายในเมืองกำลังพอดีและค่ารูรับ2.7 ก็กำลังสวย ส่วนตัวชอบถ่ายแนว street อยู่แล้วจึงอยากแนะนำ )
รุ่นสุดท้ายในชีรีย์ Hi-Matic คือ Hi-Matic GF ออกมาในปี 1984 มาคู่กับเลนด์ 38mm f/4
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(ลายละเอียดความแตกต่างของแต่ละรุ่นก็พอรู้บ้างนิดหน่อย ใครอยากรู้ก็ถามกันมาหลังไมค์ได้แต่ก็รู้ไม่หมดนะ 555555555555)
ส่วนของกายวิภาค
Body : Minolta Hi-Matic 7
ขนาด สูง 88mm กว้าง 140mm หนา 47mm
น้ำหนัก 720g (อีกนิดก็จะกิโลแล้ว จากความรู้สึกก็หนักเอาเรื่องอยู่ แต่มันมาในราคาที่เบาก็หักล้างกันได้อยู่
)
Self timer 10s
Battery : 1.35V (สมัยนี้มันต้องดัดแปลงเอา วิธีการดัดแปลงก็ไม่ยากเท่าไหร่)
ใช้Film standard 35mm หรือ film 135
ระบบการทำงาน auto with manual ปรับรูรับแสงได้ ปรับshutter speed เองได้ และชัดเตอร์ B
โฟกัสแบบ Rangefinder
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(คือกล้องที่โฟกัสแบบปรับให้ชัดโดยหมุนให้ภาพมาซ้อนกัน เวลาเล็งจุดที่จะถ่าย มันจะเป็นภาพ2ภาพซ้อนกัน จะให้ตรงไหนชัดก็เล็งไป แล้วหมุนโฟกัสให้ 2 ภาพมันมาซ้อนกันพอดี)
กล้องฟิล์มมี 3 ประเภท
1.กล้องที่โฟกัสแบบกะระยะเอาเอง
2.กล้องที่โฟกัสแบบปรับให้ชัดโดยหมุนให้ภาพมาซ้อนกัน ( Rangefinder )
3.กล้องที่โฟกัสแบบปรับให้ชัดโดยหมุนเลนส์ให้จุดนั้นชัด (SLR)
เลนส์
Rokkor PF 45mm F1.8
f1.8-22,A
Filter mount 55mm screw-in
ชัตเตอร์
SEIKO-LA Fully automatic programmed with manual control
speed shutter 1/4ไปถึง 1/500, B, Auto
B 1/4,1/8 /15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ shutter B คือ กดค้างshutterไว้นานตามที่เราต้องการได้ นานสูงสุดกี่วิไม่แน่ใจ
Auto operation EV 5.7 (F1.8 at 1/15s) ถึง EV 17 (F22 ที่ 1/250s)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้(EV คือ EV ย่อมาจาก Exposure Value แปลว่า ค่าของแสงหรือค่าความสว่างที่เปิดให้แสงเข้ามาสู่สื่อรับภาพ) สามารถดูและปรับได้ทาง ด้านขวาเลนด์
ส่วนวิธีการปรับค่า EV จะขออธิบายรวมกับการวัดแสงของกล้อง
วัดแสงแบบเข็ม (meter needle)
Film speed range( ISO): ASA 25-800 DIN15-30
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ สารถปรับได้ที่ด้านล่างของเลนด์ แต่ช่วงของค่าห่างกัน3 ขั้น อย่างเช่นระยะห่างระหว่าง 100-200 จะมี3ค่า คือ 100 125 160
ค่าที่ปรับได้ทั้งหมดจึงมี 25 32 40 50 64 80 100 125 160 200 250 320 400 500 650 800
ระยะโฟกัสใกล้สุด 3 ftหรือ 0.9m ถ่ายอาหารหรือดอกไม้ใกล้ๆจะลำบากหน่อย ไม่เป็นไรถ่ายแม้งทั้งกระถ่างทั้งสวนไปเลย
[CR] Review+การใช้งาน กล้องฟิล์ม Minolta Hi-matic 7/7s แบบฉบับชาวบ้าน
ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกไว้ก่อนว่า กระทู้นี้จะทำการีวิวกล้อง Minolta Hi-matic7 โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงมาจากคู่มือของ Minolta Hi-matic 7s จะมาแนะนำตัวกล้องพื้นฐาน การวัดแสง การโฟกัส และการถ่ายภาพเบื้องต้น ตัวอย่างของภาพจากกล้องตัวนี้ตอนนี้ยังไม่มีนะ เพราะต้องขอเวลาใช้กล้องตัวนี้อีกสักพัก เพราอยากจะลองถ่ายภาพให้ครบทุกลักษณะของแสงก่อน อาจจะตามมาโชว์ในกระทู้ภายหลัง หากใครขี้เกียจอ่านก็ข้ามไปอ่านสรุปด้านล่างได้เลยไม่ว่ากัน
เริ่มด้วยตัวเจ้าของกระทู้อยากจะได้กล้องฟิล์มน่ารักๆสักตัวมาเก็บไว้ใช้เพราะชอบโทนสีของฟิล์มอยู่แล้วเคยพยายามแต่งภาพจากดิจิตอลแล้วแต่งให้ตายยังไงมันก็ไม่เหมือนมันก็ไม่ใช่อยู่ดี มีพรีเช็ตโทนฟิล์มเป็นร้อย ดิจิตอลมันก็ดิจิตอล ฟิล์มมันก็ฟิล์ม ก็เลยเริ่มมองหากล้องฟิล์มสักรุ่นมาใช้ ในตอนแรกตกลงปลงใจ ที่จะซื้อ Minolta Hi-matic F กล้องฟิล์มสุดฮิตยอดนิยมถูกใจวัยรุ่น มีรีวิวการใช้งาน+คลิปแนะนำในการถ่ายให้เพียบ เรียกได้ว่าข้อมูลแน่นกันเลยทีเดียวชื้อมาไม่ต้องกลัวว่าจะใช้ไม่เป็น แต่ด้วยความใจร้อนบวกกับตังในกระเป๋าต้องการปะทะกับกล้องฟิล์ม ทำให้หน้ามืดตามัวหรือไม่ก็พรหมลิขิตก็เป็นได้ทำให้เห็น เลข7 กลายเป็นตัว F กว่าจะรู้ตัวอีกที ก็โอนตัวให้คนขายเรียบร้อยแล้ว สรุปจะชื้อรุ่น Minolta Hi-matic F แต่ดูผิด เลยได้เจ้าตัวพระเอกของกระทู้นี้มา คือ Minolta Hi-matic 7
แต่เวรกรรมยังไม่หมดแค่นั้น ก็นึกว่าจะมีรีวิวเจ๋งๆ มีคลิปแนะนำกล้องแบบเข้าใจง่ายๆให้ดูเหมือนกับกล้องตัวอื่นๆเขาบ้าง
แต่กลับพบกับความจริงที่ว่า มันไม่มีอะไรเลยที่เป็นภาษาไทย(มีแต่จะขายของ) มีแต่ข้อมูลภาษาอังกฤษ มีคลิปโชว์กล้องของฝรั่ง ยอมรับกันตรงนี้เลยว่ายังฟังภาษาอังกฤษไม่ค่อยแตกฉานสักเท่าไหร่ มีใครสักคนช่วยแปลให้ก็คงดี รีวิวฝรั่งยังพอทน แต่เจอพี่บังภาษาอะไรก็ไม่รู้มารีวิวนี้ขอลาก่อนพอกันทีบาย แต่ข้าจะไม่ทน ก็เลยค้นไปค้นมาอยู่2-3วัน ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น สุดท้ายก็ไปได้ไฟล์สแกนคู่มือฉบับเก่ากึกของกล้องรุ่น Minolta Hi-matic 7s เอาว่ะ! จากที่รู้มาสองตัวนี้ 7กับ7s ระบบหลายๆอย่างมีความคล้ายคลึงกันอยู่ก็น่าจะพอช่วยอะไรได้บ้าง ยังไงต่อละครับ ก็อ่านสิครับเปิดดิกชันนารี โชคยังพอเข้าข้างพึ่งเรียนวิชาเปิดดิกชันนารีมาช่วยได้นิดหน่อย อ่านจนได้ข้อมูลจะเก็บไว้คนเดียวก็คงไม่มีอะไรดีขึ้น ก็เลยอยากจะมาแบ่งปันกัน และจัดทำสรุปเป็นรายละเอียดแบบชาวบ้านออกมาเป็นดังในกระทู้นี้นะครับ ก็หวังว่าจะช่วยให้ความรู้เล็กๆน้อยๆของคนพึ่งหัดใช้กล้องฟิล์ม หรือคนที่สนใจอยากจะถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม หากมีข้อมูลใดผิดพลาดก็ขอน้อบรับไว้ตรงนี้เลยแล้วกัน พูดคุยโต้แย้งกันได้เต็มที่ครับ
หลายหัวคิดย่อมดีกว่าหัวเดียวคิดอยู่แล้ว ส่วนใครที่สนใจหรือสงสัยอะไรอยากหาเพื่อนพูดคุยเกี่ยวกับกล้องฟิล์มก็ทักทายกันได้เน้อ
ดูรูปกันหน่อย
มาเริ่มประวัติกันเล็กน้อย ของเก่ามันมีประวัติมันมีที่มา
Minolta Hi-Matic 7 เป็นโมเดลที่สองที่ Minolta ทำออกมาในซีรีย์ Hi-Matic ทำออกมาในปี 1963 Minolta Hi-Matic7 พระเอกของเรา เป็นรุ่นที่มีการปรับปรุงให้มีการทำงานที่เร็วขึ้นใช้ระบบวัดแสงแบบ CdS แทน selenium meter ระบบเก่าใน Minolta Hi-Matic
ด้านสเปคของ Hi-Matic 7 นั้น ถือเป็นกล้องที่รองรับทั้งระบบ manual และ auto ในตัวเดียว โดยระบบ auto นั้นยังแบ่งออกเป็น auto speed และ auto aperture อีกด้วย และกล้องยังสามารถถ่ายในโหมด แมนนวลได้โดยไม่ต้องอาศัยแบตเตอรี่อีกด้วย ดังนั้นทำให้รุ่นนี้ไม่ง้อแบตเตอรี่ครับ ฟังไม่ผิดครับไม่ง้อแบตเตอรี่ ไม่มีแบตข้าก็ถ่ายได้โว้ยยยยยยยย แต่แค่ตัววัดแสงไม่ทำงานเท่านั้นเอง -*- แต่ถ้าใครที่พอจะเข้าใจกฏ sunny16 ก็สามารถถ่ายได้ไม่ต้องง้อตัววัดแสงเลยสบาย (กฎ sunny16 ถามอากู๋เกิ้ลเลยมีเยอะมากมันไม่ยากเกินความเข้าใจนะ 10 นาทีก็เข้าใจแล้ว)
เลนส์ที่ใช้เป็นระยะ 45mm ซึ่งเป็นช่วงเลนส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย และ f ที่กว้างถึง 1.8 ยังช่วยในการถ่ายในสภาพแสงน้อย และให้ภาพละลายฉากหลังที่สวยงาม
Models
เรียงลำดับการเกิดหลังของแต่ละรุ่นนะ เผื่อใครมีรุ่นไหนใครเก่ากว่าใครมาโชว์กัน
Minolta Hi-Matic ออกมาในปี 1962 มาคู่กับเลนส์ 45 mm f2 หรือ 45 mm f2.8
Hi-Matic 7 ออกมาในปี 1963 มาคู่กับเลนส์ Rokkor PF 45mm f1.8 (ตัวที่ใช้รีวิว)
Hi-Matic 7S ออกมาในปี 1966 มาคู่กับเลนส์ 45mm f1.8 เหมือน Hi-Matic 7
***(7 กับ 7s ต่างกันที่ระบบวัดแสง 7s จะวัดแสงได้แม่นกว่า 7 และ7s มี hot shoe หรือแฟลช นอกนั้นเหมือนกันเกือบหมด)
Hi-Matic 9 ออกมาในปี 1966 มาคู่กับเลนส์ 45mm f1.7
Hi-Matic 11 ออกมาในปี 1969 คล้ายกับ Hi-Matic 9
Hi-Matic C ออกมาในปี 1969 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f2.7 (ขนาดเริ่มเล็กลงเบาขึ้น)
Hi-Matic 5 ออกมาในปี 1969 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f2.7
Hi-Matic E ออกมาในปี 1971 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f1.7 (พัฒนามาจาก Hi-Matic C)
Hi-Matic F ออกมาในปี 1972 มาคู่กับเลนด์ 38mm f2.7 (รุ่นยอดฮิตยอดนิยมแบบเดียวกับพี่หมอก hormones รุ่นนี้เป็นแบบauto ส่องโฟกัสถ่าย ต้องใช้ถ่านไม่มีถ่านก็ที่ทับกระดาษสวยๆนี้เอง)
Hi-Matic G ออกมาในปี 1974 มาคู่กับเลนด์ 38mm f2.8
Hi-Matic 7 SII ออกมาในปี 1977 มาคู่กับเลนส์ 40 mm f1.7 (ตัวเทพดีไปหมดส่วนตัวชอบรุ่นนี้ที่สุดแต่หาชื้อไม่ได้ ร้องไห้จนร้องขอชีวิต) ได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในรุ่นที่ดีที่สุดของ Minolta rangefinders
Hi-Matic G2 ออกมาในปี 1982
รุ่นหลังๆจะเป็นพวก fully automatic เน้นโฟกัสแล้วถ่ายปรับค่าได้นิดหน่อย ส่วนใหญ่มาคู่กับเลนส์ Rokkor 38 mm f/2.7
จะมีรุ่น Hi-Matic S, Hi-Matic SD, Hi-Matic S2 , Hi-Matic S2, Hi-Matic SD2, Hi-Matic AF
(ส่วนตัวเจ้าของกระทู้ กล้องพวก fully automatic จะเหมาะกับการถ่ายแนว street คือพวกเดินไปถ่ายไปไม่คิดมากเน้นไวได้ภาพด้วยระยะ38mm การถ่ายในเมืองกำลังพอดีและค่ารูรับ2.7 ก็กำลังสวย ส่วนตัวชอบถ่ายแนว street อยู่แล้วจึงอยากแนะนำ )
รุ่นสุดท้ายในชีรีย์ Hi-Matic คือ Hi-Matic GF ออกมาในปี 1984 มาคู่กับเลนด์ 38mm f/4
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนของกายวิภาค
Body : Minolta Hi-Matic 7
ขนาด สูง 88mm กว้าง 140mm หนา 47mm
น้ำหนัก 720g (อีกนิดก็จะกิโลแล้ว จากความรู้สึกก็หนักเอาเรื่องอยู่ แต่มันมาในราคาที่เบาก็หักล้างกันได้อยู่)
Self timer 10s
Battery : 1.35V (สมัยนี้มันต้องดัดแปลงเอา วิธีการดัดแปลงก็ไม่ยากเท่าไหร่)
ใช้Film standard 35mm หรือ film 135
ระบบการทำงาน auto with manual ปรับรูรับแสงได้ ปรับshutter speed เองได้ และชัดเตอร์ B
โฟกัสแบบ Rangefinder
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เลนส์
Rokkor PF 45mm F1.8
f1.8-22,A
Filter mount 55mm screw-in
ชัตเตอร์
SEIKO-LA Fully automatic programmed with manual control
speed shutter 1/4ไปถึง 1/500, B, Auto
B 1/4,1/8 /15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Auto operation EV 5.7 (F1.8 at 1/15s) ถึง EV 17 (F22 ที่ 1/250s)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วัดแสงแบบเข็ม (meter needle)
Film speed range( ISO): ASA 25-800 DIN15-30
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้